โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา

ดัชนี ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา (Fermat's last theorem) เป็นหนึ่งในทฤษฎีบทที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า: ปีแยร์ เดอ แฟร์มา นักคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เขียนทฤษฎีบทนี้ลงในหน้ากระดาษหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตัส ฉบับแปลเป็นภาษาละตินโดย Claude-Gaspar Bachet เขาเขียนว่า "ฉันมีบทพิสูจน์ที่น่าอัศจรรย์สำหรับบทสรุปนี้ แต่พื้นที่กระดาษเหลือน้อยเกินไปที่จะอธิบายได้" (เขียนเป็นภาษาละตินว่า "Cuius rei demonstrationem mirabilem sane detexi. Hanc marginis exiguitas non caperet.") อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 357 ปี ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ถูกต้องเลย ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ข้อความนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าข้อความอื่นๆ ที่แฟร์มาเขียนนั้น ได้รับการพิสูจน์หมดแล้ว ไม่ว่าจะพิสูจน์ด้วยตัวเขาเอง หรือว่ามีคนให้บทพิสูจน์ในภายหลัง ทฤษฎีบทนี้ไม่ได้เป็นข้อความคาดการณ์สุดท้ายที่แฟร์มาเขียน แต่เป็น ข้อสุดท้ายที่จะต้องพิสูจน์ นักคณิตศาสตร์ได้พยายามพิสูจน์หรือไม่ก็หักล้างทฤษฎีบทนี้มาโดยตลอด และต้องพบกับความล้มเหลวทุกครั้งไป ทำให้ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่สร้างบทพิสูจน์ที่ผิดๆ มากที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ก็ว่าได้ อาจเป็นเพราะทฤษฎีบทนี้ดูแล้วไม่มีอะไรซับซ้อนนั่นเอง.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2371พ.ศ. 2382พ.ศ. 2526พ.ศ. 2536พ.ศ. 2537ภาษาละตินมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์จำนวนเต็มจำนวนเฉพาะจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ข้อความคาดการณ์ของออยเลอร์ปีแยร์ เดอ แฟร์มานักคณิตศาสตร์เลออนฮาร์ด ออยเลอร์

พ.ศ. 2371

ทธศักราช 2371 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและพ.ศ. 2371 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2382

ทธศักราช 2382 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1839.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและพ.ศ. 2382 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและพ.ศ. 2537 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์

อาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์ (Adrien-Marie Legendre) (18 กันยายน ค.ศ. 1752 – 10 มกราคม ค.ศ. 1833) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีความสำคัญในการให้ความรู้ทางสถิติศาสตร์ ทฤษฎีจำนวน พีชคณิตนามธรรม และคณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและอาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเต็ม

ำนวนเต็ม คือจำนวนที่สามารถเขียนได้โดยปราศจากองค์ประกอบทางเศษส่วนหรือทศนิยม ตัวอย่างเช่น 21, 4, −2048 เหล่านี้คือจำนวนเต็ม แต่ 9.75, 5, √2 เหล่านี้ไม่ใช่จำนวนเต็ม เศษของจำนวนเต็มเป็นเศษย่อยของจำนวนจริง และประกอบด้วยจำนวนธรรมชาติ (1, 2, 3,...) ศูนย์ (0) และตัวผกผันการบวกของจำนวนธรรมชาติ (−1, −2, −3,...) เซตของจำนวนเต็มทั้งหมดมักแสดงด้วย Z ตัวหนา (หรือ \mathbb ตัวหนาบนกระดานดำ, U+2124) มาจากคำในภาษาเยอรมันว่า Zahlen แปลว่าจำนวน จำนวนเต็ม (พร้อมด้วยการดำเนินการการบวก) ก่อร่างเป็นกรุปเล็กที่สุดอันประกอบด้วยโมนอยด์เชิงการบวกของจำนวนธรรมชาติ จำนวนเต็มก่อให้เกิดเซตอนันต์นับได้เช่นเดียวกับจำนวนธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ในทฤษฎีจำนวนเชิงพีชคณิตทำให้เข้าใจได้โดยสามัญว่า จำนวนเต็มซึ่งฝังตัวอยู่ในฟีลด์ของจำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนเต็มตรรกยะ เพื่อแยกแยะออกจากจำนวนเต็มเชิงพีชคณิตที่ได้นิยามไว้กว้างกว.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและจำนวนเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเฉพาะ

ในคณิตศาสตร์ จำนวนเฉพาะ (อังกฤษ: prime number) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง ตรงข้ามกับจำนวนประกอบ ลำดับของจำนวนเฉพาะเริ่มต้นด้วย ดูบทความ รายชื่อจำนวนเฉพาะ สำหรับจำนวนเฉพาะ 500 จำนวนแรก สำหรับเลข 1 ไม่ถือว่าเป็นจำนวนเฉพาะตามนิยาม เซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดมักเขียนแทนด้วย \mathbb P เนื่องจาก 2 เป็นจำนวนเฉพาะตัวเดียวที่เป็นเลขคู่ ดังนั้นคำว่า จำนวนเฉพาะคี่ จะถูกใช้เพื่อหมายถึงจำนวนเฉพาะทั้งหมดที่ไม่ใช่ 2.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและจำนวนเฉพาะ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเฉพาะสัมพัทธ์

ำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ (coprime หรือ relatively prime) ในคณิตศาสตร์ จำนวนเต็ม a และ b เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ก็ต่อเมื่อ มันไม่มีตัวประกอบร่วมนอกจาก 1 และ -1, หรือกล่าวได้ว่า ถ้าตัวหารร่วมมาก คือ 1 ตัวอย่างเช่น 6 และ 35 เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ แต่ 6 และ 27 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ เพราะทั้งคู่หารด้วย 3 ลงตัว จำนวน 1 เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กับจำนวนเต็มทุกจำนวน จำนวน 0 เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กับ 1 และ -1 เท่านั้น วิธีที่ใช้หาว่าจำนวนสองจำนวนเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์หรือไม่อย่างรวดเร็ว คือใช้ ขั้นตอนวิธีแบบยุคล.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความคาดการณ์ของออยเลอร์

้อความคาดการณ์ของออยเลอร์ (Euler's conjecture) เป็นข้อความคาดการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ซึ่งเสนอโดยเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ใน พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) มีใจความว่า สำหรับจำนวนเต็ม n ที่มากกว่า 2, ผลบวกของจำนวนเต็มบวกยกกำลัง n จำนวน n-1 ตัว จะไม่เป็นจำนวนเต็มบวกยกกำลัง n ข้อความคาดการณ์นี้ถูกหักล้างโดย L. J. Lander และ T. R. Parkin ใน พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) เมื่อพวกเขาพบหลักฐานขัดแย้งในกรณีที่ n.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและข้อความคาดการณ์ของออยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์ เดอ แฟร์มา

ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ปีแยร์ เดอ แฟร์มา (Pierre de Fermat; 17 สิงหาคม 1601 หรือ 1607/8 Internationale Zeitschrift für Geschichte und Ethik der Naturwissenschaften, Technik und Medizin. ISSN 0036-6978. Vol 9, No 4, pp. 209-228. – 12 มกราคม 1665) เป็นชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นนักกฎหมายประจำสภานิติบัญญัติประจำแคว้นตูลูซ และเป็นนักคณิตศาสตร์มือสมัครเล่นที่ได้ชื่อเสียงมาจากริเริ่มพัฒนาการหลายแขนงอันนำไปสู่แคลคูลัสกณิกนันต์ (infinitesimal calculus) รวมถึง การกะความเท่าเทียม (adequality) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นที่นิยมกันว่า เขาค้นพบวิธีดั้งเดิมสำหรับคำนวณเส้นโค้งที่กว้างที่สุดและที่เล็กที่สุด อันเทียบได้กับ เส้นโค้งลักษณะเฉพาะ (characteristic curve) ใน สมการเชิงอนุพันธ์ (differential equation) ในวิชาการปัจจุบัน นอกจากนี้ เขายังเป็นมีชื่อเสียงในเรื่องงานค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวน (number theory) ด้ว.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและปีแยร์ เดอ แฟร์มา · ดูเพิ่มเติม »

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและนักคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์

องเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ วาดโดยจิตรกร เอ็มมานูเอล ฮันด์มันน์ (Emanuel Handmann) เมื่อ ค.ศ.1753 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler, 15 เมษายน พ.ศ. 2250 – 18 กันยายน พ.ศ. 2326) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส ได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" ในแวดวงคณิตศาสตร์ (ตามคำนิยามของไลบ์นิซ ใน ค.ศ. 1694) ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร เช่น y.

ใหม่!!: ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาและเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาท์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »