โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดุมดาราจักร

ดัชนี ดุมดาราจักร

มสสิเยร์ 81 ดาราจักรที่มีดุมแบบดั้งเดิม (classical bulge) สังเกตว่าโครงสร้างแบบก้นหอยสิ้นสุดลงที่ขอบของดุม ภาพเมสสิเยร์ 63 ดาราจักรที่มีดุมแบบไม่ใช่ดุมดั้งเดิม (non-classical bulge) โครงสร้างก้นหอยจะหมุนวนลงไปจนถึงบริเวณใจกลางของดาราจักร ในทางดาราศาสตร์ ดุมดาราจักร (Galactic bulge) คือส่วนที่มีดาวฤกษ์เกาะกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในดาราจักร มักใช้ในความหมายถึงกลุ่มดาวฤกษ์ใจกลางดาราจักรที่พบในดาราจักรชนิดก้นหอยโดยส่วนใหญ่ แต่เดิมเคยเชื่อกันว่าดุมดาราจักรนี้เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีจานดาวฤกษ์อยู่รอบๆ แต่จากภาพถ่ายความละเอียดสูงโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เผยให้ทราบว่า ดุมดาราจักรจำนวนมากมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับดาราจักรชนิดก้นหอยมากกว่า ในปัจจุบันนี้เชื่อกันว่า มีดุมดาราจักรอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด คือชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดรี กับชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดก้นหอย ดุมดาราจักรแบบดั้งเดิม (classical bulge) จะมีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดรี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งเก่าแก่กว่า และมีสีค่อนไปทางแดง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในดุมชนิดนี้มักเป็นไปแบบไม่เป็นระเบียบ ส่วนดุมดาราจักรที่มีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดก้นหอยจะมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่า และจะเรียกว่า pseudobulges หรือ disky-bulges ดาวฤกษ์จะเคลื่อนที่แบบเป็นระเบียบไปตามทิศทางของระนาบดาราจักรหรือแผ่นจานดาราจักรด้านนอก.

11 ความสัมพันธ์: กลดดาราจักรกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรระบบพิกัดดาราจักรจานดาราจักรดาราศาสตร์ดาราจักรดาราจักรชนิดก้นหอยดาราจักรรีดาวฤกษ์ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

กลดดาราจักร

กลดดาราจักร (Galactic halo) หมายถึงบริเวณหนึ่งของดาราจักรที่มีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม ขยายตัวออกมาจากส่วนหลักของดาราจักรที่มองเห็นได้ชัดเจน ห่อหุ้มดาราจักรเอาไว้ แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ในแบบเดียวกับดาราจักร สามารถหมายถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้คือ.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและกลดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร

การศึกษาเรื่องการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการกำเนิดเอกภพที่มีลักษณะแตกต่างกันจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน การกำเนิดของดาราจักรแรก ๆ การเปลี่ยนแปลงของดาราจักรตามกาลเวลา และกระบวนการที่ก่อให้เกิดโครงสร้างแบบต่าง ๆ จากที่มีการสังเกตดาราจักรข้างเคียง โดยการศึกษาในเรื่องนี้เป็นการศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การกำเนิดดาราจักร เชื่อว่าเกิดจากทฤษฎีการกำเนิดโครงสร้าง (structure formation theories) ซึ่งเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ทางควอนตัมซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเกิดบิกแบง (Big Bang) วิวัฒนาการการกำเนิดหลุมดำนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากโครงสร้างของแบบจำลองแลมดา-ซีดีเอ็ม(\Lambda) ซึ่งว่าด้วยวัตถุที่เย็นและมืดในจักรวาล โดยกล่าวว่าการรวมตัวของดาราจักรนั้นเป็นเพิ่มมวลที่สามารถจะคาดการณ์รูปร่างและโครงสร้างได้.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดดาราจักร

ระบบพิกัดดาราจักร เป็นระบบพิกัดท้องฟ้าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ดวงอาทิตย์และวางแกนตามแนวศูนย์กลางปรากฏของดาราจักรทางช้างเผือก โดยที่ "เส้นศูนย์สูตร" อยู่ที่ระนาบของดาราจักร และมีค่าละติจูด ลองจิจูด ในลักษณะใกล้เคียงกับระบบพิกัดภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

จานดาราจักร

จานดาราจักร เป็นส่วนประกอบของดาราจักรจาน อย่างเช่น ดาราจักรชนิดก้นหอยหรือดาราจักรรูปเลนส์ ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่นและดาวฤกษ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบที่เป็นแก๊สและฝุ่นของจานดาราจักร เรียกว่า แผ่นก๊าซ ส่วนประกอบที่เป็นดาวฤกษ์ของจานดาราจักรเรียกว่า แผ่นดาราจักร จานดาราจักรเป็นระนาบที่พบกังหัน คานและจานของดาราจักรจาน จานดาราจักรมักจะมีแก๊สและฝุ่น ตลอดจนดาวฤกษ์อายุน้อยมากกว่าดุมดาราจักรหรือกลดดาราจักร หมวดหมู่:ดาราจักร.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและจานดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรชนิดก้นหอย

ราจักรชนิดก้นหอย M 101 หรือ NGC 5457 ดาราจักรชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรชนิดก้นหอยประกอบด้วยแผ่นจานหมุนแบนๆ ของดาวฤกษ์ แก๊ส และฝุ่น มีจุดศูนย์กลางเป็นกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นเรียกว่าดุมดาราจักร ล้อมรอบด้วยกลุ่มกลดแบบจางๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรชนิดก้นหอยได้ชื่อนี้จากรูปร่างภายนอกที่มองเห็น ซึ่งมักมีแขนสองแขนเป็นรูปก้นหอยยืดต่อออกมาจากดุมที่ใจกลางไปเชื่อมกับแผ่นจาน แขนก้นหอยเป็นแหล่งซึ่งดาวฤกษ์กำลังก่อตัวใหม่ มักสว่างกว่าบริเวณที่เป็นแผ่นจานโดยรอบ เพราะมีดาวฤกษ์ที่อายุน้อยและร้อนจัด ประมาณครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยทั้งหมดพบว่าอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างก้นหอยมีคาน ยืดต่อออกมาจากดุม เชื่อว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราก็จัดเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน แม้ว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างคานจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจากตำแหน่งของโลกเราที่อยู่บนจานหมุน สมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดได้มาจากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ในการสำรวจบริเวณใจกลางดาราจักร ดาราจักรชนิดก้นหอยพบอยู่มากเป็นจำนวนถึง 70% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา พบได้มากที่สุดในเขตที่มีความหนาแน่นต่ำ และไม่ค่อยพบที่ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและดาราจักรชนิดก้นหอย · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรรี

ราจักรรีขนาดยักษ์ ESO 325-G004 ดาราจักรรี (Elliptical Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรรีอาจมีรูปร่างตั้งแต่เกือบเป็นทรงกลม ไปจนถึงแบบเรียวรีมากๆ และอาจมีดาวฤกษ์ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยล้านดวง ไปจนถึงนับล้านล้านดวง ในระดับมหภาค ดาวฤกษ์หลายดวงจะจับกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรรีส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ที่มีอายุมากและมีมวลน้อย มีสสารระหว่างดาวอยู่เบาบาง อัตราการเกิดดาวฤกษ์ใหม่ก็ต่ำมาก เชื่อว่าดาราจักรรีมีอยู่ประมาณ 10-15% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา และมักพบอยู่ใกล้ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและดาราจักรรี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: ดุมดาราจักรและความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »