โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมเมกขสถูป

ดัชนี ธรรมเมกขสถูป

รรมเมกขสถูป (Dhamek Stupa) พระสถูป เก่าแก่ในพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถ ในปัจจุบัน).

7 ความสัมพันธ์: พระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าอโศกมหาราชพาราณสีสารนาถธัมมจักกัปปวัตนสูตรปัญจวัคคีย์เจดีย์

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พาราณสี

ราณสี (Bārāṇasī พาราณสี; वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอุตตรประเทศเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri) ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดียและยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares) พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน โดยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารน.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและพาราณสี · ดูเพิ่มเติม »

สารนาถ

รนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นาร.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและสารนาถ · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและธัมมจักกัปปวัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจวัคคีย์

ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและปัญจวัคคีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์

ระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เจดีย์ (ภาษาบาลี: เจติย, ภาษาสันสกฤต: ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี: ถูป, ภาษาสันสกฤต: สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้ว.

ใหม่!!: ธรรมเมกขสถูปและเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »