โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิต

ดัชนี ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิต

มีความเชื่อที่ได้รับความนิยมทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นว่าหมู่โลหิตเอบีโอของบุคคล หรือเค็ทซุเอะกิงะตะ (血液型) สามารถทำนายบุคลิกภาพ พื้นอารมณ์แต่กำเนิดและความเข้ากันได้กับผู้อื่นของบุคคลนั้นได้ ความเชื่อนี้คล้ายกับการมองว่าสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์เป็นปัจจัยส่งผลในชีวิตของบุคคลในประเทศอื่นทั่วโลก ทว่า หมู่โลหิตมีบทบาทเด่นกว่าโหราศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นเมื่อเทียบกับในประเทศอื่น ความเชื่อนี้รับมาจากมโนภาพคตินิยมเชื้อชาติทางวิทยาศาสตร์ในอดีต กำเนิดขึ้นจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่โดยมะซะฮิโกะ โนะมิในคริสต์ทศวรรษ 1970 ประชาคมวิทยาศาสตร์และวิชาการไม่สนใจความเชื่อดังกล่าวโดยมองว่าเป็นสิ่งงมงายหรือวิทยาศาสตร์เทียมเนื่องจากขาดพื้นฐานหลักฐานที่พิสูจน์ได้หรือการอ้างอิงเกณฑ์ที่ทดสอบได้ แม้การวิจัยความเชื่อมโยงเหตุกรรมระหว่างหมู่โลหิตและบุคลิกภาพมีจำกัด แต่การวิจัยได้แสดงเป็นที่ยุติว่าไม่มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต.

1 ความสัมพันธ์: วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้างCover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.

ใหม่!!: ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิตและวิทยาศาสตร์เทียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หมู่โลหิตในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »