โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมกาย

ดัชนี ธรรมกาย

รรมกาย (धर्म काय ธรฺมกาย, จีน: 法身, พินอิน: fǎshēn) คือพระนามหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความหมายของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และคือพระกายหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏอยู่ในทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน.

22 ความสัมพันธ์: ชินโตพระรัตนสัมภวพุทธะพระอมิตาภพุทธะพระอักโษภยพุทธะพระอโมฆสิทธิพุทธะพระธยานิพุทธะพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุพระไวโรจนพุทธะพินอินพุทธเกษตรกลุ่มภาษาจีนภาษาบาลีมหายานมหาสังฆิกะสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)สังคายนาในศาสนาพุทธสุขาวดีอักษรละตินอัตตาอาทิพุทธะเถรวาท

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ธรรมกายและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พระรัตนสัมภวพุทธะ

ระรัตนสัมภวะพุทธะ (रत्नसंभव) เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึงพระผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งสิ่งมีค่าทั้งมวล ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล พระกายสีเหลืองทอง เป็นต้นตระกูลพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนะ ซึ่งเปรียบได้กับปัญญาอันประเสริฐ เป็นสัญญลักษณ์ของพระรัตนตรัย สัญญลักษณ์ประจำพระองค์คือ จินดามณี หมายถึงการเข้าถึงความรู้แจ้ง มโนวิญญาณธาตุและจิตตรัสรู้ ทรงม้าเป็นพาหน.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระรัตนสัมภวพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระอมิตาภพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอักโษภยพุทธะ

ระอักโษภยะพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง "ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณีโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระอักโษภยพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอโมฆสิทธิพุทธะ

ระอโมฆสิทธิพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง ผู้มีความสำเร็จอันสมบูรณ์ ประทับทางทิศเหนือของพุทธมณฑล พระกายสีเขียว เป็นตัวแทนของพลังลมแห่งจิตวิญญาณ ที่จะผลักดันมนุษย์ไปสู่ความหลุดพ้น สัญญลักษณ์คือวัชระไขว้ โดยวัชระแนวนอนหมายถึงการมีอยู่และการกระทำทางโลก วัชระแนวตั้งหมายถึงพลังบวกแห่งจิตวิญญาณ โดยรวม วัชระไขว้หมายถึงพลังแห่งชีวิต ทรงครุฑเป็นพาหน.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระอโมฆสิทธิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

พระไวโรจนพุทธะ

ระไวโรจนพุทธะราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 219เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ของนิกายวัชรยาน ทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 5 หมายถึงปัญญาอันสูงสุด ตราประจำพระองค์เป็นธรรมจักร หมายถึง ความเป็นหนึ่ง พระกายเป็นแสงสว่าง มักแทนด้วยสีขาว ตำแหน่งในพุทธมณฑลจะอยู่ตรงกลางโดยมีพุทธะอีก 4 องค์ห้อมล้อม พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญมี 2 องค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว.

ใหม่!!: ธรรมกายและพระไวโรจนพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ธรรมกายและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

พุทธเกษตร

ทธเกษตร (อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) หรือ วิสุทธิภูมิ (ดินแดนบริสุทธิ์) ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยปณิธานของแต่ละพระองค์ แดนพุทธเกษตรไม่ใช่นิพพาน แต่มีลักษณะคล้ายสวรรค์ เป็นภูมิที่สาวกของพระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: ธรรมกายและพุทธเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ธรรมกายและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ธรรมกายและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: ธรรมกายและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสังฆิกะ

มหาสังฆิกะ (महासांघिक mahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ธรรมกายและมหาสังฆิกะ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.

ใหม่!!: ธรรมกายและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ใหม่!!: ธรรมกายและสังคายนาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: ธรรมกายและสุขาวดี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ธรรมกายและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: ธรรมกายและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: ธรรมกายและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ธรรมกายและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระธรรมกาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »