โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทอมัส แบ็กกิต

ดัชนี ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

52 ความสัมพันธ์: บริเวณร้องเพลงสวดพ.ศ. 1661พ.ศ. 1713พ.ศ. 1716พระเยซูพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดกฎหมายศาสนจักรกฎหมายแพ่งการยุบอารามการลอบสังหารการจาริกแสวงบุญการตัดขาดจากศาสนาการประกาศเป็นนักบุญก็องภาษาละตินมรณสักขีในศาสนาคริสต์ยอร์กยุโรปภาคพื้นทวีปราชอาณาจักรอังกฤษลอนดอนวิหารคดวินเชสเตอร์สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3สงครามครูเสดอัครมุขนายกอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารปีเตอร์บะระอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีธรรมนูญแคลเร็นดอนข้าราชสำนักคัมเบรียคณะซิสเตอร์เชียนงานกระจกสีซัสเซกซ์ประเทศอังกฤษปารีสแองกลิคันแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์โบโลญญาโรมันคาทอลิกโอแซร์โทษต้องห้ามเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเฮนรียุวกษัตริย์เซนต์...21 กุมภาพันธ์29 ธันวาคม ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1661

ทธศักราช 1661 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพ.ศ. 1661 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1713

ทธศักราช 1713 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพ.ศ. 1713 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1716

ทธศักราช 1716 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพ.ศ. 1716 · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France หรือ Louis VII the Younger หรือ Louis le Jeune) (ค.ศ. 1120 - 18 กันยายน ค.ศ. 1180) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1131 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1180 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างอำนาจของขุนนางจากตระกูลต่างๆ โดยเฉพาะตระกูลอองชู (อองเฌแว็ง), เป็นช่วงของการเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอังกฤษ และการเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1120 เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงได้รับขนานพระนามว่า “ผู้ลูก” และ พระราชินีอเดลแลด พระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูเพื่อให้เข้าเป็นนักบวชเมื่อเจริญพระชนมายุขึ้น แต่เมื่อพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปผู้ครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระราชบิดาเสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (Henry II of England หรือ “Curtmantle”) (25 มีนาคม ค.ศ. 1133 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษองค์แรกในสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง (civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและกฎหมายแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

การลอบสังหาร

การลอบสังหาร (Assassination) การฆาตกรรมบุคคคลที่มีชื่อเสียงด้วยการวางแผนล่วงหน้า การลอบสังหารอาจจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลทางอุดมคติ การเมือง หรือการทหารเป็นมูลเหตุชี้นำก็เป็นได้ และนอกจากนี้ ผู้ลอบสังหาร (Assassin) เองก็อาจจะได้รับแรงจูงใจจากค่าจ้าง ความแค้น ความมีชื่อเสียง หรือความพิการทางจิตด้ว.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและการลอบสังหาร · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

ก็อง

ก็อง (Caen) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกาลวาโดส ในแคว้นนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองก็องเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สร้างในสมัยของวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี และเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของยุทธการที่นอร์ม็องดีในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและก็อง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ก

อร์ก (York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์ ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

วินเชสเตอร์

มืองวินเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Winchester) เป็นเมืองหลวงของมลฑลแฮมป์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วินเชสเตอร์ตั้งอยู่กลางนครวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองเทศบาลมณฑลที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันตกของเซาท์ดาวน์ตามฝั่งแม่น้ำอิตเค็น วินเชสเตอร์มีเนื้อที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III.) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1159 ถึง ค.ศ. 1181 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1100 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อเล็กซานเดอร์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43 (Archbishop of Canterbury) เป็นอัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลกและบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีคนปัจจุบันคือศาสนาจารย์จัสติน เวลบี (Justin Welby) เป็นอัครมุขนายกคนที่ 105 ซึ่งสืบตำแหน่งที่ตกทอดมากว่า 1400 ปีจากนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมนูญแคลเร็นดอน

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษผู้ทรงมีบทบาทในการอนุมัติธรรมนูญ ธรรมนูญแคลเร็นดอน (Constitutions of Clarendon) คือ วิธีดำเนินงานทางนิติบัญญัติจำพวกหนึ่งซึ่งพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษทรงอนุมัติในปี ค.ศ. 1164 ธรรมนูญแคลเร็นดอนมีด้วยกันทั้งหมด 16 มาตรา มีสาระสำคัญเป็นการพยายามจำกัดอภิสิทธิ์ของคริสตจักร อำนาจของศาลคริสตจักร และอำนาจหน้าที่ของพระสันตะปาปาในอังกฤษ สถานภาพของความเสื่อมโทรมของอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยรัชกาลก่อนหน้านั้นในสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ เป็นสมัยที่คริสตจักรขยายอำนาจเข้ามาแทนที่ส่วนที่ขาดไป จุดประสงค์ของธรรมนูญแคลเร็นดอนอ้างกันว่าเพื่อเป็นการฟื้นฟูอำนาจทางด้านการยุติธรรมตามแบบฉบับที่เคยเป็นมาในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1100–ค.ศ. 1135) แต่ตามความเป็นจริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมพระราชอำนาจของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 เองเข้ามาทั้งในด้านกฎหมายแพ่งและกฎหมายศาสนาซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัชสมัยของพระองค์ จุดประสงค์หลักของธรรมนูญก็เพื่อการหาวิธีการตัดสินเกี่ยวกับกรณีนักบวชที่ทำผิดทางอาญาและรอดพ้นจากการถูกลงโทษโดยระบบศาลคริสตจักรตามข้อ "ผลประโยชน์ของนักบวช" (Benefit of clergy) ศาสนศาลไม่เหมือนกับศาลของพระมหากษัตริย์ที่มักจะเข้าข้างผลประโยชน์ของนักบวช การฆาตกรรมที่นักบวชมีส่วนเกี่ยวข้องมักจะลงเองโดยการสึกนักบวชที่ถูกล่าวหา แต่ในศาลของพระมหากษัตริย์ฆาตกรมักจะถูกลงโทษโดยการถูกสับเป็นชิ้นๆ หรือถูกประหารชีวิต ธรรมนูญแคลเร็นดอนเป็นความพยายามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยอ้างว่าเมื่อศาลคริสตจักรลงโทษผู้ถูกกล่าวหาโดยการสึกแล้ว ทางคริสตจักรก็ไม่มีสิทธิที่จะพิทักษ์ผู้นั้นอีกต่อไป ฉะนั้นผู้นั้นก็ควรจะต้องถูกพิจารณาและลงโทษได้โดยศาลของพระมหากษัตริย์ ทอมัส เบ็กเก็ต อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีขณะนั้น (ค.ศ. 1162-ค.ศ. 1170) ต่อต้านธรรมนูญฉบับนี้ของพระเจ้าเฮนรี โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับ "นักบวชที่เป็นอาชญากร" (criminous clerks) ทอมัส เบ็คเค็ทอ้างว่าไม่มีผู้ใดที่ควรจะถูกพิจารณาคดีซ้ำสอง (double jeopardy) การต่อต้านเป็นผลให้เบ็กเก็ตมีความขัดแย้งโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผลให้พระเจ้าเฮนรีทรงเนรเทศเบ็คเค็ทและครอบครัวออกจากอังกฤษ และในที่สุดเบ็กเก็ตเองก็ถูกลอบสังหารในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและธรรมนูญแคลเร็นดอน · ดูเพิ่มเติม »

ข้าราชสำนัก

มาดาม เดอ ปองปาดูร์ข้าราชสำนักในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้ต่อมาได้เป็นพระสนม ข้าราชสำนัก หรือ ข้าประจำสำนัก (Courtier) คือบุคคลที่รับราชการหรือมีหน้าที่ในราชสำนัก หรือ ในสำนักของขุนนาง หรือ สำนักของผู้มีอำนาจ ในประวัติศาสตร์ราชสำนักคือศูนย์กลางของรัฐบาลและสังคมและที่ประทับของพระมหากษัติรย์หรือที่พำนักของผู้มีอำนาจ ชีวิตทางด้านการเมืองและการสังคมจะมารวมอยู่ในที่เดียวกัน พระมหากษัตริย์หรือผู้มีอำนาจก็จะต้องให้ผู้ใกล้ชิดหรือขุนนางข้าราชการคนสำคัญๆ มาเฝ้าแหนหรือมาทำงานเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปีภายในสำนัก ข้าราชสำนักไม่จำเป็นต้องเป็นขุนนาง แต่อาจจะเป็นนักบวช, ทหาร, เลขาธิการ หรือผู้แทนทางเศรษฐกิจหรือกิจการในสาขาและระดับต่างๆ การได้เลื่อนฐานะอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราชสำนัก/สำนักจึงเป็นสถานที่ที่ผู้มีความทะเยอทยานต่างก็พยายามเข้ามาปรากฏตัวเพื่อให้เป็นที่ใกล้ชิดบุคคลสำคัญ สิ่งที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองภายในราชสำนัก/สำนักคือการเข้าถึงตัวผู้มีอำนาจ และ “ข้อมูล” ชีวิตภายในราชสำนัก/สำนักแบ่งเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและหลายระดับ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอาจจะไม่ต้องมีการติดต่อโดยตรงกับประมุขของสำนักเลยก็ได้ สตรีที่มีหน้าที่ในราชสำนักเรียกว่า “สตรีในราชสำนัก” (Courtesan) แต่ในปัจจุบันคำนี้แผลงไปใช้ในทางสตรีที่ใช้ความงามในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองที่อาจจะเรียกว่า “สตรีงามเมือง” ราชสำนักของยุโรปที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่ราชสำนักแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แต่ราชสำนักที่ใหญ่ที่สุดคือพระราชวังต้องห้ามแห่งกรุงปักกิ่งที่ยิ่งแยกจากสังคมภายนอกมากไปกว่าราชสำนักแวร์ซายส์ นอกจากราชสำนักหลักของราชอาณาจักรแล้ว ขุนนางหรือนักบวชในบางราชอาณาจักรในยุโรปก็อาจจะมีอำนาจที่เป็นอิสระจากพระมหากษัตริย์มากบ้างน้อยบ้าง ที่บางครั้งก็อาจจะมีสำนักของตนเองที่มีอำนาจอิสระจะอำนาจกลางของราชอาณาจักร ซึ่งทำให้ระบบราชสำนักของยุโรปออกจะเป็นระบบที่ซับซ้อนอยู่บ้าง ในปัจจุบันคำว่า “Courtier” มักจะใช้เป็นคำอุปลักษณ์สำหรับผู้เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้นำ หรือ ผู้ติดสอยห้อยตามผู้นำอย่างแยกไม่ได้.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและข้าราชสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

คัมเบรีย

ัมเบรีย (Cumbria) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน คัมเบรีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษที่มีเขตแดนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ทางด้านไต้ติดกับมณฑลแลงคาสเชอร์, ทรงตะวันออกเฉียงไต้ติดกับมณฑลนอร์ธยอร์คเชอร์, ทางตะวันออกติดกับมณฑลเดอแรม และมณฑลนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ และมณฑลดัมฟรีส์และกาลลเวย์ของสกอตแลนด์ทางด้านเหนือ คัมเบรียแบ่งการปกครองเป็นหกแขวง: บาร์โรว์อินเฟอร์เนสส์, เซาท์เลคแลนด์, โคพแลนด์, อัลเลอร์เดล, อีเด็น และนครคาร์ไลล์โดยมีคาร์ไลล์เป็นเมืองหลวงของมณฑล คัมเบรียมีเนื้อที่ 6768 ตารางกิโลเมตร และในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและคัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะซิสเตอร์เชียน

ตราอาร์มของคณะซิสเตอร์เชียน คณะซิสเตอร์เชียน (Ordo Cisterciensis, Cistercian Order,.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและคณะซิสเตอร์เชียน · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โบโลญญา

ลญญา (Bologna) เป็นเมืองในประเทศอิตาลี เป็นเมืองหลักของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาในหุบเขาโป ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโปกับเทือกเขาแอเพนไนน์ นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดคือ "Alma Mater Studiorum" ที่ก่อตั้งในปี 1088 โบโลญญายังเป็นเมืองหนึ่งที่พัฒนามากที่สุดในอิตาลี และมักติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของเมือง ในแง่ของคุณภาพชีวิตในอิตาลี จากข้อมูลปี 2006 ติดอยู่อันดับ 5 และอันดับที่ 12 ในปี 2007 จาก 103 เมืองในอิตาลี.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและโบโลญญา · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอแซร์

อแซร์ (Auxerre) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี สถานที่ที่น่าสนใจของโอแซร์ก็ได้แก่ตัวเมืองเก่าและมหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งโอแซร์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและโอแซร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทษต้องห้าม

ทษต้องห้าม (interdict) ในนิกายโรมันคาทอลิกหมายถึงการตำหนิโทษโดยคริสตจักร โทษต้องห้ามอาจจะประกาศต่อ อาณาจักร ท้องถิ่น หรือ ต่อบุคคล บทประกาศโทษต่อบุคคลจะลงโทษผู้หนึ่งผู้ใดโดยการระบุชื่อ การประกาศโทษต้องห้ามต่ออาณาจักรหรือท้องถิ่นจะเป็นการห้ามเข้าร่วมพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรคือจากดินแดนหรืออาณาจักรที่ถูกบังคับโดยบทประกาศ โทษต้องห้ามท้องถิ่นต่ออาณาจักรเทียบเท่ากับการตัดขาดจากศาสนาที่ทำต่อบุคคล ที่จะเป็นการปิดทุกโบสถ์ในดินแดนดังกล่าว และไม่อนุญาตให้มีพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่รวมทั้งการแต่งงาน การสารภาพบาป และการโปรดศีลมหาสนิท ที่ยกเว้นก็จะมีการอนุญาตให้ทำพิธีรับศีลล้างบาปได้ และ การเจิมผู้ป่วย และ การทำศาสนพิธีเนื่องในวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา การออกบทประกาศโทษเป็นเครื่องมือที่ใช้โดยพระสันตะปาปาในยุคกลางในการแสดงอิทธิพลต่อประมุขในยุโรป เช่นในกรณีที่สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงออกประกาศโทษต้องห้ามเป็นเวลาห้าปีต่อราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและโทษต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรียุวกษัตริย์

นรี หรือที่เรียกกันว่า ยุวกษัตริย์ (Henry the Young King; 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1155 — 11 มิถุนายน ค.ศ. 1183) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในห้าองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษและเอเลเนอร์แห่งอากีแตน เฮนรีทรงเป็นรองพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ, ดยุคแห่งนอร์ม็องดี, เคานท์แห่งอองชู และ ไมน.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและเฮนรียุวกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

21 กุมภาพันธ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและ21 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

29 ธันวาคม

วันที่ 29 ธันวาคม เป็นวันที่ 363 ของปี (วันที่ 364 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 2 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ทอมัส แบ็กกิตและ29 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

St Thomas BecketSt Thomas of CanterburySt. Thomas BecketSt. Thomas of CanterburyThomas BecketThomas BeckettThomas a BecketThomas of CanterburyThomas à Becketทอมัส เบ็กเก็ตทอมัส เบ็คเค็ททอมัสแห่งแคนเตอร์บรีนักบุญทอมัส เบ็คเค็ทนักบุญทอมัสแห่งแคนเตอร์บรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »