โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลเคลติก

ดัชนี ทะเลเคลติก

แผนที่บริเวณทะเลเคลติก, มหาสมุทรแอตแลนติก และบริเวณใกล้เคียง ทะเลเคลติก (Celtic Sea; An Mhuir Cheilteach; Y Môr Celtaidd; An Mor Keltek; Ar Mor Keltiek; La mer Celtique) เป็นบริเวณพื้นที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทางตอนใต้ของชายฝั่งไอร์แลนด์ไปทางทิศตะวันออกจรดช่องแคบเซ็นต์จอร์จ ช่องแคบบริสตอล ช่องแคบอังกฤษ และอ่าวบิสเคย์ พื้นที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งอยู่ในเขตของเวลส์ มณฑลคอร์นวอลล์, เดวอนของอังกฤษ และบริททานีของฝรั่งเศส ทางทิตใต้และทิศตะวันตกจรดแนวไหล่ทวีป.

8 ความสัมพันธ์: ช่องแคบอังกฤษมหาสมุทรแอตแลนติกอ่าวบิสเคย์คอร์นวอลล์ประเทศไอร์แลนด์ประเทศเวลส์แพลงก์ตอนพืชเดวอน

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวบิสเคย์

อ่าวบิสเคย์ เกาะกัซเตลูกัตเช นอกชายฝั่งทะเลกันตาเบรียในแคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน อ่าวบิสเคย์ (Bay of Biscay; Bizkaiko Golkoa; Golfo de Vizcaya; Golfe de Gascogne) เป็นอ่าวหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ตามชายฝั่งตะวันตกของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เมืองแบร็สต์ ลงไปทางใต้จนถึงพรมแดนประเทศสเปน และไปตามชายฝั่งทางเหนือของสเปน อ่าวนี้ตั้งชื่อตามจังหวัดบิสเคย์ในแคว้นประเทศบาสก.

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและอ่าวบิสเคย์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอนพืช

แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: ทะเลเคลติกและเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »