โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทางหลวงในประเทศไทย

ดัชนี ทางหลวงในประเทศไทย

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางหลวงในประเทศไทย เป็นเครือข่ายของทางหลวงที่อยู่ในประเทศไทย โดยปกติมักหมายถึงทางหลวงแผ่นดินซึ่งอยู่ในความควบคุมของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงสัมปทาน ทั้งนี้ กรมทางหลวงรับผิดชอบดูแล 3 ประเภท คือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน นอกจากทางหลวง 5 ประเภทดังกล่าว ยังมี ทางพิเศษ ที่รับผิดชอบในการก่อสร้างและบูรณะทางด่วนโดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการดำเนินการก่อสร้างทางเฉพาะกิจของหน่วยงานต่าง.

28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2535พ.ศ. 2549กรมทางหลวงกรมทางหลวงชนบทกระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)การทางพิเศษแห่งประเทศไทยการขนส่งในประเทศไทยภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคอีสาน (ประเทศไทย)ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)ภาคใต้ (ประเทศไทย)ภาคเหนือ (ประเทศไทย)ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)สะพานสารสินสะพานติณสูลานนท์จังหวัดราชบุรีถนนพหลโยธินถนนมิตรภาพถนนวิภาวดีรังสิตถนนสุขุมวิทถนนที่เก็บค่าผ่านทางถนนเพชรเกษมทางยกระดับอุตราภิมุขทางหลวงทางหลวงในประเทศไทยทางด่วนในประเทศไทยประเทศไทย

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและกรมทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและกรมทางหลวงชนบท · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

กระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและกระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: กทพ.; EXAT) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีการใดๆ ตลอดจนบำรุงรักษาทางพิเศษและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งในประเทศไทย

การจราจรแออัดในชั่วโมงเร่งด่วนในกรุงเทพมหานคร รถสามล้อหรือรถตุ๊กตุ๊ก รูปแบบการขนส่งอย่างหนึ่ง การขนส่งในประเทศไทย มีความหลากหลายและยังไม่มีความเป็นระเบียบ การขนส่งแต่ละประเภทไม่มีความโดดเด่นมากนัก ได้แก่ ระบบการขนส่งทางถนน ที่เป็นหลักของการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ การขนส่งทางรถประจำทางที่มีการขนส่งระยะไกลไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อใช้การเดินทางระยะสั้นแทนการใช้จักรยาน การใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีส่วนทำให้การจราจรเกิดความแออัดทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองสำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งระบบรางที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ แต่ยังมีความล่าช้า ถึงแม้จะมีแผนขยายการให้บริการที่มีรถไฟความเร็วสูงไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศก็ตาม การขนส่งทางอากาศภายในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังมีสายการบินไม่มากนัก แต่ยังมีความโดนเด่นด้วยวิธีการขนส่งที่มีความแปลกใหม่จากสายตาของชาวต่างประเทศ เช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว เป็นต้น.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและการขนส่งในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

ตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคตะวันออก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)

ตะวันตก เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยในระบบการแบ่งแบบ 6 ภูมิภาคตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และเป็นภูมิภาคย่อยของภาคกลางของระบบการแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค (ซึ่งรวมภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคกลางทางทิศตะวันออก และติดต่อกับภาคใต้ทางทิศใต้ ภาคตะวันตกประกอบไปด้วยจังหวัดเพียง 5 จังหวัด แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ในภาคตะวันตก แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคตะวันตก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)

ราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสารสิน

รือประมงและสะพานสารสิน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สะพานสารสิน เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต เป็นสะพานแรกที่มีการสร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปภูเก็ต เชื่อมต่อระหว่างบ้านท่าฉัตรไชยและบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงา โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร เปิดใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เริ่มสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะเริ่มต้นมีปัญหาเพราะความไม่ชำนาญการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างอีกครั้งโดยบริษัท Cristiani & Nelson (Thailand) Ltd.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและสะพานสารสิน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานติณสูลานนท์

นติณสูลานนท์ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิงหนคร ความยาวของสะพาน 2 ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามลำดับ รวมเป็น 2,640 เมตร ก่อสร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จุดประสงค์ของการสร้างสะพานแห่งนี้ คือ การรองรับการคมนาคมทางรถยนต์ โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลจึงมีนโยบายจะพัฒนาจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2527 สะพานติณสูลานนท์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 414 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า "สะพานป๋าเปรม" "สะพานติณ" หรือ "สะพานเปรม" และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวั.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและสะพานติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดราชบุรี

ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง และการปศุสัตว์ของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านพลังงานของประเทศในปัจจุบัน โดยมีเมืองราชบุรีเป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมในภูมิภาค ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและจังหวัดราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนพหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมิตรภาพ

นนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี..

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิภาวดีรังสิต

นนวิภาวดีรังสิต (Thanon Vibhavadi Rangsit) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - ดอนเมือง) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก และทางคู่ขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบิน และทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนวิภาวดีรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขุมวิท

นนสุขุมวิท (Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนสุขุมวิท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนที่เก็บค่าผ่านทาง

นเก็บค่าผ่านทางสายเอสอาร์ 417 ใกล้กับเมืองออร์แลนโด, รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ด่านเก็บค่าผ่านทางในสหราชอาณาจักร ถนนที่เก็บค่าผ่านทาง (toll road) หรือ ทางเก็บค่าผ่าน (toll way) คือถนนที่สร้างโดยรัฐบาลหรือเอกชนซึ่งผู้ใช้เส้นทางจำเป็นจะต้องจ่ายค่าผ่านทางหรือค่าธรรมเนียม ค่าผ่านทางนี้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับภาษีที่รัฐจัดเก็บมาจากผู้ใช้โดยนำไปก่อสร้างหรือทำนุบำรุงถนนที่เก็บค่าผ่านทาง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องขึ้นภาษีหรือนำภาษีของผู้ที่ไม่ได้ใช้ถนนที่เก็บค่าผ่านทางมาดำเนินงาน ในประวัติศาสตร์หรือแม้ในปัจจุบัน ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางแห่งเรียกเก็บค่าผ่านทางในรูปของภาษีเพื่อให้รัฐบาลท้องถิ่นหรือขุนนางใช้จ่าย นักลงทุนในพันธบัตรเองก็ลงทุนในรูปของค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษาถนนที่เก็บค่าผ่านทาง โดยนักลงทุนคาดหวังว่าผลตอบแทนจะคืนแก่พวกเขาในรูปของรายได้จากค่าผ่านทาง หลังจากพันธบัตรถูกชำระคืนแก่นักลงทุนหมดแล้ว ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับถนนที่เก็บค่าผ่านทางทั้งหมดก็ตกกลับไปเป็นของรัฐ โดยรัฐจะตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบดูแลทั้งโครงสร้างถนนที่เก็บค่าผ่านทางและที่ดินที่ถูกใช้สร้างถนนที่เก็บค่าผ่านทาง เช่นเดียวกับภาษีรูปแบบอื่นของรัฐบาล การจัดเก็บค่าผ่านทางจะยังคงดำเนินต่อไปแม้ว่ารัฐจะชำระพันธบัตรทั้งหมดคืนแก่นักลงทุนไปแล้ว ถนนที่เก็บค่าผ่านทางจะถูกจำกัดทางเข้าออกอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันผู้ที่ไม่ได้จ่ายค่าผ่านทางลักลอบใช้เส้นทาง บางครั้งการสร้างถนนที่เก็บค่าผ่านทางก็เพื่อจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการจะเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ไกลกว่าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หรือบางครั้งก็เพื่อที่จะบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและเพิ่มความรวดเร็วแก่ผู้เดินทางที่สามารถจะจ่ายค่าผ่านทางได้ ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางแห่งอาจมีเพียงแค่ช่องจราจรเดียวหรือหลายช่องตามการออกแบบ และผู้ใช้ถนนที่เก็บค่าผ่านทางจำเป็นจะต้องเสียค่าผ่านทางไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง ซึ่งระบบถนนที่เก็บค่าผ่านทางนี้ไม่เคยอนุญาตให้ผู้ใช้ทางรายใดผ่านทางโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมอย่างเด็ดขาด โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถนนที่เก็บค่าผ่านทางถูกจ่ายในรูปของภาษีมูลค่าเพิ่มจากเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ในขณะที่ผู้ใช้ทางเองก็ยังต้องเสียค่าผ่านทางเป็นการเพิ่มเติมอีกด้วย ค่าธรรมเนียมหรือค่าผ่านทางโดยปกติจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของยานพาหนะ, น้ำหนัก หรือจำนวนเพลา ค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะถูกเรียกเก็บด้วยมือจากแรงงานมนุษย์ ณ ด่านเก็บค่าผ่านทาง ด่านบางแห่งไม่ได้ใช้แรงงานมนุษย์ในการจัดเก็บ โดยจะเชื่อมโยงกับจำนวนเงินหรือแต้มของผู้ผ่านทางรายนั้น ซึ่งระบบจะอนุญาตให้เข้าใช้ทางได้หากเงินหรือแต้มของผู้ผ่านทางรายนั้นเพียงพอกับค่าผ่านทาง เพื่อลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ ณ ด่านเก็บค่าผ่านทาง ระบบถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางแห่งจึงใช้การเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติหรือการเก็บค่าผ่านทางด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะติดตั้งระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่พาหนะของผู้ใช้ทางและที่ด่านเก็บค่าผ่านทาง อีกทั้งบางแห่งยังใช้ระบบจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนใช้ทางที่เรียกเก็บจากบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ บางแห่งใช้การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดเพื่อถ่ายใบหน้าและทะเบียนพาหนะของผู้ใช้ทางที่ไม่จ่ายค่าธรรมเนียม แล้วจึงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าปรับในรูปของใบชำระหนี้ หนึ่งในข้อวิจารณ์เกี่ยวกับระบบถนนที่เก็บค่าผ่านทางนี้คือการที่ผู้ใช้ทางจำเป็นจะต้องชะลอความเร็วแล้วหยุด ณ ด่านเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง อีกทั้งการสูญเสียรายได้ให้แก่ผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง ในบางกรณีอาจสูงถึงเกือบหนึ่งในสามของรายได้ทั้งหมด การใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติจึงช่วยย่นเวลาการจัดเก็บและปัญหารายได้ที่สูญเสียไปกับค่าจ้างการจัดเก็บไปพร้อมกัน อีกประเด็นหนึ่งคือการเสียค่าผ่านทางซ้ำซ้อนจากค่าผ่านทางและภาษีมูลค่าเพิ่มจากเชื้อเพลิง เพิ่มเติมจากถนนที่เก็บค่าผ่านทางแล้ว หน่วยงานรัฐยังสร้างอุโมงค์ที่เก็บค่าผ่านทาง (toll tunnel) หรือสะพานที่เก็บค่าผ่านทาง (toll bridge) เพื่อหารายได้ไปใช้จ่ายในหนี้ระยะยาวของการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนที่เก็บค่าผ่านทาง ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางแห่งเก็บค่าผ่านทางไปสะสมไว้เป็นฐานะทางการเงินเพื่อที่จะไปใช้ก่อสร้างส่วนต่อขยายในอนาคตของถนน อุโมงค์ สะพาน หรือระบบคมนาคมขนส่งอื่น ๆ บางแห่งนำค่าผ่านทางที่จัดเก็บได้ไปใช้ในรูปของภาษีกับโครงการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมันถูกห้ามหรือขัดขวางจากรัฐบาลส่วนกลาง บางครั้งใช้เพื่อลดความคับคั่งของการจราจรและลดมลพิษทางอากาศในเขตเมือง เช่น สิงคโปร.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนที่เก็บค่าผ่านทาง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ทางยกระดับอุตราภิมุข

ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โทลล์เวย์ เป็นทางด่วนสายหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยมีการแบ่งการบริหารจัดการทางยกระดับเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทางยกระดับดินแดง–ดอนเมือง เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 และเป็นทางหลวงสัมปทาน และส่วนทางยกระดับอนุสรณ์สถาน−รังสิต เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ทางยกระดับอุตราภิมุขมีแนวสายทางเริ่มจากบริเวณเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 28.224 กิโลเมตร โดยเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและทางยกระดับอุตราภิมุข · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวง

ทางหลวงในชนบทสหรัฐอเมริกา ทางหลวง คือ ถนนหรือเส้นทางซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นนอกจากทางรถไฟ ระบบทางหลวงของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า อินเตอร์สเตต เป็นระบบทางหลวงที่มียาวรวมทั้งหมดมากที่สุดในโลกโดยมีความยาวทั้งสิ้น 75,376 กม.(2004) ทางหลวงบางเส้นจะเชื่อมต่อระหว่างประเทศเช่น ยูโรเปียนรูท และถนนบางเส้นจะเชื่อมระหว่างเมืองหลวงของรัฐทั้งหมดในประเทศ เช่นใน ออสเตรเลียไฮเวย์ 1 ซึ่งเชื่อมตัวเมืองหลวงของรัฐทั้งหมดรอบประเทศออสเตรเลีย ถนนหลวงที่ยาวที่สุดในโลกคือ ทรานซ์-แคนาดาไฮเวย์ ซึ่งเริ่มจากเมือง วิกตอเรีย ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ของฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่าน 10 รัฐจนถึงเมืองเซนต์จอห์นในรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก การออกแบบทางหลวงจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันขึ้นไปขึ้นอยู่กับลักษณะถนน ความกว้างถนน และสภาพการสัญจร ทางหลวงสามารถมีได้ทั้งในลักษณะถนนสองเลน ถนนมีหรือไม่มีไหล่ทาง และผิวถนนของถนนเส้นเดียวกันที่ตำแหน่งต่างกัน จะมีลักษณะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมถนนเส้นนั้น ทางหลวงในประเทศไทยได้รับการควบคุมโดยกรมทางหลวง โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษม เป็นถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มจากกรุงเทพมหานครถึงด่านพรมแดนจังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1,274 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงในประเทศไทย

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางหลวงในประเทศไทย เป็นเครือข่ายของทางหลวงที่อยู่ในประเทศไทย โดยปกติมักหมายถึงทางหลวงแผ่นดินซึ่งอยู่ในความควบคุมของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงสัมปทาน ทั้งนี้ กรมทางหลวงรับผิดชอบดูแล 3 ประเภท คือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน นอกจากทางหลวง 5 ประเภทดังกล่าว ยังมี ทางพิเศษ ที่รับผิดชอบในการก่อสร้างและบูรณะทางด่วนโดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการดำเนินการก่อสร้างทางเฉพาะกิจของหน่วยงานต่าง.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและทางหลวงในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทางด่วนในประเทศไทย

ทางด่วนในประเทศไทย เป็นถนนที่เก็บค่าผ่านทาง มีการควบคุมจุดเข้าออกของรถยนต์ แบ่งออกเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่กำกับดูแลโดยกรมทางหลวง และทางพิเศษที่กำกับดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดำเนินงานโดยบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและทางด่วนในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ทางหลวงในประเทศไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทางหลวงสัมปทานทางหลวงแผ่นดิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »