โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรณีกาล

ดัชนี ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

47 ความสัมพันธ์: บรมยุคฟาเนอโรโซอิกบรมยุคอาร์เคียนบรมยุคโพรเทอโรโซอิกบรมยุคเฮเดียนพรีแคมเบรียนมหายุคพาลีโออาร์เคียนมหายุคพาลีโอโซอิกมหายุคมีโซอาร์เคียนมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิกมหายุคมีโซโซอิกมหายุคอีโออาร์เคียนมหายุคซีโนโซอิกมหายุคนีโออาร์เคียนมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิกมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิกยุคยุคพาลีโอจีนยุคสตาทีเรียนยุคสเทเนียนยุคออร์โดวิเชียนยุคออโรซีเรียนยุคอีดีแอคารันยุคจูแรสซิกยุคดีโวเนียนยุคครีเทเชียสยุคคาร์บอนิเฟอรัสยุคคาลิมเมียนยุคนีโอจีนยุคแคมเบรียนยุคโทเนียนยุคไรเอเซียนยุคไทรแอสซิกยุคไครโอเจเนียนยุคไซลูเรียนยุคไซดีเรียนยุคเพอร์เมียนยุคเอกเทเซียนสมัยพาลีโอซีนสมัยอีโอซีนสมัยโฮโลซีนสมัยไพลสโตซีนสมัยไพลโอซีนสมัยไมโอซีนธรณีกาลธรณีวิทยาควอเทอร์นารีเปลือกโลก

บรมยุคฟาเนอโรโซอิก

รมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นมหายุคทางธรณีวิทยาในปัจจุบันทางธรณีกาล และเป็นหนึ่งในระหว่างสัตว์มีชีวิตที่มีอยู่มากมาย โดยปกคลุมตั้งแต่ประมาณ 542 ล้านปี และย้อนกลับไปในระยะเวลา เมื่อสัตว์เปลือกแข็งที่มีความหลากหลายปรากฏตัวครั้งแรก โดยชื่อนี้มาจากคำกรีกโบราณ φανερός และ ζωή หมายถึง ชีวิตที่มองเห็น เนื่องจากเป็นความเชื่อหลังจากที่ยุคแคมเบรียนกำเนิดขึ้น เป็นระยะแรกของยุคนี้ ระยะเวลาก่อนบรมยุคฟาเนอโรโซอิกเรียกว่า มหายุคพรีแคมเบรียน ซึ่งตอนนี้แบ่งออกเป็น บรมยุคฮาเดียน,บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ช่วงเวลาของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก รวมถึงการกำเนิดอย่างรวดเร็วของจำนวนสัตว์ไฟลัม วิวัฒนาการของไฟลัมเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ การกำเนิดขึ้นของพืช การพัฒนาการของพืชที่ซับซ้อน วิวัฒนาการของปลา การพัฒนาการของสัตว์บก และการพัฒนาการของสมัยฟัวนาส ในช่วงระยะเวลาที่ปกคลุมทวีปที่กำลังลอยเคว้งคว้าง ท้ายที่สุดการรวบรวมเข้าเป็นทวีปเดียวที่รู้จักกันดี คือ มหาทวีปแพนเจีย แล้วก็แยกตัวออกไปเป็นทวีปในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและบรมยุคฟาเนอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

บรมยุคอาร์เคียน

รมยุคอาร์เคียน(Archean) อยู่ระหว่าง 4,000(3,800) ล้านปีมาแล้งถึง 2,500 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่มีอากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ และอากาศร้อนมาก(อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 35-36 องศาเซลเซียส บางที่อาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะหายใจแน่นอน(ออกซิเจน 0.2%) ในยุคนี้สโทรมาโทไลต์เป็นจุดเด่น(สาหร่ายสีเขียวแกมนำเงิน)ซึ่งทำให้เกิดออกซิเจนในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ธรณีกาลและบรมยุคอาร์เคียน · ดูเพิ่มเติม »

บรมยุคโพรเทอโรโซอิก

รมยุคโพรเทอโรโซอิก(Proterozoic)คือช่วงเวลาหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ระหว่าง 2,500 ล้านปีมาแล้วถึง 542 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้เป็นยุคที่โพรแคริโอตเริ่มพัฒนามาเป็นยูแคริโอต และสัตว์หลายเซลล์ ในช่วงยุคคาลิมเมียนหรือประมาณ 1,600-1,400 ล้านปีมาแล้ว บรมยุคนี้นับตั้งแต่ ออกซิเจนอีเวนท์ จากสโทรมาโทไลต์ เมื่อต้นยุคไซดีเรียนซึ่งทำให้เกิดสนิมมากมาย เพราะออกซิเจนที่มากขึ้น ทำให้ไปออกซิไดซ์กับธาตุเหล็กในทะเล จึงทำให้เกิดทะเลสนิมขึ้นเต็มไปหม.

ใหม่!!: ธรณีกาลและบรมยุคโพรเทอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

บรมยุคเฮเดียน

รมยุคเฮเดียน (Hadean) เป็นบรมยุคแรกที่เกิดขึ้นบนโลกต่อจากการกำเนิดโลกและระบบสุริยะ อยู่ระหว่าง 4,600 ล้านปีมาแล้วถึง 4,000 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ ช่วงต้นยุคเป็นดาวหินหลอมเหลว และช่วงที่เปลือกนอกเริ่มจะแข็งตัว ดาวเคราะห์ขนาดดาวอังคารชื่อ "ทีอา" (Theia) ชนโลก ทำให้เกิดเป็นดวงจันทร์ และยังไม่มีออกซิเจน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและบรมยุคเฮเดียน · ดูเพิ่มเติม »

พรีแคมเบรียน

รีแคมเบรียน (Precambrian) คืออภิมหาบรมยุค (Supereon) ที่อยู่ก่อนหน้าบรมยุคฟาเนอโรโซอิก เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกกินเวลา 88% ของธรณีกาล แบ่งเป็นเป็น 3 บรมยุค (Eon) คือ บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก พรีแคมเบรียนกินเวลาตั้งแต่กำเนิดโลกเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่แล้วจนถึงจุดเริ่มต้นของยุคแคมเบรียนประมาณ 541 ล้านปีที่แล้ว เมื่อสิ่งมีชีวิตเปลือกแข็งปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกอย่างมากมาย ที่ได้ชื่อว่าพรีแคมเบรียนเป็นเพราะอยู่ก่อนหน้ายุคแคมเบรียนซึ่งเป็นยุคแรกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งชื่อยุคแคมเบรียน (Cambrian) ตั้งชื่อจากแคมเบรีย (Cambria) ชื่อแบบโบราณของเวลส์ (Wales) ที่ซึ่งหินจากยุคนี้ถูกศึกษาเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: ธรณีกาลและพรีแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคพาลีโออาร์เคียน

มหายุคพาลีโออาร์เคียน(Paleoarchean) เป็นยุคที่สองแห่งบรมยุคอาร์เคียน ประมาณ 3,800 ล้านปีมาแล้วถึง 3,200 ล้านปีมาแล้ว สิ่งมีชีวิตชนิดแรกได้ถือกำเนิดขึ้น ที่ 3,800 ล้านปีก่อนแล้ว สิ่งมีชีวิตประเภทอาร์เคีย และแบคทีเรีย เริ่มเกาะตัวเป็นสิ่งแรกที่สังเกตได้คือไซยาโนแบคทีเรีย ประมาณ 3,500 ล้านปีก่อน ไซยาโนแบคทีเรีย เริ่มรวมตัวกันเป็นสโตรมาโทไลต์และต่อมา สโตรมาโทไลต์เริ่มมากขึ้นผลิตออกซิเจน ปริมาณหนึ่ง บนผืนดินไม่มีสิ่งมีชีวิต.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคพาลีโออาร์เคียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคพาลีโอโซอิก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era; จากภาษากรีก palaio (παλαιο), "เก่าแก่" และ zoe (ζωη), "ชีวิต", หมายถึง "ชีวิตโบราณ")) เป็นมหายุคแรกสุดจาก 3 มหายุคในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งเป็นยุคทางธรณีกาลของโลก ช่วงเวลาของมหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในช่วง 542-251 ล้านปีมาแล้ว และแบ่งย่อยออกเป็นหกยุคเรียงตามลำดับเก่า-ใหม่ ได้แก่ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และ ยุคเพอร์เมียน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซอาร์เคียน

มหายุคมีโซอาร์เคียน(Mesoarchean) เป็นมหายุคที่สามแห่งบรมยุคอาร์เคียน อยู่ระหว่าง 3,200 ล้านปีมาแล้วถึง 2,800 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ประกอบด้วยออกซิเจนเพียงเล็กน้อยจากสโตรมาโตไลต์ ซึ่งหลักการของสโตรมาโตไลต์ คือ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเปลี่ยนให้เป็น ออกซิเจน ทำให้เกิดออกซิเจนจำนวนหนึ่ง อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส มีสิ่งมีชีวิตประเภทอาร์เคีย และ แบคทีเรีย มากที.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคมีโซอาร์เคียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก

มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก (Mesoproterozoic)เป็นมหายุคที่สองแห่งบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ประมาณ 1,600 ล้านปีมาแล้วถึง 1,000 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้มียูแคริโอตมากมาย โครมาลวีโอตามีมากในยุคนี้ ปะการังหลายเซลล์สีแดง(red algae)เป็นสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นได้ยุคแรกๆ เกิดขึ้น ไดโนแฟล็กเกเลต และ แฟล็กเกเลตอื่น.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคมีโซโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคอีโออาร์เคียน

มหายุคอีโออาร์เคียน(Eoarchean) เป็นยุคแรกแห่งบรมยุคอาร์เคียนประมาณ 4,000(3,800) ล้านปีมาแล้วถึง 3,800(3,600) ประมาณ 200 ล้านปีแห่งการกำเนิดหน่วยแห่งสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่อาร์เอ็นเอ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตชนิดแรก อากาศในยุคนี้ร้อนมาก ยุคนี้เป็นยุคแห่งอุกกาบาต เพราะมีการชนอย่างหนักตอนปลาย(Late Heavy Bombardment:LHB)ไม่มีออกซิเจนเลย ความร้อนที่มีทำให้วัตถุอนินทรีย์มารวมกันเป็นวัตถุอินทรีย์ ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคอีโออาร์เคียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคซีโนโซอิก

มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นมหายุคสุดท้าย ซึ่งชื่อ ซีโนโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยก่อน” โดยนับอายุช่วงตั้งแต่ 65.5 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นมหายุคที่เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยแบ่งเป็น ยุคอีก 2 ยุค คือ ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary) และ ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary).

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคซีโนโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคนีโออาร์เคียน

มหายุคนีโออาร์เคียน (Neoarchean) เป็นยุคสุดท้ายแห่งบรมยุคอาร์เคียน อยู่ระหว่าง 2,800 ล้านปีมาแล้วถึง 2,500 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้มีโพรแคริโอต ชนิดที่เป็นจุดเด่นคือ สโตรมาโตไลต์ ซึ่งเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น ออกซิเจน ทำให้มีออกซิเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการหายใจ เพราะมีออกซิเจนเพียง 0.2%.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคนีโออาร์เคียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก

มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก(Neoproterozoic)ต่อจากมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิกและก่อนหน้ามหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในบรมยุคโพรเทอโรโซอิกยุคนี้อยู่ระหว่าง1,000ล้านปีมาแล้วถึง542ล้านปีมาแล้ว ในมหายุคนี้ประกอบด้วย 3 ยุค คือ ยุคโทเนียน,ยุคไครโอจีเนียน,ยุคอีดีแอคารัน สิ่งมีชีวิตอยู่ในทะเล เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และสัตว์ยุคแรกสุด ซึ่งต้นมหายุคนี้มีสัตว์หลายเซลล์,โพรทิสตา,โครมาลวีโอตา พวกนี้เป็นส่วนมาก กลางมหายุคมีนำแข็งปกคลุมทั่วโลก ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์โลกบอลหิมะ(Snowball earth).

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก

มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก(Paleoproterozoic) เป็นมหายุคแรกแห่งบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ประมาณ 2,500 ล้านปีมาแล้วถึง 1,600 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อต้นยุค ยูแคริโอตตัวแรกเกิดขึ้นเมื่อ 2,100 ล้านปีก่อน มาแพร่หลายใน 2,000 ล้านปีก่อน ไม่มีสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นด้วยตาเปล่า บนผืนดินยังว่างเปล.

ใหม่!!: ธรณีกาลและมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุค

หลายศาสนามีความเชื่อว่าโลกแบ่งออกเป็นหลายยุค (युग).

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุค · ดูเพิ่มเติม »

ยุคพาลีโอจีน

รีเทเชียส←ยุคพาลีโอจีน→ยุคนีโอจีน ยุคพาลีโอจีนแบ่งเป็น 3 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน,สมัยอีโอซีน,สมัยโอลิโกซีน ยุคพาลีโอจีน (Paleogene) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 65.5 ± 0.3 ถึง 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้ว และเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก ยุคนี้กินเวลาประมาณ 42 ล้านปี เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก มีรูปแบบเรียบง่ายได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรีในปลายยุคครีเทเชียส นกมีการวิวัฒนาการสู่รูปแบบในปัจจุบันในยุคนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคพาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสตาทีเรียน

ตาทีเรียน(Statherian)คือยุคสุดท้ายในมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิกอยู่ระหว่าง 1,800 ล้านปีมาแล้วถึง 1,600 ล้านปีมาแล้ว ต่อจากยุคออโรซีเรียน (ระวังสับสนกับยุคออร์โดวิเชียน) และก่อนหน้ายุคคาลิมเมียน ในยุคนี้ปรากฏเห็นเด่นชัดว่าสิ่งมีชีวิตพวกยูแคริโอตเซลล์เดียวแพร่พันธุ์มากช่วงนี้ ยูแคริโอต ส่วนใหญ่เป็นยูแบคทีเรีย มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บนผืนดินยังว่างเปล.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคสตาทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสเทเนียน

อกทาเซียน←ยุคสเทเนียน→ยุคโทเนียน ยุคสเทเนียน(Stenian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิกอยู่ระหว่าง 1,200 ล้านปีมาแล้วถึง 1,000 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้มีแบคทีเรียยูแคริโอตมากมาย และได้มีสัตว์หลายเซลล์ยุคแรกเกิดขึ้น เป็นสัตว์ที่ยังมองไม่เห็น บนผืนดินยังว่างเปล่า และเป็นมหาทวีปโรดิเนี.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคสเทเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคออร์โดวิเชียน

แคมเบรียน←ยุคออร์โดวิเชียน→ยุคไซลูเรียน ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เป็นธรณีกาลยุคที่สองของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง 488.3±1.7 ล้านปีมาแล้ว ถึง 443.7±1.5 ล้านปีมาแล้ว และอยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนและยุคไซลูเรียน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคออร์โดวิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคออโรซีเรียน

ปรดทราบว่าข้อมูลในตารางมาจากการคาดคะเน หากผิดพลาดขออภัย ยุคออโรซีเรียน(Orosirian)เป็นยุคที่สามแห่งมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่หลังยุคไรเอเซียนอยู่ก่อนยุคสตาทีเรียนอยู่ระหว่าง 2,050 ล้านปีมาแล้วถึง 1,800 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ยูแคริโอตยุคแรกมีอยู่ไม่มากในทะเล แต่จะมาแพร่พันธุในยุคสตาทีเรียน ในยุคนี้มียูแคริโอตยุคแรกเกิดขึ้นเมื่อต้นยุคแต่ปลายยุคเริ่มแพร่หลาย ไม่มีชีวิตที่มองเห็น และบนพื้นดินยังว่างเปล.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคออโรซีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคอีดีแอคารัน

อีดีแอคารัน (Ediacaran) หรือ ยุคเวนเดียน เป็นยุคสุดท้ายแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 630 ล้านปีมาแล้วถึง 542 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้มีสัตว์แปลก ๆ มากมาย เช่น ดิกคินโซเนีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนพรมเช็ดเท้าฟู ๆ กินอาหารโดยใช้การย่อยเมือกแบคทีเรียใต้ทะเล แล้วดูดซับสารอาหาร อีกตัวหนึ่งก็คือสไปรกินา มีลักษณะยาว ดูดซับเมือกแบคทีเรียเหมือนดิกคินโซเนีย บนแผ่นดินยังว่างเปล.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคอีดีแอคารัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคดีโวเนียน

ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

ีโวเนียน←ยุคคาร์บอนิเฟอรัส→ยุคเพอร์เมียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน ช่วงแรกเกิดต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ และพื้นที่ลุ่มชื้นบนแผ่นดิน พบสัตว์มีกระดูกสันหลังบนแผ่นดินชนิดแรก และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เกิดปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีครีบพู่ (Rhizodontida) ในมหาสมุทรเกิดปลาฉลามยุคแรก และมีหลากหลายชนิดเกิดแมงป่องทะเล ไครนอยด์ ปะการัง โกเนียไทต์-แอมโมนอยด์ และแบรคิโอพอด พบได้ทั่วไป แต่ ไทรโลไบต์ และนอติลอยด์ พบชนิด และจำนวนน้อยลง น้ำแข็งปกคลุมด้านตะวันออกของกอนวานา แมลงมีปีกพบมาก และหลายชนิด แมลงบางชนิด มีขนาดใหญ่มาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบทั่วไป และหลากหลาย พบสัตว์เลื้อยคลานเป็นครั้งแรก เกิดป่าที่ประกอบด้วย เฟิร์น ต้นคลับมอส ต้นหางม้าขนาดใหญ่ ในยุคนี้ระดับออกซิเจนในบรรยากาศมีค่าสูงสุด โกเนียไทต์ แบรคิโอพอด ไบรโอซัว และปะการัง พบได้ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทร.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคคาร์บอนิเฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคาลิมเมียน

ลิมเมียน(Calymmian)อยู่ระหว่าง1,600ล้านปีมาแล้วถึง1,400ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้มีสัตว์หลายเซลล์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในยุคนี้ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และยังไม่พบสิ่งมีชีวิตใดๆ บนพื้นดิน สัตว์ในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นโพรทิสตา,โครมาลวีโอตาและจุลชีพอื่นๆ อีกมากมาย ทวีปในยุคนี้คือมหาทวีปโรดิเนี.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคคาลิมเมียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคนีโอจีน

นีโอจีน (Neogene) เป็นช่วงธรณีกาล เริ่มต้นยุคที่ 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้วถึง 2.588 ล้านปีมาแล้วก่อนเข้าสู่ยุคควอเทอร์นารี ยุคนีโอจีนเป็นยุคที่ถัดจากยุคพาลีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก ภายใต้ข้อเสนอของ International Commission on Stratigraphy (ICS) ยุคนีโอจีนประกอบไปด้วยสมัยไมโอซีนและสมัยพลิโอซีน ยุคนีโอจีนกินเวลาราว 23 ล้านปี ในยุคนั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกมีการวิวัฒนาการเป็นอันมาก ส่วนสิ่งมีชีวิตอื่นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางทวีปมีการเคลื่อนตัว เหตุการณ์ที่สำคัญคือเกิดการเชื่อมต่อระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ในตอนปลายของสมัยพลิโอซีน ภูมิอากาศค่อนข้างเย็นก่อนจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งในยุคควอเทอนารี่ มีการปรากฏตัวของบรรพบุรุษสายตรงของมนุษ.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคนีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแคมเบรียน

อีดีแอคารัน←ยุคแคมเบรียน→ยุคออร์โดวิเชียน ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียนButterfield, N. J. (2007).

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโทเนียน

ทเนียน (Tonian) เป็นยุคแรกแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 1,000 ล้านปีมาแล้วถึง 850 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้สิ่งมีชีวิตเล็ก เช่น โปรโตซัว ได้ถือกำเนิดขึ้น ทวีปทั้งหลายได้มารวมกันเป็นมหาทวีปโรดิเนีย ซึ่งสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เล็ก ๆ ได้เกิดขึ้นช่วงยุคเอกเทเซียนถึงยุคสเทเนียน หรือประมาณ 1,350 ล้านปีก่อนแล้ว.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคโทเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไรเอเซียน

รเอเชียน(Rhyacian)เป็นยุคที่สองแห่งมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 2,300 ล้านปีมาแล้วถึง 2,050 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ยูแคริโอต ยุคแรกได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 2,100 ล้านปีก่อน จุดเด่นในยุคนี้คือสโตรมาโตไลต์และโพรแคริโอตโดยสโตรมาโตไลต์เป็นจุดเด่นในยุคนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าทำให้เกิดออกซิเจนในท้องทะเล ซึ่งทำให้เกิดสนิมในท้องทะเล.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคไรเอเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไครโอเจเนียน

รโอเจเนียน (Cryogenian) เป็นยุคที่สองแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 850 ล้านปีมาแล้วถึง 635 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้น้ำแข็งปกคลุมทั่วโลกตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงเส้นศูนย์สูตร สิ่งมีชีวิตในยุคนี้ไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก มีการเคลื่อนที่ของทวีปชื่อโรดิเนีย (Rodinia) นักธรณีวิทยาได้พิสูจน์ว่ามีคลื่นความเย็นจัด 2 ลูกมากระทบกัน จึงทำให้อณหภูมิโลกลดลงมาก โดยเราเรียกวิกฤตการณ์นี้ว่า โลกบอลหิมะ (Snowball Earth).

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคไครโอเจเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซดีเรียน

ซดีเรียน(Siderian)เป็นยุคแรกแห่งมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 2,500 ล้านปีมาแล้วถึง 2,300 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้สโตรมาโตไลต์ในบรมยุคอาร์เคียน ทำให้เกิดออกซิเจนมากมายใต้ท้องทะเล ในยุคไซดีเรียนทำให้เกิดสนิมขึ้นในท้องทะเล ซึ่งยุคไซดีเรียน มาจากคำว่า sider แปลว่า เหล็กใน ภาษาละติน ซึ่งในยุคนี้เหล็กเกิดสนิมนั่นเอง.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคไซดีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเพอร์เมียน

ร์บอนิเฟอรัส←ยุคเพอร์เมียน→ยุคไทรแอสซิก ยุคเพอร์เมียน(permian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง299±0.5ล้านปีมาแล้วถึง251±0.16ล้านปีมาแล้วมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์นมีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธ์ไปถึง 96-97%.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคเพอร์เมียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอกเทเซียน

อกเทเซียน (Ectasian) คือยุคที่สองในมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก สัตว์หลายเซลล์ยูแคริโอตในทะเลเป็นจุดเด่นในยุคนี้ ทวีปบนโลกมีทวีปเดียวคือมหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia Supercontinent) เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง ยุคเอกเทเซียนเป็นยยุคที่ออกซิเจนน้อยมาก ประมาณร้อยละ 1-1.5 เท่านั้น.

ใหม่!!: ธรณีกาลและยุคเอกเทเซียน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยพาลีโอซีน

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสมัยพาลีโอซีน สมัยพาลีโอซีน (Paleocene)พาลีโอซีนเป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 66 ถึง 56 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยแรกสุดของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยพาลีโอซีนต่อมาจากยุคครีเทเชียสและตามด้วยสมัยอีโอซีน ชื่อสมัยไพลโอซีนมาจากรีกโบราณซึ่งหมายถึง เก่า(παλαιός, palaios) "ใหม่" (καινός, kainos).

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยพาลีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: ธรณีกาลและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: ธรณีกาลและธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: ธรณีกาลและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ควอเทอร์นารี

รณีกาล ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) เป็นยุคปัจจุบันและล่าสุดของสามยุคของมหายุคซีโนโซอิกในธรณีกาล ควอเทอร์นารีเป็นยุคหลังจากนีโอจีน และเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2.588 ล้านปีก่อนและสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน ยุคควอเทอร์นารีแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ๆ คือ ไพลส์โตซีน (2,588,000 – 11,700 ปีก่อน) และโฮโลซีน (11,700 ปีก่อนถึงปัจจุบัน) นักธรณีวิทยาคาดว่าช่วงปลายยุคควอเทอร์นารี คือประมาณ 0.5 – 1.0 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ธรณีกาลและควอเทอร์นารี · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: ธรณีกาลและเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eon (geology)Fossils and the geological timescaleGeologic eraGeologic historyGeologic periodGeologic timeGeologic time scaleGeological eraGeological timeGeological time scaleGeological timescaleมหายุคมหายุค (ธรณีวิทยา)ยุค (ธรณีวิทยา)สมัย (ธรณีวิทยา)บรมยุคบรมยุค (ธรณีวิทยา)ตารางธรณีกาล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »