โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แคลคูลัสเชิงประพจน์

ดัชนี แคลคูลัสเชิงประพจน์

แคลคูลัสเชิงประพจน์ คือระบบรูปนัยสำหรับการใช้เหตุผลแบบนิรนัย ที่มีหน่วยพื้นฐานคือตัวแปรเชิงประพจน์ (ซึ่งจะแตกต่างจากตรรกศาสตร์ภาคแสดงที่อาจมีการใช้ ตัวบ่งปริมาณ และมีหน่วยพื้นฐานคือฟังก์ชันเชิงประพจน์ และตรรกศาสตร์อัญรูปที่หน่วยพื้นฐานอาจไม่ใช่ประโยคระบุความจริง) ในที่นี้ แคลคูลัส คือระบบทางตรรกศาสตร์ที่ใช้สำหรับพิสูจน์ทั้งสูตร (นั่นคือทฤษฎีบทที่ได้จากระบบนั้น) และการอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผล แคลคูลัสคือเซตของสัจพจน์ (ที่อาจเป็นเซตว่างหรืออาจเป็นเซตอนันต์นับได้) และกฎการอนุมานสำหรับการสร้างการอนุมานที่สมเหตุสมผล ไวยากรณ์รูปนัย (หรือ วากยสัมพันธ์) จะนิยามนิพจน์และสูตรที่จัดดีแล้ว (well-formed formular หรือ wff) ของภาษาแบบเวียนเกิด นอกจากนี้จะต้องมีการระบุความหมาย (อรรถศาสตร์) ที่นิยามความจริงและค่าต่าง ๆ (หรือการตีความ) ทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถตัดสินได้ว่าสูตรที่จัดดีแล้วสูตรใดสมเหตุสมผล ในแคลคูลัสเชิงประพจน์นั้น ภาษาจะประกอบด้วยตัวแปรเชิงประพจน์ และตัวดำเนินการเชิงประโยค (หรือ ตัวเชื่อม) สูตรที่จัดดีแล้ว คือสูตรที่เป็นหน่วยพื้นฐาน หรือสูตรที่สร้างโดยใช้ตัวดำเนินการเชิงประโยค ต่อไปเราจะได้แสดงรูปแบบมาตรฐานของแคลคูลัสเชิงประพจน์อย่างคร่าว ๆ รูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากนี้ก็ยังมีใช้อยู่ ข้อแตกต่างที่พบจะมีในส่วนของ (1) ภาษา (ตัวดำเนินการและตัวแปรใดบ้างที่จัดว่าเป็นส่วนของภาษา) (2) สัจพจน์ใดที่ใช้ และ (3) กฎการอนุมานที่ใช้.

7 ความสัมพันธ์: การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์การเรียกซ้ำการเลือกเชิงตรรกศาสตร์อรรถศาสตร์ตัวดำเนินการตรรกะนิเสธเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์

การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์

การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (logical conjunction) หรือที่มักเรียกว่า และ (and) คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นจริง ถ้าตัวถูกดำเนินการทั้งสองตัวมีค่าเป็นจริง.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และการเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเรียกซ้ำ

การเรียกซ้ำ (recursion) หรือ การเวียนเกิด (recurrence) เป็นปรากฏการณ์ที่มีการกลับไปอ้างอิงถึงตนเอง (self-reference) หรือมีนิยามเช่นเดียวกันในลำดับต่ำลงไป ปรากฏการณ์นี้มีปรากฏในหลายด้านเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ศิลปะ ดนตรี การสร้างปฏิทรรศน์ เป็นต้น.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และการเรียกซ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกเชิงตรรกศาสตร์

การเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (logical disjunction) หรือที่มักเรียกว่า หรือ คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นจริง ถ้าตัวถูกดำเนินการบางตัว (หรือทั้งสองตัว) มีค่าเป็นจริง.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถศาสตร์

อรรถศาสตร์ (อังกฤษ: semantics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคำ วลี สัญลักษณ์ และความหมาย อรรถศาสตร์ในทางภาษาศาสตร์คือ การศึกษาความหมายที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อสารผ่านทางภาษา นอกจากนี้ยังมีอรรถศาสตร์ของภาษาโปรแกรม ตรรกศาสตร์ และการศึกษาสัญลักษณ์เชิงภาษาและการสื่อสาร (semiotics) คำว่า อรรถศาสตร์ นั้นหมายถึง ขอบเขตความคิดตั้งแต่ระดับที่ใช้กันทั่วไปจนถึงระดับสูง มักใช้ในภาษาทั่วไปเพื่ออธิบายปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้คำ หรือความหมายโดยนัย ปัญหาความเข้าใจนี้กลายเป็นประเด็นเกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อไต่สวนหรือสอบถามแบบทางการมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอรรถศาสตร์เชิงกิจจะลักษณะ (formal semantics) ในภาษาศาสตร์นั้น อรรถศาสตร์ยังศึกษาเกี่ยวกับการแปลความหมายจากป้ายและสัญลักษณ์ที่เหล่าองค์กรและชุมชนใช้ในสถานการณ์และบริบทหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ หากพิจารณาอย่างละเอียด เสียง การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย และการศึกษาบุคคลต่างวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ยังมีสาระที่เกี่ยวข้องกับการหาความหมาย ซึ่งแต่ละปัจจัยนี้ยังมีสาขาที่ศึกษาแยกออกไปอีก ในภาษาเขียน เรื่องของโครงสร้างในย่อหน้า และเครื่องหมายวรรคตอน ต่างก็มีเรื่องของการหาความหมายมาเกี่ยวข้อง หรือในรูปแบบอื่นๆ ของภาษา ก็ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหาความหมายเช่นกัน วิชาอรรถศาสตร์จะต่างกับวากยสัมพันธ์หรือไวยากรณ์ (syntax) ซึ่งศึกษาถึงหน่วยของภาษาที่ประกอบกันโดยไม่คำนึงถึงความหมาย และต่างกับวจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics) ซึ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ของภาษา ความหมาย และผู้ใช้ภาษานั้น.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และอรรถศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวดำเนินการตรรกะ

ในแคลคูลัสเชิงประพจน์, ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ หรือ ตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์ ใช้เพื่อเชื่อมประโยคให้เป็นประโยคที่ซับซ้อนขึ้น พิจารณาตัวอย่างของประโยคที่ว่า "ฝนตก" และ "ฉันอยู่ในบ้าน" เราสามารถเชื่อมประโยคทั้งคู่ได้เป็น "ฝนตก และ ฉันอยู่ในบ้าน", หรือ "ฝน ไม่ ตก", หรือ "ถ้า ฝนตก, แล้ว ฉันอยู่ในบ้าน" ประโยคใหม่ที่ได้จากการเชื่อมประโยคเรียกว่า ประโยคเชิงซ้อน หรือ ประพจน์เชิงซ้อน ตัวดำเนินการพื้นฐานมี: "นิเสธ" (¬ หรือ ~), "และ" (∧ หรือ &), "หรือ" (∨), "เงื่อนไข" (→), และ "เงื่อนไขสองทาง" (↔).

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และตัวดำเนินการตรรกะ · ดูเพิ่มเติม »

นิเสธ

นิเสธ มีความหมายพื้นฐานคือผลที่ได้จากการเปลี่ยนค่าความจริงของประโยค ไปเป็นตรงกันข้าม การทำให้เป็นนิเสธคือการดำเนินการสำคัญที่ใช้ในตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และไวยากรณ.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และนิเสธ · ดูเพิ่มเติม »

เงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์

ในแคลคูลัสเชิงประพจน์ เงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์แบบทวิภาค ที่เชื่อมสองประโยค 'p' และ 'q' ให้เป็น: "ถ้า p แล้ว q" เราเรียก p ว่าเป็น สมมติฐาน (หรือ เหตุ) และ q ว่าเป็น ข้อสรุป (หรือ ผล) ตัวดำเนินการนี้มักเขียนด้วยลูกศรไปทางขวา → สมมติฐานบางครั้งก็เรียกว่าเงื่อนไขพอเพียงสำหรับข้อสรุป ในขณะที่ข้อสรุปมักถูกเรียกว่าเงื่อนไขจำเป็นสำหรับสมมติฐาน การตีความหมายของเงื่อนไขนั้น มีได้หลายแบบ ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขนั้นเป็นตัวแทนของมโนทัศน์ที่คล้ายคลึงกันหลาย ๆ ประการ ซึ่งแต่ละแบบจะมีชื่อและสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน (เช่น →, ⊃, ⇒) มีความสัมพันธ์กันอยู.

ใหม่!!: แคลคูลัสเชิงประพจน์และเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตรรกศาสตร์เชิงประพจน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »