โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ดัชนี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

นาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (Bank of Ayudhya Public Company Limited ชื่อย่อ: BAY) เป็นธนาคารของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2488 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นอาณาจักรเก่าในประเทศไทย เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อจากนั้นได้ก่อตั้งสำนักงานในกรุงเทพมหานคร ณ ถนนราชวงศ์ และย้ายสำนักงานใหญ่มาตั้งอยู่ที่ถนนอนุวงศ์และถนนลำพูนไชยในปี พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2493 ตามลำดับ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ธนาคารได้รับตราครุฑมาประดิษฐาน ณ ธนาคาร ในปีเดียวกันได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ถนนเพลินจิต ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ธนาคารได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2536 ธนาคารได้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดมหาชน ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2539 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และใช้สำนักงานที่ถนนพระรามที่ 3 มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550 จีอี แคปปิตอล ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยปัจจุบัน จีอี แคปปิตอล และกลุ่มรัตนรักษ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 33 และร้อยละ 25 ตามลำดับ ในเดือนกันยายน 2555 กลุ่มจีอีประกาศขายหุ้นที่ถืออยู่ในกรุงศรีร้อยละ 7.60 โดยเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์แบบเจาะจง ส่งผลให้กลุ่มจีอี แคปปิตอลมีสัดส่วนการถือหุ้นเหลือร้อยละ 25.33 วันที่ 18 ธันวาคม 2556 ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd:BTMU) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่มีผู้ถือหุ้น 100% คือกลุ่มมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJFinancial Group:MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สุดในโลก ได้เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับกลุ่มรัตนรักษ์แทนที่กลุ่มจีอี ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สน.

27 ความสัมพันธ์: บริษัทพ.ศ. 2488พ.ศ. 2491พ.ศ. 2493พ.ศ. 2513พ.ศ. 2520พ.ศ. 2536พ.ศ. 2539พ.ศ. 2540กรรมการผู้จัดการกรุงเทพมหานครรายชื่อธนาคารในประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาธันวาคมธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจถนนพระรามที่ 3ถนนราชวงศ์ถนนลำพูนไชยถนนเพลินจิตครุฑตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเขตยานนาวา1 เมษายน15 พฤษภาคม27 มกราคม28 กันยายน30 พฤษภาคม

บริษัท

บริษัท (company) หมายถึงองค์กรธุรกิจชนิดหนึ่ง เป็นการรวมกลุ่มหรือการรวบรวมปัจเจกบุคคลและ/หรือบริษัทอื่น ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท บุคคลกลุ่มนี้มีความมุ่งประสงค์หรือจุดสนใจร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาผลกำไร การรวมกลุ่มเช่นนี้สามารถกระทำได้ภายใต้กฎหมาย และตัวบริษัทเองนั้นก็จะถือว่าเป็นนิติบุคคล (legal person) ชื่อของบริษัทก็จะถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงแทนกลุ่มบุคคลเหล่านั้น หมวดหมู่:บริษัท หมวดหมู่:องคภาวะตามกฎหมาย.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและบริษัท · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2491

ทธศักราช 2491 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1948.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2491 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

กรรมการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการ (managing director, MD) ในระบบอังกฤษ หรือ ประธานบริหาร (chief executive officer, CEO) ในระบบอเมริกัน คือ ตำแหน่งสูงสุดในบริษัทหรือหน่วยงาน ในบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือบริษัทครอบครัว ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดมักจะเป็นตำแหน่ง "กรรมการผู้จัดการ" แต่งตั้งมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการนี้เอง หรือแต่งตั้งเครือญาติมาดำรงตำแหน่ง แตกต่างจากตำแหน่ง "ประธานบริหาร" ที่มักจะพบในบริษัทขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารนี้จะได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ผู้ดำรงตำแหน่งอาจเป็นบุคคลจากภายในหรือภายนอกบริษัทก็ได้ มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างและได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและกรรมการผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธนาคารในประเทศไทย

รายชื่อธนาคารในประเทศไท.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและรายชื่อธนาคารในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ

นาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ) เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับแปดของโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 3 ช่วงวัดคลองภูมิ ถนนพระรามที่ 3 (Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรีเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษาและถนน ณ ระนอง) ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลายๆที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3 ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยก นางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้วโดยมีชื่อเป็นทางการว่าถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม(แยกสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า หมวดหมู่:ถนนในเขตยานนาวา หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตคลองเตย หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและถนนพระรามที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและถนนราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลำพูนไชย

นนลำพูนไชย ถนนลำพูนไชย เป็นถนนสายสั้น ๆ ในย่านเยาวราช พื้นที่แขวงตลาดน้อยและแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางแยกลำพูนไชยที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญกรุง และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราชบริเวณใกล้กับวงเวียนโอเดียน ถนนลำพูนไชยเป็นที่ตั้งของสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ และเมื่อปี..

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและถนนลำพูนไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพลินจิต

นนเพลินจิต ถนนเพลินจิต (Thanon Phloen Chit) เป็นถนนในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีระยะทางตั้งแต่ถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์) โดยต่อเนื่องจากถนนพระรามที่ 1 ตัดกับถนนชิดลม (สี่แยกชิดลม) และถนนวิทยุ (สี่แยกเพลินจิต) ไปจนถึงทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรี ซึ่งจากทางรถไฟสายนี้ไปจะเป็นถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิตสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลได้ตัดถนนขึ้น 2 สาย คือ สายหนึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนราชดำริตรงสะพานราชปรารภ ตรงไปทางตะวันออกถึงถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนเพลินจิต" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 ส่วนอีกถนนหนึ่งตัดเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 และพระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" โดยถนนเพลินจิต เดิมสะกดว่า "เพลินจิตร์" ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการเสนอแนะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เนื่องจากเดิมสถานที่บริเวณนี้เป็นที่ห่างไกล การสัญจรไปถึงลำบากจนแทบลืมความสบายไปเลย ผู้คนจึงมักนิยมเรียกว่า "หายห่วง" ปัจจุบัน จัดว่าเป็นถนนสายธุรกิจสายหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าระดับหรูหราและใหญ่โตหลายแห่ง เช่นเดียวกับบริเวณสี่แยกราชประสงค์ที่อยู่ใกล้เคียง.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและถนนเพลินจิต · ดูเพิ่มเติม »

ครุฑ

รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและครุฑ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปลี่ยนแปลงจากปีก่อน: +198.96 จุด (+%) |- ! colspan.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เขตยานนาวา

ตยานนาวา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและเขตยานนาวา · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤษภาคม

วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 135 ของปี (วันที่ 136 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 230 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ15 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 มกราคม

วันที่ 27 มกราคม เป็นวันที่ 27 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 338 วันในปีนั้น (339 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ27 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

28 กันยายน

วันที่ 28 กันยายน เป็นวันที่ 271 ของปี (วันที่ 272 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 94 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ28 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

30 พฤษภาคม

วันที่ 30 พฤษภาคม เป็นวันที่ 150 ของปี (วันที่ 151 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 215 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ30 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธนาคารกรุงศรีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)大城银行

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »