โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปลการพินิจภายในผิด

ดัชนี การแปลการพินิจภายในผิด

วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่น้ำขึ้นไปมักจะใช้เพื่อแสดงอุปมาของจิตเหนือสำนึกและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ส่วนที่โผล่ขึ้นเห็นได้ง่าย (จิตเหนือสำนึก) แต่ว่าเป็นส่วนที่มีรูปร่างขึ้นอยู่กับส่วนที่มองไม่เห็นที่ยิ่งใหญ่กว่า (จิตใต้สำนึก) การแปลการพินิจภายในผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน" (introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง.

28 ความสัมพันธ์: บาสเกตบอลพฤติกรรมการกุเหตุความจำเสื่อมการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นรักร่วมเพศรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบสมมติฐานสหสัมพันธ์อัตวิสัยอุปมาจิตวิทยาจิตวิทยาสังคมทัศนคติความคิดเชิงไสยศาสตร์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยวความเอนเอียงความเอนเอียงทางประชานตัวกระตุ้นซูเปอร์มาร์เก็ตประสาทสัมผัสปรัชญาปริศนาแยมไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์เหนือธรรมชาติเจตจำนงเสรี

บาสเกตบอล

การแข่งขันบาสเกตบอลหญิงชิงถ้วยยุโรปของ FIBA ปี พ.ศ. 2548 ไมเคิล จอร์แดน ขณะกระโดดแสลมดังก์ บาสเกตบอล (อังกฤษ: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิทESPN.com,, เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและบาสเกตบอล · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การกุเหตุความจำเสื่อม

ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง") เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริงMoscovitch M. 1995.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและการกุเหตุความจำเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้น.ญ. ดร.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University หรือเรียกโดยย่อว่า NU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเอแวนสตัน และเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 15,000 คน เป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีประมาณ 8,000 คน แคมปัสหลักที่อยู่ที่เมืองอีแวนสตัน มีพื้นที่กว่า 970,000 ตร.ม. (240 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณ ทะเลสาบมิชิแกน สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีม่วง ซุ้มประตูบริเวณแคมปัสที่เมืองอีแวนสตัน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มีชื่อเสียงในหลายด้าน ซึ่งรวมถึง บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เคมี เศรษฐศาสตร์ ครุศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ วารสารศาสตร์ และดนตรี.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อุปมา

อุปมา เป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คำว่า ดุจ, ดั่ง, ราว, เสมือน มีความหมายเชิงเปรียบเทียบเช่นเดียวกับอุปลักษณ์ แต่อุปมาจะเปรียบเทียบระหว่างสองสิ่ง และหลงเหลือแต่เพียงความคล้ายกันของสองสิ่งนั้น ในขณะที่อุปลักษณ์จะเปรียบเทียบโดยตรง หมวดหมู่:ภาษา.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและอุปมา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาสังคม

ตวิทยาสังคม คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก, จากการจินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของคำว่า ความคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม ใช้ในความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้ การที่เราสามารถถูกจินตนาการหรือเป็นนัยที่ผู้อื่นแสดงออกมา แสดงให้เห็นว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลทางสังคม (หรืออาจเรียกว่าเป็นแรงกดดันทางสังคม) ซึ่งแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ตัวคนเดียวก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน เช่นในเวลาที่เราดูโทรทัศน์, การใช้หรือโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เกมส์, อินเทอร์เน็ต) หรือการทำตามบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมของสังคม การร่วมมือ คือเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน หรือช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือ มีหลายปัจจัยด้วยกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของทีมงานนั้นๆแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยคือ 1.เต็มใจที่จะทำงานนั้น ผู้ที่มีความเต็มใจทำงาน ถ้างานที่เราทำนั้นเราเต็มใจที่จะทำงานๆนั้นก็จะออกมา เต็มประสิทธิภาพของตัวเราแต่ในทางกลับกันถ้าเราถูกบังคับ ให้ทำงานนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของเราก็จะลดลง 2.ความชำนาญ ทักษะที่จะทำงานนั้นออกมาให้มีคุณภาพถ้าขาดข้อนี้ไปต่อให้มีความเต็มใจในการทำงานก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้คุณภาพ การร่วมมือกับประสิทธิภาพในการทำงาน การร่วมมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการแข่งขันเนื่องด้วยสาเหตุของสิ่งตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจถ้าสิ่งตอบแทนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่ได้รับคนอื่นที่คิดว่าตนไม่ได้รับสิ่งตอบแทนนั้นแน่นอนก็จะเกิดไม่อยากทำงานนั้นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาครวมลดลงแต่ถ้าเกิดคนทุกคนได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำงานนั้นแน่นอนงานก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและจิตวิทยาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนคติ

ทัศนคติ หรือ เจตคติ ในทางจิตวิทยา คือการแสดงออกถึงความชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่าวัตถุแห่งทัศนคติ) กอร์ดอน ออลพอร์ต นักจิตวิทยาได้อธิบายเกี่ยวกับทัศนคติไว้ว่า "เป็นแนวคิดอันเด่นชัดที่สุดและจำเป็นที่สุดในจิตวิทยาสังคมร่วมสมัย" Allport, Gordon.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและทัศนคติ · ดูเพิ่มเติม »

ความคิดเชิงไสยศาสตร์

วามคิดเชิงไสยศาสตร์ (Magical thinking) หรือ ความคิดเชิงเวทมนตร์ เป็นการอ้างการกระทำหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ในความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มักจะมีการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อวัตร การสวดมนต์หรือการสวดอ้อนวอน การบูชายัญ หรือการเว้นจากสิ่งต้องห้าม กับประโยชน์หรืออานิสงส์ที่พึงจะได้จากการกระทำเหล่านั้น ในจิตวิทยาคลินิก ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้คนไข้ประสบกับความกลัวที่จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความคิดบางอย่าง เพราะความเชื่อว่าจะมีสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำนั้น นอกจากนั้นแล้ว ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้เราเชื่อว่า เพียงแค่ความคิดเท่านั้นสามารถทำให้เกิดผลต่าง ๆ ในโลกได้ นี้เป็นวิธีการคิดหาเหตุ (causal reasoning) แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุ (causal fallacy) ที่เราพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันหรือพร้อมกัน คือระหว่างการกระทำและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เป็นเหตุผลต่อกันและกันจริง ๆ ส่วนความคิดเชิงไสยศาสตร์เสมือน (Quasi-magical thinking) หมายถึง "กรณีที่เรามีพฤติกรรมเหมือนกับเชื่อผิด ๆ ว่า การกระทำของตนมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ตนจะไม่ได้เชื่ออย่างนั้น".

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและความคิดเชิงไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว

ำหรับสถิติศาสตร์แล้ว ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว (covariance) เป็นการวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงของสองตัวแปรว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามกันมาน้อยเท่าใด ความแปรปรวน (variance) เป็นกรณีพิเศษของความแปรปรวนร่วมเกี่ยวโดยที่สองตัวแปรที่พิจารณาคือตัวแปรตัวแปรเดียวกัน.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและความแปรปรวนร่วมเกี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์มาร์เก็ต

ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งในแคนาดา ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) หรือ ร้านสรรพาหาร (มาจาก สรรพ + อาหาร) ในภาษาไทย คือร้านค้าแบบบริการตนเองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของร้านขายของชำ ซึ่งเสนอขายสินค้าอาหารและของใช้ในครัวเรือนหลายประเภทโดยจัดจำแนกไว้ตามแผนก ซูเปอร์มาร์เก็ตมีขนาดใหญ่กว่าและมีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายมากกว่าร้านขายของชำแบบดั้งเดิม และยังจำหน่ายสินค้าที่พบได้ปกติในร้านสะดวกซื้อ แต่ก็ยังเล็กกว่าและมีสินค้าจำกัดประเภทกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยทั่วไปประกอบด้วยแผนกเนื้อสัตว์ พืชผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และขนมปัง พร้อมกับพื้นที่บนชั้นซึ่งสงวนไว้สำหรับสินค้าบรรจุกระป๋องและสินค้าหีบห่อ เช่นเดียวกับรายการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เภสัชกรรม และสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่ได้รับอนุญาต) อุปกรณ์การแพทย์ และเสื้อผ้า และบางร้านก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารโดยกว้างขวางมากกว่าอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบชานเมืองแบบเดิมตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ซึ่งโดยปกติจะมีชั้นเดียว มักตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ความดึงดูดใจพื้นฐานของซูเปอร์มาร์เก็ตคือ ความพร้อมของสินค้าอย่างกว้าง ๆ ที่มีให้เลือกซื้อภายใต้หลังคาเดียวในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ข้อได้เปรียบอื่น ๆ อาทิความสะดวกในการจอดรถ และความสะดวกในเรื่องเวลาของการจับจ่ายใช้สอย ที่บ่อยครั้งขยายเวลาไปจนค่ำหรือแม้แต่ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่มักมีการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อการโฆษณา ซึ่งโดยทั่วไปผ่านหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนออธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะเป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าสาขาในบรรษัทที่เป็นของตนเอง หรือควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง (บางครั้งโดยแฟรนไชส์) หรือแม้แต่ควบคุมข้ามประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการประหยัดต่อขนาด การจัดหาสินค้าเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตมักจัดการโดยศูนย์กระจายสินค้าของบรรษัทแม่ เช่นบริษัทลอบลอว์ในประเทศแคนาดาซึ่งดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตหลายพันแห่งทั่วประเทศ ลอบลอว์ดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้าในทุกจังหวัด โดยปกติในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวั.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและซูเปอร์มาร์เก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา

ปริศนา (puzzle) คือปัญหาสำหรับท้าทายความเฉลียวฉลาด (ingenuity) ของมนุษย์ ปริศนามักจะถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิง แต่บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง สำหรับกรณีหลัง ผลสำเร็จของปริศนาอาจมีความสำคัญในการพิสูจน์และการวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ การหาผลสำเร็จของปริศนาบางอย่างอาจต้องใช้แบบแผน (pattern) และขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง บุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว อาจสามารถไขปัญหาได้ดีกว่าบุคคลอื่น ปริศนาซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเสาะหาและการค้นพบแนวทางในการแก้ปัญหา อาจแก้ได้รวดเร็วกว่าด้วยทักษะการอนุมานที่ดี.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

แยม

แยมมะเดื่อ แยมบรรจุขวด แยม เป็นของหวานประเภทหนึ่ง รับประทานโดยการทาลงบนขนมปังเพื่อเพิ่มรสชาติให้ขนมปังอร่อยมากขึ้น แยมมักจะทำมาจากผลไม้ แต่ก็ไม่จริงเสมอไป.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและแยม · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์

มโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอในชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์และบนแมคโอเอสโดยรุ่นปัจจุบันคือไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2013 บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์และ ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2011 บนแมคโอเอ.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ · ดูเพิ่มเติม »

เหนือธรรมชาติ

เหนือธรรมชาติ (supernatural) คือ สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ หรือเป็นการอุปมาถึงสิ่งที่มีอยู่เหนือและพ้นธรรมชาติ ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและบันเทิงคดี เหนือธรรมชาติเกี่ยวข้องอย่างประหลาดกับเหนือธรรมดาและรหัสญาณ ซึ่งต่างจากมโนทัศน์เดิมในบางศาสนา เช่น คาทอลิก ที่เชื่อว่าปาฏิหารย์จากพระเจ้าถูกมองว่าเหนือธรรมชาติ หมวดหมู่:อำนาจปรัมปราวิทยา.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและเหนือธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เจตจำนงเสรี

แผนภาพอย่างง่ายแสดงมุมมองทางปรัชญาต่อเจตจำนงเสรีและนิยัตินิยม เจตจำนงเสรี (free will) เป็นความสามารถของตัวกระทำที่จะเลือกโดยไม่ถูกจำกัดจากปัจจัยบางอย่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเดิมมีข้อจำกัดทางอภิปรัชญา (ตัวอย่างเช่น นิยัตินิยมทางตรรกะ จิตวิทยาเชิงเหตุผล หรือเทววิทยา) ข้อจำกัดทางกายภาพ (ตัวอย่างเช่น โซ่ตรวนหรือการจองจำ) ข้อจำกัดทางสังคม (ตัวอย่างเช่น การข่มขู่ลงโทษหรือการตำหนิโทษ หรือข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง) และข้อจำกัดทางจิต (ตัวอย่างเช่น การบังคับหรือโรคกลัว ความผิดปกติทางประสาทวิทยาศาสตร์ หรือความโน้มเอียงรับโรคทางพันธุกรรม) หลักเจตจำนงเสรีมีการส่อความทางศาสนา กฎหมาย จริยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ในขอบเขตศาสนา เจตจำนงเสรีส่อความว่า เจตจำนงและทางเลือกหนึ่ง ๆ สามารถมีพร้อมกับพระเจ้าที่มีอำนาจไร้ขอบเขตได้ ในทางกฎหมาย เจตจำนงเสรีมีผลต่อการพิจารณาการลงโทษและการฟื้นฟูสภาพ ในทางจริยศาสตร์ เจตจำนงเสรีอาจส่อความว่า ปัจเจกบุคคลสามารถรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระทำของตนหรือไม่ ในทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเจตจำนงเสรีอาจเสนอวิธีต่าง ๆ ที่การทำนายพฤติกรรมของมนุษ.

ใหม่!!: การแปลการพินิจภายในผิดและเจตจำนงเสรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Causal theoriesIntrospection illusionลวงประสาทโดยการพินิจภายในทฤษฎีเหตุผล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »