โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บรรณารักษ์

ดัชนี บรรณารักษ์

ภาพวาด ''The Librarian'' (ค.ศ. 1556) โดย Giuseppe Arcimboldo บรรณารักษ์ (librarian) คือ บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยส่วนใหญ่แล้วบรรณารักษ์มักจะทำงานในห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งห้องสมุดในบริษัทต่างๆ รวมไปถึงโรงพยาบาล บรรณารักษ์มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการทราบข้อเท็จจริง จัดหาสารสนเทศและค้นทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งหนังสือ วารสาร เว็บไซต์และสารสนเทศอื่น ๆ พิจารณาหนังสือ นิตยสาร ภาพยนตร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยการจัดซื้อ จัดการหนังสือและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ หมวดหมู่:อาชีพ หมวดหมู่:บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หมวดหมู่:นักการศึกษา หมวดหมู่:นักวิชาการ.

7 ความสัมพันธ์: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ภาพยนตร์สิ่งพิมพ์รายคาบหนังสือห้องสมุดสาธารณะนิตยสารเว็บไซต์

บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

รรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and information science: LIS) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร เป้าหมายหลักของ งานวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งไปที่การจัดการองค์ความรู้ เพื่อการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจรวมถึงหัวข้ออันได้แก่ การได้มา, การสร้างรายการชื่อ, การจัดหมวดหมู่, การเก็บรักษา, และ การดูแลข้อมูลและทรัพยากรห้องสมุด การศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องใกล้เคียงกัน แต่ได้พัฒนาไปอีกทาง คือ การศึกษาโครงสร้างของข้อมูล และ ทฤษฎีข้อมูล (Information Theory) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลสารสนเท.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งพิมพ์รายคาบ

งพิมพ์รายคาบ หมายถึง สิ่งพิมพ์เย็บเล่มที่มีกำหนดออกระบุไว้แน่นอนและต่อเนื่อง มีกำหนดระยะเวลาออกไว้แน่นอนและสม่ำเสมอ เช่น ทุก 1 เดือน (รายเดือน) ทุก 15 วัน (รายปักษ์) ทุก 7 วัน (รายสัปดาห์) เนื้อหาในเล่มประกอบไปด้วยบทความต่างๆ เรื่องราวที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ บางเรื่องจบในฉบับแต่บางเรื่องลงต่อเนื่องกันไปหลายฉบับ เนื้อเรื่องภายในเล่มอาจจะจำกัดขอบเขตตามแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง หรืออาจจะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และสิ่งพิมพ์รายคาบ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือ

หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่าง ๆ กัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่าง ๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book) การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือสามารถซื้อขายได้ที่ร้านหนังสือ และสามารถยืมได้จากห้องสมุด กูเกิลประมาณว่าใน..

ใหม่!!: บรรณารักษ์และหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องสมุดสาธารณะ

ห้องสมุดสาธารณะ (Public library) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ให้บริการสำหรับประชาชนทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอายุ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนต่าง ๆ ในลักษณะและกิจกรรมของห้องสมุด โดยห้องสมุดสาธารณะจะเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิชาการต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้อันประกอบด้วย หนังสือ วารสาร จุลวาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนอุปกรณ์ทุกชนิด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการของห้องสม.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และห้องสมุดสาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

นิตยสาร

นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ..ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และนิตยสาร · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: บรรณารักษ์และเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »