โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตุลาคม

ดัชนี ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2432พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกลุ่มดาวหญิงสาวกลุ่มดาวคันชั่งภาษาละตินราศีพิจิกราศีตุลวันวันรักต้นไม้แห่งชาติวันสหประชาชาติวันออกพรรษาวันอาหารโลกวันตำรวจวันปิยมหาราชวันไปรษณีย์โลกวันเทคโนโลยีของไทยฮาโลวีนปฏิทินจันทรคติไทยปฏิทินเกรโกเรียนปีโหราศาสตร์เดือน1 ตุลาคม13 ตุลาคม16 ตุลาคม19 ตุลาคม21 ตุลาคม23 ตุลาคม24 ตุลาคม31 ตุลาคม5 ตุลาคม9 ตุลาคม

พ.ศ. 2432

ทธศักราช 2432 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1889 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตุลาคมและพ.ศ. 2432 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ตุลาคมและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: ตุลาคมและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหญิงสาว

กลุ่มดาวหญิงสาว หรือ กลุ่มดาวกันย์ (♍) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายโดยอาศัยดาวรวงข้าว ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่ม หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวหญิงสาว.

ใหม่!!: ตุลาคมและกลุ่มดาวหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคันชั่ง

กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล (♎) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี แต่ไม่เด่นชัดเนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์สว่าง กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นส่วนก้ามของแมงป่อง ดังหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลือในชื่อดาว คันชั่ง กลุ่มดาวคันชั่ง.

ใหม่!!: ตุลาคมและกลุ่มดาวคันชั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ตุลาคมและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพิจิก

ราศีพิจิก หรือ ราศีพฤศจิก (Scorpius, Scorpio จากscorpius, scorpiō แปลว่า "แมงป่อง") เป็นราศีที่ 8 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีตุลกับราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็นแมงป่อง (บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 22 พฤศจิกายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม.

ใหม่!!: ตุลาคมและราศีพิจิก · ดูเพิ่มเติม »

ราศีตุล

ราศีตุล หรือ ราศีดุล (Libra จากlībra แปลว่า "คันชั่ง, ตราชู") เป็นราศีที่ 7 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกันย์กับราศีพิจิก มีสัญลักษณ์เป็นคันชั่งหรือตราชู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 23 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน.

ใหม่!!: ตุลาคมและราศีตุล · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ตุลาคมและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วันรักต้นไม้แห่งชาติ

วันรักต้นไม้แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มีพระปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ โดยทรงปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยพระองค์มาตลอดพระชนม์ชีพ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ใหม่!!: ตุลาคมและวันรักต้นไม้แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วันสหประชาชาติ

งสหประชาชาติ วันสหประชาชาติ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้คนทั่วโลกทราบถึงเป้าหมาย จุดประสงค์และการบรรลุผลของสหประชาชาติ โดยกำหนดวันที่กฎบัตรสหประชาชาติ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันกำเนิดขององค์การสหประชาชาติ และในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้มีมติของสหประชาชาติที่ 2782 (XXVI) สนับสนุนให้วันสหประชาชาติเป็นวันหยุดประจำชาติในประเทศสมาชิกทุกๆ ประเท.

ใหม่!!: ตุลาคมและวันสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วันออกพรรษา

ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไปเพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เราเรียกกันว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เสียก่อนสรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 "วันออกพรรษา" (ตามที่เข้าใจกัน) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรม คือ การปวารณาในวันนี้ วันออกพรรษา (ออกปุริมพรรษา) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย การปวารณา ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระภิกษุโดยเฉพาะ เรียกว่า เป็นญัตติกรรมวาจา (สังฆกรรม) ประเภทหนึ่ง ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาส (3 เดือน) สามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่ตนเองที่ตั้งใจปฏิบัติตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา ส่วนพระสงฆ์จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส (3 เดือน) หรือในวันถัดไปคือ วันออกพรรษา(จริง) (คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญเทศกาลบาตรเทโว หรือ บาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก ลงมายังโลกมนุษย์หลังจากการโปรดเทพบุตร อดีตพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา บนสวรรค์ดาวดึงส์ (ชั้นที่ 2) ในพรรษาที่ 7 เสด็จลงมายังเมืองสังกัสสะ พร้อมกับทรงแสดงไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ (ทรงปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้ง 3. เอดการ์ด, มิดท์การ์ด, เอิร์ท) กฐินกาล คือ ช่วงเวลาที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง) เป็นช่วงเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ในช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปี เป็นการนำผ้าจีวร ถวายพระพุทธรูปและพระสงฆ์ในวัดต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง.

ใหม่!!: ตุลาคมและวันออกพรรษา · ดูเพิ่มเติม »

วันอาหารโลก

วันอาหารโลก (World Food Day) ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี เนื่องในวันก่อตั้งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 1945.

ใหม่!!: ตุลาคมและวันอาหารโลก · ดูเพิ่มเติม »

วันตำรวจ

วันตำรวจของไทย ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" (ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ") กรมตำรวจจึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันตำรวจ" โดยมีการประกอบพิธีในวันตำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ในปี พ.ศ. 2494 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้จัดให้มีพิธีเดินสวนสนาม และปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นได้ระงับการจัดพิธีเดินสวนสนามที่เป็นการรวมหน่วยทุกหน่วยของตำรวจ ประกอบแต่พิธีทางศาสนาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว ในวันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม..

ใหม่!!: ตุลาคมและวันตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช (English: Chulalongkorn Day) ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" ในวันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี.

ใหม่!!: ตุลาคมและวันปิยมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

วันไปรษณีย์โลก

วันไปรษณีย์โลก (World Post day) จะมีขึ้นทุกปีในวันที่ 9 ตุลาคม เพื่อเป็นการระลึกถึง วันเริ่มก่อตั้งสหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union หรือ UPU) และเป็นวันลงนามสนธิสัญญาแบร์น ในปี..

ใหม่!!: ตุลาคมและวันไปรษณีย์โลก · ดูเพิ่มเติม »

วันเทคโนโลยีของไทย

วันเทคโนโลยีของไทย (19 ตุลาคม) เป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน และกิจกรรมเกี่ยวกับการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”การใช้คำว่า "พระบิดา" นี้ อาจจะไม่ถูกต้องทางด้านการใช้ภาษาเพราะ "เทคโนโลยีมิใช่เจ้า" จึงไม่มี "พระบิดา" แต่ผู้ใช้คำนี้อาจจะต้องการมุ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ "ทรงเป็นเจ้า" โดยเรื่องนี้ยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการภาษา เก็บความจาก โดยมีการเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544.

ใหม่!!: ตุลาคมและวันเทคโนโลยีของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฮาโลวีน

''Snap-Apple Night'' วาดโดย Daniel Maclise ในปี 1833 แสดงฮาโลวีนในไอร์แลนด์ ฮาโลวีน (Halloween, เสียงอ่าน /ˌhæləˈwiːn, -oʊˈiːn, ˌhɑːl-/, กร่อนเสียงจาก "ออลแฮโลอีฟนิง" หมายถึง "เย็นนักบุญทั้งหลาย") เป็นเทศกาลประจำปีเฉลิมฉลองในหลายประเทศทุกวันที่ 31 ตุลาคม อันเป็นวันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายของศาสนาคริสต์ตะวันตก นักวิชาการจำนวนมากว่า ออลแฮโลวส์อีฟ (All Hallows' Eve) เป็นวันสมโภชที่ศาสนาคริสต์รับมาซึ่งเดิมได้รับอิทธิพลจากเทศกาลเก็บเกี่ยวของเคลต์ โดยอาจมีเหง้าเพเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาวิน (Samhain) ของชาวเกล (Gaels) นักวิชาการบางส่วนยังยืนยันว่า ฮาโลวีนกำเนิดขึ้นแยกกับซาวินและมีเหง้าศาสนาคริสต์อย่างเดียว กิจกรรมฮาโลวีนตรงแบบมีทริกออร์ทรีต (trick-or-treating) ร่วมงานเลี้ยงเครื่องแต่งกาย ประดับตกแต่ง แกะสลักฟักทองเป็นแจ็กโอแลนเทิร์น (jack-o'-lantern) จุดคบเพลิง ไปบ้านผีสิงที่จัดขึ้น เล่นตลก เล่าเรื่องสยองขวัญและดูภาพยนตร์สยองขวัญ.

ใหม่!!: ตุลาคมและฮาโลวีน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: ตุลาคมและปฏิทินจันทรคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินเกรโกเรียน

ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม..

ใหม่!!: ตุลาคมและปฏิทินเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: ตุลาคมและปี · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์

หราศาสตร์ (Astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์,ปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า เป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์ และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใดๆในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11.

ใหม่!!: ตุลาคมและโหราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ตุลาคมและเดือน · ดูเพิ่มเติม »

1 ตุลาคม

วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 274 ของปี (วันที่ 275 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 91 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ1 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

13 ตุลาคม

วันที่ 13 ตุลาคม เป็นวันที่ 286 ในปีปรกติสุรทิน และเป็นวันที่ 287 ในปีอธิกสุรทินตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน โดยเมื่อถึงวันนี้ จะเหลือวันอีก 79 หรือ 78 วันในปีนั้นแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: ตุลาคมและ13 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

16 ตุลาคม

วันที่ 16 ตุลาคม เป็นวันที่ 289 ของปี (วันที่ 290 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 76 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ16 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 ตุลาคม

วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันที่ 292 ของปี (วันที่ 293 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 73 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ19 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 ตุลาคม

วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันที่ 294 ของปี (วันที่ 295 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 71 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ21 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 ตุลาคม

วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันที่ 296 ของปี (วันที่ 297 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 69 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ23 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 ตุลาคม

วันที่ 24 ตุลาคม เป็นวันที่ 297 ของปี (วันที่ 298 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 68 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ24 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

31 ตุลาคม

วันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันที่ 304 ของปี (วันที่ 305 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 61 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ31 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

5 ตุลาคม

วันที่ 5 ตุลาคม เป็นวันที่ 278 ของปี (วันที่ 279 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 87 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ5 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 ตุลาคม

วันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันที่ 282 ของปี (วันที่ 283 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 83 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตุลาคมและ9 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Octoberต.ค.เดือนตุลาคม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »