โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นายกรัฐมนตรีอินเดีย

ดัชนี นายกรัฐมนตรีอินเดีย

ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย นายกรัฐมนตรีอินเดีย (Prime Minister of India) คือหัวหน้ารัฐบาล ประธานที่ปรึกษาของประธานาธิบดีอินเดีย ประธานคณะรัฐมนตรี และผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจึงเป็นผู้มีอำนาจบริหารรัฐบาลอินเดีย นายกรัฐมนตรีอินเดียเป็นสมาชิกระดับอาวุโสของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจบริหารรัฐบาลตามระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอนถอนรัฐมนตรี จัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ แก่ฝ่ายรัฐบาล เป็นสมาชิกและประธานของคณะรัฐมนตรี และรับผิดชอบการเสนอร่างกฎหมายต่าง ๆ เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยการถึงแก่อสัญกรรมหรือการลาออกจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีทั้งคณะถือเป็นอันสิ้นสุดลง.

23 ความสัมพันธ์: ชวาหะร์ลาล เนห์รูพรรคภารตียชนตามันโมหัน สิงห์ระบบรัฐสภารัฐพิหารรัฐกรณาฏกะรัฐสภาราชยสภาราชีพ คานธีวิศวนาถ ประตาป สิงห์สรวปัลลี ราธากฤษณันหลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่าหัวหน้ารัฐบาลอำนาจบริหารอินทิรา คานธีคองเกรสแห่งชาติอินเดียคณะรัฐมนตรีประธานาธิบดีอินเดียประติภา ปาฏีลประเทศอินเดียนายกรัฐมนตรีนิวเดลีนเรนทระ โมที

ชวาหะร์ลาล เนห์รู

วาหะร์ลาล เนห์รู (जवाहरलाल नेहरू ชวาหรลาล เนหรู; Jawaharlal Nehru; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและชวาหะร์ลาล เนห์รู · ดูเพิ่มเติม »

พรรคภารตียชนตา

รรคภารตียชนตา (भारतीय जनता पार्टी ภารตีย ชนตา ปารฺตี; Bharatiya Janata Party: BJP) หรือ พรรคประชาชนอินเดีย (Indian People's Party) เป็นพรรคการเมืองอินเดียหนึ่งในสองพรรคใหญ่คู่กับพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress) นับแต..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและพรรคภารตียชนตา · ดูเพิ่มเติม »

มันโมหัน สิงห์

มันโมหัน สิงห์ (मनमोहन सिंह มนโมหน สิงฺห) หรือ มันโมฮัน ซิงห์ อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและมันโมหัน สิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพิหาร

หาร คือ รัฐที่อยู่ในประเทศอินเดีย มีพุทธคยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภาษาที่ใช้ในรัฐพิหาร คือ ภาษาฮินดีถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งไหลผ่านจากตะวันตกไปตะวันออก เดิมคือแคว้นมคธ มีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พุทธคยา นาลันทา มีความสำคัญด้านคมนาคมขนส่งเพราะเป็นประตูสู่เนปาลและรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเกษตรที่สำคัญคืออ้อย ปอ ชา มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล สุราและเอทานอล.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและรัฐพิหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกรณาฏกะ

รัฐกรณาฏกะ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก ชื่อรัฐมาจากภาษากันนาดาแปลว่าแผ่นดินที่ถูกยกขึ้นสูงหรือเขตดินดำ สถาปนารัฐเมื่อ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและรัฐกรณาฏกะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ราชยสภา

ตราแผ่นดินของอินเดีย ราชยสภา (Rajya Sabha; राज्यसभा Rājyasabhā) เป็นสภาสูงของรัฐสภาอินเดีย ประกอบด้วยสมาชิกราชยสภาจำนวนสองร้อยห้าสิบคน สิบสองคนในจำนวนนี้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมสงเคราะหศาสตร์ ซึ่งได้รับการคัดสรรโดยประธานาธิบดีอินเดียและได้รับสมญาว่า "สมาชิกคัดสรร" ส่วนสมาชิกที่เหลือแห่งราชยสภามาจากการเลือกตั้งโดยสภานิติบัญญัติประจำรัฐและดินแดนต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย สมาชิกทุกคนอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุก ๆ สองปี ราชยสภาดำเนินสมัยประชุมอย่างไม่ขาดสาย และต่างจาก "โลกสภา" หรือสภาล่างของรัฐสภาอินเดีย ที่โลกสภาสามารถถูกยุบสภาได้ แต่จะไม่มีการยุบราชยสภา อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีอินเดียมีอำนาจที่จะสั่งการให้ระงับสมัยประชุมของราชยสภาและโลกสภาได้ทั้งคู่ ราชยสภาและโลกสภาบริหารอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน โดยมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกันในการตรากฎหมายและพิจารณาร่างกฎหมาย (ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของโลกสภามิใช่ราชยสภา) ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ปัญหาดังกล่าวนี้จะได้รับการตัดสินโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอินเดีย แต่โดยที่ราชยสภามีสมาชิกน้อยกว่าโลกสภาถึงสองเท่า จึงนับว่าโลกสภามีอำนาจมากกว่าในการประชุมร่วมกันดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐสภาอินเดียมีน้อยครั้งมาก ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอินเดียจนถึงปัจจุบัน มีการประชุมร่วมเช่นว่านั้นเพียงสามครั้งเท่านั้น รองประธานาธิบดีอินเดียเป็นนายกราชยสภาโดยตำแหน่ง ส่วนอุปนายกราชยสภานั้นเป็นสมาชิกราชยสภาคนหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกด้วยกันเอง และจะทำหน้าที่กำกับการบริหารและการทำงานตามปกติของราชยสภา รวมทั้งทำหน้าที่ประธานการประชุมในวาระเมื่อรองประธานาธิบดี (นายกราชยสภา) ไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ ราชยสภานี้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและราชยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ราชีพ คานธี

ราชีพ รตนะ คานธี (राजीव गांधी, Rajiv Ratna Gandhi, 20 สิงหาคม ค.ศ. 1944 - 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1991) นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของอินเดีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและราชีพ คานธี · ดูเพิ่มเติม »

วิศวนาถ ประตาป สิงห์

วิศวนาถ ประตาป ซิงห์ (विश्वनाथ प्रताप सिंह) เกิดเมื่อ 25 มิถุยายน..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและวิศวนาถ ประตาป สิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

สรวปัลลี ราธากฤษณัน

ร.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและสรวปัลลี ราธากฤษณัน · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า

อมพลเรือ หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า (Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma) หรือพระนามเดิมคือ เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทนแบร์ก เป็นรัฐบุรุษและทหารเรือชาวอังกฤษ เป็นพระราชปนัดดา (หลานยาย) ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระปิตุลาในเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทรงดำรตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองเรือสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1943–46) และดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งอินเดีย (1947) และต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำอาณานิคมอินเดีย (1947–48) ก่อนที่ต่อมาจะกลับมารับราชการที่ตำแหน่งเฟิร์สซีลอร์ด (ผู้บัญชาการราชนาวี) และรับราชการในตำแหน่งสุดท้ายที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนี้ในฐานะสมาชิกพระราชวงศ์แล้ว เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนยังเป็นผู้อบรมสั่งสอนเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นพระนัดดาของพระองค์ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็มักจะเรียกอย่างทรงกันเองว่า "เสด็จปู่–เสด็จหลาน".

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและหลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า · ดูเพิ่มเติม »

หัวหน้ารัฐบาล

หัวหน้ารัฐบาล (head of government) เป็นคำทั่วไป ใช้กับข้าราชการสูงสุดหรือสูงสุดอันดับสองในฝ่ายบริหารของรัฐเอกราช รัฐสหพันธ์ หรืออาณานิคมปกครองตนเองหนึ่ง ผู้ซึ่งมักเป็นประธานคณะรัฐมนตรี คำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" มักใช้แยกกับคำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" เช่น ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 และรายการพิธีสารสหประชาชาติ อำนาจของหัวหน้ารัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งนั้นกับสถาบันอื่นของรัฐ (เช่น ประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติ) แตกต่างกันได้มากตามแต่ละรัฐ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตัวแบบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่เลือก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและหัวหน้ารัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

อินทิรา คานธี

อินทิรา ปริยทรศินี คานธี (इन्दिरा प्रियदर्शिनी गान्धी, Indira Priyadarsini Gandhi, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอินเดียที่ดำรงตำแหน่งถึง 3 วาระติดต่อกัน และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประเทศอินเดีย อินทิรา คานธี มีชื่อเดิมว่า อินทิรา ปรียทรศินี เนห์รู เป็นบุตรสาวของชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย กับกมลา เนห์รู นางอินทิราสมรสกับผิโรช คานธี ซึ่งมีนามสกุลเดียวกับมหาตมา คานธี แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน อินทิรามีบุตรชายสองคน คือ ราชีพ คานธีและสัญชัย คานธี โดยบุตรทั้งสองต่างดำเนินกิจกรรมทางการเมืองสืบต่อจากมารดา อินทิรา คานธีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 หลังจากถูกองครักษ์สองคนใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30 นัด ที่บริเวณสวนในทำเนียบนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล สาเหตุเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวซิก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและอินทิรา คานธี · ดูเพิ่มเติม »

คองเกรสแห่งชาติอินเดีย

สัญลักษณ์ของพรรค คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (भारतीय राष्ट्रीय कांग्रेस ภารตียราษฏรียกังเครส; Indian National Congress: INC) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในอินเดีย สมาชิกของพรรคนี้ ได้แก่ มหาตมา คานธี, ชวาหะร์ลาล เนห์รู, อินทิรา คานธี, ราเชนทระ ปรสาท, ราชีพ คานธี, ราหุล คานธี, มันโมหัน สิงห์, ภีมราว รามชี อามเพฑกร, และ สุนีล ทัตต์ หมวดหมู่:พรรคการเมืองอินเดีย.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและคองเกรสแห่งชาติอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรี

ณะรัฐมนตรี (council of ministers หรือ cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและคณะรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีอินเดีย

ประธานาธิบดีอินเดีย คือประมุขแห่งรัฐของประเทศอินเดีย โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินเดียคือประณับ มุกเคอร์จี สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2012 หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งจากประติภา ปาฏีล ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินเดียที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2007.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและประธานาธิบดีอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประติภา ปาฏีล

ประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (प्रतिभा देवीसिंह पाटिल ปฺรติภา เทวีสิงฺห ปาฏิล; Pratibha Devisingh Patil; เกิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2477) เป็นประธานาธิบดีอินเดียคนที่ 12 นับเป็นชาวมหาราษฎระคนแรกและเป็นสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ของอินเดียที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและประติภา ปาฏีล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

นิวเดลี

นิวเดลี (New Delhi; नई दिल्ली) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและนิวเดลี · ดูเพิ่มเติม »

นเรนทระ โมที

นเรนทระ ทาโมทรทาส โมที (नरेन्द्र दामोदरदास मोदी; Narendra Damodardas Modi; เกิด 17 กันยายน 1950) เป็นนักการเมืองชาวอินเดียซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2014 หลังจากที่พรรคภารตียชนตา (भारतीय जनता पार्टी; Bharatiya Janata Party) ที่เขาเป็นหัวหน้า ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2014 ในเดือนตุลาคม 2001 เกศุภาอี ปเฏล (केशुभाई पटेल; Keshubhai Patel) ลาออกจากตำแหน่งมุขยมนตรี (मुख्यमंत्री; Chief Minister) คนที่ 13 แห่งรัฐคุชราต โมทีจึงได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาจนลาออกไปเป็นนายกรัฐมนตรี นับได้ 4 สมัย เขาจึงเป็นมุขยมนตรีคุชราตซึ่งอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด โมทีเคยเป็นกุนซือคนสำคัญของพรรคภารตียชนตาซึ่งวางยุทธศาสตร์ให้พรรคสามารถชนะการเลือกตั้งระดับรัฐในปี 1995 และ 1998 ทั้งมีบทบาทหลักในการหาเสียงเลือกตั้งระดับชาติในปี 2009 ซึ่งสหพันธมิตรหัวก้าวหน้า (संयुक्त प्रगतिशील गठबंधन; United Progressive Alliance) กลุ่มการเมืองที่มีพรรคครองเกรสแห่งชาติอินเดีย (भारतीय राष्ट्रीय कांग्रेस; Indian National Congress) เป็นผู้นำ ชนะ โมทียังเป็นสมาชิกราษฏรียสวยัมเสวกสังฆ์ (राष्ट्रीय स्वयंसेवक संघ; Rashtriya Swayamsevak Sangh) กลุ่มคลั่งชาติในประเทศอินเดีย นักวิชาการและสื่อมวลชนอินเดียถือว่า เขาเป็นผู้คลั่งชาติฮินดู ซึ่งตัวเขาเองก็ยอมรับว่าเขาเป็นนักชาตินิยมฮินดู แม้โมทีได้รับคำชื่นชมเพราะนโยบายเศรษฐกิจของเขาช่วยให้คุชราตมีบรรยายที่อำนวยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก แต่เขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในบ้านเกิดเมืองนอนและในต่างแดน เกี่ยวกับการจลาจลในคุชราตเมื่อปี 2002 ระหว่างที่เขาปกครองรัฐคุชราต และความล้มเหลวในการทำให้การพัฒนามนุษย์ในรัฐบรรลุผลในทางสร้างสรร.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีอินเดียและนเรนทระ โมที · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายนามนายกรัฐมนตรีอินเดียนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »