โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถิลไลนฏราชมนเทียร

ดัชนี ถิลไลนฏราชมนเทียร

ระน้ำในถิลไลนฏราชมนเทียร ถิลไลนฏราชมนเทียร (தில்லை நடராசர் கோயில்; थिल्लई नटराज मंदिर; Thillai Nataraja Temple) หรือ จิทัมพรัมมนเทียร (चिदंबरम मंदिर) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างถวายแด่พระศิวะ ถือเป็นเทวาลัยที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในลัทธิไศวะ ตั้งอยู่ในเมืองจิทัมพรัม รัฐทมิฬนาดู สร้างในสมัยราชวงศ์ปัลลวะในศตวรรษที่ 7 และต่อมาสร้างเพิ่มเติมในสมัยราชวงศ์โจฬะในศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:โบสถ์พราหมณ์ในประเทศอินเดีย หมวดหมู่:โบสถ์พระศิวะ ภาพสลักบุคลฟ้อนรำท่ากริหัสตะกะ (ท่างวงช้าง) หนึ่งในท่ารำ 108 กรณะ ที่ซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกของถิลไลนฏราชมนเทียร.

7 ความสัมพันธ์: พระภรตมุนีพระศิวะรัฐทมิฬนาฑูราชวงศ์โจฬะลัทธิไศวะถิลไลนฏราชมนเทียรโบสถ์พราหมณ์

พระภรตมุนี

ระภรตมุนี (เทวนาครี:भरत मुनि) เป็นมหาฤๅษี (มหรรษี) ผู้แต่งตำราฟ้อนรำ มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 4 - ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นครูนาฏศิลปะผู้รวบรวมท่ารำ (กรณะ) ของพระศิวะ ทั้ง ๑๐๘ ท่า พระภรตมุนีผู้รจนาคัมภีร์นาฏยศาสตร์ เป็นประโยชน์แก่การศึกษาการฟ้อนรำในอินเดียและประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชียอาคเน.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและพระภรตมุนี · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐทมิฬนาฑู

รัฐทมิฬนาฑู คือหนึ่งในรัฐของที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับประเทศศรีลังกา และอ่าวเบงกอล เป็นดินแดนของชาวทมิฬ เป็นรัฐใหญ่อันอับ 11 ของประเทศ เมืองหลักคือเชนไนหรือมัทราส ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือของอังกฤษ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ภาษาทมิฬ (Kollewood) ทม หมวดหมู่:รัฐทมิฬนาฑู หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและรัฐทมิฬนาฑู · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจฬะ

ราชวงศ์โจฬะ (Chola Dynasty, சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่นๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5 ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชียKulke and Rothermund, p 115Keay, p 215 ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศMajumdar, p 407 พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์ ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220Meyer, p 73 ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจK.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192 สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วยVasudevan, pp 20-22 และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและราชวงศ์โจฬะ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและลัทธิไศวะ · ดูเพิ่มเติม »

ถิลไลนฏราชมนเทียร

ระน้ำในถิลไลนฏราชมนเทียร ถิลไลนฏราชมนเทียร (தில்லை நடராசர் கோயில்; थिल्लई नटराज मंदिर; Thillai Nataraja Temple) หรือ จิทัมพรัมมนเทียร (चिदंबरम मंदिर) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างถวายแด่พระศิวะ ถือเป็นเทวาลัยที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในลัทธิไศวะ ตั้งอยู่ในเมืองจิทัมพรัม รัฐทมิฬนาดู สร้างในสมัยราชวงศ์ปัลลวะในศตวรรษที่ 7 และต่อมาสร้างเพิ่มเติมในสมัยราชวงศ์โจฬะในศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:โบสถ์พราหมณ์ในประเทศอินเดีย หมวดหมู่:โบสถ์พระศิวะ ภาพสลักบุคลฟ้อนรำท่ากริหัสตะกะ (ท่างวงช้าง) หนึ่งในท่ารำ 108 กรณะ ที่ซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกของถิลไลนฏราชมนเทียร.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและถิลไลนฏราชมนเทียร · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์พราหมณ์

ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.

ใหม่!!: ถิลไลนฏราชมนเทียรและโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เทวาลัยธิลลัยนาฏราช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »