โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศเนเธอร์แลนด์

ดัชนี ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

92 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษชาวอินเดียชาวดัตช์ชาวเยอรมันพ.ศ. 2124พ.ศ. 2191พ.ศ. 2338พ.ศ. 2353พ.ศ. 2357พ.ศ. 2382พ.ศ. 2492พ.ศ. 2497พ.ศ. 2500กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำภาษาดัตช์มกุฎราชกุมารมหาอำนาจมาร์ก รึตเตอยูโรรอตเทอร์ดามระบบรัฐสภาระดับน้ำทะเลรัฐเดี่ยวราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์รายนามนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ลิมเบิร์กวิลเฮลมึสศาลยุติธรรมระหว่างประเทศศาลอาญาระหว่างประเทศศาลอนุญาโตตุลาการถาวรสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์สหภาพยุโรปสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐดัตช์สงครามแปดสิบปีสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอัมสเตอร์ดัมอารูบาอินเทอร์เน็ตองค์การการค้าโลกองค์การห้ามอาวุธเคมีองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจฮอลแลนด์ (แก้ความกำกวม)จักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิสเปนจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสจักรวรรดิโรมัน...จังหวัดฟรีสลันด์จังหวัดยูเทรกต์จังหวัดลิมบูร์ก (เนเธอร์แลนด์)จังหวัดนอร์ทบราแบนต์จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์จังหวัดโกรนิงเงินจังหวัดโอเฟอไรส์เซิลจังหวัดเกลเดอร์ลันด์จังหวัดเดรนเทอจังหวัดเซลันด์จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ทะเลเหนือทิวลิปดยุกแห่งบูร์กอญคริสต์มาสคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียประชาธิปไตยประเทศฝรั่งเศสประเทศสเปนประเทศอินโดนีเซียประเทศองค์ประกอบประเทศซูรินามประเทศโปรตุเกสประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีประเทศเนเธอร์แลนด์แม่น้ำไรน์เบเนลักซ์เวร์มัคท์เวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเศรษฐศาสตร์เอกราชเจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์เขื่อนเดอะเฮกเนโทเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส.nl25 มีนาคม26 กรกฎาคม30 มกราคม ขยายดัชนี (42 มากกว่า) »

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอินเดีย

วอินเดีย (Indian people) เป็นประชากรของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นในเอเชียใต้หรือ 17.31% ของประชากรโลก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และชาวอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2124

ทธศักราช 2124 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2124 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2191

ทธศักราช 2191 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2191 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2353

ทธศักราช 2353 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2353 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2357

ทธศักราช 2357 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1814.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2357 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2382

ทธศักราช 2382 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1839.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2382 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2497

ทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2497 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

มกุฎราชกุมาร

มกุฎราชกุมาร (Crown Prince) หรือ มกุฎราชกุมารี (Crown Princess) เป็นพระอิสริยยศของรัชทายาทในบางประเทศ มกุฎราชกุมารจะดำรงพระอิสริยยศนี้ไปจนกว่าพระมหากษัตริย์ จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ ปัจจุบันประเทศที่เรียกรัชทายาทว่ามกุฎราชกุมารมีประเทศไทยและประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สำหรับมกุฎราชกุมารประเทศต่าง ๆ มีดังนี้.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และมกุฎราชกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก รึตเตอ

มาร์ก รึตเตอ (Mark Rutte) เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไปสมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2553 และสมัยที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2555 และหัวหน้าพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยคนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และมาร์ก รึตเตอ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และยูโร · ดูเพิ่มเติม »

รอตเทอร์ดาม

รอตเทอร์ดาม สถานีรถและอาคารรูปลูกบาศก์ในเมืองรอตเทอร์ดาม ศูนย์กลางธุรกิจของเมืองรอตเทอร์ดาม รอตเทอร์ดาม (อังกฤษ, ดัตช์: Rotterdam) เป็นเมืองท่าหลัก และเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส (Maas River) รอตเทอร์ดามนับเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอีราสมุส (Erasmus University Rotterdam) ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherland Architecture institute - NAi) รอตเทอร์ดามมีลักษณะต่างจากเมืองอื่น ๆ ในเนเธอร์แลนด์คือเป็นเมืองที่มีสถาปัตยกรรมยุคใหม่ ในปี ค.ศ. 2007 ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็น "เมืองแห่งสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และรอตเทอร์ดาม · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเดี่ยว

แผนที่แสดงประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว รัฐเดี่ยว (unitary state) เป็นรัฐซึ่งปกครองเป็นหน่วยเดี่ยว โดยรัฐบาลกลางอยู่ในระดับสูงสุด และเขตการบริหารใด ๆ (ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ) สามารถใช้อำนาจได้เฉพาะตามที่รัฐบาลกลางเลือกจะมอบหมายให้ทำการแทนเท่านั้น รัฐจำนวนมากในโลกมีรูปแบบรัฐเป็นรัฐเดี่ยว รัฐเดี่ยวตรงข้ามกับรัฐสหพันธ์ (หรือสหพันธรัฐ) ในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางอาจจัดตั้งหรือยุบหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ และอำนาจของหนวยงานเหล่านี้อาจถูกขยายเพิ่มเติมหรือย่อลงได้ แม้อำนาจทางการเมืองในรัฐเดี่ยวอาจมีการมอบหมายให้ทำการแทนผ่านการมอบอำนาจปกครองสู่รัฐบาลท้องถิ่นโดยบทกฎหมาย หากรัฐบาลกลางยังอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งอาจยกเลิกนิติกรรมของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้ สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่ง ร่วมกับแคว้นอังกฤษ เป็นสี่ประเทศอันประกอบขึ้นเป็นสหราชอาณาจักร มีอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งปกครองตนเองระดับหนึ่ง โดบทั้งสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ต่างมีฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของตนเอง แต่อำนาจที่ได้รับมอบทั้งหมดล้วนแต่เป็นที่รัฐบาลกลางของอังกฤษมอบหมายให้ทำการแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจไม่อาจคัดค้านการเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาออก และอำนาจของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น รัฐบาลกลาง (หมายถึง รัฐสภาพร้อมด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) สามารถเพิกถอนหรือลดย่อลงได้ ตัวอย่างเช่น รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือเคยถูกพักไว้สี่ครั้ง โดยอำนาจได้ถ่ายโอนไปยังสำนักไอร์แลนด์เหนือของรัฐบาลกลาง ยูเครนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐไครเมียในประเทศมีระดับการปกครองตนเองและมีคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติปกครอง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สาธารณรัฐดังกล่าวยังได้มีตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งถูกยุบไปเพราะการโน้มเอียงแบ่งแยกซึ่งเจตนาจะโอนไครเมียให้แก่รัสเซีย หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์การเมือง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และรัฐเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Koninkrijk der Nederlanden; The Kingdom of the Netherlands) เป็นรัฐเอกราชซึ่งมีดินแดนในยุโรปตะวันตกและแคริบเบียน ราชอาณาจักรสี่ส่วน อารูบา กือราเซา เนเธอร์แลนด์ และซินต์มาร์เติน ถูกเรียกว่า "ประเทศ" และมีส่วนร่วมบนรากฐานความเสมอภาคเป็นประเทศร่วม (partner) ในราชอาณาจักร ทว่าในทางปฏิบัติ เนเธอร์แลนด์ (ซึ่งมีพื้นที่และประชากรเป็นราว 98% ของราชอาณาจักร) บริหารจัดการกิจการแห่งราชอาณาจักรส่วนใหญ่ ในนามของทั้งราชอาณาจักร โดยอารูบา กือราเซาและซินต์มาร์เตินพึ่งพิงเนเธอร์แลนด์ ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ (และราชอาณาจักร) ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ยกเว้นเทศบาลพิเศษสามแห่ง (โบแนเรอ ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา) ที่ตั้งอยู่ในแคริบเบียน ประเทศองค์ประกอบอารูบา กือราเซาและซินต์มาเตินตั้งอยู่ในแคริบเบียนเช่นกัน ซูรินามถือเป็นประเทศหนึ่งในราชอาณาจักรตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์

ทความนี้รวบรวม รายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Koningen der Nederlanden) ประกอบไปด้วยรายพระนามสตัดเฮาเดอร์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และรายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์

ทความนี้รวบรวมรายนามนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่การก่อตั้งตำแหน่งนี้ขึ้นมาภายใต้รัฐธรรมนูญปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และรายนามนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิมเบิร์ก

ลิมเบิร์ก หรือ ลิมบวร์ก (Limburg) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และลิมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮลมึส

วิลเฮลมึส ฟัน นัสเซาเวอ (Wilhelmus van Nassouwe, วิลเลียมแห่งนัสซอ) หรือ แฮ็ตวิลเฮลมึส (Het Wilhelmus) เป็นเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของเนเธอร์แลนด์ และยังเป็นเพลงชาติที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย ซึ่งแม้ว่าจะไม่เคยถูกรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และวิลเฮลมึส · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration, ย่อ: PCA) เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งขึ้นในปี 2442 ในการประชุมสันติภาพเฮกครั้งแรก PCA ส่งเสริมการแก้ไขข้อพิพาทซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐ หน่วยการปกครองรัฐ (state entity) องค์การระหว่างประเทศและภาคีเอกชนโดยสนับสนุนการสถาปนาศาลอนุญาโตตุลาการและส่งเสริมงานของศาลเหล่านั้น PCA ต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน คือ วังสันติภาพในกรุงเฮก หมวดหมู่:องค์การระหว่างรัฐบาล หมวดหมู่:องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:องค์การที่ตั้งอยู่ในกรุงเฮก หมวดหมู่:ศาลและศาลชำนัญพิเศษอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และศาลอนุญาโตตุลาการถาวร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์

มเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (พระนามเต็ม: วิลเลม อเล็กซานเดอร์ คลอส จอร์จ เฟอร์ดินานด์; Willem-Alexander Claus George Ferdinand) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 เมษายน..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปดสิบปี

งครามแปดสิบปี หรือ สงครามอิสรภาพเนเธอร์แลนด์ (Eighty Years' War หรือ Dutch War of Independence) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1566 จนถึงปี ค.ศ. 1648 ระหว่าง สาธารณรัฐดัตช์ และ จักรวรรดิสเปน สงครามเริ่มจากการเป็นการปฏิวัติต่อต้านสมเด็จพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนผู้เป็นประมุขของเนเธอร์แลนด์ของฮับส์บวร์กในหลายจังหวัดทางตอนเหนือ ที่เริ่มขึ้นในฮอลแลนด์ และ เซแลนด์ สงครามจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย ผลของสงครามในที่สุดก็นำไปสู่การแยกตัวของเจ็ดจังหวัดที่มารวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐดัตช์ จังหวัดต่อต้านฟลานเดอร์ส และ บราบองต์ต่อมากลายเป็นเบลเยียมปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสงครามแปดสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อารูบา

อารูบา (Aruba) เป็นเกาะหนึ่งมีความยาว 32 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสในทะเลแคริบเบียน อยู่ห่างจากคาบสมุทรปารากวานา (รัฐฟัลกอน ประเทศเวเนซุเอลา) ไปทางเหนือ 27 กิโลเมตร อารูบาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เกาะแห่งนี้มีความแตกต่างจากดินแดนส่วนใหญ่ในแถบแคริบเบียน กล่าวคือ มีอากาศแห้ง ภูมิอากาศเช่นนี้สนับสนุนการท่องเที่ยวเนื่องจากผู้มาเยือนสามารถคาดหวังว่าจะได้พบอากาศอบอุ่นและแสงแดดจัดได้แน่นอน เกาะนี้มีเนื้อที่ 193 ตารางกิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเอบีซี (ABC islands).

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และอารูบา · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 164 ประเทศและดินแดน องค์การการค้าโลกมีงบประมาณปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และองค์การการค้าโลก · ดูเพิ่มเติม »

องค์การห้ามอาวุธเคมี

องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons, OPCW) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สนับสนุนและทวนสอบการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีซึ่งห้ามใช้อาวุธเคมีและกำหนดให้ต้องทำลายอาวุธเคมีที่ภาคีมีในครอบครอง ในปี 2556 องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันต.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และองค์การห้ามอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลแลนด์ (แก้ความกำกวม)

อลแลนด์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และฮอลแลนด์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจักรวรรดิสเปน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฟรีสลันด์

ฟรีสลันด์ (Friesland) หรือ ฟริสลอน (ฟรีเซียตะวันตก: Fryslân) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักอยู่ที่เลวาร์เดิน ทิศเหนือจรดทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดโกรนิงเงินและจังหวัดเดรนเทอ ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดโอเฟอไรส์เซิลและจังหวัดเฟลโฟลันด์ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ "ฟรีสลันด์" เป็นชื่อทางการของจังหวัดมาจนถึงปลายปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดฟรีสลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยูเทรกต์

ูเทรกต์ (อังกฤษและUtrecht) เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศ มีเขตแดนทางทิศเหนือจรดทะเลสาบเอมเมร์ ทางทิศตะวันออกจรดจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ ทางทิศใต้จรดแม่น้ำไรน์ ทางทิศตะวันตกจรดจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดจังหวัดนอร์ทฮอลแลน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดยูเทรกต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลิมบูร์ก (เนเธอร์แลนด์)

ลิมบูร์ก (Limburg) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดในบรรดาสิบสองจังหวัดของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักอยู่ที่มาสทริชท์ จังหวัดลิมบูร์กมีพรมแดนทางตอนใต้และบางส่วนทางตะวันตกติดกับประเทศเบลเยียม บางส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ และทางเหนือติดกับจังหวัดเกลเดอร์ลัน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดลิมบูร์ก (เนเธอร์แลนด์) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนอร์ทบราแบนต์

นอร์ทบราแบนต์ (North Brabant; Noord-Brabant) เป็นจังหวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ทางทิศใต้จรดจังหวัดแอนต์เวิร์ปและจังหวัดลิมบูร์กของประเทศเบลเยียม ทางทิศเหนือจรดแม่น้ำมาส ทางทิศตะวันออกจรดจังหวัดลิมบูร์ก และทางทิศตะวันตกจรดจังหวัดเซลันด์ นอร์ทบราแบนต์.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์

นอร์ทฮอลแลนด์ (North Holland) หรือ โนร์ด-โฮลลันด์ (Noord-Holland) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักของจังหวัดคือเมืองฮาร์เลม เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงอัมสเตอร์ดัม.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโกรนิงเงิน

กรนิงเงิน (Groningen) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือเมืองโกรนิงเงิน จังหวัดโกรนิงเงินมีพรมแดนทางตะวันออกติดกับรัฐโลว์เออร์แซกโซนีของประเทศเยอรมนี ทางตอนใต้ติดกับจังหวัดเดรนเทอ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดฟรีสลันด์ และทางเหนือติดกับทะเลวัดเดิน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดโกรนิงเงิน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอเฟอไรส์เซิล

โอเฟอไรส์เซิล (Overijssel, Overissel) เป็นจังหวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ตอนกลาง-ตะวันตกของประเทศ ความหมายของชื่อคือ "พื้นที่แนวแม่น้ำไอส์เซิล" เมืองหลักของจังหวัดคือเมืองซโวลเลอ และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองแอ็นสเคอเด ณ ปี ค.ศ. 2006 จังหวัดนี้มีประชากร 1,113,529 คน โอเฟอไรส์เซิล.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดโอเฟอไรส์เซิล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเกลเดอร์ลันด์

เกลเดอร์ลันด์ (Gelderland) เป็นจังหวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ตอนกลาง-ตะวันออกของประเทศ มีมาตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน เมืองหลักของจังหวัดชื่อเมืองอาร์เนม มีเมืองสำคัญอื่นเช่นเมืองไนเมเคินและอาเพลโดร์นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน จังหวัดเกลเดอร์ลันด์เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์ หมวดหมู่:จังหวัดเกลเดอร์ลันด์.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเดรนเทอ

รนเทอ (Drenthe) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงอยู่ที่อาสเซิน จังหวัดเดรนเทอมีพรมแดนทางตอนใต้ติดกับจังหวัดโอเฟอไรส์เซิล ทางตะวันตกติดกับจังหวัดฟรีสลันด์ ทางเหนือติดกับจังหวัดโกรนิงเงิน และทางตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดเดรนเทอ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเซลันด์

ซลันด์ (Zeeland) หรือ ซีแลนด์ (Zeeland, Zealand) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะจึงเป็นที่มาของชื่อจังหวัดว่า "ดินแดนทะเล" เนื้อที่ราวหนึ่งในสามอยู่ในน้ำและบริเวณส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ตราอาร์มของเซลันด์เป็นรูปสิงโตจมน้ำอยู่ครึ่งตัว โดยมีคำขวัญว่า "ข้าต่อสู้และได้ชัยชนะ" (luctor et emergo) ประเทศนิวซีแลนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของจังหวัดนี้.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดเซลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์

ซาท์ฮอลแลนด์ (South Holland) หรือ เซยด์-โฮลลันด์ (Zuid-Holland) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเหนือ ทางตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองหลักของจังหวัดคือเมืองเดอะเฮก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือรอตเทอร์ดาม จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์เป็นหนึ่งในที่ที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดในโลก และเป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีประชากร 3,502,595 คน (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009) มีพื้นที่ 3,403 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเหนือ

ภาพถ่ายทะเลเหนือและประเทศรอบ ๆ จากอวกาศ ทะเลเหนือ (North Sea) เป็นทะเลที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ทางตะวันตกของนอร์เวย์และเดนมาร์ก ทางตะวันออกของเกาะบริเตนใหญ่ และทางตอนเหนือของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก และติดกับทะเลบอลติกทางด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 222,000 ตารางไมล์ หรือ 570,000 ตารางกิโลเมตร เหนือ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป เหนือ หมวดหมู่:ทะเลเหนือ.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และทะเลเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวลิป

ในดอก ทิวลิป เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่เป็นสัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และทิวลิป · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งบูร์กอญ

งกางเขนแห่งบูร์กอญ ดยุคแห่งบูร์กอญ (Duke of Burgundy) เป็นตำแหน่งของประมุขผู้ปกครองดัชชีบูร์กอญที่เป็นดินแดนบริเวณไม่ใหญ่นักของชาวบูร์กอญที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโซน (Saône) ที่ชาร์ลส์เดอะบอลด์ ดยุคแห่งบูร์กอญได้รับมาในปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และดยุกแห่งบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย

อาคารที่ทำการของคณะตุลาการในกรุงเฮก คณะตุลาการระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีผู้ต้องรับผิดชอบการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงซึ่งกระทำลงในดินแดนอดีตยูโกสลาเวียตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศองค์ประกอบ

ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) เป็นคำที่บางครั้งใช้เรียกประเทศที่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยทางการเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น รัฐเอกราช คำว่าประเทศองค์ประกอบนี้ไม่มีความหมายในทางกฎหมาย และใช้เรียก ประเทศ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหน่วยอื่นเท่านั้น.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศองค์ประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูรินาม

ซูรินาม (Suriname, Surinam,; Suriname,, ซือรีนาเมอ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐซูรินาม (Republic of Suriname; Republiek Suriname) เดิมรู้จักกันในชื่อ "ดัตช์เกียนา" เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ระหว่างเฟรนช์เกียนาทางทิศตะวันออกกับกายอานาทางทิศตะวันตก เขตแดนทางทิศใต้ติดต่อกับบราซิล ส่วนทางเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก พื้นที่ทางใต้สุดของประเทศกำลังเป็นกรณีพิพาทกับกายอานาและเฟรนช์เกียน.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศซูรินาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

เบเนลักซ์

นแดนประเทศสมาชิกเบเนลักซ์ ที่ตั้งของเบเนลักซ์ในทวีปยุโรป ธงเบเนลักซ์ สาธารณรัฐเบเนลักซ์ หรือ สหภาพเศรษฐกิจเบเนลักซ์ (Bénélux) เป็นกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ของสามประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก โดยการนำเอาพยางค์หน้าชื่อของแต่ละประเทศดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อ "สหภาพปลอดภาษีเบเนลักซ์" (Benelux Customs Union) ปัจจุบันสหภาพเบเนลักซ์มีขนาด 74,102 ตร.กม.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเบเนลักซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เบียทริกซ์ คาร์เมน วิกตอเรีย, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์, เจ้าหญิงแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Catharina-Amalia Beatrix Carmen Victoria, Prinses van Oranje, Prinses der Nederlanden, Prinses van Oranje-Nassau; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรงองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ อันประกอบไปด้วยเนเธอร์แลนด์, กือราเซา, อารูบา และซินต์มาร์เติน เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลียเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชนัดดาลำดับที่สองของอดีตสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พระองค์สืบตำแหน่งรัชทายาทต่อจากพระราชบิดาที่ทรงสืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อน

ื่อน (dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัยรวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนบนของเขื่อนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่าทางน้ำล้น สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเขื่อน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเดอะเฮก · ดูเพิ่มเติม »

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเนโท · ดูเพิ่มเติม »

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส

นเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (Nederlandse Antillen; Netherlands Antilles) เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) และประกอบด้วยเกาะในทะเลแคริบเบียนสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ กือราเซาและโบแนเรอ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งประเทศเวเนซุเอลา อีกกลุ่มคือ ซินต์เอิสตาซียึส ซาบา และซินต์มาร์เติน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะต่าง ๆ เหล่านี้มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เศรษฐกิจหลักของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและปิโตรเลียม ในปี..

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

.nl

.nl เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2529.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และ.nl · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 กรกฎาคม

วันที่ 26 กรกฎาคม เป็นวันที่ 207 ของปี (วันที่ 208 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 158 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และ26 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 มกราคม

วันที่ 30 มกราคม เป็นวันที่ 30 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 335 วันในปีนั้น (336 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ประเทศเนเธอร์แลนด์และ30 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Netherlandsวิลันดาฮอลันดาดัทช์ประเทศฮอลันดาประเทศฮอลแลนด์ประเทศเนเธอแลนด์เนเธอร์แลนด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »