โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศัพทมูลวิทยา

ดัชนี ศัพทมูลวิทยา

ศัพทมูลวิทยา เป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษ etymology หมายถึง การศึกษาที่มาของคำศัพท์ โดยอาศัยเอกสารโบราณ และการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ นักศัพทมูลวิทยาจะสืบสร้างประวัติของคำนั้นๆ ว่าคำนั้นมีการใช้ในภาษานั้นเมื่อใด มาจากแหล่งใด และมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงความหมายอย่างไร คำนี้มักจะใช้สับสนกับคำว่า นิรุกติศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาที่มาของภาษา หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:ศัพทมูลวิทยา.

5 ความสัมพันธ์: ภาษาภาษาอังกฤษวงศัพท์คำสร้างใหม่นิรุกติศาสตร์

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: ศัพทมูลวิทยาและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ศัพทมูลวิทยาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: ศัพทมูลวิทยาและวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

คำสร้างใหม่

ำสร้างใหม่ หรือ ศัพท์บัญญัติ หมายถึงคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ซึ่งอาจเริ่มมีการใช้งานทั่วไป แต่อาจยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาทั่วไป อาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความเฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับคน การเผยแพร่ เวลา หรือเหตุการณ์ ในประเทศไทยราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่บัญญัติศัพท์ และมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สาขาวิชาต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ปรับอากาศ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์แพทย์ และคณะกรรมการบัญญัติศัพท์พิมพ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศเข้ามา และได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาใช้เอง เช่น คณะกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษาของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการของกรมวิชาการ.

ใหม่!!: ศัพทมูลวิทยาและคำสร้างใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

นิรุกติศาสตร์

นิรุกติศาสตร์ เป็นศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology ในภาษาอังกฤษ นิยามที่ตรงที่สุดของคำนี้ ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:นิรุกติศาสตร์.

ใหม่!!: ศัพทมูลวิทยาและนิรุกติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Etymologyศัพทศาสตร์ที่มาของชื่อที่มาของคำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »