โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ดัชนี รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มสถานีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการเดินรถอย่างหนาแน่น ประกอบด้วยส่วนทับซ้อนจากเส้นทางสายต่าง ๆ โดยรายชื่อสถานี มีดังนี้.

24 ความสัมพันธ์: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)สถานีรถไฟบางบำหรุสถานีรถไฟบุ่งหวายอุโมงค์เขาพังเหยจังหวัดชัยภูมิจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดลพบุรีจังหวัดศรีสะเกษจังหวัดสระบุรีจังหวัดสุรินทร์จังหวัดหนองคายจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุดรธานีจังหวัดขอนแก่นจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนครราชสีมาทางรถไฟทางรถไฟสายเหนือตราทางสะดวกประเทศลาวประเทศไทยนครหลวงเวียงจันทน์

รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายตะวันออก.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและรายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนแนวทางการสัญจร อยู่เบื้องหน้า ให้เตรียมหยุด" ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (First Thai–Lao Friendship Bridge.; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี..

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟบางบำหรุ

นีรถไฟบางบำหรุ ตั้งอยู่ในซอยสิรินธร 4 ถนนสิรินธร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (สำหรับสถานีรถไฟฟ้าจะอยู่ในเขตตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ แต่มีข้อพิเศษคือรถไฟสายใต้ทุกขบวนที่มาจากกรุงเทพฯ ต้องจอด แต่ก่อนเคยมีทางแยกเพื่อเอาถ่านลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ ไปส่งโรงไฟฟ้าพระนครเหนือที่บางกรวย แต่ตอนนี้ได้ยุบทางแยกเข้าโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (โรงไฟฟ้าบางกรวย) ไปแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและสถานีรถไฟบางบำหรุ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟบุ่งหวาย

นีรถไฟบุ่งหวาย เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่ที่ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 556 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและสถานีรถไฟบุ่งหวาย · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์เขาพังเหย

อุโมงค์เขาพังเหย อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดเพียงแห่งเดียวของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (แต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองรึ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อยู่ระหว่างสถานีรถไฟโคกคลี กับสถานีรถไฟช่องสำราญ บริเวณกิโลเมตรที่ 248.800-249.031 ห่างจากกรุงเทพประมาณ 248 กิโลเมตร อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์-เขาพังเหย-บัวใหญ่ (ความยาว 166 กิโลเมตร) เริ่มเปิดเดินรถเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2510.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและอุโมงค์เขาพังเหย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชัยภูมิ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบุรีรัมย์

ังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดบุรีรัมย์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดศรีสะเกษ

รีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.47 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ้งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิมกรมศิลปากร.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดศรีสะเกษ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระบุรี

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดหนองคาย

หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นจังหวัดชายแดนและเป็นจังหวัดที่เงียบสงบ น่าอยู่และน่าท่องเที่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษ.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดหนองคาย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุดรธานี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุดรธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดขอนแก่น

ังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญอีกเส้นหนึ่งในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปทุมธานี

ังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายเหนือ

ทางรถไฟสายเหนือ หรือ ทางรถไฟสายชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่ แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง) จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และสุดปลายทางที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 751 กิโลเมตร และที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จะมีทางแยกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 457 กิโลเมตร (นับตั้งแต่สถานีรถไฟกรุงเทพ).

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและทางรถไฟสายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ตราทางสะดวก

รื่องตราทางสะดวกแบบมีลูกตรา มือจับของเครื่องแสดงท่า "ขบวนรถจะถึง" คืออนุญาตให้รถจากสถานีข้างเคียงเดินเข้าสู่สถานีนี้ได้ ตราทางสะดวก (token) เป็นวัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดเช่นลูกกลม เหรียญ ตั๋ว หรืออาณัติสัญญาณอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสัญญาณต้องมอบหรือแสดงให้แก่พนักงานรถจักร ก่อนที่จะนำขบวนรถเข้าสู่ทางช่วงระหว่างสถานีสองสถานี (นิยมเรียกว่า ตอน) ตามที่ตรานั้นได้ระบุไว้ ในกรณีที่ง่ายที่สุด พนักงานสัญญาณจะโทรศัพท์หรือโทรเลขสอบถามสถานีข้างเคียงว่าทางที่ขบวนรถจะไปนั้นมีขบวนรถกีดขวางหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ได้ชื่อว่าทางสะดวก และสามารถออกตั๋วทางสะดวกแก่พนักงานขับรถได้ ในเวลาต่อมา ตราทางสะดวกอาจใช้เป็นโลหะ เรียกว่าเหรียญตราทางสะดวก หรือลูกตราทางสะดวก ติดตั้งไว้ที่ทั้งสองข้างของตอนต่อทางรถไฟหนึ่งทาง หากเป็นทางคู่ ก็จะมีสี่เครื่อง (สองเครื่องสำหรับด้านหนึ่งของแต่ละสถานี) เพื่อใช้ขอและให้ทางสะดวกแยกกันระหว่างขบวนรถขึ้นกับขบวนรถล่อง เมื่อจะใช้งาน พนักงานสัญญาณจะเคาะเครื่องทางสะดวกเป็นสัญญาณกระดิ่งสอบถามกับสถานีข้างเคียง หากสถานีข้างเคียงตอบกลับมาว่า "ขบวนรถจะถึง" เจ้าหน้าที่จะดึงมือจับเครื่องทางสะดวก บิดไปที่ตำแหน่ง "ขบวนรถออกแล้ว" เพื่อให้ลูกตราหรือเหรียญตราหล่นออกจากเครื่อง ลูกตราที่ได้นี้จะต้องส่งมอบให้พนักงานรถจักร เสมือนว่าเป็นสัญญาณอนุญาตให้ขบวนรถผ่านเข้าสู่ทางช่วงที่ระบุได้ ตราทางสะดวกที่ได้นี้จะไม่สามารถออกใหม่ได้ถ้าขบวนรถยังไม่ได้ส่งคืนตราให้สถานีถัดไป ดังนั้นตราทางสะดวกจึงเป็นหลักประกันว่าไม่มีขบวนรถใดอยู่ในทางระหว่างสถานีมากกว่าหนึ่งขบวน เนื่องจากการใช้ตราทางสะดวก พนักงานรถจักรต้องเบารถลงบ้างเพื่อให้สามารถรับตราทางสะดวกผ่านทางห่วงหนังที่พนักงานสัญญาณยื่นให้หรือแขวนไว้กับเสาซึ่งเป็นการลำบากไม่ใช่น้อย จึงได้มีการพัฒนาให้เครื่องทางสะดวกไม่ปล่อยลูกตราอีกต่อไป แต่จะไปควบคุมอาณัติสัญญาณประจำที่อันนอกสุดมิให้แสดงท่าอนุญาตหากสถานีถัดไปไม่อนุญาต เรียกเครื่องทางสะดวกนี้ว่าเครื่องทางสะดวกสัมพันธ์สัญญาณประจำที่ เมื่อสัญญาณประจำที่แสดงท่าอนุญาตก็ได้ชื่อว่าพนักงานรถจักรได้ตราทางสะดวกแล้ว ในปัจจุบันระบบตราทางสะดวกได้รวมเข้าเป็นหนึ่งกับแผงควบคุมแบบรีเลย์และแบบคอมพิวเตอร์ ในบางกรณี อาจต้องให้มีขบวนรถในทางระหว่างสถานีมากกว่าหนึ่งขบวน โดยให้ขบวนรถที่ไม่ได้ทางสะดวกยึดถือตั๋วไม่ได้ทางสะดวก เพื่อให้ขับรถอย่างช้า ไม่ชนกับขบวนรถที่ได้ตั๋วทางสะดวกแล้ว ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งจึงไม่นิยมทำ เป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาระบบตอนอัตโนมัติ หรือตอนย่อย ซึ่งจะมีสัญญาณประจำที่ตั้งไว้ระหว่างสถานีที่ไกลกันมาก ๆ เมื่อขบวนรถออกจากสถานีหนึ่งและพ้นตอนอัตโนมัติอันแรกสุดแล้วก็จะสามารถให้ทางสะดวกได้อีก วิธีนี้นิยมทำในเขตที่มีการจราจรหนาแน่น.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและตราทางสะดวก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นครหลวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์ (ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ, นะคอนหลวงเวียงจัน) เป็นเขตที่ตั้งของกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงของประเทศลาวและเป็นเขตการปกครองพิเศษนครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีอาณาเขตตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เชื่อมต่อคมนาคมด้วยสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตปกครองที่มีความเจริญของเมืองมากที่สุดในบรรดาเขตการปกครองระดับบนสุด 18 แห่งของประเทศลาว ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือและนครหลวงเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สายตะวันออกเฉียงเหนือสถานีรถไฟกะโดนค้อสถานีรถไฟกุมภวาปีสถานีรถไฟกุดจิกสถานีรถไฟลำชีสถานีรถไฟลำปลายมาศสถานีรถไฟลำนารายณ์สถานีรถไฟวังกะอามสถานีรถไฟศีขรภูมิสถานีรถไฟสำโรงทาบสถานีรถไฟสุรินทร์สถานีรถไฟหินดาษสถานีรถไฟหินซ้อนสถานีรถไฟหนองคายสถานีรถไฟหนองคาย (ใหม่)สถานีรถไฟหนองคายใหม่สถานีรถไฟหนองฉิมสถานีรถไฟหนองแวงสถานีรถไฟห้วยขยุงสถานีรถไฟห้วยแถลงสถานีรถไฟอุทุมพรพิสัยสถานีรถไฟอุดรธานีสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่สถานีรถไฟบำเหน็จณรงค์สถานีรถไฟบุรีรัมย์สถานีรถไฟบ้านกลอยสถานีรถไฟบ้านม้าสถานีรถไฟบ้านหินโคนสถานีรถไฟบ้านถ่อนสถานีรถไฟบ้านคล้อสถานีรถไฟบ้านแต้สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรงสถานีรถไฟบ้านโนนผึ้งสถานีรถไฟบ้านไผ่สถานีรถไฟบ้านเกาะสถานีรถไฟบ้านเนียมสถานีรถไฟจักราชสถานีรถไฟทับกวางสถานีรถไฟท่าช้างสถานีรถไฟขอนแก่นสถานีรถไฟตลาดหนองคายสถานีรถไฟปากช่องสถานีรถไฟนาทาสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นสถานีรถไฟแผ่นดินทองสถานีรถไฟโนนพยอมสถานีรถไฟโนนคร้อสถานีรถไฟเมืองพลสถานีบ้านแสลงพันชุมทางบัวใหญ่ชท.บัวใหญ่ชท.ถนนจิระบ้านแต้บ้านโพธิ์มูลที่หยุดรถโนนคร้อที่หยุดรถไฟกุดกว้างที่หยุดรถไฟวังกะอามที่หยุดรถไฟหนองไข่น้ำที่หยุดรถไฟบ้านหนองขามที่หยุดรถไฟบ้านถ่อนที่หยุดรถไฟบ้านแต้ที่หยุดรถไฟบ้านโนนผึ้งที่หยุดรถไฟทับกวางที่หยุดรถไฟตลาดลำนารายณ์ที่หยุดรถไฟโนนคร้อขบวนรถท้องถิ่นที่ 421ป้ายหยุดรถไฟบ้านกลอยเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »