โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบโตบา

ดัชนี ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

38 ความสัมพันธ์: กรวยภูเขาไฟสลับชั้นภูเขาไฟใหญ่มหาวิทยาลัยออริกอนสเตตมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ฤดูหนาวจากภูเขาไฟสถาบันสมิธโซเนียนจังหวัดสุมาตราเหนือจาการ์ตาทะเลสาบทะเลสาบปล่องภูเขาไฟดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟซัลเฟอร์ไดออกไซด์ประเทศอินโดนีเซียปลาช่อนปลากระดี่หม้อปลากระแหปลากัดป่าภาคใต้ปลาก้างอินเดียปลาร่องไม้ตับปลาสลิดปลาสอดหางดาบปลาหมอปลาหมอเทศปลาหัวตะกั่วปลาหางนกยูงปลาดุกด้านปลาตะเพียนขาวปลาซิวใบไผ่มุกปลานิลปลาแรดปลาไหลนาปลาไนปลาเฉาแพลงก์ตอนพืชแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547เกาะสุมาตราเอเชียใต้

กรวยภูเขาไฟสลับชั้น

ภูเขาไฟฟูจิกรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับในประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดที่ปะทุขึ้นในปี 1707-08 Tavurvur กรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับใกล้กับRabaul ในประเทศปาปัวนิวกินี กรวยภูเขาไฟสลับชั้น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ภูเขาไฟชนิดประกอบ ความสูงของภูเขาไฟทรงกรวยก่อขึ้นโดยชั้นหินซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของหินหลอมเหลวหลายชั้น, เทฟรา, หินภูเขาไฟ และเถ้าภูเขาไฟ ซึ่งแตกต่างจากภูเขาไฟโล่ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นมีลักษณะรายละเอียดที่สูงชันและการอักเสบเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ และเงียบสงบเฉียบพลัน ในขณะที่มีบางอย่างกับหลุมที่ถล่มแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด หินหลอมเหลวที่ไหลจากกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมักจะเย็นตัวลงและแข็งตัวก่อนที่จะแพร่กระจายไปไกลเนื่องจากความหนืดสูง หินหนืดหลอมเหลวขึ้นรูปนี้มักจะเป็นหินเฟลสิก ที่มีระดับสูงถึงกลางของซิลิก้า (เช่นเดียวกับใน ไรโอไลต, ดาไซต์ หรือแอนเดไซต์) ที่มีจำนวนน้อยของหินหนืดซิสน้อยกว่าความหนืด ครอบคลุมหมดหินหลอมเหลวที่ไหลหินเฟลสิก เป็นเรื่องแปลก แต่ในการเดินทางไกลที่สุดเท่าที่ 15 กม.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและกรวยภูเขาไฟสลับชั้น · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟใหญ่

ัชนีการระเบิดของภูเขาไฟระดับ 7 ภูเขาไฟใหญ่ หรือ ซูเปอร์วอลเคโน (Supervolcano) คือภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีมวลการปะทุอยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟที่มีค่าปริมาตรมวลสารปะทุมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟใหญ่เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดจากเนื้อโลกดันตัวขึ้นไปด้านบนแต่ยังไม่ประทุสู่บนเปลือกโลกแต่จะขังตัวเป็นแอ่งใต้เปลือกโลกแทน จนเวลาผ่านไปแอ่งแม็กมาก็จะใหญ่จนมีแรงดันมากขึ้นจนเปลือกโลกรับแรงดันไม่ไหวจึงปะทุออกมา ซึ่งเหตุการ์ณแบบนี้จะเกิดบริเวณจุดร้อนเช่นแอ่งภูเขาไฟเยลโลว์สโตนหรือในเขตมุดตัวของเปลือกโลกอย่างทะเลสาบโตบา และลักษณะอื่นที่ทำให้มีการปะทุปริมาตรมวลสารจำนวนมากจะอยู่บริเวณที่มีการสะสมหินอัคนีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยลาวา, เถ้าภูเขาไฟและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเช่นการเกิดยุคน้ำแข็งขนาดเล็กที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ การระเบิดที่ใหญ่ที่สุดของภูเขาไฟใหญ่คือการปะทุโอรัวนุเมื่อ 26,500 ปีก่อนซึ่งเป็นการระเบิดของภูเขาไฟตาอูโปในประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและภูเขาไฟใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต

หอนาฬิกา สัญลักษณ์ที่สำคัญสิ่งหนึ่งของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองคอร์วัลลิสในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสมุทรศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร นิเวศวิทยา วนศาสตร์ และชีวเคมี.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์

อัลมามาเทอร์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ (University of Illinois at Urbana-Champaign, ตัวย่อ: UIUC) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ นิเทศศาสตร์ การเกษตร การบัญชี และ ครุศาสตร์ ตามการจัดอันดับของ ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 18 คณะ และมีภาควิชามากกว่า 150 ภาควิชา มีนักศึกษากว่า 40,000 คน มหาวิทยาลัยตั้งอยู่คร่อมเมืองสองเมือง คือเมืองเออร์แบนาและเมืองแชมเปญจน์ ในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชิคาโก ห่างประมาณ 200 กม.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ูหนาวจากภูเขาไฟ คือการที่โลกมีอุณหภูมิลดลงจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟ, กรดซัลฟิวริกและน้ำจำนวนมากในชั้นบรรยากาศจนทำให้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์และมีการเพิ่มอัลบีโด (ค่าการสะท้องแสง) ของโลกมากขึ้น ความหนาวเย็นของปรากฏการณ์นี้จะกินเวลานานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนก๊าซกำมะถันที่เปลี่ยนรูปเป็นอนุภาคชื่อว่าละอองลอยของกรดซัลฟิวริกซึ่งจะรวมตัวกันที่ชั้นสตราโทสเฟียร์Robock, Alan (2000).

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและฤดูหนาวจากภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราเหนือ

มาตราเหนือ (Sumatera Utara) เป็นจังหวัดหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศหากไม่นับรวมกรุงจาการ์ต.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและจังหวัดสุมาตราเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้ ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

วามสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและปริมาณตกกระทบ ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index หรือ VEI) เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ ถูกคิดค้นขึ้นโดยคริสโตเฟอร์ จี นิวฮอลล์แห่งหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและสตีเฟน เซลฟ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อปี 1982 ปริมาณของผลผลิต ความสูงของเมฆที่เกิดจากการปะทุ และการสังเกตการณ์เชิงคุณภาพ ใช้เพื่อกำหนดค่าของการระเบิด มาตรานี้เป็นมาตราปลายเปิดโดยมีขนาดของกิจกรรมภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 8 ซึ่งค่าเริ่มจาก 0 สำหรับภูเขาไฟที่ไม่ได้ระเบิด โดยนิยามว่าน้อยกว่า 10,000 ม.3 ของเทบพราที่พุ่งออกมา และ 8 จะนิยามถึงการระเบิดครั้งมหึมา ซึ่งสามารถพ่นเทบพราออกมาได้ 1.0 × 1012 ม.3 และมีเมฆสูงในแนวตั้งกว่า 20 กิโลเมตร มาตราส่วนนี้เป็นลอการิทึมกับแต่ละช่วงเวลาในมาตราที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเกณฑ์การพุ่งที่สังเกตได้ ยกเว้น VEI 0, 1 และ 2.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สูตรทางเคมี SO2) เป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของกำมะถัน.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichopodus ที่พบชุกชุมที่สุด นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า".

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลากระดี่หม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่าภาคใต้

ปลากัดป่าภาคใต้ หรือ ปลากัดภาคใต้ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีลักษณะคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) และปลากัดอีสาน (B. smaragdina) แต่มีรูปร่างเรียวยาวและครีบหลังค่อนไปทางด้านหลังลำตัว มีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าปลากัดทั้ง 2 ชนิดข้างต้น มีลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบแดงและน้ำเงิน ครีบหลังและครีบก้นสีคล้ำแดงมีแถบสีฟ้าเรืองแสง ปลายครีบก้นมีแต้มสีแดงสด มีขลิบสีขาว พบในภาคใต้ของประเทศไทย มีขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนปลาที่พบในประเทศกัมพูชาแถบจังหวัดสตึงแตรงนั้น จะมีลำตัวและครีบสีดำคล้ำ.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลากัดป่าภาคใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้างอินเดีย

ปลาก้างอินเดีย หรือ ปลากั๊งอินเดีย (Dwarf snakehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างและขนาดลำตัวคล้ายคลึงกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาก แต่ทว่า ปลาก้างอินเดียนั้นจะมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า มีจำนวนเกล็ดที่ใต้ขากรรไกรล่างทั้งสองข้างเกล็ดเดียว มีขอบใต้ดวงตาสีแดง และไม่มีครีบท้อง การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายอมไข่ในปากจนกว่าลูกปลาจะฟักเป็นตัว และดูแลลูกปลาใกล้ชนิดคู่กับปลาเพศเมีย สีสันบนลำตัวนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกับปลาก้าง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพบที่อินเดีย, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ, ปากีสถาน ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาก้าง และปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) ซึ่งเป็นปลาที่เป็นขนาดเล็กในวงศ์เดียวกันเช่นกัน อนึ่ง ปลาก้างที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย โดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องจากฝ่ายวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาก้างอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาร่องไม้ตับ

ปลาร่องไม้ตับ หรือ ปลาข้างลาย (Bonylip barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดปานกลาง ลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้นทู่ และครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีดำขนาดค่อนข้างใหญ่พาดผ่านนัยน์ตาตามความยาวลำตัวไปสิ้นสุดที่โคนครีบหาง มีขนาดความยาวประมาณ 24 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นปลาในสกุลปลาสร้อยนกเขาที่พบได้บ่อยที่สุด โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ที่เข้ามาศึกษาพันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทยได้บันทึกไว้ว่า จับปลาร่องไม้ตับขนาดความยาว 23.5 เซนติเมตร ได้ที่แม่น้ำปราณ ในเดือนพฤษภาคม เป็นปลาตัวเมียที่มีไข่แก่ และจับได้ที่บึงบอระเพ็ดในเดือนพฤศจิกายน เป็นปลาตัวเมียขนาด 6 เซนติเมตร มีไข่เต็มท้อง แสดงให้เห็นว่า เริ่มผสมพันธุ์วางไข่ตั้งแต่ขนาด 6 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นปลาที่กินตะไคร่น้ำและสาหร่ายรวมถึง แมลงน้ำต่าง ๆ ตามโขดหินและใต้ท้องน้ำเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศเพราะมีความอดทน เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาร่องไม้ตับ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิด

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichopodus ที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง พฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่ ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อและอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อเรียกในภาษามลายูว่า "Sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "ปลากระดี่หนังงู" (Snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาสลิด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสอดหางดาบ

ปลาสอดหางดาบ (Swordtail) สกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes) ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Xiphophorus จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Poeciliinae นับเป็นปลาสกุลหนึ่งเช่นเดียวกับสกุล Poecilia ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยชนิดที่นิยมได้แก่ ปลาสอดหางดาบเขียว (X. hellerii), ปลาพลาตี้ (X. maculatus) และปลาวาเรียตัส (X. variatus) เป็นต้น โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกคำว่า ξίφος (ดาบ, มีดสั้น) และ φόρος (ผู้แบก, ผู้ถือ) หมายถึง "ลักษณะของหางตัวผู้ที่มีโกโนโพเดียม" มีขนาดตั้งแต่ 2.5-14 เซนติเมตร เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ตั้งแต่เม็กซิโก, กัวเตมาลา และเบลิซ เช่นเดียวกับปลาสกุล Poecilia หรือสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน คือ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันและครีบต่าง ๆ ที่หลากหลายสวยงามกว่าปลาดั้งเดิมในธรรมชาต.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาสอดหางดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami" ปลาหมอกำลังแถกเหงือกบนบก ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาหมอไทย", "ปลาเข็ง" หรือ "ปลาสะเด็ด" ในภาษาอีสาน เป็นต้น ในขณะที่ภาษายาวีเรียกว่า "อีแกปูยู".

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเทศ

ปลาหมอเทศ (Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีลำตัวแบนข้าง หัวสั้น ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กละเอียด ครีบอกยาวแหลม ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ปลายครีบหางตัดตรง มีเกล็ดตั้งแต่บริเวณแก้ม, หัว ถึงโคนหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดช่วง ด้านบนลำตัวมีสีคล้ำอมเขียวหรือน้ำเงิน แก้มมีสีจางเป็นปื้น ลำตัวมีแถบสีคล้ำ 8–9 แถบ พาดตามแนวตั้ง ท้องสีจางหรือเหลืองอ่อน ขอบครีบมีสีแดงหรือน้ำตาลรวมถึงครีบอก ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำหรือสีเทา มีความแตกต่างจากปลานิล คือ ปากยาวกว่า และไม่มีแถบหรือลายบนครีบ แต่มีปื้นสีจางบนแก้มของปลาตัวผู้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงตะกอนอินทรียสาร ขยายพันธุ์โดยปลาตัวผู้ขุดหลุมบนพื้นท้องน้ำเหมือนหลุมขนมครก ปลาตัวเมียอมไข่ในปากไว้ประมาณ 10–15 วัน ก่อนจะปล่อยลูกปลาให้ออกมาว่ายวนรอบ ๆ ตัวแม่ปลา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แถบแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ในแหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกนำเข้าไปในประเทศใกล้เคียง ก่อนจะกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ถูกนำเข้าไปในหลายประเทศในหลายทวีปทั่วโลก ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2492.(พิเศษ) บุญ อินทรัมพรรย์ แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำผ่านมาจากปีนัง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่องจากเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดตัวเล็ก ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล และถูกปล่อยลงตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย กลายเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงกุ้ง ในปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาหมอเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae).

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาหางนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, คาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และพม่า ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือกหรือสีที่แปลกไปจากปกติ ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาดุกด้าน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาตะเพียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่มุก

ปลาซิวใบไผ่มุก หรือ ปลาซิวใบไผ่เล็ก หรือ ปลาซิวเจ็ดสี (Pearl danio, White-lined danio, Rearing danio) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาวแบนข้าง หัวและจะงอยปากมน ปากกว้าง มีหนวดยาวที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่มุมปาก 1 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่มีลักษณะบางและหลุดง่าย ครีบหลังค่อนไปทางทางด้านหาง ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าตื้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 13 ก้าน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในแม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคใต้ รวมถึงแหล่งน้ำในป่าพรุด้วย โดยมักซ่อนอยู่ใต้ซากใบไม้ และพบเรื่อยไปจนถึงเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง จึงนิยมเก็บรวบรวมจากธรรมชาติเพื่อส่งขายเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาซิวใบไผ่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลานิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลนา

ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหางแบนยาวคล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป กระดูกเหงือกมีทั้งหมด 3 คู่ ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็นสีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว หรือสีด่าง มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร ปลาไหลนา จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาไหลนาที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป สำหรับในต่างประเทศพบกว้างขวางมาก ตั้งแต่อเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหาร เมื่อยังเล็กจะเป็นตัวเมีย และจะกลายเป็นตัวผู้เมื่อโตขึ้น ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในการวางไข่ คือ เดือนสิงหาคม โดยไข่จะมีเพียง 1 ฝัก เป็นลักษณะไข่จมไม่สัมผัสกับวัสสุใด ๆ ใต้น้ำ เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบอกเมื่ออายุได้ 5 - 6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบอกหายไป และเริ่มกินอาหารได้ เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้วจะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาไน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฉา

ปลาเฉา (Grass Carp) หรือ เฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ctenopharyngodon มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ส่วนหัวเล็กและกลมมน ในช่องคอมีฟันที่แข็งแรง ไม่มีหนวด ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอมทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง บริเวณฐานของเกล็ดบนของลำตัวส่วนมากมีสีคล้ำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1 เมตร แต่โดยเฉลี่ยจะยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ตัวผู้ในช่วงเจริญพันธุ์จะปรากฏตุ่มคล้ายสิวขึ้นมาที่ครีบอก และก้านครีบด้านในที่เป็นหยัก หัวและหน้าผาก มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณแม่น้ำอามูร์ทางภาคตะวันออกของจีนและรัสเซีย กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำทุกชนิด โดยมักจะหากินตามก้นแม่น้ำ ปัจจุบัน ถือเป็นปลาเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากมีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับปลาในสกุล Hypophthalmichthys รวมถึงเป็นปลาที่นิยมในการตกปลาอีกด้วย ซึ่งจะมีชื่อเรียกรวม ๆ กันในภาษาไทยว่า "ปลาจีน" สำหรับในประเทศไทย ได้นำเข้ามาทางเรือสำเภาโดยชาวจีนผ่านทางฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2465 โดยได้ถูกนำเข้ามาเลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอาหาร ต่อมากรมประมงได้ทดลองเพาะขยายพันธุ์ด้วยการฉีดฮอร์โมนจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2509 จึงได้มีการขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ในประเทศได้สำเร็จจนถึงปัจจุบัน โดยที่ปลาจะไม่ไข่เองตามธรรมชาติแต่จะเกิดจากการฉีดฮอร์โมนกระตุ้น.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและปลาเฉา · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอนพืช

แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดถ่ายจากดาวเทียม แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (Caldera) เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อยๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อยๆ หรือใหญ่ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างภูมิประเทศแบบนี้เห็นได้ชัดที่ หมู่เกาะกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟตาอาล ใกล้เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และที่ภูเขาไฟวิสุเวียส ในประเทศอิตาลี ในประเทศไทยนั้น มีตัวอย่างที่เข้าใจว่าเป็นแอ่งภูเขาไฟเล็กๆ แบบนี้ที่เขาหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย อันเป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lake Tobaภูเขาไฟโตบาทะเลสาบโทบา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »