โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตุลาการ

ดัชนี ตุลาการ

ตุลาการ อาจหมายถึง.

4 ความสัมพันธ์: อำนาจตุลาการข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)ตุลาการภิวัตน์ตุลาการรัฐธรรมนูญ

อำนาจตุลาการ

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: ตุลาการและอำนาจตุลาการ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเครื่องแบบข้าราชการตุลาการในฐานะที่ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรมตามความเชื่อโบราณ ตุลาการ คือผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาอรรถคดี ตำแหน่งของตุลาการเรียกว่า "ผู้พิพากษา" โบราณเรียกว่า "ตระลาการ" หรือ "กระลาการ"ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ตุลาการและข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาการภิวัตน์

ตุลาการภิวัตน์ (judicial activism) ใช้เรียกกรณีที่อำนาจตุลาการต้องสงสัยว่าบังคับใช้กฎหมายตามความเชื่อส่วนบุคคลหรือการเมือง แทนที่จะอิงตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ พจนานุกรมกฎหมายของแบล็ค ให้คำจำกัดความไว้ว่า "แนวคิดที่ตุลาการให้ความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่น ๆ มาชี้นำการตัดสินของตน" ("philosophy of judicial decision-making whereby judges allow their personal views about public policy, among other factors, to guide their decisions.") คำจำกัดความของตุลาการภิวัตน์นั้น สามารถสืบต้นกำเนิดไปได้ถึงทอมัส เจฟเฟอร์สันซึ่งวิจารณ์ตุลาการอย่างจอห์น มาร์แชลว่ามี "พฤติกรรมแบบเผด็จการ" (despotic behaviour) ส่วนผู้ใช้คำนี้เป็นคนแรกคืออาเธอร์ เชลสซิงเจอร์ จูเนียร์ โดยใช้วิจารณ์ศาลผ่านบทความชื่อ The Supreme Court: 1947. ในวารสารฟอร์ชูนฉบับมกราคม พ.ศ. 2490 คำว่าตุลาการตุลาการภิวัตน์นั้น ทำให้เกิดการถกเถียงมาแต่แรก โดย เครก กรีน ได้วิจารณ์เชลสซิงเจอร์ไว้ในบทความชื่อ An Intellectual History of Judicial Activism ว่า "การนำคำตุลาการภิวัตน์มาใช้ของเชลสซิงเจอร์นั้นกำกวมอย่างน่ากังขา ไม่เพียงแต่เขาจะอธิบายสิ่งที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ไม่ได้ แต่เขายังไม่ยอมบอกด้วยว่าสิ่งนี้ดีหรือเลว" กรณีที่ถูกกล่าวว่าเป็นตุลาการภิวัตน์อันมีชื่อเสียงก็คือในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2543 เมื่อศาลสูงสหรัฐอเมริกาให้ยุติการนับคะแนนใหม่ของรัฐฟลอริดา และทำให้จอร์จ ดับเบิลยู. บุชได้รับชัยชนะเหนืออัล กอร์ไปโดยปริยาย ส่วนในประเทศไทย ธีรยุทธ บุญมีบัญญัติศัพท์นี้หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในโอกาสที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลปกครองสูงสุด (อักขราทร จุฬารัตน) และประธานศาลฎีกา (ชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อวันที่ 25 เมษายน..

ใหม่!!: ตุลาการและตุลาการภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ตุลาการรัฐธรรมนูญ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตุลาการและตุลาการรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระลาการผู้พิพากษาข้าราชการฝ่ายตุลาการข้าราชการตุลาการตระลาการ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »