โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธัชวิทยา

ดัชนี ธัชวิทยา

งของ ''Fédération internationale des associations vexillologiques''. ธัชวิทยา (vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้ว..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ..

47 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการออกแบบภาษาละตินมุทราศาสตร์รัฐโอไฮโอวัฒนธรรมศาสนาสมาพันธรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปสีหนังสืออดอล์ฟ ฮิตเลอร์จอธงธงชาติบราซิลธงชาติฟิลิปปินส์ธงชาติกานาธงชาติสหรัฐธงชาติสาธารณรัฐจีนธงชาติอาร์เจนตินาธงชาติจีนธงชาตินอร์เวย์ธงชาติแคนาดาธงชาติไทยธงการปฏิวัติอาหรับทวีปอเมริกาใต้คลาสสิกประวัติศาสตร์ประเทศกายอานาประเทศญี่ปุ่นประเทศสเปนประเทศนิวซีแลนด์ประเทศแอฟริกาใต้ประเทศไอร์แลนด์ประเทศเยอรมนีป้ายโฆษณานาซีเยอรมนีนิยามของตรานิเวศวิทยาแลบราดอร์ริทรีฟเวอร์แวนคูเวอร์โยโกฮามะโรมันเบอร์ลินเอมีลีโอ อากีนัลโดFlags of the World

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

การออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างและเพดาน การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน แบบที่คิดออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นลักษณะเพื่อฝัน เป็นเพียงนามธรรมก็ได้ ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ทำงานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบแฟชั่น, นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาด้าน สุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย หลักเศรษฐศาสตร์ และมุมมองสังคมการเมือง ทั้งในสิ่งที่ออกแบบและขั้นตอนการออกแบบ การออกแบบอาจเกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูล ความคิด การทำแบบจำลอง การปรับเปลี่ยนให้ทำงานร่วมกันได้ และอาจมีการออกแบบใหม่ ขณะที่ความหลายหลายของการออกแบบอาจรวมไปถึง เสื้อผ้า ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตึกระฟ้า เอกลักษณ์กลุ่มบริษัท ขั้นตอนการทำธุรกิจ หรือแม้กระทั่งขั้นตอนการออกแบบเอง.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและการออกแบบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโอไฮโอ

ป้ายต้อนรับ รัฐโอไฮโอ (Ohio) รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 17 ในปี พ.ศ. 2346 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ OH และเป็นรัฐที่มีป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองจากรัฐอะแลสก.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและรัฐโอไฮโอ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐอเมริกา

มาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America; ย่อ: CSA) มักเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederate States; ย่อ: CS) เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาใน..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและสมาพันธรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สี

วงล้อสี สี คือการรับรู้ความถี่ (ความกว้างคลื่นหรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและสี · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือ

หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่าง ๆ กัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่าง ๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book) การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือสามารถซื้อขายได้ที่ร้านหนังสือ และสามารถยืมได้จากห้องสมุด กูเกิลประมาณว่าใน..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอ

right จอ เป็นชื่อปีที่ 11 ของรอบปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็นหมา พุทธศักราชที่ตรงกับปีจอ เช่น พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2573 พ.ศ. 2585 และ พ.ศ. 2597 เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย หมวดหมู่:ปีนักษัตร หมวดหมู่:ปฏิทิน.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและจอ · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบราซิล

งชาติบราซิล (Bandeira do Brasil) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเขียว กลางธงมีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลือง ภายในรูปดังกล่าวมีวงกลมสีน้ำเงิน บรรจุรูปแผนที่ของกลุ่มดาวขนาดต่างๆ กลางวงกลมนั้นมีแถบสีขาวพาดผ่าน บรรจุข้อความเขียนด้วยตัวอักษรโรมันพิมพ์ใหญ่สีเขียวว่า "Ordem e Progresso" (แปลว่า "ความเป็นระเบียบและความก้าวหน้า") ธงนี้ในบางครั้ง มักมีการเรียกชื่อว่า Auriverde ซึ่งแปลว่า " (ธง) สีทองและเขียว" แบบธงชาติซึ่งเป็นต้นแบบของธงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 โดยแนวคิดของการออกแบบธงชาติเป็นผลงานร่วมกันของ ไรมุนโด เทย์เซย์รา เมนเดส (Raimundo Teixeira Mendes) มิเกล เลมอส (Miguel Lemos) และมานูเอล เปอร์เรย์รา เรย์ส์ (Manuel Pereira Reis) ส่วนการออกแบบธง ดำเนินการโดย เดซิโอ วิลาเรส (Décio Vilares).

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติฟิลิปปินส์

งชาติฟิลิปปินส์ (Pambansang Watawat ng Pilipinas) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกานา

งชาติกานา เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน แถบบนพื้นสีแดง แถบกลางสีทอง และแถบล่างสีเขียว ซึ่งเป็นสีพันธมิตรแอฟริกาตามแบบที่ใช้ในธงชาติเอธิโอเปีย กลางแถบสีเหลืองนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีดำ ธงนี้นับเป็นธงชาติในทวีปแอฟริกาธงแรก ที่ออกแบบโดยใช้สีตามธงชาติเอธิโอเปีย ออกแบบโดยนางธีโอโดเซีย โอโกห์ เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 หลังจากกานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ความหมายของสีในธงชาติ คือ สีแดง หมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของชาวกานา สีทอง หมายถึงความมั่งคั่งของทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ สีเขียว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ และดาวสีดำดวงเดียว หมายถึงดาวที่ส่องนำทางไปสู่เสรีภาพของชาวแอฟริกาทั้งปวง ในช่วงปี พ.ศ. 2502 กานาได้เข้าร่วมกับกินีจัดตั้งเป็นสหรัฐแอฟริกา และ ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน มาลี ซึ่งดาวดำบนธงชาติในช่วงนั้นมี 2 ดวง และ 3 ดวงตามลำดับ จนมาถึงปี พ.ศ. 2505 สหรัฐแอฟริกาได้ล่มสลายเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองภายใน และ จากนั้นในปี พ.ศ. 2507 - 2509 ธงนี้ได้มีการเปลี่ยนแถบตรงกลางจากสีทองเป็นสีขาว ก่อนที่จะกลับมาใช้ธงแบบเดิมอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ธรรมเนียมการใช้ธงในประเทศกานานั้น เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม ยกตัวอย่างเช่น ธงนาวีกานา ซึ่งใช้ในกองทัพเรือกานานั้น เป็นธงพื้นสีขาวมีกากบาทสีแดงอยู่กลางธง ที่มุมธงด้านคันธงนั้นมีธงชาติกานา ในลักษณะอย่างเดียวกันกับธงแสดงสัญชาติสีขาว ส่วนธงเรือเอกชนกานานั้น ใช้ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีธงชาติกานามีขอบสีดำ ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการเลียนแบบจากธงแสดงสัญชาติสีแดง.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติกานา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหรัฐ

23x15px '''"ธงยูเนียนแจ็ค" (Union Jack)''' (50 ดาว) ใช้เป็นธงฉานกองทัพเรือสหรัฐ ค.ศ. 1777–2002 23x15px '''"ธงเฟิร์สเนวีแจ็ค" (First Navy Jack)''' ธงฉานกองทัพเรือสหรัฐในปัจจุบัน ธงชาติสหรัฐ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 ส่วน ยาว 19 ส่วน ภายในเป็นแถบสีแดงสลับขาวรวมกัน 13 ริ้ว เป็นริ้วสีแดง 7 ริ้ว สีขาว 6 ริ้ว ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวจำนวน 50 ดวง เรียงกันตามแนวตั้งเป็นแถวดาว 6 ดวงสลับกับแถวดาว 5 ดวง รวมจำนวนทั้งหมด 9 แถว ธงนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก 3 ชื่อ คือ "The Stars and Stripes" (ธงดาวและริ้ว) "Old Glory", และ "The Star-Spangled Banner" ซึ่งชื่อหลังสุดนี้ ยังเป็นชื่อของเพลงชาติสหรัฐอีกด้วย จำนวนของดาว 50 ดวงในพื้นสีน้ำเงิน หมายถึงรัฐต่าง ๆ สหรัฐทั้ง 50 รัฐ โดยจำนวนดาวจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อมีการเพิ่มจำนวนรัฐในความปกครอง ริ้วสีแดงสลับขาวทั้ง 13 ริ้ว หมายถึงอาณานิคม 13 แห่งของสหราชอาณาจักรในอเมริกา ซึ่งได้ร่วมกันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร และสถาปนาประเทศสหรัฐขึ้น เมื่อ..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐจีน

งชาติสาธารณรัฐจีน เป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยที่สาธารณรัฐจีนยังอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ กระทั่งภายหลังได้ตั้งมั่นอยู่ที่เกาะไต้หวันนับแต่ พ.ศ. 2492 พรรคก๊กมินตั๋งได้เริ่มใช้ธงดังกล่าวเป็นครั้งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า ชิงเทียน ไป๋รื่อ หม่านตี้ หงฉี แปลว่า ธงท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง ปฐพีแดง แผ่นดินอุดม และมีชื่อที่รู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า "Blue Sky, White Sun, and a Wholly Red Earth".

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอาร์เจนตินา

งชาติอาร์เจนตินา ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2355 ลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอน ประกอบด้วยแถบสีฟ้า-สีขาว-สีฟ้า ซึ่งแต่ละแถบล้วนกว้างเท่ากัน ส่วนรูปดวงอาทิตย์สีเหลืองกลางธง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ดวงอาทิตย์แห่งเดือนพฤษภาคม (Sol de Mayo) ได้เพิ่มเข้ามาภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2361 รูปธงที่กล่าวมานี้เป็นธงชาติสำหรับพิธีการ (Bandera Oficial de Ceremonia) หากธงนี้ไม่มีรูปดวงอาทิตย์ จะถือเป็นธงชาติสำหรับประดับตกแต่ง (Bandera de Ornato) แม้ธงทั้งสองอย่างนี้จะมีศักดิ์เป็นธงชาติเหมือนกัน แต่ธงชาติสำหรับประดับตกแต่งจะต้องชักไว้ต่ำกว่าธงชาติสำหรับพิธีการเสมอ ตามหลักวิชาธัชวิทยาแล้ว จัดให้ธงชาติอาร์เจนตินาสำหรับพิธีการเป็นธงพลเรือน ธงราชการ ธงกองทัพและธงราชนาวี ส่วนธงชาติสำหรับประดับตกแต่ง จัดเป็นธงพลเรือนและธงเรือพลเรือน.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติจีน

งชาติจีน ในที่นี้หมายถึงธงประจำชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ธงแดงห้าดาว (五星红旗; พินอิน: wǔ xīng hóng qí, อู่ซิงหงฉี) มีต้นแบบมาจากธงชาติจีนที่เจิงเหลียนซง นักเศรษฐศาสตร์และศิลปินชาวรุ่ยอาน ออกแบบและส่งเข้าประกวดต่อสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน (ซึ่งเป็น 1 ในธง 3,012 แบบที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศ) ภายหลังสภาที่ ปรึกษาทางการเมืองได้ปรับปรุงแบบธงบางประการ และได้ประกาศรับรองแบบธงเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการในวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน พร้อมกันนั้น ยังได้มีการประกาศใช้เพลงชาติ และตราสัญลักษณ์ประจำชาติร่วมกันอีกด้ว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติจีน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาตินอร์เวย์

งชาตินอร์เวย์ มีอายุนับย้อนหลังขึ้นไปถึงปี พ.ศ. 2364 เมื่อครั้งที่นอร์เวย์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน จากการยอมยกดินแดนให้ของประเทศเดนมาร์กเมื่อ พ.ศ. 2357 ลักษณะของธงนี้มีรูปแบบเดียวกันกับธงชาติเดนมาร์ก แต่เพิ่มรูปไม้กางเขนสีน้ำเงินขอบขาว เพื่อเป็นการแสดงความรักชาติของชาวนอร์เว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาตินอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแคนาดา

งชาติแคนาดา (The Maple Leaf, ธงใบเมเปิ้ล; l'Unifolié, ธงรูปใบไม้ใบเดียว) เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งริ้วธงออกเป็น 3 ส่วนตามแนวตั้ง โดยมีสัดส่วนความกว้างแต่ละแถบเป็น 1:2:1 แถบนอกสีแดง แถบในสีขาว กลางมีรูปใบเมเปิ้ลปลาย 11 แฉกสีแดงใบใหญ่ ธงนี้ได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อใช้แทนที่ธงยูเนียนแจ็กซึ่งเคยใช้เป็นธงชาติแคนาดาโดยนิตินั.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไทย

งชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และสีน้ำเงินขาบ ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ธงการปฏิวัติอาหรับ

23px ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ สัดส่วน: 2:3 ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ เป็นธงที่ถูกกำหนดขึ้นโดยขบวนการชาตินิยมอาหรับ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นเป็นแถบสีดำ สีเขียว และสีขาว แบ่งตามแนวนอนของธง ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วสีแดง ธงดังกล่าวนี้ถือเป็นต้นแบบของธงชาติของประเทศอาหรับต่างๆ ในเวลาต่อมาด้ว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและธงการปฏิวัติอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คลาสสิก

ลาสสิก (classic) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกายอานา

กายอานา (Guyana) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Co-operative Republic of Guyana) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ประกอบไปด้วยภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกายอานา (ภาษาของชาวเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกา หมายถึง ดินแดนแห่งน้ำหลาก) พรมแดนด้านตะวันออกจรดประเทศซูรินาม พรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศบราซิล พรมแดนด้านตะวันตกติดกับเวเนซุเอลา และด้านเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับเวเนซุเอลา เช่นเดียวกันกับพรมแดนด้านใต้ส่วนใหญ่ที่ติดกับซูรินาม (ตลอดแนวชายฝั่งตอนบนของแม่น้ำโกรันไตน์).

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศกายอานา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา ป้ายโฆษณา หรือ แผงโฆษณา (billboard หรือในสหราชอาณาจักรหรือส่วนอื่นของโลกเรียก hoarding) เป็นสิ่งก่อสร้างกลางแจ้งขนาดใหญ่สำหรับโฆษณา โดยทั่วไปจะตั้งอยู่บริเวณที่มีการสัญจรคับคั่ง เช่นถนนที่มีการจราจรแออัด ป้ายโฆษณานี้จะแสดงโฆษณาสำหรับผู้คนและผู้ขับรถ โดยปกติแล้วจะแสดงสโลแกนและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ป้ายโฆษณาตั้งอยู่ในที่สูงที่สามารถเห็นได้โดยกลุ่มเป้าหมาย ป้ายโฆษณาขนาดใหญสุด ตั้งอยู่บริเวณสำคัญ บนถนนสายสำคัญ ทางด่วน หรือบริเวณสำคัญ และให้ผู้บริโภคที่มีอยู่คับคั่งเห็น (ส่วนมากเป็นบริเวณการจราจรแออัด) หมวดหมู่:การโฆษณา หมวดหมู่:อุปกรณ์ประดับถนน หมวดหมู่:การส่งเสริมและการสื่อสารการตลาด.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและป้ายโฆษณา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แลบราดอร์ริทรีฟเวอร์

แลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever).

ใหม่!!: ธัชวิทยาและแลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แวนคูเวอร์

200px แวนคูเวอร์ เป็นเมืองท่าชายฝั่งที่มีชื่อเสียงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ และในภูมิภาคแปแซิฟิก มีประชากรราว 611,869 คน แต่เมื่อรวมเขตเมืองทั้งหมดจะมีประชากร 2,249,725 คน ชื่อของเมืองมาจากชื่อของนักสำรวจชาวอังกฤษนามว่า จอร์จ แวนคูเวอร์ บางครั้งอาจจะสับสนระหว่างเมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา กับเมืองแวนคูเวอร์ที่อยู่ในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เมืองในอดีต ได้แก่ การป่าไม้ การทำเหมืองแร่ การตกปลา และ เกษตรกรรม ส่วนปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ อันมีผลมาจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้น ปัจจุบันแวนคูเวอร์เป็นศูนย์กลางการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นอันดับสามของอเมริกาเหนือรองมาจาก ลอสแอนเจลิส และนิวยอร์ก จนมีชื่อเล่นอีกชื่อว่า "Hollywood North" และแวนคูเวอร์ยังเป็นสถานที่จัดแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2010อีกด้ว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและแวนคูเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยโกฮามะ

นครโยโกฮามะ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากกรุงโตเกียว และยังถือเป็นเขตเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองเอกของจังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโตเกียวทางใต้ของกรุงโตเกียวในภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะถือเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตอภิมหานครโตเกียว.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและโยโกฮามะ · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เอมีลีโอ อากีนัลโด

อมีลีโอ ฟามี อากีนัลโด (Emilio Famy Aguinaldo) เป็นนักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์จากสเปน รุ่นเดียวกับโฮเซ รีซัล และอันเดรส โบนีฟาซีโอ เขาเป็นผู้นำในการลุกฮือขึ้นต่อสู้กับสเปนด้วยอาวุธหลังการถูกประหารชีวิตของรีซัล เป็นนักปฏิวัติชาวฟิลิปปินส์ที่มีบทบาทในการจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 แยกออกมาจากการเป็นอาณานิคมของสเปนในครั้งแรก เมื่อ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ธัชวิทยาและเอมีลีโอ อากีนัลโด · ดูเพิ่มเติม »

Flags of the World

Ivan Sache, Apprentice-ListmasterRob Raeside, Editorial Director | num_staff.

ใหม่!!: ธัชวิทยาและFlags of the World · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Vexillologyธงวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »