โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามครูเสด

ดัชนี สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

55 ความสัมพันธ์: ชาวแฟรงก์พระสันตะปาปาพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสกอดฟรีย์แห่งบูยงการตัดขาดจากศาสนาการปฏิรูปศาสนาการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนรัฐสุลต่านรูมรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ราชวงศ์เซลจุคลัทธินอกศาสนาลิแวนต์ศาสนายูดาห์ศาสนาอับราฮัมศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2สงครามครูเสดครั้งที่ 4สงครามครูเสดครั้งที่ 5สงครามครูเสดครั้งที่ 6สงครามครูเสดครั้งที่ 7สงครามครูเสดครั้งที่ 8สงครามครูเสดครั้งที่ 9อัครบิดรอานาโตเลียจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิเซลจุคข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์คริสต์คาบสมุทรอาหรับคาบสมุทรไอบีเรียตะวันออกกลางประเทศฝรั่งเศสประเทศสเปนนบีนอร์มันแบร์นาร์แห่งแกลร์โวแอฟริกาเหนือโรมโรมันคาทอลิกโตเลโดเยรูซาเลมเรกองกิสตา...เศาะลาฮุดดีนเอเชียกลางเอเชียใต้เทือกเขาพิเรนีสเคาะลีฟะฮ์ ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France หรือ Louis VII the Younger หรือ Louis le Jeune) (ค.ศ. 1120 - 18 กันยายน ค.ศ. 1180) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1131 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1180 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างอำนาจของขุนนางจากตระกูลต่างๆ โดยเฉพาะตระกูลอองชู (อองเฌแว็ง), เป็นช่วงของการเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอังกฤษ และการเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1120 เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงได้รับขนานพระนามว่า “ผู้ลูก” และ พระราชินีอเดลแลด พระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูเพื่อให้เข้าเป็นนักบวชเมื่อเจริญพระชนมายุขึ้น แต่เมื่อพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปผู้ครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระราชบิดาเสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กอดฟรีย์แห่งบูยง

กอดฟรีย์แห่งบูยง (Godfrey of Bouillon; Godefroy de Bouillon; ราว ค.ศ. 1060 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1100) กอดฟรีย์แห่งบูยงเป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส ผู้เกิดเมื่อราว ค.ศ. 1060 ที่บูลอญ-ซูร์-แมร์ในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน กอดฟรีย์แห่งบูยงเป็นบุตรคนที่สองของยูสตัซที่ 2 เคานต์แห่งบูลอญและไอดาแห่งลอแรน (บุตรีของกอดฟรีย์ที่ 3 ดยุคแห่งโลว์เออร์ลอแรนและโดดา) กอดฟรีย์มีฐานะเป็นลอร์ดแห่งบูลอญ (Lord of Bouillon) ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและกอดฟรีย์แห่งบูยง · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: สงครามครูเสดและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปศาสนา อาจหมายถึงการปฏิรูปทางศาสนาคริสต์ที่สำคัญๆในประวัติศาสตร์ยุโรป ซึ่งมีหลายครั้ง ได้แก.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและการปฏิรูปศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสุลต่านรูม

รัฐสุลต่านรูม (Sultanate of Rûm, سلاجقة الروم) เป็นรัฐสุลต่านเซลจุคตุรกี ที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลียระหว่างปี ค.ศ. 1077 จนถึงปี ค.ศ. 1307 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อิซนิคและต่อมาคอนยา เนื่องจากอาณาจักรสุลต่านเป็นอาณาจักรที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอฉะนั้นเมืองอื่นเช่นเคย์เซรีและซิวาสต่างก็ได้เป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมมีอาณาบริเวณครอบคลุมกลางตุรกีตั้งแต่เมืองท่าอันทาลยา-อลันยาบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซนอพบนฝั่งทะเลดำ ทางตะวันออกอาณาจักรสุลต่านก็ผนวกรัฐต่างๆ ของตุรกีไปจนถึงทะเลสาบวาน ทางด้านตะวันตกสุดก็มีอาณาบริเวณไปจรดบริเวณเดนิซลิและบริเวณทะเลอีเจียน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและรัฐสุลต่านรูม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์

การปกครองฟาฏิมียะห์คือขบวนการปกครองที่เริ่มตนขึ้นเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ)และทำการปกครองเป็นเวลาสองศตวรรษ(จนถึงปี ๑๑๗๑ ค.ศ)โดยปกครองภาคเหนือของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกกลาง รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้ปกครองฟาฏิมีคือผู้นำชีอะห์นิกายอิสมาอีลียะห์ และชื่อขบวนการของพวกเขาคือ ฟาฏิมี หมายถึงท่านหญิงฟาฏีมะห์(ซ)บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นถึงมากกว่าสองศตวรรษในแถบตะวันออกกลางและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีความรักต่อวิชาความรู้และการค้าขายเป็นอย่างมาก ไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ถูกก่อตั้งโดย การปกครองฟาฏิมี คอลีฟะห์ การปกครองฟาฏิมี ถูกก่อตั้งเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) ณ แอฟริกาเหนือ และขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ ประเทศ ซิซิลี ปาเลสไตน์ อียิปต์ และ ซีเรีย และมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคคอลีฟะห์คนที่แปด คือ อัลมุสตันศัร บิลลาฮ์ (เสียชีวิตเมื่อปี ๑๐๙๔)ในช่วงสองศตวรรษแห่งการปกครอง พวกเขาได้ทำการปกครองที่ราบรื่นสดใส่ บนรากฐานของสติปัญญา เศรษฐกิจที่สมบูร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ฟาฏีมียอนคือกลุ่มชีอะห์นิการอิสมาอีลียะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้านการปกครองของอับบาซีโดยอ้างว่าพวกเขาคือผู้ปกครองที่เป็นธรรม การปกครองอันยาวนานของฟาฏิมีทำให้นิกายชีอะห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขว้าง ในยุคดังกล่าวสถาบันการศึกษาอิสลามที่ยิ่งใหญ่ อาธิ ญาเมะอฺ อัลอัซฮัร ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะห์ ซึ่งมีผลงานการเขียนมากมายเกี่ยวกับอิสมาอีลียะ กลุ่มฟาฏีมีมุ่งมั่นในการเผยแพร่จึงส่งทูตของตนไปยังประเทศ และ เมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตนและสามารถขยายความเชื่ออิสมาอีลียะอย่างกว้างขว้างในประเทศ เยเมน อินเดีย และภาคตะวันออกของประเทศอิหร่าน ผู้นำของฟาฏีมี อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ อะบูมุฮัมหมัด อุบัยดัลลอฮ               ปกครองเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) อัลกออิม บิอัมริลลาฮ อะบูกอเซ็มมุฮัมหมัด ปกครองเมื่อปี ๙๓๔(ค.ศ) อัลมันศูรบิลลาฮ อะบูฏอฮิรอิสมาอีล                              ปกครองเมื่อปี ๙๔๖(ค.ศ) อัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                               ปกครองเมื่อปี ๙๕๓(ค.ศ) อัลอะซีซ บิลลาฮ์ อะบูมันศูร นิซาร์                                ปกครองเมื่อปี ๙๗๕ (ค.ศ) อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ อะบูอาลีมันศูร                              ปกครองเมื่อปี ๙๙๖ (ค.ศ) อัซซอฮิร ลา อิรอซ ดีนิลลาฮ์ อะบูลฮะซัน อะลี           ปกครองเมื่อปี ๑๐๒๑ อัลมุซตันศิร บิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                             ปกครองเมื่อปี ๑๐๓๖ อัลมุสตะอฺลี บิลลาฮ์ อะบูกอเซ็มอะห์หมัด                    ปกครองเมื่อปี ๑๐๙๔ อัลอัมร์ บิอะห์กามิลลาฮ์ อะบูอะลี มันศูร                      ปกครองเมื่อปี ๑๑๐๑ (ค.ศ) อัลฮาฟิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูอัลมัยมูน อับดุลมะญีด         ปกครองเมื่อปี ๑๑๓๐(ค.ศ) อัลซิฟิร บิอัมริลลาฮ์ อะบูมันศูร อิสมาอีล                     ปกครองเมื่อปี ๑๑๔๙(ค.ศ) อัลฟาอิร บินัศริลลาฮ์ อะบูกอเซ็ม อีซา                          ปกครองเมื่อปี ๑๑๕๔(ค.ศ) อัลอาฎิด ลิดีนิลลาฮ์ อะบูมุฮัมหมัดอับดุลลอฮ              ปกครองเมื่อปี ๑๑๖๐-๑๑๗๑(ค.ศ)  .

ใหม่!!: สงครามครูเสดและรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (الخلافة الراشدية, Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์(الخلافة العباسية: al-Khilāfah al-‘Abbāsīyyah) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม ที่มีเมืองหลวงที่แบกแดดหลังจากที่โค่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากบริเวณต่าง ๆ ยกเว้นอัล-อันดะลุส (Al-Andalus) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب‎ – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซลจุค

จักรวรรดิเซลจุค ใน ค.ศ. 1092 เมื่อมาลิค ชาห์ที่ 1เสียชีวิต ราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี (Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” Selçuklular, سلجوقيان Ṣaljūqīyān; سلجوق ''Saljūq'' หรือ السلاجقة ''al-Salājiqa''.) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค” ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชียO.Özgündenli, "Persian Manuscripts in Ottoman and Modern Turkish Libraries", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,Encyclopaedia Britannica, "Seljuq", Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดและราชวงศ์เซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: สงครามครูเสดและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก

นเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) เป็นมหาศาสนเภทระหว่างคริสตจักรตะวันออกกับคริสตจักรตะวันตกตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) มีพระนามเดิมว่าโอโด ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1088 ถึง 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1099 พระองค์เป็นที่รู้จักจากการประกาศสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และก่อตั้งสภาปกครองโรมันขึ้นมีในฝ่ายคริสตจักรให้มีลักษณะอย่างราชสำนัก ราวปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 4

งครามครูเสดครั้งที่ 4 (Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 5

นักรบครูเสดฟรีเชียนเผชิญกับหอที่ดามิยัตตาในอียิปต์ สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (Fifth Crusade) (ค.ศ. 1217-ค.ศ. 1221) เป็นสงครามครูเสดที่พยายามยึดเยรูซาเลมและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิดในอียิปต์ สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold VI, Duke of Austria) และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 6

ระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2ทรงพบกับอัล-คามิล สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (Sixth Crusade) (ค.ศ. 1228-ค.ศ. 1229) สงครามครูเสด ครั้งนี้เริ่มขึ้นเพียงเจ็ดปีหลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 5.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 7

งครามครูเสดครั้งที่ 7 (Seventh Crusade; ค.ศ. 1248 – 1254) เป็นการทัพครูเสด ที่ฝ่ายคริสต์ นำทัพโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส รบกับสุลต่านแห่งราชวงศ์อัยยูบีย์ อัสซาลิห์ อัยยู.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 8

งครามครูเสดครั้งที่ 8 (Eighth Crusade) (ค.ศ. 1270) สงครามครูเสดครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270 บางครั้ง “สงครามครูเสดครั้งที่ 8” ก็นับเป็นครั้งที่เจ็ด ถ้ารวมสงครามครูเสดครั้งที่ 5 และ ครั้งที่ 6 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้าเป็นครั้งเดียวกัน และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ก็นับเป็นครั้งเดียวกับครั้งที่ 8 พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และ สาธารณรัฐเจนัวต่อสู้กันในสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 9

งครามครูเสดครั้งที่ 9 (Ninth Crusade) เป็นหนึ่งในสงครามครูเสดและเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้าย ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1271 – ค.ศ. 1272 เป็นสงครามที่ต่อสู้กันในตะวันออกใกล้ระหว่างฝ่ายผู้นับถือคริสต์ศาสนาและฝ่ายผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในสงครามครั้งนี้ฝ่ายมุสลิมเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ที่เป็นผลทำให้สงครามครูเสดยุติลงในที่สุดและอาณาจักรครูเสดต่างๆ ในบริเวณลว้านก็สลายตัวไป ทางฝ่ายคริสเตียนมีกำลังคนทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน โดยมีผู้นำที่รวมทั้ง สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งเนเปิลส์, สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ, โบฮีมอนด์ที่ 6 แห่งอันติโอค, อบาคา ข่านแห่งมงโกเลีย และ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอาร์มีเนีย ทางฝ่ายมุสลิมมีกำลังคนที่ไม่ทราบจำนวน โดยมีไบบาร์สเป็นผู้นำ สงครามครูเสดครั้งที่ 9 บางครั้งก็รวมกับสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ถือกันว่าเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายและเป็นสงครามใหญ่สงครามสุดท้ายของยุคกลางในการที่ฝ่ายคริสเตียนพยายามยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถยึดตูนิสได้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 8 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษก็เสด็จไปเอเคอร์เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 9 แต่เป็นสงครามที่ทางฝ่ายคริสเตียนพ่ายแพ้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะพลังใจในการที่จะดำเนินการสงครามเหือดหายไป และเพราะอำนาจของมามลุคในอียิปต์ขยายตัวมากขึ้น นอกจากนั้นผลของสงครามก็นำมาซึ่งการล่มสลายของที่มั่นต่างๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนไปด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดร

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและอัครบิดร · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดและจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์

กษัตริย์สมัยกลางแต่งตั้งบิชอป ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ (Investiture Controversy หรือ Investiture Contest) เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างคริสตจักรกับรัฐในยุโรปสมัยกลางที่เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 พระสันตะปาปาหลายพระองค์ก็เริ่มท้าทายอำนาจของพระมหากษัตริยุโรปในเรื่องการแต่งตั้งและสถาปนาสมณศักดิ์นักบวช เช่น มุขนายก และอธิการอาราม ความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอาหรับ

ทางอากาศของคาบสมุทรอาหรับ คาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula; شبه الجزيرة العربية หรือ جزيرة العرب) เป็นคาบสมุทรในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และอยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกา พื้นที่ส่วนมากเป็นทะเลทราย พื้นที่ส่วนนี้เป็นดินแดนสำคัญของตะวันออกกลาง เนื่องจากเต็มไปด้วยทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับติดกับทะเลแดง ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลอาหรับ (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย) ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดอ่าวโอมานและอ่าวเปอร์เซี.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและคาบสมุทรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและนบี · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

แบร์นาร์แห่งแกลร์โว

นักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว (Bernard de Clairvaux; Bernard of Clairvaux) เป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่เกิดราว ค.ศ. 1090 ที่เมืองฟงแตน-แล-ดีฌง (Fontaine-lès-Dijon) ในประเทศฝรั่งเศส และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1153 ที่แกลร์โว ในประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน นักบุญแบร์นาร์เป็นอธิการอาราม (Abbot) ชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปชีวิตอารามวาสีของคณะซิสเตอร์เชียน (Cistercian) หลังจากที่มารดาเสียชีวิตนักบุญแบร์นาร์ก็เข้าเป็นนักพรตสังกัดคณะซิสเตอร์เชียน สามปีต่อมาก็ถูกส่งไปก่อตั้งอารามใหม่ที่แบร์นาร์ตั้งชื่อว่า “Claire Vallée” (หุบเขาแกลร์) ที่เพี้ยนมาเป็น “Clairvaux” เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและแบร์นาร์แห่งแกลร์โว · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: สงครามครูเสดและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: สงครามครูเสดและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โตเลโด

ตเลโด (Toledo; Toletum (โตเลตุม); طليطلة (ตุไลเตละห์)) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศสเปน ห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โตเลโดเป็นเมืองหลักของจังหวัดโตเลโดและของแคว้นกัสติยา-ลามันชา ในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองนี้เป็นแหล่งมรดกโลก เนื่องจากมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมากมายในฐานะหนึ่งในเมืองหลวงของจักรวรรดิสเปน รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมัวร์อยู่ร่วมกันอีกด้วย บุคคลและศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเกิดและเคยพำนักอยู่ในเมืองนี้ เช่น การ์ซีลาโซ เด ลา เบกา, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 และเอลเกรโก ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เมืองนี้มีประชากร 75,578 คน และมีพื้นที่ 232.1 ตารางกิโลเมตร (89.59 ตารางไมล์) โตเลโดเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอท (ในสเปนโบราณ) ตั้งแต่สมัยพระเจ้าลีอูวีกิลด์ และมีฐานะเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งชาวมัวร์ (ชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ) ได้เข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา โตเลโด (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ตุไลเตละห์" طليطلة) ก็ได้เข้าสู่ยุคทอง ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอันยาวนานนี้รู้จักกันในชื่อ "ลากอนบีเบนเซีย" (La Convivencia) หรือการอยู่ร่วมกัน (ของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม) ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งกัสติยาทรงยึดเมืองโตเลโดคืนจากชาวมุสลิมได้และสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรกัสติยา-เลออนในช่วงของการพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) โตเลโดในอดีตมีชื่อเสียงจากการผลิตเหล็ก (โดยเฉพาะดาบ) และปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตมีดและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงย้ายราชธานีจากโตเลโดไปมาดริดในปี ค.ศ. 1561 (พ.ศ. 2104) นั้น เมืองเก่าแห่งนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมลงและไม่ได้รับการฟื้นฟู ป้อมอัลกาซาร์ (Alcázar) ซึ่งตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเมืองนี้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ในฐานะสถาบันวิชาทหารแห่งหนึ่ง เมื่อสงครามกลางเมืองสเปนระเบิดขึ้นในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) กองทหารในป้อมนี้ถูกล้อมโดยกองกำลังของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ที่ตั้งเมืองโตเลโดในประเทศสเปน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและโตเลโด · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เรกองกิสตา

“การยอมแพ้ของกรานาดา” (La rendición de Granada) (ค.ศ. 1882) โดยฟรันซิสโก ปราดียา อี ออร์ติซ เรกองกิสตา (สเปน, กาลีเซีย และอัสตูเรียส: Reconquista); เรกงกิชตา (Reconquista); เรกุงเกสตา (Reconquesta); เอร์เรกอนกิสตา (Errekonkista) หรือ อัลอิสติรดาด (الاسترداد) เป็นช่วงเวลา 800 ปีในยุคกลางที่อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียได้รับการพิชิตคืนมาจากอำนาจของมุสลิม การพิชิตของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิซิกอทในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (เริ่มในปี ค.ศ. 710–712) เป็นไปเกือบทั่วคาบสมุทรไอบีเรีย (นอกจากบริเวณส่วนใหญ่ของแคว้นกาลิเซีย แคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นบาสก์) แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนเหล่านี้ (นอกไปจากอาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดาของราชวงศ์นาสริดที่ได้ถูกพิชิตในปี ค.ศ. 1492) ก็คืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประมุขผู้นับถือคริสต์ศาสนา การพิชิตดินแดนคืนเริ่มขึ้นทันทีหลังจากที่ฝ่ายมุสลิมพิชิตคาบสมุทรได้เกือบทั้งหมด และเป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัยกว่าจะมาสิ้นสุดลง การก่อตั้งราชอาณาจักรอัสตูเรียสภายใต้เปเลเจียสแห่งอัสตูเรียสในยุทธการที่หมู่บ้านโกบาดองกา ในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเรกองกิสตา · ดูเพิ่มเติม »

เศาะลาฮุดดีน

วาดแซลาดิน จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า แซลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบน์ อัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ..1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม..

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเศาะลาฮุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาพิเรนีส

ทือกเขาพิเรนีสตอนกลาง ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์ เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees; Pirineus; Pyrénées; Pirineos; Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์) ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอ.

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเทือกเขาพิเรนีส · ดูเพิ่มเติม »

เคาะลีฟะฮ์

ลีฟะฮ์ หรือ กาหลิบ (خليفة) มาจากคำว่า "เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล" (ผู้แทนของท่านเราะซูล) คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์เรียกว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate).

ใหม่!!: สงครามครูเสดและเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CrusadersCrusadesทหารครูเสดครูเสด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »