โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์

ดัชนี ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์

ภาพถ่ายแบบให้สีเกินจริงจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเชื้อเอชไอวี-1 กำลังเจริญออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ที่เพาะไว้ เชื้อเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์นั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากไพรเมทที่ไม่ใช่มนุษย์ใน sub-Saharan Africa ต่อมาจึงถ่ายทอดมายังมนุษย์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือต้นศตวรรษที่ 20 มีเชื้อเอชไอวีสองชนิดที่ติดต่อมายังมนุษย์ คือเอชไอวี-1 และเอชไอวี-2 โดย เอชไอวี-1 นั้นเป็นอันตรายมากกว่า ติดต่อง่ายกว่า และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่บนโลกนี้ เชื้อเอชไอวี-1 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสที่พบในลิงชิมแปนซี และการศึกษาทาง molecular phylogenetics ก็บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี-1 ปรากฏขึ้นในช่วงระหว่างปี..

15 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาชิมแปนซีการรวมกันใหม่ของยีนกินชาซาลิมโฟไซต์สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกอันดับวานรประเทศกาบองประเทศกินี-บิสเซาประเทศแคเมอรูนแอฟริกาใต้สะฮาราโรคมะเร็งคาโปซีเอชไอวีเอดส์เซนต์หลุยส์

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่มีชื่อเสียง แถวบน:ดับเบิลยู. อี. บี. ดู บอยส์ • มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ • เอดเวิร์ด บรูกแถวล่าง:มัลคอล์ม เอกซ์ • โรซา พรากส์ • ซอเยอร์เนอร์ ทรูธ ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African-American, Afro-American) ภาษาปากว่า ชาวอเมริกันผิวดำ (Black American) เป็นชื่อเรียกของคนที่มีผิวสีดำแตกต่างจากคนอเมริกันที่มีผิวขาว โดยต้นกำเนิดของคนผิวสีส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมาจากทวีปแอฟริกา แต่เนื่องจากเหตุการณ์การล่าอาณานิคมและธุรกิจการค้าทาส ทำให้ผู้คนเหล่านี้ถูกพาเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในอดีตสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม วัฒนธรรมของคนดำนั้นได้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านดนตรี รวมทั้งการแต่งกายและการกีฬา หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ชิมแปนซี

มแปนซี (Chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และชิมแปนซี · ดูเพิ่มเติม »

การรวมกันใหม่ของยีน

แบบจำลองของการรวมกันใหม่ของยีนในกระบวนการไมโอซิส เริ่มด้วยการแตกออก (break/gap) เป็นสองเส้น ตามด้วยการจับคู่กับโครโมโซมคู่เหมือน และ strand invasion เพื่อเริ่มกระบวนการซ่อมแซมแบบรวมกันใหม่ การซ่อมแซมช่องแตกอาจทำให้ได้ส่วนข้าง ๆ แบบข้าม (crossover, CO) หรือไม่ข้าม (non-crossover, NCO) การรวมกันใหม่แบบข้าม เชื่อว่าเกิดตามแบบจำลอง Double Holliday Junction (DHJ) ที่แสดงในรูปด้านขวา ส่วนการรวมกันใหม่แบบไม่ข้าม เชื่อว่าเกิดโดยหลักตามแบบจำลอง Synthesis Dependent Strand Annealing (SDSA) ที่แสดงในรูปด้านซ้าย โดยการรวมกันใหม่โดยมากดูเหมือนจะเป็นแบบ SDSA การรวมกันใหม่ของยีน (Genetic recombination) เป็นการสร้างลูกด้วยลักษณะสืบสายพันธุ์แบบผสมที่ต่างจากที่พบในพ่อแม่และโดยมากจะเกิดตามธรรมชาติ ในยูแคริโอต การรวมกันใหม่ของยีนในระยะไมโอซิสอาจทำให้เกิดยีนใหม่ ๆ ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกได้ ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของยูแคริโอต การรวมกันใหม่ของยีนจะอาศัยการจับคู่ของโครโมโซมคู่เหมือน (homologous chromosome) ซึ่งอาจตามด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลยีนระหว่างโครโมโซมที่ว่า การโอนข้อมูลอาจไม่ใช่การให้ส่วนโครโมโซมจริง ๆ (คือ ส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมอาจลอกจากโครโมโซมหนึ่งไปยังอีกโครโมโซมหนึ่ง โดยไม่มีการบริจาคโครโมโซม) (ดูวิถี SDSA ในรูป) หรือเป็นการแตกแล้วต่อคืนสายดีเอ็นเอเป็นการสร้างโมเลกุลใหม่ (ดูวิถี DHJ ในรูป) การรวมกันใหม่ของยีนก็อาจเกิดในระยะไมโทซิสของยูแคริโอตด้วย ซึ่งปกติจะเกี่ยวกับกับโครโมโซมพี่น้อง (sister chromosome) ที่เกิดขึ้นหลังการถ่ายแบบโครโมโซม ในกรณีนี้ อัลลีลแบบผสมจะไม่เกิดเพราะโครโมโซมพี่น้องปกติจะเหมือนกัน ทั้งในไมโอซิสและไมโทซิส การรวมกันใหม่ของยีนจะเกิดระหว่างโมเลกุลดีเอ็นเอที่คล้าย ๆ กันคือเป็น homolog แต่ในไมโอซิส โครโมโซมคู่เหมือนที่ไม่ใช่พี่น้อง (non-sister homologous) จะจับคู่กัน ดังนั้น การรวมกันใหม่ของยีนก็จะเกิดระหว่างโครโมโซมคู่เหมือนที่ไม่ใช่พี่น้องกันด้วย ทั้งในไมโอซิสและไมโทซิส การรวมกันใหม่ของยีนระหว่างโครโมโซมคู่ดูเหมือนจะเป็นกลไกการซ่อมดีเอ็นเอที่สามัญ การรวมกันใหม่ของยีนและการซ่อมดีเอ็นเอด้วยการรวมกันใหม่ ก็เกิดด้วยในแบคทีเรียและอาร์เคีย ซึ่งสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การรวมกันใหม่ของยีนยังสามารถทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ (in vitro) เพื่อสร้างดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) ที่ใช้ในกิจต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาวัคซีน การรวมกันใหม่แบบ V(D)J ในสัตว์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ เป็นการรวมกันใหม่ของยีนเฉพาะที่ซึ่งช่วยเซลล์ภูมิต้านทานให้เกิดอย่างหลากหลายและรวดเร็ว เพื่อรู้จักและปรับตัวให้เข้ากับจุลชีพก่อโรคใหม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และการรวมกันใหม่ของยีน · ดูเพิ่มเติม »

กินชาซา

กินชาซา (Kinshasa) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือเป็นที่รู้จักในชื่อประเทศซาอีร์ในช่วงปี 1971 ถึง 1997 เมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำคองโก แต่เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมง ปัจจุบันเป็นพื้นที่เมือง มีประชากร 10,076,099 คนในปี 2009 ส่วนกรุงบราซาวีลของสาธารณรัฐคองโก (มีประชากรราว 1.5 ล้านคนในปี 2007 รวมเขตชานเมืองแล้ว) ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำคองโกของกินชาซา หากรวมประชากรเข้ากับกรุงบราซาวีลแล้ว มีประชากรเกือบ 12 ล้านคน และเพราะว่าเขตการบริหารที่กว้างขวางอย่างมาก กว่า 60% ของพื้นที่เมืองเป็นชนบทธรรมชาติ และพื้นที่ในเมืองมีเพียงส่วนน้อยในเขตตะวันตกไกลของเมือง กินชาซาเป็นเมืองที่มีสถานะเทียบเท่าเมืองโจฮันเนสเบิร์ก ที่เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตกึ่งสะฮารา และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของทวีป รองจากเมืองเลกอสและไคโร และยังมักถูกพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจากปารีสที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และหากแนวโน้มด้านสถิติประชากรอย่างต่อเนื่อง กรุงกินชาซาจะมีประชากรมากกว่ากรุงปารีสก่อนปี 2020.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และกินชาซา · ดูเพิ่มเติม »

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และลิมโฟไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และอันดับวานร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกาบอง

กาบอง (Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กาบองได้นำระบบหลายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำให้เกิดกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ กาบองมีจำนวนประชากรไม่มาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ ทำให้กาบองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และประเทศกาบอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกินี-บิสเซา

กินี-บิสเซา (Guinea-Bissau; Guiné-Bissau) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกินี-บิสเซา (Republic of Guinea-Bissau; República da Guiné-Bissau) เป็นประเทศอยู่ในแอฟริกาตะวันตก เมืองหลวงชื่อว่าบิสเซา มีเนื้อที่โดยประมาณ 36,125 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศเหนือติดกับเซเนกัล ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับกินี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก กินี-บิสเซายังมีเกาะเล็ก ๆ นอกแผ่นดินใหญ่อีกประมาณ 25 เกาะอีกด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และประเทศกินี-บิสเซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคเมอรูน

แคเมอรูน (Cameroon; Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon; République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และประเทศแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

โรคมะเร็งคาโปซี

รคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma) ซึ่ง แพทย์บางท่านเรียกย่อว่า โรคเคเอส (KS) เป็นโรคได้ชื่อตามแพทย์ผู้วินิจฉัยโรคนี้เป็นคนแรก คือ น. คาโปซิ เป็นโรคพบบ่อยมากในผู้ป่วยเอดส์ เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อ มีเซ็นคัยมาล (Mesenchymal) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่จะเจริญเปลี่ยนเป็นเซลล์เนื้อเยื่อได้หลายชนิด เช่น หลอดเลือด และหลอดน้ำเหลือง ดังนั้น มะเร็งชนิดนี้ จึงพบได้ในทุกอวัยวะทั่วตัว เช่น ผิวหนังทุกส่วน ในช่องปาก ในเนื้อเยื่อปอด และในลำไส้ และมักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ จุดทั่วตัว แต่ที่พบบ่อย คือ บริเวณขา และใบหน้า อาการ มะเร็งชนิดนี้ มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ ค่อนข้างกลม สีคล้ำ มีขนาดต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ เล็กกว่า 1 เซนติเมตร ไปจนถึง 10 เซนติเมตร เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ มักทำให้เกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อข้างเคียง และมีต่อมน้ำเหลือง ใกล้เคียงโต คลำได้ เช่น อาการขาบวม และต่อมน้ำเหลืองขาหนีบด้านเกิดโรคโต เมื่อโรคเกิดขึ้นในบริเวณขา เป็นต้น สาเหตุ มะเร็งคาโปซิ เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิด Human herpesvirus 8 (HHV8) ซึ่งไวรัสตัวนี้ เป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิด การติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection) โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ก็คือ การมีภูมิคุ้มกันต้านทานร่างกายบกพร่องสาเหตุจาก โรคเอดส์ อย่างไรก็ตาม สามารถพบโรคนี้เกิดได้บ้าง ในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ การวินิจฉัย โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ทางพยาธิวิทยา เช่นเดียวกับโรคมะเร็งทุกชนิด และโดยทั่วไป ยังไม่มีการแบ่งระยะโรค การรักษา คือ การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาเคมีบำบัด และอาจให้รังสีรักษาร่วมด้วยเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตมาก หรือ ไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด แต่เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก และเกิดเฉพาะที่ แพทย์บางท่านใช้การตัดออกโดยการจี้ด้วย ความเย็น หรือ ด้วยแสงเลเซอร์ ความรุนแรงของโรค หรือ โอกาสรักษาหาย ขึ้นกับการรักษาควบคุมโรคเอดส์ ถ้าควบคุมโรคเอดส์ได้ มะเร็งคาโปซิ มักตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่ถ้าควบคุมโรคเอดส์ไม่ได้ ก็มักควบคุมมะเร็งคาโปซิไม่ได้ การติดต่อ ไวรัสชนิดก่อโรคมะเร็งคาโปซินี้ มีอยู่ในน้ำลาย และในเลือดของผู้ป่วย ดังนั้น จึงสามารถติดต่อกันได้ในหมู่รักร่วมเพศ โดยการสัมผัสน้ำลาย และเลือดของผู้ป่วย หมวดหมู่:เอดส์.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และโรคมะเร็งคาโปซี · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์หลุยส์

ซนต์หลุยส์ (อังกฤษ/ฝรั่งเศส: St. Louis) เป็นเมืองอิสระที่ไม่ได้อยู่ในเคาน์ตีใดในรัฐมิสซูรี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์และเซนต์หลุยส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ที่มาของโรคเอดส์ที่มาของเอดส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »