โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธีโอฟิลลีน

ดัชนี ธีโอฟิลลีน

ีโอฟิลลีน (Theophylline) หรือ 1,3-ไดเมทิลแซนทีน (1,3-dimethylxanthine) เป็นยาประเภทสารขยายหลอดลม ใช้ในการรักษาโรคระบบหายใจ อาทิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ โรคหืด ธีโอฟิลลีนเป็นสารที่สกัดได้จากใบชา ถูกค้นพบโดย อัลเบรชท์ ค็อดเซิล นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี..

19 ความสัมพันธ์: ชากล้ามเนื้อเรียบการชักการอักเสบการฉีดเข้าหลอดเลือดดำการนอนไม่หลับกาเฟอีนยาขับปัสสาวะยาปฏิชีวนะระบบประสาทกลางสารขยายหลอดลมอาเจียนคลื่นไส้ความดันเลือดใจสั่นโรคระบบหายใจโรคหืดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไต

ชา

ใบชาเขียวในถ้วยชาจีน ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ ชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและชา · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเรียบ

ั้นต่างๆ ของหลอดอาหาร:1. ชั้นเยื่อเมือก (mucosa) 2. ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) 3. ชั้นกล้ามเนื้อ (muscularis) 4. ชั้นแอดเวนทิเชีย (adventitia) 5. กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) 6. กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ (Striated and smooth) 7. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) 8. ชั้นมัสคิวลาริส มิวโคซา (Lamina muscularis mucosae) 9. ต่อมหลอดอาหาร (Esophageal glands) กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย หรือเซลที่ไม่มีลาย มีการหดตัวอัตโนมัติ จากการสั่งงานของเส้นประสาท (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่พบอยู่ที่ผนังของอวัยวะกลวง (hollow organs) และบริเวณอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะและช่องท้อง, มดลูก, ท่อทางเดินในระบบสืบพันธุ์เพศชายและหญิง, ทางเดินอาหาร, ทางเดินหายใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กล้ามเนื้อซิลิอารี และม่านตา ที่โกลเมอรูลัส (glomerulus) ในไตยังมีเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เรียกว่า เซลล์มีแซนเจียล (mesangial cell) กล้ามเนื้อเรียบมีความแตกต่างจากกล้ามเนื้อโครงร่างและกล้ามเนื้อหัวใจทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและกล้ามเนื้อเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สารขยายหลอดลม

รขยายหลอดลม หรือ ยาขยายหลอดลม (Bronchodilator) เป็นสารที่ช่วยขยายหลอดลมและหลอดลมฝอย ช่วยลดอาการหายใจติดขัด และทำให้มีอากาศหมุนเวียนไปสู่ปอดมากขึ้น สารขยายหลอดลมอาจเกิดขึ้นเองโดยกลไกของร่างกาย หรือรับประทานเป็นยาเข้าไปตามการควบคุมของแพทย์ก็ได้ สารขยายหลอดลมนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น รวมทั้งโรคหืด ตลอดจนโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและสารขยายหลอดลม · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่สบายไม่สงบในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดความต้องการที่จะอาเจียนโดยอยู่นอกเหนือการควบคุม อาการนี้อาจเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการคลื่นไส้อาจไม่อาเจียนก็ได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานสามารถทำให้เกิดปัญหาได้.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและคลื่นไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและความดันเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหายใจ

รคระบบหายใจคือภาวะพยาธิสภาพใดๆ ซึ่งเกิดกับอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ชั้นสูง หมายรวมถึงภาวะซึ่งเกิดกับทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมใหญ่ หลอดลม หลอดลมฝอย ถุงลม เยื่อหุ้มปอด โพรงเยื่อหุ้มปอด และเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหายใจ โรคระบบหายใจมีตั้งแต่เป็นน้อยหายได้เอง เช่น หวัด ไปจนถึงโรคซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย ลิ่มเลือดตันในปอด และมะเร็งปอด เป็นต้น วิชาซึ่งว่าด้วยโรคระบบหายใจคือ วิทยาปอด (pulmonology) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจเรียกว่า อายุรแพทย์โรคระบบหายใจ (pulmonologist, chest medicine specialist, respiratory medicine specialist, respirologist หรือ thoracic medicine specialist).

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและโรคระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหืด

รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและโรคหืด · ดูเพิ่มเติม »

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ --> และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป --> อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี..

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ธีโอฟิลลีนและไต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Theophylline

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »