โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นัยสำคัญทางสถิติ

ดัชนี นัยสำคัญทางสถิติ

ในสถิติศาสตร์ ผลศึกษาที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (statistical significance) หมายความว่าผลศึกษานั้นมีโอกาสน้อยที่จะเกิดจากความบังเอิญ การที่ผลการศึกษาหนึ่งๆ มีนัยสำคัญทางสถิตินั้น เป็นคนละประเด็นกับว่าผลที่ออกมานั้นมีนัยสำคัญในความเข้าใจทั่วไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาครั้งหนึ่งที่ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่นับหมื่นคนอาจทำให้กล่าวได้อย่างมั่นใจว่าคนในจังหวัดหนึ่งมีคะแนนไอคิวสูงกว่าคนอีกจังหวัดหนึ่งอยู่ 0.05 แต้ม ผลการศึกษานี้อาจมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความแตกต่างนั้นมีน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญในความเข้าใจทั่วไป นักวิจัยหลายท่านยืนยันว่าการทดสอบหานัยสำคัญนั้นจะต้องมีการประเมินทางสถิติของขนาดผลลัพธ์ (effect-size statistics) ด้วยเสมอ ซึ่งจะเป็นการประมาณขนาดของความสำคัญของความแตกต่างที่สังเกตได้ ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้ทั่วไปของความสำคัญหรือนัยสำคัญ ขนาดของหลักฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ยอมรับได้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ ไม่น่าจะเกิดขึ้นจากความบังเอิญเรียกว่าระดับความสำคัญหรือค่า critical p-value โดยในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติแบบ Fisherian ดั้งเดิม (traditional Fisherian statistical hypothesis testing) กำหนดว่า p-value คือความน่าจะเป็นที่คำนวณได้จากเงื่อนไขเริ่มต้นของสมมติฐานแห่งความไม่แตกต่าง (null hypothesis) ซึ่งได้จากการสังเกต หากค่า p-value ที่คำนวณได้มีค่าน้อยอาจหมายความว่าสมมติฐานแห่งความไม่แตกต่างนั้นเป็นเท็จหรือได้มีเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นแล้ว.

3 ความสัมพันธ์: สถิติศาสตร์ความบังเอิญค่า p

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: นัยสำคัญทางสถิติและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความบังเอิญ

วามบังเอิญ, เหตุบังเอิญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นัยสำคัญทางสถิติและความบังเอิญ · ดูเพิ่มเติม »

ค่า p

ในวิชาสถิติว่าด้วยการทดสอบสมมติฐาน ค่า p (p-value) หรือค่าความน่าจะเป็น (probability value) คือสัดส่วนของความน่าจะเป็น ที่ข้อสรุปหนึ่งทางสถิติ (เช่นความแตกต่างระหว่างมัชฌิมของตัวอย่างสองกลุ่ม) จะมีค่าเท่ากันหรือมากกว่าค่าจากการสังเกต (observed value) ในกรณีที่สมมติฐานว่างเป็นจริง ค่า p มักถูกใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานทางสถิติในงานวิจัยสาขาต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์, เศรษฐศาสตร์, การเงิน, รัฐศาสตร์, จิตวิทยา, ชีววิทยา, อาชญาวิทยา และสังคมวิทยา การใช้ค่า p อย่างผิด ๆ เป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียง.

ใหม่!!: นัยสำคัญทางสถิติและค่า p · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Statistical signiifcanceStatistically significantมีนัยสำคัญทางสถิติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »