โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะแพโทซอรัส

ดัชนี อะแพโทซอรัส

อะแพทโทซอรัส หรือ อะแพตโตซอรัส (Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม" อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ) ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน) หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่ ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

9 ความสัมพันธ์: ยุคจูแรสซิกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อัลโลซอรัสซอริสเกียไทรเซราทอปส์ไดโนเสาร์

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลโลซอรัส

อัลโลซอรัส (Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัสในไทยอาจมีญาติของอัลโลซอรัสคือ สยามโมไทรันนัส ที่สันนิษฐานไว้.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและอัลโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ซอริสเกีย

ซอริสเกีย (Saurischia,, จากภาษากรีกโบราณ σαυρος (sauros) แปลว่า 'กิ้งก่า' และ ισχιον (ischion) แปลว่า "ร่วมสะโพก") เป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจำพวกไดโนเสาร์ นับเป็นอันดับของไดโนเสาร์ในวงกว้างหนึ่งในสองอันดับ (ร่วมกับออร์นิทิสเกียหรือไดโนเสาร์ที่มีโครงกระดูกสะโพกหรือเชิงกรานคล้ายนก) โดยเป็นการจัดมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและซอริสเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ไทรเซราทอปส์

นาดของไทรเซราทอปซ์เมื่อเทียบกับมนุษย์ ไทรเซราทอปส์ (triceratops) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจะงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์ คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได่สันนิฐานว่า ไทรเซราทอปส์ น่าจะใช้เขาขวิดศัตรูแบบวัวกระทิง เนื่องจากกะโหลกของมันบาง หากใช้วิธีพุ่งชนแบบแรดอาจจะทำให้กะโหลกของมันแตกได้.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและไทรเซราทอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: อะแพโทซอรัสและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อะแพทโตซอรัสอพาโตซอรัสบรอนโตซอรัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »