โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เต่า

ดัชนี เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

74 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งชนิดย่อยฟันพ.ศ. 2301กระดองเต่าการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาศาสตร์ภาษาไทยถิ่นอีสานราชวงศ์ชางราชวงศ์เซี่ยวัดวงศ์ตะพาบสกุล (ชีววิทยา)สหรัฐสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์หมู่เกาะกาลาปาโกสอะแนปซิดาอันดับย่อยเต่าอันดับย่อยเต่าคองูอาหารทวีปออสเตรเลียทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาทะเลคาโรลัส ลินเนียสตะพาบม่านลายตะพาบม่านลายพม่าตะพาบสวนตะพาบหับพม่าตะพาบหัวกบตะพาบแก้มแดงตะพาบไต้หวันประเทศพม่าประเทศจีนประเทศปาปัวนิวกินีประเทศไทยประเทศเอกวาดอร์ปลาสวยงามน้ำน้ำจืดแคลเซียมโบราณคดีโหราศาสตร์ไสยศาสตร์เกาะเลือดเย็น...เต่าบกเต่าบินเต่ากระเต่ากระอานเต่ามะเฟืองเต่ายักษ์กาลาปาโกสเต่าราเดียตาเต่าลายตีนเป็ดเต่าหกเต่าหญ้าเต่าหับเต่าหัวค้อนเต่าอัลลิเกเตอร์เต่าจักรเต่าทะเลเต่าดำเต่าตนุเต่าปูลูเต่านาหัวใหญ่เต่านาอีสานเต่าแก้มแดงเต่าใบไม้เต่าเหลืองเต่าเดือย ขยายดัชนี (24 มากกว่า) »

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: เต่าและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: เต่าและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: เต่าและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เต่าและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

กระดองเต่า

กระดองของเต่าในสกุล ''Cuora'' หรือเต่าหับ ที่ปิดสนิท เต่าราเดียตา (''Astrochelys radiata'') เต่าบกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีกระดองหลังที่สวยงามมาก กระดองเต่า (Turtle shell) เป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้เต่ามีความแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นแคลเซียมที่ประกอบด้วยกระดูกในชั้นหนังเชื่อมรวมกับกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง บางส่วนของกระดูกหัวไหล่ และกระดูกหน้าอก เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (ยกเว้นกระดูกคอและกระดูกหาง) เชื่อมรวมกับกระดอง กระดูกสันหลังในส่วนลำตัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อกระดูกซี่โครงเชื่อมรวมกับกระดองทำให้กระดูกหัวไหล่และกระดูกเชิงกรานต้องเลื่อนตำแหน่งเข้าไปอยู่ทางด้านในของกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเต่า ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ และสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นอื่น ๆ ทุกชั้น ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเจริญและการแปรสภาพ 2 ประการ คือ.

ใหม่!!: เต่าและกระดองเต่า · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: เต่าและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: เต่าและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: เต่าและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชาง

ราชวงศ์ชาง (Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ชางมีกษัตริย์ 30 องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือ โจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมาโจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจวทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริง ๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ชางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" และ "เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ชาง หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: เต่าและราชวงศ์ชาง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซี่ย

ตแดนราชวงศ์เซี่ย (สีเหลือง) ราชวงศ์เซี่ย (ภาษาอังกฤษ: Xia Dynasty) (ภาษาจีนกลาง: 夏朝) (พินอิน: xià cháo) เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี..

ใหม่!!: เต่าและราชวงศ์เซี่ย · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: เต่าและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ใหม่!!: เต่าและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เต่าและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เต่าและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เต่าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เต่าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เต่าและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เต่าและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะกาลาปาโกส

แผนที่โลกแสดงภาพหมู่เกาะกาลาปาโกส ห่างจากชายฝั่งอเมริกาใต้ไปทางตะวันตก อยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร หมู่เกาะกาลาปาโกส (Islas Galápagos; Galápagos Islands) เป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีความน่าสนใจทั้งด้านธรณีวิทยา สัตววิทยา และนิเวศวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ โดยมีชื่อภาษาสเปนอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเกาะโกลอน (Archipiélago de Colón; Islas de Colón) ตั้งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ห่างจากทวีปออกไปทางตะวันตก 1,000 กิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: เต่าและหมู่เกาะกาลาปาโกส · ดูเพิ่มเติม »

อะแนปซิดา

อะแนปซิดา หรือ อะแนปซิด (ชั้นย่อย: Anapsida, Anapsid) เป็นชั้นย่อยของสัตว์สี่ขาในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilia) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anapsida อะแนปซิดา มีลักษณะของช่องเปิดกะโหลกที่ไม่มีช่องขมับเลย โดยกระดูกพาไรทัลที่เป็นหลังคาของกะโหลกเชื่อมต่อกับกระดูกสคาโมซัลที่อยู่ด้านข้างและกับกระดูกซูปราออคซิพิทัลที่อยู่ด้านท้ายจึงไม่มีช่องเปิดบริเวณขมับ ลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในชั้นย่อยนี้ ได้แก่ เต่า (Testudines) และสัตว์เลื้อยคลานในหลายอันดับที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อะแนปซิดา ได้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในยุคคาร์บอนิเฟอรัสจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เต่าและอะแนปซิดา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่า

อันดับย่อยเต่า (Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptodira ลักษณะร่วมของเต่าในอันดับย่อยนี้ คือ สามารถยืดหรือหดหัวหรือส่วนคอเข้าไปในกระดองได้ แต่สามารถกระทำได้ในแนวดิ่งขึ้นลงหรือซ้อนทางด้านบนได้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของเต่าส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางวงศ์ที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่ ได้แก.

ใหม่!!: เต่าและอันดับย่อยเต่า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่าคองู

อันดับย่อยเต่าคองู (Side-necked turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleurodira ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 อันดับ สำหรับเต่าที่อยู่ในอันดับย่อยนี้ จะมีลักษณะเด่น คือ สามารถที่จะหดหรือยืดหรือหันคอหรือหัวไปทางด้านข้างหรือในแนวราบของลำตัวได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: เต่าและอันดับย่อยเต่าคองู · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: เต่าและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซี.

ใหม่!!: เต่าและทวีปออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: เต่าและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: เต่าและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: เต่าและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: เต่าและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ต (เต่า) เป็นพยัญชนะตัวที่ 21 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ด (เด็ก) และก่อนหน้า ถ (ถุง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ต เต่า” อักษร ต เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: เต่าและต · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลายพม่า

ตะพาบม่านลายพม่า (Burmese narrow-headed softshell) เป็นตะพาบในสกุล Chitra จัดเป็นตะพาบชนิดใหม่ที่เพิ่งอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 2003 มีลักษณะคล้ายกับตะพาบม่านลายชนิดอื่น ๆ แต่ว่ามีลวดลายที่กระดองเป็นระเบียบกว่า โดยจะเป็นลายบั้ง ๆ และมีสีที่อ่อนกว่า กล่าวคือ จะมีกระดองเป็นสีเขียว อีกทั้งขนาดเมื่อโตเต็มที่ก็มีขนาดเล็กกว่าด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า ที่แม่น้ำชินด์วิน และชายแดนที่ติดกับประเทศไทย มีการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยสามารถเพาะได้แล้วในสถานที่เลี้ยง และเก็บรวบรวมไข่จากธรรมชาต.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบม่านลายพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบสวน

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic softshell turtle, Malayan softshell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง เป็นตะพาบชนิดที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, พม่า, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amyda ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน มีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีบันทึกว่ามีน้ำหนักสูงสุดถึง 40 กิโลกรัมที่เวียดนาม เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา" สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวันไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในตัวที่มีจุดกระเหลืองเป็นจำนวนมาก จะถูกเรียกว่า "ตะพาบข้าวตอก" หรือ "ตะพาบดาว" ซึ่งอาจจะมีจุดเหลืองเหล่านี้จวบจนโตโดยไม่หายไป ซึ่งตะพาบที่มีลักษณะเช่นนี้ จะถูกเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx nakornsrithammarajensis (วิโรจน์, 1979) ซึ่งมีรายงานว่าพบในภาคใต้ของไทย เช่นที่ จังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบสวน · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหับพม่า

ตะพาบหับพม่า (Burmese flap-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissemys scutata.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบหับพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบ

ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบแก้มแดง

ตะพาบแก้มแดง (Malayan solf-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ".

ใหม่!!: เต่าและตะพาบแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบไต้หวัน

ตะพาบไต้หวัน (Chinese softshelled turtle; 中華鱉; พินอิน: zhōnghuá biē) ตะพาบชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ ตลอดจนรัสเซีย และเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) ที่พบได้ในประเทศไทย แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร มีนิสัยดุร้าย ลักษณะกระดองเป็นทรงรีเล็กน้อย ลักษณะโครงร่างแบบผิวกระดองเรียบมีกระดองส่วนที่นิ่มหรือเชิงค่อนข้างมาก มีหัวใหญ่ คอ ยาวมาก ปากแหลม ฟันคมและแข็งแรง เมื่อยังเล็กกระดองเป็นสีเขียวเข้มด้านท้องจะมีสีส้มและสีดำสลับ 5-6 ตำแหน่ง ใต้ท้องมีสีขาว เมื่อโตเต็มวัยกระดองจะเป็นสีเขียวอมเหลือง บริเวณขอบตาจะมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ตรงกลางกระดองจะมีรอยขีดขวางลำตัว 6-7 ขีด ส่วนท้องอ่อนนุ่มมีสีขาวอมชมพูหรือสีเหลืองอ่อน ๆ นิยมรับประทานโดยทำเป็นซุป นิยมกันมากในแบบอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น ทำให้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงมากกว่าตะพาบสวน เพราะโตได้เร็วและแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็วกว่า และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในตัวที่เป็นเผือก แต่ในด้านสิ่งแวดล้อมขณะนี้พบเป็นเผ่าพันธุ์ต่างถิ่น ที่รุกรานที่อยู่อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย ปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกันในประเทศไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง, ชลบุรี, ตราด และเพชรบุรี.

ใหม่!!: เต่าและตะพาบไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: เต่าและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เต่าและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปาปัวนิวกินี

ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน ปัจจุบันปาปัวนิวกินีเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน).

ใหม่!!: เต่าและประเทศปาปัวนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เต่าและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอกวาดอร์

อกวาดอร์ (Ecuador) หรือ สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (República del Ecuador) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับโคลอมเบียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเปรูทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ประเทศนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (หมู่เกาะโกลอน) ในแปซิฟิก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางทิศตะวันตก 965 กิโลเมตร (ประมาณ 600 ไมล์) เนื่องจากบริเวณนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน จึงได้รับการตั้งชื่อตามคำในภาษาสเปนว่า Ecuador ซึ่งก็ตรงกับ "equator" ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เอกวาดอร์มีพื้นที่ 272,045 ตารางกิโลเมตร (105,037 ตารางไมล์) เมืองหลวงคือกรุงกีโต (Quito).

ใหม่!!: เต่าและประเทศเอกวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: เต่าและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: เต่าและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: เต่าและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: เต่าและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: เต่าและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์

หราศาสตร์ (Astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์,ปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า เป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์ และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใดๆในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11.

ใหม่!!: เต่าและโหราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: เต่าและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะ

กาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบซารานักล่าง เกาะ (island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago) อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม (artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: เต่าและเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

เลือดเย็น

ลือดเย็น หมายถึง.

ใหม่!!: เต่าและเลือดเย็น · ดูเพิ่มเติม »

เต่าบก

ต่าบก (Tortoise, Land turtle) คือ เต่าที่อยู่ในวงศ์ Testudinidae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ มีสกุลต่าง ๆ จำนวนมากที่อยู่ในวงศ์นี้ เต่าบก คือ เต่ากลุ่มที่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำหรือใช้ชีวิตอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากจะจมน้ำตายได้ เนื่องจากโดยมากแล้วจะมีกระดองขนาดใหญ่ โค้ง และมีน้ำหนักมาก รวมทั้งเท้าที่ไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว จึงไม่สามารถใช้ว่ายน้ำได้.

ใหม่!!: เต่าและเต่าบก · ดูเพิ่มเติม »

เต่าบิน

ต่าบิน หรือ เต่าจมูกหมู หรือ เต่าฟลายริเวอร์ (Pig-nosed turtle, Fly river turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carettochelys insculpta ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Carettochelyidae และสกุล Carettochelys รูปร่างทั่วไปคล้ายตะพาบ คือ กระดองหลังอ่อนนุ่ม แต่ไม่มีกระดูกในชั้นหนังเหมือนตะพาบ สีกระดองสีเทา ในวัยเล็กจะเป็นสีชมพูและจะค่อย ๆ เข้มขึ้นตามอายุ บริเวณขอบกระดอกเป็นหยักเหมือนเต่า ใต้ท้องสีขาว ขาทั้ง 4 ข้างแผ่แบนเป็นครีบ มีเล็บ แต่เล็บไม่อาจเคลื่อนไหวได้ เมื่อวายน้ำจะไม่เหมือนกับเต่าอื่น ๆ คือ จะใช้ครีบคู่หน้าเป็นตัวว่าย และครีบคู่หลังควบคุมทิศเหมือนหางเสือ คล้ายกับเต่าทะเลหน้า 359-360, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (พ.ศ. 2552) โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา ISBN 978-616-556-016-0 มีจมูกยื่นยาวมาและงุ้มหักลงคล้ายหมู จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร น้ำหนัก 55 กิโลกรัม แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในแม่น้ำ, ลำคลอง หรือทะเลสาบที่มีความลึกไม่มากนัก ที่เกาะปาปัวนิวกินี และทวีปออสเตรเลียทางตอนเหนือ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ หรือซากสัตว์ เนื่องจากเป็นเต่าที่มีสายตาไม่ค่อยดี สถานภาพปัจจุบัน ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกจับมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันมาก ซึ่งอุปนิสัยของเต่าบินไม่ดุมากนัก เมื่อเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่น แถมยังเชื่องกับผู้เลี้ยงอีกต่างหาก โดยในที่เลี้ยงสามารถจะเลี้ยงไว้ในน้ำได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องขึ้นบกเหมือนเต่าหรือตะพาบทั่วไป แต่เต่าบินก็สามารถปีนขึ้นมาอาศัยอยู่บนบกได้ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1979 เต่าบินถือเป็นเต่าที่หายากและมีราคาแพงมาก โดยทั่วโลกมีผู้ครอบครองเพียง 5 ตัว ใน 5 ประเทศเท่านั้น ในประเทศไทย มีเพียงตัวเดียวเป็นของ นาวาอากาศโท วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทยที่มีชื่อเสียง เป็นเต่าตัวผู้ มีราคา 25,000 บาท ซึ่งทาง น.ท.วิโรจน์ ตั้งใจจะหาเต่าตัวเมียมาผสมพันธุ์เพื่อแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เต่าบินตัวนี้ได้ถูกผู้ขโมยไปและนำไปแกงเป็นอาหารรับประทาน แต่ในปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วที่อินโดนีเซีย โดยแม่เต่าจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 25 ปี โดยวางไข่ในเวลากลางคืน บนสันดอนฝั่งแม่น้ำช่วงฤดูแล้ง เอ็มบริโอที่เจริญเป็นเต่าวัยอ่อนโดยสมบูรณ์แล้วยังคงอยู่ภายในเปลือกไข่จนกระทั่งสันดอนถูกน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนจึงค่อยฟักตัวออกจาก.

ใหม่!!: เต่าและเต่าบิน · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระ

ต่ากระ หรือ เต่าปากเหยี่ยว (Hawksbill sea turtle) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Eretmochelys มีลักษณะคล้ายเต่าตนุ (Chelonia mydas) โดยที่เป็นเต่าทะเลขนาดกลาง มีลำตัวไม่ใหญ่มากนัก จะงอยปากแหลมงองุ้มคล้ายกับจะงอยปากของนกเหยี่ยว มีเกล็ดบริเวณหัวด้านหน้า 2 คู่ และเกล็ดบริเวณด้านข้างข้างละ 4 เกล็ด ลักษณะของกระดองมีลวดลายและสีสันสวยงาม ขอบกระดองเป็นหยักโดยรอบ ซึ่งในอดีตมักจะถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับและข้าวของต่าง ๆ เช่น หวี เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดความยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม เต่ากระพบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นในมหาสมุทรทั่วทั้งโลก โดยมักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งที่สงบเงียบไม่มีการรบกวน จากการศึกษาพบว่า เต่ากระกินทั้งได้พืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่งองุ้มนี้กินทั้งสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล รวมทั้งสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ รวมถึงปะการังด้วย วางไข่บนชายหาดครั้งละ 150-250 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และจัดเป็น 1 ใน 4 ชนิดของเต่าทะเลที่พบได้ในน่านน้ำไท.

ใหม่!!: เต่าและเต่ากระ · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระอาน

ต่ากระอาน (Northern river terrapin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง จัดเป็นเต่าน้ำจืด-น้ำกร่อย มีความยาวกระดองมากกว่า 60 เซนติเมตร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และถือว่าเป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ ล่าสุดชาวบ้านในพื้นที่ อ.ตะกั่วทุ่ง.พังงา พบบริเวณคลองถ้ำเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: เต่าและเต่ากระอาน · ดูเพิ่มเติม »

เต่ามะเฟือง

ต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (Leatherback turtle) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีขนาดคล้ายผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร.

ใหม่!!: เต่าและเต่ามะเฟือง · ดูเพิ่มเติม »

เต่ายักษ์กาลาปาโกส

ต่ายักษ์กาลาปาโกส หรือ เต่ากาลาปาโกส (Galápagos tortoise, Galápagos giant tortoise) สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเต่า จัดเป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง นับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเด่น คือ กระดองหนา มีสีเทาเข้มจนถึงสีดำ มีคอที่ยาวมากเพื่อใช้ในการหาอาหาร หัวมีขนาดเล็ก ตัวผู้มีกระดองยาว 122 เซนติเมตร น้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม ตัวเมียจะตัวเล็กกว่า กระดองยาว 91 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 159 กิโลกรัม วางไข่ประมาณ 9-25 ฟอง ไข่จะฟักในอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส แต่จะเหลือลูกเต่าไม่ถึงครึ่งที่มีชีวิตรอดจากการวางไข่แต่ละครั้ง ชอบอาศัยในที่พุ่มไม้เตี้ย ในบึง และเนินทรายชายฝั่ง และมีอายุยืนได้นานมากกว่า 100 ปี หรือเกือบ ๆ 200 ปี เต่ายักษ์กาลาปาโกส เป็นเต่าที่กินพืชเป็นอาหาร โดยสามารถกินพืชที่ขึ้นที่แห้งแล้งชนิดต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมถึงพืชที่มีหนามแหลมอย่างกระบองเพชรด้วย และจากการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อถึงฤดูแล้งที่สภาพอาหารเหือดแห้ง เต่ายักษ์กาลาปาโกสสามารถปรับตัวให้หัวใจเต้นเพียงครั้งละ 1 ครั้งต่อ 1 นาทีได้ด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการเผาผลาญอาหาร และในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จากการติดเครื่องติดตามดาวเทียมพบว่า เต่ายักษ์กาลาปาโกสมีพื้นที่อพยพ 6 ไมล์ จากยอดภูเขาไฟอัลเซโด มาจนถึงระดับน้ำทะเล เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งบางตัวอาจใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 เดือน หน้า 100, Close Encounters.

ใหม่!!: เต่าและเต่ายักษ์กาลาปาโกส · ดูเพิ่มเติม »

เต่าราเดียตา

ต่าราเดียตา หรือ เต่ารัศมีดารา (Radiated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astrochelys radiata มีกระดองที่มีสีสวยโดยเฉพาะในวัยเล็ก คล้ายกับเต่าในสกุล Geochelone ที่เคยถูกจัดให้อยู่ร่วมสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่ามีลวดลายที่ละเอียดกว่ามากเหมือนกับลายของ "ดาว" โดยเฉพาะในตัวที่มีสีเหลืองมาก จะเรียกว่า "ไฮเยลโล่" จัดเป็นเต่าขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณหนึ่งฟุตครึ่ง น้ำหนักประมาณ 35 ปอนด์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศมาดากัสการ์บริเวณตอนใต้ และถูกนำเข้าไปในเรอูว์นียง และมอริเชียส ในสภาพที่เป็นทะเลทราย แต่ก็เป็นเต่าที่ชอบความเย็นและความชื้นพอสมควร เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยมีสภาพฝนตกชุกอยู่ด้วย กินผักและผลไม้หลากชนิดเป็นอาหาร ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ วางไข่ในหลุมที่ตัวเมียเป็นฝ่ายขุดประมาณ 7-9 ฟอง แล้วเว้นช่วงไป จากนั้นก็จะขุดหลุมใหม่เพื่อวางไข่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าไข่จะหมด ใช้เวลาฟักประมาณ 200 วัน ซึ่งไข่จะฟักเป็นตัวเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เต่าราเดียตา เป็นเต่าบกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในแง่ของการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยง มีราคาซื้อขายที่แพงมาก มีการอนุรักษ์มีสถานะติดอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) ของไซเตส ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้หนามทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมาดากัสการ์ แม้จะมีปริมาณในธรรมชาติมากถึง 63,000,000 ตัว แต่ทว่าก็มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ ถึงร้อยละ 47 จากเมื่อ 11 ปีก่อน คาดว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปภายใน 20 ปี ข้างหน้า เต่าราเดียตาจะสูญพันธุ์ในที่สุด ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีรายงานการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ จึงมีการลักลอบเข้ามาจากมาดากัสดาร์ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหม.

ใหม่!!: เต่าและเต่าราเดียตา · ดูเพิ่มเติม »

เต่าลายตีนเป็ด

ต่าลายตีนเป็ด (Painted terrapin) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าน้ำชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batagur borneoensis เป็นเต่าที่มีสีสันสวยงาม กระดองค่อนข้างกลม ขนาดกระดองหลังมีความยาว 60 เซนติเมตร กระดองหลังมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ มีลายสีดำตามยาว 3 เส้น หัวสีน้ำตาลมีแถบสีขาว ขามีสีเทา กระดองส่วนท้องสีขาวหรือสีครีม อาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำ พบมากที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ปัจจุบันในประเทศไทยพบเฉพาะแค่ปากคลองละงู ใน อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น กินสัตว์น้ำและพืชเป็นอาหาร ในต่างประเทศพบที่ มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ผสมพันธุ์กันทั้งกลางวันและกลางคืน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ประมาณต้นเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เวลา 21.00 นาฬิกา จนถึง 04.00 นาฬิกา ไข่มีลักษณะยาวรีเท่ากันตลอดฟอง ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวใช้เวลาราว 88-99 วัน ปัจจุบัน เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535Praschag, P., Hundsdörfer, A. K. & Fritz, U. (2007).

ใหม่!!: เต่าและเต่าลายตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหก

ต่าหก (Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys เมื่อโตเต็มที่มีกระดองยาว 2 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆ ขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีกสองขา เป็นหกขา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก เต่าหก พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย แม้จะเป็นเต่าบก แต่ก็ชอบความชื้น ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมหรือใกล้แหล่งน้ำ ในป่าดิบเขา โดยจะขุดหลุมแล้วฝังตัวอยู่ ไม่ค่อยพบในที่ราบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: เต่าและเต่าหก · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหญ้า

ต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าหญ้าแปซิฟิก (Olive ridley sea turtle, Pacific ridley) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidochelys olivacea เป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในมหาสมุทรแอตแลนติกพบน้อยมาก กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง, ปลา, แมงกะพรุน, ปู, หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อบมากในน่านน้ำไทย โดยการวางไข่มีรายงานว่าพบที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น โดยไม่พบในฝั่งอ่าวไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: เต่าและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหับ

ต่าหับ (Asian box turtle, Siamese box terrapin) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเต่านา แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็น 2 ตอน ซึ่งเรียกว่า "แผ่น" หรือ "หับ" หรือ "ขีด" สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มีชนิดย่อย ถึง 4 ชนิด ได้แก่ C. a. lineata พบในพม่า, C. a. amboinensis พบในอินโดนีเซีย, ซูลาเวสี, C. a. couro พบในสุมาตรา, ชวา, บาหลี และ C. a. kamaroma พบในไทย, มาเลเซีย นอกจากนี้แล้ว เต่าหับยังมีความแตกต่างหากหลายทางสีสันและลวดลายต่าง ๆ ออกไปอีก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยจากสถิติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเต่าหับนับเป็นสัตว์ที่มีการลักลอบซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดค้าสัตว์ป่าร่วมกับลิ่น โดยเต่าที่เข้ามาในประเทศไทย ส่วนมากจะถูกนำเข้ามาทางอินโดนีเซียผ่านมาทางมาเลเซีย และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย ก่อนจะนำออกต่อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม โดยเต่าหับนอกจากได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังถือว่าเป็นสัตว์นำโชคอีกด้วย เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเต่าหับตัวใดมีหับที่ใต้ท้องมากกว่า 2 ตอน หรือ 3 ตอน และยังนำกระดองไปทำเป็นเครื่องรางของขลังได้อีกด้ว.

ใหม่!!: เต่าและเต่าหับ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหัวค้อน

ต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (Loggerhead) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta จัดเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Caretta ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าตนุ (Chelonia mydas) มาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองหลังยาวประมาณ 85 เซนติเมตร กระดองท้อง 60 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำมีเปลือกและหอย เป็นอาหารหลัก พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังพบได้บ้างที่เขตอบอุ่นทางตอนเหนือของออสเตรเลียและทะเลญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซีย ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: เต่าและเต่าหัวค้อน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าอัลลิเกเตอร์

ต่าอัลลิเกเตอร์ในสวนสัตว์พาต้า เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง (Alligator snapping turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสัน 3 สันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403 ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 ขณะที่ตัวที่มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีน้ำหนักถึง 236 ปอนด์ อยู่ที่สวนสัตว์บรู๊คฟิลด์ ในชิคาโก เต่าอัลลิเกเตอร์ จัดเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแรงกัดของกรามที่รุนแรง โดยเต่าขนาด 1 ฟุต มีแรงกัดถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นแรงกัดมหาศาลเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก จระเข้น้ำเค็ม และ ไฮยีน่า แม้แต่สุนัขขนาดใหญ่ที่ดุร้าย เช่น พิทบูล ยังมีแรงกัดได้เพียง 400-500 ปอนด์เท่านั้น และเมื่อกัดแล้วกรามจะล็อกเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุด จนผู้เชี่ยวชาญในการจับเต่าอัลลิเกเตอร์กล่าวว่า หากถูกเต่าอัลลิเกเตอร์กัดแล้ว วิธีเดียวที่จะเอาออกมาได้ คือ ต้องตัดหัวออกแล้วใช้ไม้เสียบเข้าไปในรูจมูกให้ทะลุถึงคอ เพื่อปลดล็อกกราม เต่าอัลลิเกเตอร์ เป็นเต่าที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยวิธีการซุ่มนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวใต้น้ำ แล้วอ้าปากใช้ลิ้นที่ส่วนปลายแตกเป็น 2 แฉกที่ส่วนปลายสุดของกรามล่าง เพื่อตัวหลอกปลาให้เข้าใจว่าเป็นหนอน เมื่อปลาเข้าใกล้ได้จังหวะงับ ก็จะงับด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วเต่าอัลลิเกเตอร์ยังกินเต่าด้วยกัน รวมถึงเต่าอัลลิเกเตอร์ด้วยกันเองเป็นอาหารด้วยจากการขบกัดที่รุนแรง เชื่อกันว่า เต่าอัลลิเกเตอร์มีอายุยืนได้ถึง 200 ปี แต่อายุโดยเฉลี่ยในที่เลี้ยง คือ 20-70 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 11-13 ปี โดยจะโตไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเลยไปแล้วอัตราการเจริญเติบโตก็จะช้าลง ตัวเมียวางไข่ขนาดเท่าลูกปิงปองได้มากถึง 52 ฟอง แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 29-31 ฟอง โดยขุดหลุมฝังไว้ในพื้นดิน ซึ่งไข่จำนวนหนึ่งอาจถูกสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น แรคคูน ขุดขโมยไปกินได้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เต่าในธรรมชาติต้องวางไข่ใกล้กับทางรถไฟมากขึ้น เต่าอัลลิเกเตอร์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์ ขณะที่กฎหมายในบางที่เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ห้ามเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ในบางพื้นที่ เช่น รัฐลุยเซียนา มีการนำไปปรุงเป็นซุป ถือเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง โดยมีการจับส่งให้แก่ร้านอาหารตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 จนถึง ทศวรรษที่ 70-80 ทำให้ประชากรเต่าอัลลิเกเตอร์มีจำนวนที่ลดลงSwamp Thing, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: เต่าและเต่าอัลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าจักร

ต่าจักร (Spiny turtle, Spiny terrapin) สัตว์เลืิ้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เต่าจักร มีสันหนาเป็นเส็นกลางแผ่นเกล็ดสันหลังทุกแผ่น และมีตุ่มหลายตุ่มบนแผ่นเกล็ดชายโครงแต่ละแผ่น เมื่อยังเป็นเต่าวัยอ่อนจะมีแผ่นเกล็ดขอบกระดองแต่ละชิ้นคล้ายหนามแหลม 1 หนามคล้ายจักร อันเป็นที่มาของชื่อ ยกเว้นแผ่นเกล็ดขอบกระดอง ที่ 4 ที่ 5 จะมี 2 หนามซึ่งหนามที่ปรากฎในลูกเต่าจะค่อย ๆ หายไปเมื่อโตเต็มที่ ขาหน้าไม่มีผังพืด กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องและด้านข้างแผ่นเกล็ดขอบกระดองออกสีเหลืองหรือสีส้ม และมีเส้นลายสีน้ำตาลดำ ขาสีน้ำตาลดำเกล็ดลำตัวออกสีชมพูอ่อน ผิวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวสีน้ำตาล พบกระจายพันธุ์ในที่ชุ่มชื้นของป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย เช่น ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง ไปจนถึงพม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงฟิลิปปินส์ เต่าจักร เป็นเต่าที่อาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ โดยมักจะอยู่ในสภาพพื้นที่ ๆ มีความชุ่มชื้นและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นมากกว่า และพบได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร กินผักและผลไม้เป็นอาหาร จัดเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 6.5 กิโลกรัม นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันสามารถขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่จะเลียนแบบตามพฤติกรรมในธรรมชาติ คือ เต่าตัวผู้จะไล่กัดตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนหรือเวลาที่ฝนตก เต่าตัวเมียวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน สามารถวางไข่ได้ 3 ครั้่งต่อปี มีระยะเวลาฟักเป็นตัวนานประมาณ 106, 110, และ 145 วัน เต่าจักรเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: เต่าและเต่าจักร · ดูเพิ่มเติม »

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

ใหม่!!: เต่าและเต่าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เต่าดำ

ต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (Black marsh turtle; 粗頸龜) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำ มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง อันเป็นที่มาของชื่อ กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำประเภทหนองหรือบึง ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกทั่วภาค แต่จะพบได้มากในภาคกลางและภาคใต้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ มีอุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ นาน ๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่ ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ ในเต่าที่เป็นเต่าเผือกจะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เพราะถือเป็นสัตว์ที่หายาก.

ใหม่!!: เต่าและเต่าดำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าตนุ

ต่าตนุ (Green turtle) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป เต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด เป็นเต่าที่มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ สำหรับในน่านน้ำไทย พบเต่าชนิดนี้ขึ้นวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังง.

ใหม่!!: เต่าและเต่าตนุ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าปูลู

ต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum (เป็นภาษาละตินแปลว่า "หัวโต อกแบน") ในสกุล Platysternon วงศ์ Platysternidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้ มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: เต่าและเต่าปูลู · ดูเพิ่มเติม »

เต่านาหัวใหญ่

ต่านาหัวใหญ่ หรือ เต่านามลายู (Malayan snail-eating turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกเต่า ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) มีลักษณะกระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวมีสีดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่จากจมูกผ่านนัยน์ตาตอนบนและจากปากผ่านนัยน์ตาตอนล่าง 2 ขีด มีลายขาวที่แก้มด้วย ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่น ผิวหนังทั่วไปและขามีสีเทาดำ ความยาวกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม เต่านาหัวใหญ่ เป็นเต่าที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่นาข้าว, ท้องร่องสวน หรือแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ และพบได้ในประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา และมาเลเซีย เป็นเต่าที่กินหอยฝาเดียวและหอยสองฝาเป็นอาหารหลัก โดยใช้ปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก จากนั้นจึงใช้เล็บฉีกเอาเนื้อหอยออกมากิน เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกับเต่านาอีสาน (M. subtrijuga) แต่ต่อมาได้มีการศึกษาใหม่ พบว่าแท้จริงแล้วแยกออกเป็น 2 ชนิด ในปี ค.ศ. 2004.

ใหม่!!: เต่าและเต่านาหัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เต่านาอีสาน

ต่านาอีสาน (Mekong snail-eating turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เป็นเต่านาชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งแยกออกมาในปี ค.ศ. 2004 มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเต่านาหัวใหญ่ (M. macrocephala) ซึ่งเป็นเต่านาอีกชนิด แต่มีลักษณะที่แตกต่างออกไป คือ มีขีดตามแนวตั้งใต้จมูก 4-5 ขีด ซึ่งมีมากกว่าเต่านาหัวใหญ่ และเส้นขีดที่นัยน์ตาจะเล็กกว่า รวมทั้งมีรูปร่างที่เล็กกว่าด้วย เต่านาอีสาน มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่ภาคอีสานของประเทศไทย และพบไปจนถึงลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เป็นเต่าที่กินหอยฝาเดียวและหอยสองฝาเป็นอาหารหลัก โดยใช้ปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บฉีกเอาเนื้อของหอยออกมา พบได้ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ทำการเกษตร เช่น นาข้าว, ท้องร่องสวน ด้ว.

ใหม่!!: เต่าและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าแก้มแดง

ต่าแก้มแดง (Pond slider, Common slider) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี.

ใหม่!!: เต่าและเต่าแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

เต่าใบไม้

ต่าใบไม้ หรือ เต่าแดง (Asian leaf turtle, Brown stream terrapin) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่า ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนล่างมีลักษณะคล้ายบานพับคล้ายกับเต่าหับ แต่ปิดได้เฉพาะตอนล่าง หัวมีสีน้ำตาล, น้ำตาลแดง หรือเขียวมะกอกด้านบนสุดของหัวอาจมีจุดสีดำ และด้านข้างของหน้าอาจจะมีแถบสีเหลืองหรือชมพู กระดองส่วนล่างสีจาง มีเส้นเป็นแนวรัศมี บางครั้งพบว่ากระดองส่วนล่างอาจเป็นสีดำ หรือน้ำตาลเข้มทั้งหมดลักษณะรอยต่อระหว่างแผ่นเกล็ดต้นขาและแผ่นเกล็ดทวารโค้งและกระดองส่วนล่างที่มีลักษณะเป็นบานพับเป็นลักษณะที่ทำให้แยกออกจากเต่าหวาย ที่มีลักษณะกระดองคล้ายคลึงกัน มีกระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือลำธารในป่า หรือเนินเขา ในทุกประเทศของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นเต่าที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ ในน้ำ, ผัก และผลไม้ เป็นต้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: เต่าและเต่าใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าเหลือง

ต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (Elongated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indotestudo elongata จัดเป็นเต่าบกขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงพอสมควร ทั่วตัวมีสีขาวหรือเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มีแต้มสีดำบ้างประปราย ขอบกระดองของบางตัวมีสีเหลืองใสดูคล้ายขี้ผึ้งหรือเทียน จึงเป็นที่มาของชื่อ ในบางตัวเมื่อโตเต็มที่อาจมีสีน้ำตาลแก่ปน ขามีสีเทาดำ ขาหน้ามีเกล็ดใหญ่ ๆ อยู่ด้านบน ขาหลังสั้นทู่ ขาหน้าและขาหลังไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว แต่มีนิ้วแข็งแรงมาก ตัวผู้มีเกล็ดกระดองเว้าและลึก ขณะที่ตัวเมียราบเรียบกว่า พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนในเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินเนื้อ เช่น ซากสัตว์หรือหอยได้ด้วย เป็นเต่าที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบที่จะแช่น้ำ พบได้ในป่าแทบทุกสภาพ แม้กระทั่งในสวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จากนั้นในเดือนธันวาคมจึงจะวางไข่ โดยจะขุดหลุมลึกประมาณครึ่งตัว ใช้เวลาฟักประมาณ 146 วัน ลูกเต่าที่เกิดมาใหม่กระดองจะมีความนิ่ม จะแข็งเมื่ออายุได้ราวหนึ่งปี เต่าชนิดนี้ ในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ง่าย คือ ที่หมู่บ้านบ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอเมืองราว 50 กิโลเมตร โดยจะพบเต่าเหลืองอาศัยและเดินไปเดินมาทั่วไปในหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้านไม่ทำอันตรายหรือนำไปรับประทาน เต่าจึงอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าเต่าเหลืองเป็นเต่าเจ้า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และเรียกชื่อเต่าชนิดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า "เต่าเพ็ก" จนได้รับชื่อเรียกว่าเป็น "หมู่บ้านเต่า" เต่าเหลือง มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: เต่าและเต่าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

เต่าเดือย

ต่าเดือย หรือ เต่าควะ (Impressed tortoise) เต่าประเภทเต่าบกชนิดหนึ่ง เต่าเดือย นับเป็นเต่าบกที่พบได้ในป่าทวีปเอเชียที่มีกระดองสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยมีแผ่นเกล็ดที่กระดองหลังบางแผ่นที่โปร่งแสง แผ่นเกล็ดสันหลังและแผ่นเกล็ดชายโครงยุบลงมาเล็กน้อย แผ่นเกล็ดเหนือต้นคอมีขนาดใหญ่ ตอนปลายแยกออกเป็น 2 ส่วน โคนขาหน้าหุ้มด้วยเกล็ดที่มีลักษณะแหลมคล้ายหนาม ขาหลังคล้ายเท้าช้าง มีเดือยรูปวงกลมและเดือยคล้ายไก่ 1 เดือย ระหว่างโคนขาหลังและโคนหาง แผ่นเกล็ดใต้คอมีขนาดเล็ก แผ่นเกล็ดท้องมีขนาดใหญ่ มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตร ความยาวของกระดองท้อง 27 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัมหรือมากกว่า กระดองหลังเป็นสีเหลืองส้ม ขอบกระดองเป็นสีเหลือง มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ประปราย ตัวผู้และตัวเมียมีสีที่แตกต่างกัน และมีน้ำหนักที่ต่างกันอีกด้วย เต่าเดือย เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงจีนตอนใต้ อาจพบได้บนที่สูงถึง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นเต่าที่กินอาหารจำพวกพืช เช่น หน่อไม้, เห็ดรา เป็นอาหารหลัก โดยมักหากินตามพื้นที่มีความชื้นสูงและมีหญ้าขึ้นรกชัฎ เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติมากแล้วชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 เต่าเดือย เป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยในอดีต มีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงผู้ค้าสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์ป่าว่า "เต่าหกพม่า" มีราคาขายเพียงตัวละ 50-100 บาทเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2516 โดยจะเป็นเต่าที่ถูกจับมาจากทางพม่า ผ่านทางอำเภอแม่สอด แต่ทว่าก็เป็นเต่าที่เลี้ยงให้รอดยากมากในที่เลี้ยง โดยมากเต่าที่ถูกจับมาขายนั้นมักไม่กินอาหาร หรือเลือกกินเป็นอย่างยิ่ง และในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบเต่าเดือยอีกจำพวกหนึ่ง ที่มีขนาดเล็กกว่าเต่าเดือยขนาดปกติ โดยตัวผู้มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม ตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม พบได้ในป่าตั้งแต่ชายแดนของประเทศไทยแถบจังหวัดตราดต่อเนื่องไปตามแนวเทือกเขาในประเทศกัมพูชาภาคตะวันตก และมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเต่าเดือยปกติพอสมควร เช่น ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันที่คล้ายกันและลำตัวไล่เลี่ยกัน, ตัวผู้มีเกลล็ดสีแดงที่ขาหลัง, มีสีสันที่สดใสน้อยกว่า และสามารถปรับตัวได้ดีในที่เลี้ยง โดยไม่เลือกอาหารที่จะกินมากนัก ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาทางวิชาการ จึงอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเต่าชนิดใหม่ หรือเป็นชนิดย่อยของเต่าเดือ.

ใหม่!!: เต่าและเต่าเดือย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TestudinesTurtleตะพาบตะพาบน้ำ🐢

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »