โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวนักขัตฤกษ์

ดัชนี ดาวนักขัตฤกษ์

วนักขัตฤกษ์ หรือ ดาวนักษัตรฤกษ์ เรียกย่อว่าดาวฤกษ์ ในทางโหราศาสตร์ไทยและภารตะ หมายถึงกลุ่มดาวที่มีตำแหน่งคงตัว 27 กลุ่มที่เรียงตัวกันบนฟากฟ้า ในวิชาโหราศาสตร์ เมื่อจะให้ฤกษ์หรือพยากรณ์ชีวิตบุคคล ก็จะต้องดูว่าดวงจันทร์ ในขณะที่เกิดหรือทำการนั้น ทับดาวนักขัตฤกษ์ที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้อาจดูให้ละเอียดลงไปถึงลัคนาด้วยว่าอยู่ในกลุ่มดาวใด ดาวฤกษ์ต่างจากดาวเคราะห์ตรงที่ดาวเคราะห์สามารถเคลื่อนที่ไปในจักรราศีได้ และสามารถบันดาลชะตาต่อบุคคลหรือสถานที่ได้ ซึ่งในทางโหราศาสตร์จัดว่าดวงอาทิตย์เป็นดาวเคราะห์ด้วย ฤกษ์แต่ละฤกษ์กินอาณาเขต 800 ลิปดา แบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้สี่ส่วนเรียกว่าบาท มีขนาดเท่ากับนวางค์ของราศี คือ 200 ลิปดา ฤกษ์ใดที่บาททั้งสี่อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกฤกษ์นั้นว่าบูรณฤกษ์ หมายถึงฤกษ์ครบถ้วน หรือฤกษ์ดีงาม ฤกษ์ใดที่มีสามบาทอยู่ราศีหนึ่ง และอีกบาทหนึ่งอยู่อีกราศี เรียกว่า ฉินทฤกษ์ แปลว่าฤกษ์แตกหัก เป็นฤกษ์ร้ายแรงมาก ส่วนฤกษ์ใดที่มีสองบาทแบ่งครึ่งสองราศี เรียกว่า พินทุฤกษ์ หรือฤกษ์เปื้อนเปรอะ เป็นฤกษ์ที่มัวหมอง ในทางดาราศาสตร์ได้ยืมคำว่าดาวฤกษ์ ไปใช้เรียกดาวที่มีการผลิตพลังงานในตัวเองโดยปฏิกิริยาหลอมตัวนิวเคลียร.

39 ความสัมพันธ์: กระจุกดาวลูกไก่กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัวกลุ่มดาวม้าบินกลุ่มดาวสิงโตกลุ่มดาวคันชั่งกลุ่มดาวคนยิงธนูกลุ่มดาวงูไฮดรากลุ่มดาวปลากลุ่มดาวปูกลุ่มดาวนกกากลุ่มดาวนกอินทรีกลุ่มดาวนายพรานกลุ่มดาวแกะกลุ่มดาวแมงป่องกลุ่มดาวแอนดรอมิดากลุ่มดาวโลมาการหลอมนิวเคลียสราศีพฤษภราศีพิจิกราศีกรกฎราศีกันย์ราศีกุมภ์ราศีมกรราศีมีนราศีสิงห์ราศีธนูราศีตุลราศีเมษราศีเมถุนลัคนาดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาวบีเทลจุสดาวรวงข้าวดาวฤกษ์ดาวดวงแก้วดาวนักษัตรแบบจีนดาวโรหิณีดาวเคราะห์

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว ตำแหน่งดาวในกระจุกดาวกับดาวอัลดิบาแรน กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวเฮียเดส (Hyades; Ὑάδες; หรือบ้างก็เรียก เมล็อต 25, คอลลินเดอร์ 50 หรือ แคดเวลล์ 41) เป็นกระจุกดาวเปิดที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด และเป็นหนึ่งในบรรดากระจุกดาวที่เป็นตัวอย่างการศึกษาได้ดีที่สุด กระจุกดาวนี้อยู่ห่างออกไป 151 ปีแสง ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ประมาณ 300 - 400 ดวงเกาะกันเป็นทรงกลมอย่างหยาบๆ ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุใกล้เคียงกัน จุดกำเนิดเดียวกัน องค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน และมีการเคลื่อนที่ผ่านอวกาศเหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวม้าบิน

กลุ่มดาวม้าบิน เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อตามเพกาซัส สัตว์ในเทพนิยายกรีก นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์สว่าง 4 ดวงในกลุ่ม เรียงกันเป็นดาวเรียงเด่นรู้จักกันในชื่อ จัตุรัสม้าบิน ดาวดวงหนึ่งใน 4 ดวงนี้ เป็นสมาชิกของทั้งกลุ่มดาวแอนดรอเมดาและกลุ่มดาวม้าบิน หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวม้าบิน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวสิงโต

กลุ่มดาวสิงโต หรือ กลุ่มดาวสิงห์ (♌) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวปูทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันออกแและเป็นกลุ่มดาวประจำเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ในราศีสิงห์ หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวสิงโต.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคันชั่ง

กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล (♎) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี แต่ไม่เด่นชัดเนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์สว่าง กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นส่วนก้ามของแมงป่อง ดังหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลือในชื่อดาว คันชั่ง กลุ่มดาวคันชั่ง.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวคันชั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนยิงธนู

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และนกเลขานุการ กลุ่มดาวคนยิงธนู หรือ กลุ่มดาวธนู (♐) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี วาดเป็นรูปคนครึ่งม้ากำลังน้าวคันธนู กลุ่มดาวคนยิงธนูอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแพะทะเลทางทิศตะวันออก ดาวสว่างในกลุ่มดาวนี้เรียงกันเป็นรูปร่างคล้ายกาน้ำ.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวคนยิงธนู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงูไฮดรา

กลุ่มดาวงูไฮดรา เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวงูไฮดรา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปลา

กลุ่มดาวปลา หรือ กลุ่มดาวมีน (♓) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแกะทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวปลาไม่มีดาวที่สว่างกว่าโชติมาตร 3 ดังนั้น กลุ่มดาวปลาจึงไม่ใช่กลุ่มดาวเด่น หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปลา.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวปลา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปู

กลุ่มดาวปู หรือ กลุ่มดาวกรกฎ (♋) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี มีขนาดเล็กและไม่สว่าง อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวแมวป่า ทางใต้ คือ กลุ่มดาวหมาเล็กและกลุ่มดาวงูไฮดรา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปู.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวปู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนกกา

กลุ่มดาวนกกา เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ในเทพปกรณัมกรีก กลุ่มดาวนี้มีดาวฤกษ์ที่สว่างมองเห็นได้ด้วยเปล่าเพียง 11 ดวง (สว่างกว่าโชติมาตร 5.5) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวนกกา.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวนกกา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนกอินทรี

กลุ่มดาวนกอินทรี เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้วางตัวอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้คือดาวตานกอินทรี (Altair) ซึ่งเป็นจุดยอดจุดหนึ่งของ "สามเหลี่ยมฤดูร้อน".

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวนกอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนายพราน

กลุ่มดาวนายพราน (Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า การที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออกมาเป็นภาพได้ดังนี้: นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์นาเป็นดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวนายพราน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแกะ

กลุ่มดาวแกะ (♈) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในจักรราศี ชื่อในภาษาละติน Aries หมายถึงแกะ อยู่ระหว่างกลุ่มดาวปลาทางด้านทิศตะวันตก กับกลุ่มดาววัวทางด้านทิศตะวันออก มี่ชื่อในภาษาละตินว่า Ram และมีสัญลักษณ์คือ 20px ตั้งชื่อโดยปโตเลมี หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแกะ.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวแกะ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมงป่อง

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ 8 อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง กลุ่มดาวแมงป่องเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวบนฟ้าที่มีลักษณะเด่นที่สุด สังเกตง่าย และถึงแม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรมกัน หลายชาติก็เรียกลักษณะของกลุ่มดาวนี้ตรงกันว่ามีรูปร่างคล้ายกับแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมงป่อง.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนดรอมิดาในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนดรอมิดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนดรอมิดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนดรอมิดาเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัดเป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง) ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้ ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเลซีตัส (Sea Monster, Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย สิ่งที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ได้แก่ ดาราจักรแอนดรอมิดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นดาราจักรขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2 ล้านปีแสง) คนแรกที่สามารถวัดระยะทางจากโลกไปถึงดาราจักรแอนดรอมิดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล (ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังดาราจักรแอนดรอมิดานั้นมากกว่าขนาดของดาราจักรทางช้างเผือก ดังนั้น ดาราจักรแอนดรอมิดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกดาราจักรหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ ถ้าถ่ายภาพดาราจักรแอนดรอมิดาด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีดาราจักรเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2 ดาราจักร คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205).

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวโลมา

กลุ่มดาวโลมา เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าเหนือ ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรฟ้า หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวโลมา.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และกลุ่มดาวโลมา · ดูเพิ่มเติม »

การหลอมนิวเคลียส

้นโค้งพลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส, นิวคลีออน (หมายถึงองค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึงโปรตอนหรือนิวตรอน) ที่มีมวลสูงถึง Iron-56 โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนพวกที่หนักกว่านั้นโดยทั่วไปจะดูดซับพลังงาน ดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานออกมาโดยการหลอมนิวเคลียสของไฮโดรเจนจนกลายเป็นฮีเลียม ในแกนกลางของมัน ดวงอาทิตย์จะหลอมไฮโดรเจน 620 ล้านเมตริกตันทุกวินาที การหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวหรือมากกว่าเข้ามาอยู่ใกล้กัน แล้วชนกันที่ความเร็วสูง รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของอะตอมใหม่ที่หนักขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ มวลของมันจะไม่เท่าเดิมเพราะมวลบางส่วนของนิวเคลียสที่รวมต้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานโปรตอน การหลอมนิวเคลียสสองนิวเคลียสที่มีมวลต่ำกว่าเหล็ก-56 (ที่ พร้อมกับนิกเกิล-62 มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนที่ใหญ่ที่สุด) โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในขณะที่การหลอมนิวเคลียสที่หนักกว่าเหล็กจะ "ดูดซับ" พลังงาน การทำงานที่ตรงกันข้ามเรียกว่า "การแบ่งแยกนิวเคลียส" ซึ่งหมายความว่าโดยทั่วไปองค์ประกอบที่เบากว่าเท่านั้นที่สามารถหลอม เช่นไฮโดรเจนและฮีเลียม และในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปองค์ประกอบที่หนักกว่าเท่านั้นที่สามารถแบ่งแยกได้ เช่นยูเรเนียมและพลูโทเนียม มีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์แบบสุดขั้วอย่างมากที่สามารถนำไปสู่​​ช่วงเวลาสั้น ๆ ของการหลอมด้วยนิวเคลียสที่หนักกว่า นี้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด nucleosynthesis ที่เป็นการสร้างธาตุหนักในช่วงเหตุการณ์ที่เรียกว่ามหานวดารา หลังการค้นพบ "อุโมงค์ควอนตัม" โดยนักฟิสิกส์ นายฟรีดริช ฮุนท์ ในปี 1929 นายโรเบิร์ต แอตกินสันและนายฟริตซ์ Houtermans ใช้มวลขององค์ประกอบเบาที่วัดได้ในการคาดการณ์ว่าจำนวนมากของพลังงานสามารถที่จะถูกปลดปล่อยจากการทำหลอมนิวเคลียสขนาดเล็ก การหลอมในห้องปฏิบัติการของไอโซโทปของไฮโดรเจน เมื่อสร้างขึ้นระหว่างการทดลองการแปรนิวเคลียสโดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่ได้ดำเนินการมาหลายปีก่อนหน้านี้ ก็ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยนายมาร์ค Oliphant ในปี 1932 ในช่วงที่เหลือของทศวรรษนั้น ขั้นตอนของวงจรหลักของการหลอมนิวเคลียสในดวงดาวได้รับการทำงานโดยนายฮันส์ Bethe การวิจัยในหลอมเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1940 เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนแฮตตัน การหลอมก็ประสบความสำเร็จในปี 1951 ด้วยการทดสอบนิวเคลียร์แบบ "รายการเรือนกระจก" การหลอมนิวเคลียสในขนาดที่ใหญ่ในการระเบิดครั้งหนึ่งได้มีการดำเนินการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1952 ในการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนรหัสไอวีไมก์ (Ivy Mike) การวิจัยเพื่อการพัฒนา thermonuclear fusion ที่ควบคุมได้สำหรับวัตถุประสงค์ทางพลเรือนก็ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1950 เช่นกัน และยังคงเป็นไปจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และการหลอมนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพฤษภ

ราศีพฤษภ (Taurus จากtaurus แปลว่า "วัวตัวผู้") เป็นราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมษกับราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 21 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีพฤษภ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพิจิก

ราศีพิจิก หรือ ราศีพฤศจิก (Scorpius, Scorpio จากscorpius, scorpiō แปลว่า "แมงป่อง") เป็นราศีที่ 8 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีตุลกับราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็นแมงป่อง (บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 22 พฤศจิกายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีพิจิก · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกรกฎ

ราศีกรกฎ (Cancer จากcancer แปลว่า "ปู") เป็นราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมถุนกับราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็นปูหรือกุ้ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีกรกฎ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกันย์

ราศีกันย์ (Virgo จากvirgō แปลว่า "หญิงพรหมจรรย์") เป็นราศีที่ 6 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีสิงห์กับราศีตุล มีสัญลักษณ์เป็นหญิงพรหมจรรย์ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกันย์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 23 กันยายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีกันย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกุมภ์

ราศีกุมภ์ (Aquarius จากaquārius แปลว่า "คนขนส่งน้ำ" (อาชีพในสมัยโบราณ)) เป็นราศีที่ 11 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีมกรกับราศีมีน มีสัญลักษณ์เป็นผู้ชายแบกหม้อน้ำ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกุมภ์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึง 19 กุมภาพันธ์ ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีกุมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีมกร

ราศีมกร หรือ ราศีมังกร (Capricorn, Capricornus จากCapricornus แปลว่า "แพะมีเขา") เป็นราศีที่ 10 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีธนูกับราศีกุมภ์ มีสัญลักษณ์เป็นครึ่งแพะภูเขาครึ่งปลา ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมกรนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 14 กุมภาพัน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีมกร · ดูเพิ่มเติม »

ราศีมีน

ราศีมีน (Pisces จากpiscēs แปลว่า "ปลา" (พหูพจน์)) เป็นราศีสุดท้ายตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกุมภ์กับราศีเมษ มีสัญลักษณ์เป็นปลา 2 ตัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมีนนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 14 เมษายน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีมีน · ดูเพิ่มเติม »

ราศีสิงห์

ราศีสิงห์ (Leo จากleō แปลว่า "สิงโตตัวผู้") เป็นราศีที่ 5 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกรกฎกับราศีกันย์ มีสัญลักษณ์เป็นสิงโต ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีสิงห์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 22 สิงหาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีธนู

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: กลุ่มดาวคนยิงธนู และนกเลขานุการ ราศีธนู (Sagittarius จากsagittārius แปลว่า "นักยิงธนู") เป็นราศีที่ 9 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีพิจิกกับราศีมกร มีสัญลักษณ์เป็นเซนทอร์กำลังยิงธนู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีธนูนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 14 มกราคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีธนู · ดูเพิ่มเติม »

ราศีตุล

ราศีตุล หรือ ราศีดุล (Libra จากlībra แปลว่า "คันชั่ง, ตราชู") เป็นราศีที่ 7 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกันย์กับราศีพิจิก มีสัญลักษณ์เป็นคันชั่งหรือตราชู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 23 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีตุล · ดูเพิ่มเติม »

ราศีเมษ

ราศีเมษ (Aries จากaries แปลว่า "แกะตัวผู้") เป็นราศีแรกตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีพฤษภ มีสัญลักษณ์เป็นแกะตัวผู้ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมษนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 20 เมษายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีเมษ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีเมถุน

ราศีเมถุน หรือ ราศีมิถุน (Gemini จากgeminī แปลว่า "ฝาแฝด" (พหูพจน์)) เป็นราศีที่ 3 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีพฤษภกับราศีกรกฎ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมถุนนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึง 15 กรกฎาคม สัญลักษณ์ของราศีนี้มีที่มาจากพี่น้องฝาแฝดแคสเตอร์และพอลลักซ์ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และราศีเมถุน · ดูเพิ่มเติม »

ลัคนา

ลัคนา (Ascendant) หรือลัคน์ หมายถึง ตำแหน่งของขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งในทางโหราศาสตร์ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของบุคคลหรือเหตุการณ์ใด ๆ ลัคนาในทางโหราศาสตร์ตะวันตกจะเขียนแทนด้วย As ส่วนทางโหราศาสตร์ไทย เขียนแทนด้วย ล, ลั หรือ ส การที่จะดูว่าลัคนาสถิตราศีใด ๆ นั้น เราจะดูว่าราศีใดเพิ่งโผล่พ้นขอบฟ้าและยังไม่พ้นหมดราศี ก็ให้ถือว่าลัคนาสถิตอยู่ ณ ราศีนั้น ๆ ลัคนาจัดเป็นจุดที่มีความสำคัญต่อการพยากรณ์มาก นั่นคือ เป็นตำแหน่งของตัวบ่งความเป็นตัวตน หรือทางโหรเรียกว่าตนุ (ลัคน์) ของบุคคลหรือเหตุการณ์ และเมื่อใดก็ตามที่มีเทวดานพเคราะห์เข้ามาสถิตในราศีเดียวกับลัคน์ ก็จะเกิดผลต่อบุคคลหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ในด้านความเป็นไป ส่วนราศีอื่น ๆ ที่เหลือจากลัคน์จะจัดให้อยู่เป็นภพต่าง ๆ เพื่ออธิบายเรื่องต่าง ๆ ทางการพยากรณ.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และลัคนา · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบีเทลจุส

วบีเทลจุส (Betelgeuse) เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (Red supergiant star) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1000 เท่า ของดวงอาทิตย์ อยู่ไกลออกไป 640 ปีแสง จึงเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกนอกระบบสุริยะ ที่เราสามารถวัดขนาดของมันได้สำเร็จ ในปี 1920 และยังเป็นดาวฤกษ์ดวงแรก ที่เราสามารถถ่ายภาพชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย สีของดวงดาวที่เปลี่ยนไป เกิดจากอุณหภูมิลดลงที่ชั้นนอกของดาว ในขณะที่ขยายขนาดออกไป ซึ่งบางครั้งจะไม่มีเสถียรภาพ อุณหภูมิ ขนาดและความสว่างจึงไม่คงที่ ดาวบีเทลจุสมีการเปลี่ยนแปลงความสว่าง จากสว่างที่สุด จางลง แล้วกลับมาสว่างที่สุดอีกครั้ง ทุกๆ 5.8 ปี.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวบีเทลจุส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวรวงข้าว

วรวงข้าว (Spica /ˈspaɪkə/; α Vir, α Virginis, Alpha Virginis) เป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างมาก หาได้ง่าย อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) ดาวรวงข้าวมีชื่อว่า Spica มาจากภาษาลาติน แปลว่า รวงข้าวที่กํากับไว้ในมือซ้าย ดาวรวงข้าวเป็นดาวยักษ์เล็กในกลุ่มดาวหญิงสาว ดาวรวงข้าวเป็นดาวแปรแสงในอันดับความสว่าง 0.95-1.04.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวรวงข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวดวงแก้ว

|- bgcolor.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวดวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวนักษัตรแบบจีน

วนักษัตรแบบจีน หรือเอ้อร์สือปาสิ้ว (จีน: 二十八宿, พินอิน:Èr Shí Bā Xiù) เป็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าลักษณะคล้ายกับดาวนักขัตฤกษ์ในโหราศาสตร์ภารตะและไทย มีทั้งหมด 28 กลุ่ม ดาวทั้ง 28 กลุ่มนี้ ถูกจัดกลุ่มให้ครองในแต่ละทิศทางทั้งสี่เป็นจำนวนเท่ากัน แต่ละทิศจะมีเทพารักษ์ทั้งสี่คอยรักษา ต่างจากในโหราศาสตร์ไทยที่ให้ดาวเคราะห์เข้าประจำเป็นเทวดารักษาฤกษ์ต่าง ๆ เนื่องจากในโหราศาสตร์ภาระตะมีดาวนักษัตรเพียง 27 กลุ่มเท่านั้น จึงทำให้มีการแทรกกลุ่มดาวชื่อ "อภิชิต" ระหว่างอุตราษาฒและศรวณะเพื่อให้ครบตามจำนวน.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวนักษัตรแบบจีน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวโรหิณี

วอัลดิบาแรน (Aldebaran; ชื่ออื่น: α Tau, α Tauri, Alpha Tauri) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาววัว และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาว ในอดีตจึงมีที่เรียกชื่อดาวนี้ว่า ดาวตาวัว ดาวอัลดิบาแรนเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดในบริเวณกระจุกดาวไฮดีส (Hyades) ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ขององค์การนาซาที่เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีเมื่อปี ค.ศ. 1973 จะเดินทางไปถึงผ่านดาวอัลดิบาแรนในประมาณอีก 2 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวโรหิณี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดาวนักขัตฤกษ์และดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »