โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้

ดัชนี กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้

กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ (South Caucasian languages) เป็นภาษาที่มีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในจอร์เจีย มีบางส่วนอยู่ในตุรกี อิหร่าน รัสเซีย และอิสราเอล ผู้พูดกลุ่มภาษานี้มีราว 5.2 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มภาษาที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่กลุ่มหนึ่ง มีจุดกำเนิดย้อนหลังไปถึง 5,457 ปีก่อนพุทธศักราช กลุ่มภาษานี้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับกลุ่มภาษาใดๆ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก (จารึกอับบา อันโตนี เขียนด้วยอักษรจอร์เจียโบราณในยุคราชวงศ์จอร์เจีย ใกล้เบธเลเฮ็ม) มีอายุราว..

18 ความสัมพันธ์: ภาษาบาสก์ภาษากรูซินิกภาษาลาซภาษาสวานภาษาฮีบรูภาษาจอร์เจียภาษาตุรกีภาษาแอราเมอิกภาษาเมเกรเลียอับคาเซียอักษรละตินอักษรจอร์เจียทะเลดำประเทศรัสเซียประเทศอิสราเอลประเทศอิหร่านประเทศจอร์เจียประเทศตุรกี

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรูซินิก

ภาษากรูซินิก หรือภาษาคิฟรูลี ภาษาจอร์เจียของชาวยิว เป็นภาษาที่พูดโดยชาวยิวในจอร์เจียซึ่งเป็นชุมชนชาวยิวโบราณในเทือกเขาคอเคซัส จัดอยู่ในภาษากลุ่มคอเคซัสใต้ ต่างจากภาษาจอร์เจียอย่างชัดเจน แต่สามารถเข้าจกันได้กับภาษาจอร์เจียถ้าตัดคำยืมจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกออกไป มีผู้พูดทั้งสิ้น 85,000 คนแบ่งเป็นในจอร์เจีย 20,000 คน (2538) และในอิสราเอล 59,800 คน (2543) นอกจากนั้นมีอีกราว 4,000 คนในนิวยอร์กและกระจายอยู่ในรัสเซีย เบลเยียม สหรัฐและแคนาดา ภาษากรูซินิกเป็นเช่นเดียวกับภาษาของชาวยิวอื่นๆคือมีการใช้น้อยลง จำนวนผู้พูดในจอร์เจียลดลงเนื่องจากการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ประเทศใหม่คืออิสราเอล ราว 80% ของประชากรทั้งหมด กรูซินิก กรูซินิก กรูซินิก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษากรูซินิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาซ

ษาลาซ (lazuri, ภาษาลาซ:ლაზური or lazuri nena, ლაზური ნენა; ภาษาจอร์เจีย: ლაზური, lazuri, or ჭანური, chanuri) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวลาซในบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลดำ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 50,000 - 500,000 คนในตุรกี โดยเฉพาะในบริเวณรอยต่อกับจอร์เจีย และราว 30,000 คน ในจอร์เจี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาลาซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวาน

ษาสวาน (ლუშნუ ნინ, lushnu nin in Svan; სვანური ენა, svanuri ena in Georgian) เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของจอร์เจี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาสวาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจอร์เจีย

ษาจอร์เจีย หรือ ภาษาคาร์ตเวเลียน (Kartuli; Georgian, Kartvelian) เป็นภาษาทางการของประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในเทือกเขาคอเคซัส เป็นภาษาหลักของประชากรประมาณ 4,000,000 คนในประเทศจอร์เจียเอง (คิดเป็น 83% ของประชากร) และอีก 3.4 ล้านคนในประเทศอื่น ๆ (ส่วนใหญ่ใน ตุรกี รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรป และชุมชนขนาดเล็กในอิหร่านและอาเซอร์ไบจาน) เป็นภาษาทางวรรณกรรมสำหรับ กลุ่มชนชาติทางมานุษยวิทยาของชาวจอร์เจียทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่พูดภาษาคอเคซัสใต้ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ ชาวสวาน (Svan), ชาวเมเกรเลียน (Megrelian), และลาซ (Laz) จอร์จเอีย จอร์จเอีย จอร์จเอีย จอร์จเอีย.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเมเกรเลีย

ษาเมเกรเลีย (Megrelian หรือ Mingrelian ภาษาเมเกรเลีย: მარგალური ნინა, margaluri nina, ภาษาจอร์เจีย: მეგრული ენა, megruli ena) เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของจอร์เจีย ภาษานี้เคยเรียกว่าภาษาไอเวอเรียน (ภาษาจอร์เจีย iveriuli ena) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และภาษาเมเกรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อับคาเซีย

อับฮาเซีย (Аҧсны, აფხაზეთი, Абха́зия) เป็นเขตการปกครองที่เกิดข้อโต้แย้งบนชายฝั่งตะวันออกของทะเลดำ ติดกับสหพันธรัฐรัสเซียทางเหนือ ติดกับบริเวณซาเมเกรโล-เซโม สวาเนตีของจอร์เจียทางตะวันออก เป็นที่ตั้งของสาธารณรัฐอับฮาเซีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐเอกราชโดยพฤตินัยแต่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติ อยู่ภายในแนวชายแดนของจอร์เจีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอยู่เพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรอง ได้แก่ รัสเซีย เวเนซุเอลา นิการากัว นาอูรู โอเซเทียใต้ และทรานส์นิสเทรีย (สองประเทศหลังนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน) รัฐบาลจอร์เจียถือว่าอับฮาเซียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของตน โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง (აფხაზეთის ავტონომიური რესპუბლიკა, Аҧснытәи Автономтәи Республика) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และอับคาเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจอร์เจีย

อักษรจอร์เจีย เป็นอักษรที่ใช้ในภาษาจอร์เจีย ปรากฏครั้งแรก ราวพ.ศ. 973 ในจารึกที่พบที่โบสถ์ ในปาเลสไตน์ ขณะนั้น เขียนด้วยอักษรที่รู้จักกันในชื่อ Asomtavruli (อักษรตัวใหญ่) หรือ Mrglovani (อักษรตัวกลม) ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงราว..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และอักษรจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์เจีย

อร์เจีย (Georgia; საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์มีเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และประเทศจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้และประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มจอร์เจียภาษากลุ่มคอเคซัสใต้ภาษากลุ่มคอเคเซียนใต้ตระกูลภาษาคอเคซัสใต้ตระกูลภาษาคอเคเซียนใต้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »