โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวเทียมสปุตนิก 1

ดัชนี ดาวเทียมสปุตนิก 1

ปุตนิก 1 (Спутник-1; IPA:; Sputnik 1) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก สหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 ซึ่งโคจรสามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500กิโลกรัมวงโคจรวงโคจรต่ำของโลกสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคสงครามเย็นอะลูมิเนียมดาวเทียมประเทศคาซัคสถานนาซาไบโคนูร์คอสโมโดรมไอโอโนสเฟียร์4 ตุลาคม

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจร

นีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน เทหวัตถุสองอย่างที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจร แบบ barycenter ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system) ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจรต่ำของโลก

แสดงทิศทางการยิงวัตถุ และความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่วงโคจร วงโคจรระดับต่างๆ รอบโลก เขตสีเขียวคือเขตวงโคจรต่ำของโลก วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit; LEO) เป็นคำที่ใช้หมายถึงวงโคจรในระดับโลกัสที่ออกจากพื้นผิวโลกไปไม่เกินระดับ 2,000 กิโลเมตร โดยทั่วไประดับที่ยอมรับกันคือที่ความสูงระหว่าง 160-2000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และวงโคจรต่ำของโลก · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (คาซัคҚазақ Кеңестік Социалистік Республикасы, Qazaq Keñestik Socïalïstik Respwblïkası;รัสเซีย (Казахская Советская Социалистическая Республика - КССР, Kazakhskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika - KSSR) เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของ สหภาพโซเวียต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1920 เริ่มแรกถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองคีร์กีซ (Kirghiz ASSR) และเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียต ต่อมาวันที่ 15-19 เมษายน ปีค.ศ. 1925 ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตคาซัค และในวันที่ 5 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1936 ถูกยกระดับให้กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (Kazakh SSR) ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 1950 – 1960 พลเมืองโซเวียตถูกกระตุ้นให้ตั้งถิ่นฐานยังโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค การไหลหลั่งเข้ามาของผู้อพยพย้ายถิ่นเช่น รัสเซีย (อพยพเข้ามาเป็นส่วนใหญ่) ยูเครน เยอรมัน ยิว เบลารุส เกาหลี ทำให้เกิดการผสมผสานในหลายเชื้อชาติจนมีจำนวนของชาวต่างชาติมากกว่าชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้มีการใช้ภาษาคาซัคน้อยลงแต่ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกตั้งแต่ถูกแยกตัวออกมาเป็นอิสระ วันที่ 10 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1991 Kazakh SSR ถูกเรียกใหม่ว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan) และแยกตัวเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ในวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งคาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐสุดท้ายที่แยกตัวออกมาก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

ไบโคนูร์คอสโมโดรม

"กาการินส์สตาร์ท" หนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์คอสโมโดรม แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของไบโคนูร์คอสโมโดรมในประเทศคาซัคสถาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม (Космодром Байконур; Байқоңыр ғарыш айлағы; Baikonur Cosmodrome) หรือเรียกว่า ไทยูเรตัม (Tyuratam) เป็นศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำเซียร์ดาเรีย ใกล้กับสถานีรถไฟไทยูเรตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน ไบโคนูร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ถูกปล่อยจำนวนมากทุกปี วอสตอก 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ท" ตามชื่อของนักบินคือ ยูริ กาการิน เช่นเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และไบโคนูร์คอสโมโดรม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอโนสเฟียร์

ไอโอโนสฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกที่กลายเป็นไออนเนื่องจากการแผ่รังสีสุริยะ อยู่ภายในชั้นเทอร์โมสเฟียร์ชั้นไอโอโนสเฟียร์เป็นชั้นที่ปกป้องรังสีจากดวงอาทิตย์ไม่ให้เข้ามามากและป้องกันคลื่นรังสีจากขั้วโลกทั้ง สองไม่ให้เข้ามารบกวนคลื่นในโลกเรา ชั้นนี้เป็นชั้นที่ติดต่อกันกับชั้นขอบอวกาศนอกโลก หมวดหมู่:บรรยากาศ.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และไอโอโนสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

4 ตุลาคม

วันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันที่ 277 ของปี (วันที่ 278 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 88 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเทียมสปุตนิก 1และ4 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SputnikSputnik 1สปุตนิก 1สปุตนิคสปุตนิค 1ดาวเทียมสปุตนิค 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »