โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมศาลา

ดัชนี ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

47 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการชาวยิวชาวยิวอัชเคนาซิชาวยิวเซฟาร์ดีชิคาโกพลับพลาการอธิษฐานภาษายิดดิชภาษาฮีบรูภาษาแอราเมอิกรับบีรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์รัฐเกรละลิงคอล์น, ลิงคอล์นเชอร์ศาสนสถานศาสนายูดาห์สมัยเฮลเลนิสต์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์หีบแห่งพันธสัญญาออรานทวีปอเมริกาทะเลอีเจียนดาราแห่งดาวิดคัมภีร์ไบเบิลคานาอันซาโลมอนประเทศบราซิลประเทศกรีซประเทศอังกฤษประเทศอินเดียประเทศอียิปต์ประเทศซีเรียปรากปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)แอนติออกแซแก็ดโทราห์โซเฟียไคเฟิงเยรูซาเลมเวสต์แบงก์เทพปกรณัมกรีกเทลอาวีฟเครือจักรภพแห่งประชาชาติเคียฟเปิลเซน

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวอัชเคนาซิ

วยิวอัชเคนาซิ หรือ ชาวยิวแห่งอัชเคนาซ (יְהוּדֵי אַשְׁכֲּנָז หรือ אַשְׁכֲּנָזִים, Ashkenazi Jews หรือ Ashkenazic Jews หรือ Ashkenazim) คือชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำไรน์แลนด์ทางตะวันตกของเยอรมนีและตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุคกลาง คำว่า "Ashkenaz" เป็นชื่อภาษาฮิบรูสมัยกลางของภูมิภาคที่ในปัจจุบันครอบคลุมประเทศเยอรมนี และบริเวณที่มีชายแดนติดต่อที่พูดภาษาเยอรมัน นอกจากนั้นอัชเคนาซก็ยังเป็นประมุขจาเฟติคที่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของโนอาห์ (Table of Nations) ฉะนั้น "อัชเคนาซิม" หรือ "อัชเคนาซิยิว" ก็คือ "ชาวยิวเยอรมัน" ต่อมาชาวยิวอัชเคนาซิก็อพยพไปทางตะวันออก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้พูดภาษาเยอรมันที่รวมทั้งฮังการี โปแลนด์ ลิทัวเนีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และ ภูมิภาคอื่นๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 19 ภาษาที่นำติดตัวไปก็คือภาษายิดดิชซึ่งเป็นภาษาเยอรมันภาษายิว|ยิว ที่ตั้งแต่ยุคกลางมาเป็น "ภาษากลาง" ในหมู่ชาวยิวอัชเคนาซิ นอกจากนั้นก็มีบ้างที่พูดภาษายิว-ฝรั่งเศส หรือ ภาษาซาร์ฟาติค (Zarphatic) และ ภาษากลุ่มสลาฟ-ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาคนานิค (ภาษายิว-เช็ก) ชาวยิวอัชเคนาซิวิวัฒนาการวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ผสานเอาวัฒนธรรมของชนในท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้ามาด้วย แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวยิวอัชเคนาซิจะเป็นจำนวนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวทั้งโลก แต่เมื่อมาถึงปี..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและชาวยิวอัชเคนาซิ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวเซฟาร์ดี

วยิวเซฟาร์ดี (Sephardi Jews; ספרדי; ฮิบรูมาตรฐาน: Səfardiไทบีเรีย Səp̄arədî; พหูพจน์ ספרדים, ฮิบรูใหม่: Səfaradim ไทบีเรีย: Səp̄arədîm; Sefardíes; Sefarditas, Σεφάρδοι, Sefarad, จูเดโอ-สเปน: Sefardies) เป็นชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนยิวที่มาจากคาบสมุทรไอบีเรีย และ แอฟริกาเหนือ ที่มักจะกล่าวว่าคู่กับชาวยิวอัชเคนาซิ (Ashkenazi Jews) หรือ ชาวยิวมิซราฮิ (Mizrahi Jews).

ใหม่!!: ธรรมศาลาและชาวยิวเซฟาร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

พลับพลา

ลับพลา (tabernacle) ได้ถูกกล่าวถึงในพระธรรมอพยพ พระเจ้าทรงบัญชาให้โมเสส สร้างสถานนมัสการพระเจ้าขึ้น เป็นเต็นท์ที่ประทับ และจัดทำองค์ประกอบต่าง ๆ ของสถานนมัสการนั้นขึ้น.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและพลับพลา · ดูเพิ่มเติม »

การอธิษฐาน

การอธิษฐาน (prayer) หมายถึง การตั้งจิตร้องขอต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและการอธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายิดดิช

ษายิดดิช (ภาษายิดดิช: ייִדיש, Yiddish,.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและภาษายิดดิช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและรับบี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิลลินอยส์

รัฐอิลลินอยส์ (Illinois, ออกเสียงเหมือน อิล-ลิ-นอย โดยไม่มีเสียง s) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ชื่ออิลลินอยส์ตั้งโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ตามชื่อกลุ่มชาวอินเดียนแดงที่เรียกตัวเองว่า อไลไนเว็ก (Illiniwek) เมืองหลวงของอิลลินอยส์คือ สปริงฟิลด์ เมืองที่มีชื่อเสียงในรัฐอิลลินอยส์ได้แก่ ชิคาโก รหัสย่อของรัฐอิลลินอยส์คือ IL อิลลินอยส์เป็นที่รู้จักในรัฐข้าวโพด เป็นที่ตั้งของเมืองชิคาโก สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงได้แก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและรัฐอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมสซาชูเซตส์

รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) เป็นรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็กใน 14 เคาน์ตี เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์ บล็อกตัน และเคมบร.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเกรละ

รัฐเกรละ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอาหรับ มหาสมุทรอินเดียชื่อรัฐมาจากภาษามาลายาลัมแปลว่าดินแดนแห่งต้นมะพร้าว มีชื่อเสียงด้านการนวดแบบอายุรเวท กเ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:บทความที่ต้องการขยายความ.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและรัฐเกรละ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์น, ลิงคอล์นเชอร์

ลิงคอล์น (ภาษาอังกฤษ: Lincoln) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ลิงคอล์นมีเนื้อที่ทั้งหมด 35.69 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและลิงคอล์น, ลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนสถาน

นสถาน (Place of worship) คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัด และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและศาสนสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเฮลเลนิสต์

มัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic period) เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย ในช่วงนี้อารยธรรมของกรีกก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดทั้งในยุโรปและเอเชีย มักจะถือกันว่าเป็นสมัยคาบเกี่ยว (transition) หรือบางครั้งก็เกือบจะถือว่าเป็นสมัยของความเสื่อมโทรมหรือสมัยของการใช้ชีวิตอันเกินเลย (decadence) ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) กับการเริ่มก่อตัวของจักรวรรดิโรมัน สมัยเฮลเลนิสต์ถือกันว่าเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนมาสิ้นสุดลงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐโรมันได้รับชัยชนะต่อดินแดนสำคัญของกรีซ หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษเมื่อมาเสียราชอาณาจักรทอเลมีในอียิปต์แก่จักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังคงรักษาอารยธรรมเฮลเลนิสต์ สมัยเฮลเลนิสต์เป็นสมัยทีเป็นการก่อตั้งราชอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ของกรีกในเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและสมัยเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์

ซิลิกาซานอัมโบรจิโอในมิลานในอิตาลี อัลบานี, นิวยอร์ก สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ (Romanesque Revival architecture หรือ Neo-Romanesque) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธพลมาจากลักษณะสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ก็จะมีซุ้มโค้งครึ่งวงกลม, โค้งครึ่งวงกลมเหนือหน้าต่าง และ แนวหิน, อิฐ หรือ ชิงเกิลที่เรียงเป็นแนวบนผนัง แต่สิ่งที่ต่างจากต้นฉบับคือส่วนที่เป็นโค้งจะเป็นโค้งที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเช่นที่ใช้ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ดั้งเดิม ลักษณะสถาปัตยกรรมนี้เป็นที่นิยมกันในการก่อสร้างตึกเรียนของมหาวิทยาลัยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เช่นที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และที่ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน และ ศาสนสถานของศาสนายูดายอีกด้วย ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในบรรดาสถาปนิกชาวอเมริกันในรูปแบบที่เรียกว่า “โรมาเนสก์อิสระ” คือเฮนรี ฮ็อบสัน ริชาร์ดสัน สถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากตัวอย่างที่วางไว้โดยริชาร์ดสันจึงเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ริชาร์ดสัน”.(Richardsonian Romanesque) สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ในระยะแรกตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรมรุนด์โบเก็นชตีล”.(Richardsonian Romanesque) หรือ “สถาปัตยกรรมโค้งกลม” นิยมกันในดินแดนเยอรมนี และ ในดินแดนที่ชาวเยอรมันไปตั้งถิ่นฐานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1830 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเลือกลักษณะสถาปัตยกรรมในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานอังกลิคันก็ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องกับสังฆมณฑล ถ้าเป็นคริสต์ศาสนสถานของไฮห์อังกลิคันก็มักจะมีอิทธิพลจากขบวนการอ๊อกซฟอร์ดที่จะนิยมสร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค แต่ถ้าเป็นคริสต์ศาสนสถานของโลว์อังกลิคันและบรอดเชิร์ชก็มักจะเป็นแบบฟื้นฟูโรมาเนสก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

หีบแห่งพันธสัญญา

ูวากำลังผ่านแม่น้ำจอร์แดนพร้อมกับหีบแห่งพันธสัญญา ลักษณะหีบแห่งพันธสัญญาตามสันนิฐาน โดย ''James Tissot'' หีบแห่งพันธสัญญา หรือ หีบแห่งพระบัญญัติ (Ark of the Covenant; אָרוֹן הַבְּרִית ʾĀrôn Habbərît, ออกเสียง อะรอน ฮะบริท; Κιβωτός της Διαθήκης; تابوت العهد) เป็นหีบที่กล่าวถึงใน หนังสืออพยพ บรรจุแผ่นศิลาพระโอวาทที่ได้สลักบัญญัติ 10 ประการเอาไว้ และใน จดหมายถึงชาวฮีบรู ระบุว่า "หีบ‍พันธ‌สัญญา​หุ้ม​ด้วย​ทอง‍คำ​ทุก​ด้าน ภาย‍ใน​นั้น มี​โถ​ทอง‍คำ​บรร‌จุ​มานา มี​ไม้เท้าของอาโรนที่​ออก‍ดอก‍ตูม และ​มี​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​พันธ‌สัญญา" อย่างไรก็ตาม ใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของมหากษัตริย์ซาโลมอน หีบแห่งพันธสัญญาบรรจุไว้แค่ แผ่นศิลาพระบัญญัติจำนวนสองแผ่นเท่านั้น หนังสืออพยพ ยังอธิบายว่า หีบแห่งพันธสัญญาสร้างขึ้นรูปแบบที่พระยาห์เวห์ทรงชี้แนะต่อโมเสสที่ภูเขาซีนาย โมเสสสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้จากพลับพลานมัสการซึ่งบรรจุหีบใบนี้ โดยพระเจ้าจะทรงประทับบนพระที่นั่งกรุณาที่ทั้งสองข้างมีเครูบกางปีกปกไว้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ราวหนึ่งปีภายหลังชนชาวอิสราเอลได้อพยพจากอียิปต์ ก็ได้สร้างตัวหีบขึ้นตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ผ่านโมเสสในระหว่างที่พวกเขาตั้งค่ายที่เชิงเขาซีนาย (ตรงกับ 1513 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมา ปุโรหิตเผ่าเลวีหามหีบแห่งพันธสัญญานำขบวนอพยพของชนชาวอิสราเอลทิ้งระยะห่าง 2000 ศอก ทันทีที่เท้าของปุโรหิตผู้หามหีบแตะผิวน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่ในฤดูน้ำหลาก สายน้ำก็แยกออกจากกันจนเหลือพื้นแห้งให้ขบวนอพยพเดินทางข้ามไปได้ เมื่อการมหัศจรรย์นี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เหล่ากษัตริย์ชาวอาโมไรต์ทั้งหมดทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกษัตริย์ชาวคานาอันทั้งหมดตามชายฝั่งทะเลต่างเกรงกลัวในอำนาจของพระเจ้า ประตูเมืองเยรีโคถูกสั่งปิดตายเนื่องจากเกรงกลัวชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสกับโยชูวาให้ปุโรหิตหามหีบเดินขบวนรอบเมืองวันละหนึ่งรอบเป็นเวลาหกวัน และหามวนเจ็บรอบในวันที่เจ็ดพร้อมเป่าเขาแกะ เมื่อครบเจ็ดรอบ ชาวอิสราเอลก็ส่งเสียงโห่ร้องและกำแพงของเมืองเยรีโคก็พังทลายลงมา กองทัพของชาวอิสราเอลบุกเข้าเมือง เข่นฆ่าทุกคนไม่เว้น ชาย หญิง คนชรา เด็ก สัตว์เลี้ยง และเผาเมืองจนพินาศสิ้น.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและหีบแห่งพันธสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ออราน

ออราน (Oran) หรือ วะฮ์ราน (وَهٌرَانٌ) เป็นเมืองที่ใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ของแอลจีเรีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแอลจีเรีย เมืองศูนย์กลางของจังหวัดออราน ใน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและออราน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและทะเลอีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ดาราแห่งดาวิด

ราแห่งดาวิด (Star of David) เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นอัตลักษณ์ของชาวยิว (Jewish identity) และศาสนายูดาห์ สัญลักษณ์นี้มีชื่อมาจากดาวิด พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิสราเอล การใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนครั้งแรกเริ่มขึ้นในสมัยกลาง ที่รวมทั้งสัญลักษณ์ที่เก่ากว่านั้นที่รวมทั้งเชิงเทียนเมโนราห์ (Menorah) ดาราแห่งดาวิดเป็นสามเหลี่ยมไขว้ที่เป็นรูปดาวหกเหลี่ยม ในปี..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและดาราแห่งดาวิด · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและซาโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราก

รรยากาศภายในกรุงปราก ปราก (Prague) หรือ ปราฮา (Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและปราก · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

แอนติออก

ที่ตั้งของ “แอนติออก” ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออก (Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Δάφνῃ, Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Ὀρόντου หรือ Ἀντιόχεια ἡ Μεγάλη; Antiochia ad Orontem; Antioch หรือ Great Antioch หรือ Syrian Antioch) เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่ง แม่น้ำออรอนตีส ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออกตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหม่อันทาเคีย แอนติออกก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชโดยเซลิวคัสที่ 1 นิคาเตอร์ขุนพลในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แอนติออกเจริญขึ้นมาจนในที่สุดก็เป็นเมืองคู่แข่งของอะเล็กซานเดรีย และเป็นเมืองเอกของตะวันออกใกล้ และเป็นเมืองศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ยุคแรกของคริสต์ศาสน.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

แซแก็ด

แซแก็ด (Szeged; Szegedin; Seghedin; Segedin; Сегедин) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศฮังการี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ บนเส้นเขตแดนประเทศเซอร์เบีย มีมหาวิทยาลัยแซแก็ด หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในฮังการี เป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งแม่น้ำทิสซอ เมืองเก่าได้รับความเสียหายจากอุทกภัยใน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและแซแก็ด · ดูเพิ่มเติม »

โทราห์

ทราห์ (Torah; תּוֹרָה โทราห์; التوراة เตารอต; Τορά) เป็นชื่อของชุดคัมภีร์ชุดแรกในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 5 เล่มแรกในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ หมายถึง บทบัญญัติ ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยแปลว่า ธรรมบัญญัติ หรือ พระบัญญัติ ภายหลังได้มีการแปลเป็นภาษากรีกจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า เบญจบรรณ (Pentateuch) หมายถึง ที่บรรจุห้าอัน คือหนังสือ 5 เล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ได้แก.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและโทราห์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเฟีย

ซเฟีย (Sofia) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐบัลแกเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 47 ของสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ทางตะวันตกของบัลแกเรีย บริเวณตีนเขาวิโตชา เป็นเมืองศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าทางบกที่สำคัญของคาบสมุทรบอลข่าน.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและโซเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

ไคเฟิง

ไคเฟิง ตามสำเนียงกลาง หรือ คายฮอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ไคเฟิงแต่เดิมนั้นมีชื่อว่าเปี้ยนโจว ในสมัยราชวงศ์โฮ่วเหลียงเปลี่ยนชื่อเป็น เปี้ยนจิง ครั้งมา พอมาถึงสมัยหลังได้เปลี่ยนเป็น ไคเฟิง นครไคเฟิงเป็นที่รู้จักกันดีเพราะเคยเป็นที่ทำงานของเปาบุ้นจิ้น หมวดหมู่:เมืองในมณฑลเหอหนาน.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและไคเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเวสต์แบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทลอาวีฟ

thumbtime.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเทลอาวีฟ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปิลเซน

ปิลเซน (Plzeň) เป็นเมืองหลวงของเขตเปิลเซนในประเทศเช็กเกีย และเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงปรากทางทิศตะวันตก 90 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีเบียร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือเบียร์พิลส์เนอร.

ใหม่!!: ธรรมศาลาและเปิลเซน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สุเหร่ายิวธรรมศาลายิว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »