โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตระกูลภาษาไท-กะได

ดัชนี ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

55 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2548กลุ่มภาษากัม-ไทกลุ่มภาษาจีนกลุ่มภาษาไทภาษาพวนภาษากวาเบียวภาษาญ้อภาษายองภาษาลาวภาษาอัสสัมภาษาอาหมภาษาผู้ไทภาษาคำยังภาษาตั่ยภาษาตั่ยซาปาภาษาตั่ยเติ๊กภาษาปาดีภาษาปู้อีภาษานุงภาษาแสกภาษาไทยภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยถิ่นเหนือภาษาไทลื้อภาษาไทหย่าภาษาไทฮ่างตงภาษาไททัญภาษาไทขาวภาษาไทดำภาษาไทคำตี่ภาษาไทแมนภาษาไทแดงภาษาไทใหญ่ภาษาไทใต้คงภาษาไทโซ่งภาษาเขินมณฑลไหหลำยุคก่อนประวัติศาสตร์สุยอินโดจีนตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตระกูลภาษาจีน-ทิเบตตระกูลของภาษาประเทศฟิลิปปินส์ประเทศลาวประเทศอินเดียประเทศจีน...ประเทศไทยประเทศไต้หวันไทเอนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (Kam–Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง (Zhuang–Dong languages) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและกลุ่มภาษากัม-ไท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพวน

ษาพวน หรือ ภาษาลาวพวน เป็นภาษาในตระกูลไท-กะได เป็นภาษาของชาวไทพวนหรือลาวพวน คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากกว่าภาษาไทยภาคกลางและเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกันกับภาษาผู้ไทมาก มีเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง มีเสียงควบกล้ำเฉพาะ /คฺว/ เท่านั้น สระมี 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง ลักษณะเด่นของคำพวนเช่น ถ้าใช้ ก เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียงตัวสะกด ดังเช่น หูก พวนออกเสียงเป็น หุ ปาก พวนออกเสียงเป็น ปะ แบก พวนออกเสียง แบะ ส่วนคำที่ใช้สระไม้ม้วน(สระ-ใ-)จะออกเสียงเป็น สระเออ เช่น บ้านใต้ พวนออกเสียงเป็น บ้านเต้อ ใกล้ พวนออกเสียงเป็น เค่อ ให้ พวนออกเสียงเป็น เห้อ ส่วนสระไม้มลาย(สระ-ไ-)จะออกเสียงตามรูป เช่น ผัดไทยใส่ไข่ พวนออกเสียงเป็น ผัดไทยเส่อไข่ จะไม่พูดว่า ผัดเทอเส่อเข่อ พวนใช้เสียง ซ แทนเสียง ช เช่น ช้าง เป็น ซ้าง ช่วย เป็น ซ่อย ไม่มีเสียง ร ซึ่งมักจะออกเป็น ฮ แทน เช่น เรือน เป็น เฮือน ร่ำเรียน เป็น ฮ่ำเฮียน ไร่นา เป็น ไฮ่นา การออกเสียง ย และ ญ ลักษณะการออกเสียงของภาษาไทยนั้น ลิ้นจะอยู่กลางปาก แต่การออกเสียงของคนพวน ลิ้นจะแตะเพดานปากด้านหน้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาพวน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากวาเบียว

ษากวาเบียว (Qabiao) หรือภาษาละกัว ภาษาปูเปียว หรือภาษาเปน ติ โลโล อยู่ในตระกูลไท-กะได มีผู้พูดทั้งหมด 310 คน พบในเวียดนาม 307 คน (พ.ศ. 2545) ทางภาคเหนือ พูดโดยชาวกวาเบียวในจังหวัดฮาเกียว ประเทศเวียดนามที่เหลือพบในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซาน ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน ผู้พูดในจีนส่วนใหญ่มีอายุมาก และมักจะพูดภาษาจีนกลางได้ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากะได สาขายางเบียว รากศัพท์มีความคล้ายคลึงกับภาษาเกเลา 38% ภาษาลาชิ 33% ภาษาจ้วงเหนือ 30% ภาษาฮลาย 26% ภาษาลากา 23% ภาษาม้ง 10%.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษากวาเบียว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญ้อ

ษาญ้อ หรือ ภาษาไทญ้อ (Nyaw) เป็นกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ ที่พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อ ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533) ในจังหวัดสกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ปราจีนบุรี และสระบุรี พบได้มากที่ อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม อำเภอเมืองสกลนคร อำเภออรัญประเทศ เป็นต้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนเหนือของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง ไปกะเลอ,ไปสิเลอ,ไปเตอ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาญ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายอง

ษายอง (Yong) เป็นภาษาหนึ่งของชาวไทลื้อ ตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีผู้พูดในประเทศไทย ราวหนึ่งแสนคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน บางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษายอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสสัม

อัสสัม (অসমীয়া โอสัมมิยะ; Assamese Language) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวพื้นเมืองในรัฐอัสสัม มีผู้พูดภาษานี้ในรัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนืออื่นๆของอินเดีย รวมทั้งในประเทศภูฏาน และบังกลาเทศด้วย จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนตะวันออก คำว่าอัสสัมเป็นภาษาอังกฤษหมายถึงกลุ่มชนที่อยู่ในหุบเขาพรหมบุตร แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า อาหม และเรียกภาษาของเขาว่า อาหมม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหม

ษาอาหม (Ahom language) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มกัม-ไท, เบ-ไท, ไท-แสก อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาอาหม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาผู้ไท

ษาผู้ไท (เขียน ผู้ไท หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง".

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาผู้ไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคำยัง

ษาคำยัง (Shyam ศยามฺ) มีผู้พูดทั้งหมด 50 คน ในหมู่บ้านโป่อ่ายมุข (Pawaimukh) ในเขตทินซูเกีย (Tinsukia District) รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ภาษาคำยังนี้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพ่าเกและภาษาไทใหญ่ในประเทศพม่า ผู้ใช้ภาษาคำยังในปัจจุบันหลายคนสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมได้ แต่กลายเป็นว่ามีผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่สามารถอ่านและเขียนภาษาคำยังได้ ซึ่งส่วนมากใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาในปี ค.ศ. 1981 ชาวคำยังมีความสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมเป็นภาษาที่สองได้ถึงร้อยละ 58 ชาวคำยังมีความสนิทสนมกับชาวคำตี่ในรัฐอรุณาจัลประเทศเป็นพิเศษ ปัจจุบันภาษาคำยังถือว่าเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์ ในอนาคตภาษาคำยังคงกลายเป็นเพียงความทรงจำครั้งหนึ่งของชาวคำยังที่มีภาษาและอักษรเป็นของตนเองอยู่ เช่นเดียวกับคนไทกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในประเทศอินเดียอย่างกลุ่มอาหมที่ลืมภาษาอาหมของตนเกือบหลายร้อยปีทีเดียว และคงเป็นภาษาที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาแบบเดียวกับภาษาอาหมในไม่ช้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ย

ษาตั่ย (Tày language) มีผู้พูดทั้งหมด 1,480,000 คน (พ.ศ. 2542) ในประเทศเวียดนามทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับชายแดนประเทศจีน อาจจะมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศลาว ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่พูดภาษาเวียดนามได้ด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท เขียนด้วยอักษรละติน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาตั่ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ยซาปา

ษาตั่ยซาปา (Tày Sa Pa language) หรือ ภาษาซาปา (Sapa language) มีผู้พูดประมาณ 300 คน (พ.ศ. 2545) ในเมืองซาปา จังหวัดหล่าวกาย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท เป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และมีความใกล้ชิดกับภาษาไทในกลุ่มไทตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาตั่ยซาปา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ยเติ๊ก

ษาไตเติ๊ก จำนวนผู้พูดทั้งหมดไม่แน่นอน ใช้ในเมืองเติ๊ก (Muang Tâk, Mương Tấc) ตอนนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเซินลา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท ใกล้เคียงกับ ภาษาไทแดง และภาษาไทขาว คนไตเติ๊กมีระบบอักษรส่วนตัว มีเสียงพยัญชนะ 22 เสียง สระ 13 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียงสำหรับพยางค์เปิด และ 3 เสียงสำหรับพยางค์ป.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาตั่ยเติ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาดี

ษาปาดี (Pa Di language) มีผู้พูดทั้งหมด 1,300 คน พบในประเทศจีน 1,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลยูนนาน พบในประเทศเวียดนามทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ 300 คน จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาปาดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปู้อี

ษาปู้อี (ปู้อี: Haausqyaix หรืออาจพบสะกดเป็น Buyi, Bouyei, Tujia หรือ Puyi;; tiếng người Bố Y) มีผู้พูดทั้งหมด 2,649,205 คน พบในจีน 2,600,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณที่ราบกุ้ยโจว-ยูนนาน ในมณฑลยูนนานและเสฉวน พบในเวียดนาม 49,100 คน (พ.ศ. 2542) มีบางส่วนในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ส่วนใหญ่ใช้ในเขตปกครองตนเองของชาวปูยี มีการออกหนังสือพิมพ์ในภาษานี้ เขียนด้วยอักษรละติน ในจีนจะพูดภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เรียงประโยคแบบประธาน–กริยา–กรรม ส่วนใหญ่เป็นพยางค์เดี่ยว มีวรรณยุกต์ 6 เสียงสำหรับคำเป็น และ 4 เสียงสำหรับคำต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาปู้อี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานุง

ษานุง (Nung language) หรือภาษานอง ภาษาไทนุง ภาษาผู้นุง มีผู้พูดทั้งหมด 856,412 คน (พ.ศ. 2542) ในประเทศเวียดนาม ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาวบั่งและจังหวัดหลั่งเซิน มีบางส่วนอยู่ในนครโฮจิมินห์และเมืองอื่น ๆ เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม มีผู้พูดภาษานี้อยู่ในลาวบ้างเล็กน้อย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ใกล้เคียงกับภาษาจ้วง เป็นคนละภาษากับภาษาจีนนุงหรือภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษานุงหรือภาษานูที่อยู่ในภาษากลุ่มทิเบต-พม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษานุง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแสก

ษาแสก เป็นภาษาตระกูลไท-กะไดที่ใช้พูดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาวและจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ผู้พูดภาษานี้เหลือน้อยเพราะคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากขึ้น.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาแสก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทลื้อ

ษาไทลื้อ หรือ ภาษาลื้อ (ไทลื้อ: ᦅᧄᦺᦑᦟᦹᧉ กำไตลื้อ; 傣仂语 Dǎilèyǔ ไต่เล่อหยวื่อ; Lự, Lữ หลื่อ, หลือ) เป็นภาษาไทยถิ่นแคว้นสิบสองปันนา หรือ เมืองลื้อ อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได และมีคำศัพท์และการเรียงคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ ผู้พูดภาษาไทลื้อเรียกว่าชาวไทลื้อหรือชาวลื้อ ภาษาไทลื้อมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2,000,000 คน โดยมีจำนวนผู้พูดในประเทศจีน 300,000 คน ในประเทศพม่า 200,000 คน ในประเทศไทย 1,200,000 คน และในประเทศเวียดนาม 5,000 คน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทลื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทหย่า

ภาษาไทหย่า (Tai Ya language) เป็นภาษาของชาวไทหย่าที่อาศัยอยู่ทางมณฑลยูนนานของประเทศจีน ภาษานี้มีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยบางคำ เช่น มา ดี ฟัน ฟาง ขา มือ หู ตา แต่แปร่งไปบ้าง เช่น เสื้อ เป็น เซ้อ หัว เป็น โห่ อยู่ดีไม่อยู่ดี เป็น อู้ดีบ่อู้ดี มีบางคำปนกับภาษาจีน เช่น อู๋หลาย หรือ มีหลาย ซึ่งคำว่า อู๋ เป็นภาษาจีน แปลว่ามี หลาย เป็นคำไทย แปลว่า มาก บางคำคล้ายกับภาษาไทใหญ่ เช่น คำว่า ไป ไทหย่าเรียก กา ไทใหญ่เรียก กว่า บางคำก็แปลก ๆ ไป หรือได้รับอิทธิพจากชาวเขาด้วย อย่างเช่น กางเกง เรียกว่า เตี๋ยว ไปเที่ยว เรียกว่า กาหว่น มากี่คน เรียกว่า มาจิก้อ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศจีน หมวดหมู่:กลุ่มภาษาไท.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทหย่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทฮ่างตง

ษาไทฮ่างตง (Tai Hang Tong language) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาไท-กะได ชาวไทฮ่างตงใช้พูดในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม มีผู้พูด 10,000 คน (พ.ศ. 2545) ใกล้เคียงกับภาษาไทขาวและภาษาไทดำ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทฮ่างตง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไททัญ

ษาไททัญ (Tai Thanh language) หรือภาษาไทมันทัญ มีผู้พูดในประเทศเวียดนาม 20,000 คน (พ.ศ. 2545) ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ใกล้เคียงกับภาษาไทขาว ภาษาไทดำ และภาษาไทฮ่างตง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไททัญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทขาว

ษาไทขาว หรือ ภาษาไทด่อน (Tai Dón language) มีผู้พูดทั้งหมด 490,000 คน พบในประเทศเวียดนาม 280,000 คน (พ.ศ. 2545) ทางตอนเหนือตามแนวแม่น้ำแดงและแม่น้ำดำ พบในประเทศลาว 200,000 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาไทดำ ได้รับอิทธิพลจากภาษาลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทขาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทดำ

ษาไทดำ (Tai Dam language, Black Tai language; 傣担语, Dǎidānyǔ) มีผู้พูดทั้งหมด 763,700 คน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 699,000 คน (พ.ศ. 2545) อยู่ในแขวงคำม่วน ประเทศลาว 50,000 คน (พ.ศ. 2538) อยู่ในจังหวัดเลย ประเทศไทย 700 คน (พ.ศ. 2547) อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2428 ลาวโซ่งก็คือคนไทดำกลุ่มแรกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ภาษาไทดำอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก อัตราการรู้หนังสือภาษาแม่ราวร้อยละ 1-5 เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในเวียดนาม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทคำตี่

ษาไทคำตี่ (Khamti language) มีผู้พูดทั้งหมด 13,120 คน พบในพม่า 4,240 คน (พ.ศ. 2543) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พบในประเทศอินเดีย 8,880 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐอัสสัม และรัฐอรุณาจัลประเทศ อาจจะมีในประเทศจีนด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ผู้พูดภาษานี้ในพม่าพูดภาษาพม่าหรือภาษาจิงผ่อได้ด้วย ส่วนผู้พูดภาษานี้ในอินเดียจะพูดภาษาอัสสัมได้ด้วย เขียนด้วยอักษรพม่าหรืออักษรไทคำตี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทคำตี่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทแมน

ษาไทแมน (Tai Mène language) หรือภาษาไตแมน ภาษาไตเมียน ภาษาไตมัน มีผู้พูดในประเทศลาว 7,200 คน (พ.ศ. 2538) ที่แขวงบอลิคำไซ ผู้พูดเหล่านี้กล่าวว่าพวกเขาอพยพมาจากเวียดนาม ภาษานี้จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ใกล้เคียงกับภาษาแสก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทแมน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทแดง

ษาไทแดง (Tai Daeng language, Red Tai language) หรือภาษาไทโด มีผู้พูดทั้งหมด 165,000 คน พบในประเทศเวียดนาม 140,000 คน (พ.ศ. 2545) ในบริเวณภาคกลางตอนเหนือในเขตจังหวัดทัญฮว้า พบในประเทศลาว 25,000 คน (2534) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว ใกล้ชายแดนเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของภาษาของชนกลุ่มไทในเวียดนามที่ต่างจากภาษาไทดำ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทแดง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใหญ่

ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใต้คง

ษาไทใต้คง (ไทใต้คง: ᥖᥭᥰᥖᥬᥳᥑᥨᥒᥰ; Dehong Dai language, Tai Dehong language) หรือ ภาษาไทเหนือ (Tai Nüa language; ภาษาจีน: 傣哪语 ไต๋หนาอยู่, 德宏傣语 เต๋อหงไต๋อยู่) เป็นภาษาที่ใช้พูดในเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มีเสียงพยัญชนะ 17 เสียง เป็นพยัญชนะต้นได้ 16 เป็นตัวสะกดได้ 8 เสียง เสียง /น/ เป็นตัวสะกดได้อย่างเดียว สระมี 10 เสียง โดยทั่วไปไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงยาวและสระเสียงสั้น ยกเว้นสระ /อะ/ และสระ /อา/ มีวรรณยุกต์ 6 เสียง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใต้คง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทโซ่ง

ษาไทโซ่ง (Thai Song) หรือภาษาลาวโซ่ง ภาษาลาวโซ่งดำ ภาษาโซ่ง เป็นภาษาที่มีผู้พูดในประเทศไทยราว 32,307 คน (พ.ศ. 2543) พบในจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ นครปฐม สุพรรณบุรี มีความใกล้เคียงกับภาษาไทดำ อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทโซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขิน

ษาเขิน หรือ ภาษาขึน (Khün language; เขิน: Dai Kun) (บ้างก็ว่า ไทเขิน หรือ ไทขึน) มีผู้พูดทั้งสิ้น 120,855 คน พบในส่วนใหญ่อยู่ในเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ประมาณ 114,574 คน (พ.ศ. 2543) พบในประเทศไทย 6,281 คน (พ.ศ. 2543) ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อและภาษาไทใต้คง เขียนด้วยอักษรเขินที่มีลักษณะคล้ายอักษรล้านนา จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาเขิน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลไหหลำ

มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (ภาษาจีน: 海南, พินอิน: Hǎinán) คือมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ เมืองไหโข่ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและมณฑลไหหลำ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สุย

(ภาษาจีน:水族;พินอิน:Shuǐzú) เป็นชื่อของกลุ่มชนซึ่งมีถิ่นอยู่ มณฑลซานตู และมณฑลกุ้ยโจว ที่ตั้งถิ่นฐานและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 499,000 คน โดยมากใช้ภาษาสุย ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได และส่วนใหญ่นับถือลัทธิดั้งเดิม และลัทธิเต๋าปะปนกันกับคำสอนบางอย่างในศาสนาพุท.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและสุย · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ตการแพร่กระจายของภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า “ใต้” และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนาม กับภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อย ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ไท-กะได ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

แผนที่แสดงการแพร่กระจายของภาษากลุ่มจีน-ทิเบต (สีแดง) ตระกูลภาษาจีน – ทิเบต เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออกมีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและตระกูลภาษาจีน-ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลของภาษา

ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้) บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและตระกูลของภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ไท

ท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและไท · ดูเพิ่มเติม »

เอน

อน (Eén, één, "หนึ่ง") เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะของประเทศเบลเยียม ออกอากาศเป็นภาษาดัตช์ มุ่งเน้นรายการประเภทละคร บันเทิง ข่าว และสถานการณ์ปัจจุบันในทำนองเดียวกันกับบีบีซีวันของสหราชอาณาจักร สถานีแห่งนี้เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ VRT TV1 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "เอน" ดังปัจจุบัน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและเอน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาไท-กะไดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กะไดภาษากลุ่มไท-กะไดภาษาตระกูลไท-กะไดภาษาไท-กะไดตระกูลภาษาไทตระกูลภาษาไทกะไดไท-กะได

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »