โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม

ดัชนี หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (Farewell My Concubine; ดีวีดีในไทย ใช้ชื่อว่า "หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม") เป็นภาพยนตร์จีนที่กำกับโดยเฉิน ข่ายเกอ สร้างจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของลิเลียน ลี นักเขียนชาวฮ่องกง มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโตวจื่อ นักแสดงอุปรากรจีนชาย ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับซือโถว เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องโตวจื่อมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นโตวจื่อใช้ชื่อในการแสดงว่า เฉิงเตี๋ยอี มีชื่อเสียงโด่งดังกับกับบทอวี้จี่อัน นางสนมของเซี่ยงอี่ (หรือ ฌ้อปาอ๋อง 232-202 ปีก่อนคริสตกาล) แม่ทัพแห่งแคว้นฉู่ตะวันตกในยุคราชวงศ์ฉิน ที่แสดงโดยซือโถว ซึ่งใช้ชื่อในการแสดงว่า ต้วนเสี่ยวโหลว บทบาทของทั้งคู่มาจากอุปรากรปักกิ่งเรื่อง "ฌ้อปาอ๋อง" เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเซี่ยงอี่ กับหลิวปัง, การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และเรื่อง "ศาลาโบตั๋น" ภาพยนตร์นำเสนอความสัมพันธ์แบบสามเส้าแบบ ชาย-ชาย-หญิง ระหว่าง เฉิงเตี๋ยอี (รับบทโดย เลสลี่ จาง) กับ ต้วนเสี่ยวโหลว (รับบทโดย จาง เฟิงอี้) และนางโลมชื่อ จูเสียน (รับบทโดย กง ลี่) โดยภาพยนตร์จบลงที่ความตายของเฉิงเตี๋ยอี โดยใช้ดาบเชือดคอตัวเอง เช่นเดียวกับในบทอวี้จี่อัน ที่ตัวเองเป็นผู้เล่น ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและการเมืองจีนในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเพียงเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993.

25 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2536พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นการค้าประเวณีการปฏิวัติทางวัฒนธรรมกง ลี่ก๊กมินตั๋งภาพยนตร์จีนภาษาจีนกลางภาษาไทยราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฉินรางวัลปาล์มทองคำลิเลียน ลีสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองฮ่องกงฌ้อปาอ๋องจักรพรรดิฮั่นเกาจู่จาง เฟิงอี้งิ้วประเทศไทยนาทีเลสลี จางเทศกาลภาพยนตร์กานเฉิน ข่ายเกอ

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party of China (CPC) หรือ Chinese Communist Party (CCP)) เป็นพรรคการเมืองหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิกกว่า 80 ล้านคน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เริ่มต้นเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่เซี่ยงไฮ้ ได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังโค่นพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ลงในสงครามกลางเมือง โดย หม่าหลิน (Marine) เป็นผู้แทนเลนิน พบกับ ดร.ซุนยัตเซ็น และ หลี่ต้าเจา กับ จางเหลย เสนอให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่รวบรวมความสามัคคีของกรรมกรและชาวน.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น หรือ JSDF บางครั้งเรียกว่า JSF หรือ SDF เป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้(Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น ในด้านการพัฒนาอาวุธ ในรธน.ญี่ปุ่นถูกกำหนดห้ามพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ส่วนในด้านการห้ามส่งออกอาวุธนั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปีพ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธ โดยสามารถส่งออกอาวุธและมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธกับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ นอกจากนี้ การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากลคือต้องเป็นยุทโธปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อสังหาร และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง ส่วนในด้านการสนันสนุนกองกำลังต่างชาติ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแก้ไขกฎบัตรว่าด้วยการสนับสนุนต่างชาติ โดยสามารถมอบทุนสนับสนุนภารกิจของกองกำลังต่างชาติที่มิใช่การสู้ร.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติทางวัฒนธรรม

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ (Great Proletarian Cultural Revolution) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี 2509 เหมาเจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน เป้าหมายที่แถลงไว้ คือ เพื่อบังคับใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศโดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็นทุนนิยม ประเพณีและวัฒนธรรมจีน ออกจากวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์และเพื่อกำหนดแนวทางแบบเหมาภายในพรรค การปฏิวัติดังกล่าวส่งผลให้เหมาเจ๋อตงกลับมามีอำนาจหลังการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าที่ล้มเหลว ขบวนการดังกล่าวทำให้การเมืองจีนหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสำคัญ การปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2509 เหมาอ้างว่ากระฎุมพีกำลังแทรกซึมรัฐบาลและสังคมอย่างไม่มีขอบเขต โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูทุนนิยม เขายืนกรานให้ขจัด "ลัทธิแก้" (revisionist) เหล่านี้ผ่านการต่อสู้ของชนชั้นอย่างรุนแรง เยาวชนจีนสนองตอบการเรียกร้องของเหมาโดยตั้งกลุ่มเรดการ์ดขึ้นทั่วประเทศ ขบวนการดังกล่าวแพร่ไปสู่ทหาร กรรมกรในเมือง และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เอง การปฏิวัติส่งผลให้เกิดการต่อสู้ระหว่างกลุ่มแยกอย่างกว้างขวางในทุกย่างก้าวของชีวิต ในหมู่ผู้นำระดับสูง การปฏิวัตินำไปสู่การกวาดล้างข้าราชการอาวุโสที่ถูกกล่าวหาว่าเดิน "ถนนทุนนิยม" คือ ประธานาธิบดีหลิวส้าวฉีและเติ้งเสี่ยวผิง พร้อมด้วยจอมพล หลิวป๋อเฉิง จอมพล เฉินอี้ จอมพล เย่เจี้ยนอิงและจอมพล เผิงเต๋อฮว้าย ในเวลาเดียวกัน ลัทธิมากซ์ ของประธานเหมา เติบโตขึ้นเป็นอันมาก กลุ่มกรรมกรใช้สัญลักษณ์ค้อนกดขี่ข่มเหงชาวนาและกลุ่มเกษตรกรรมอื่นๆ ประชากรจีนจำนวนหลายล้านคนถูกเบียดเบียน ในการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มลัทธิแก้ และกลุ่มปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันทำให้เกิดการละเมิดหลายรูปแบบ รวมถึงการประจานในที่สาธารณะ การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน การก่อกวนอยู่เนือง ๆ และการยึดทรัพย์สินของชาวบ้าน หลายภาคส่วนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ส่วนวัตถุมงคลและสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์จีนถูกทำลาย สถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนาถูกปล้นพร้อมกับทำให้เสียหาย ประธานเหมาประกาศให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 2512 แต่ยังมีผลดำเนินไปกระทั่ง หลินเปียว ตายในปี 2514 หลังเหมาถึงแก่อสัญกรรมและการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ในปี 2519 ทำให้คณะปฏิรูปการปกครอง นำโดย เติ้งเสี่ยวผิง ยุติการปฏิวัติของเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเด็ดขาด ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2524 คณะกรรมาธิการกลางประกาศคำตัดสินอย่างเป็นทางการ ดังนี้ " 'การปฏิวัติทางวัฒนธรรม' ซึ่งดำเนินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2509 ถึงเดือนตุลาคม 2519 เป็นสาเหตุของการเสื่อมอย่างรุนแรงที่สุดและเป็นการสูญเสียอย่างหนักที่สุดที่พรรค รัฐและประชาชนเคยประสบมาแล้ว ตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน" จอมพล เผิงเต๋อไหว นักรบผู้กล้าหาญและขวัญกำลังใจของกองทัพชาวนา ครอบครองแผ่นดินประมาณได้ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดในสงครามกลางเมือง แต่ถูกลงโทษทางการเมือง ทำให้ถึงแก่อสัญกรรม เพราะเรียงความหมื่นอักษรในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและการปฏิวัติทางวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

กง ลี่

กงลี่ นักแสดงหญิงชาวจีน ที่เคยมีขื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในระดับนานาชาติ เธอได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีของวงการภาพยนตร์จีน อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาประชาชนของจีน และเป็นพรีเซ็นเตอร์ของเครื่องสำอางลอรีอัลในเอเชีย และยังเคยถูกจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่งดงามที่สุดโดยนิตยสารพีเพิล.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและกง ลี่ · ดูเพิ่มเติม »

ก๊กมินตั๋ง

รรคชาตินิยมจีน (Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินตั่ง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและก๊กมินตั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์จีน

The House of 72 Tennents (1973) ภาพยนตร์จีน คือภาพยนตร์ที่พูดภาษาจีน แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ภาพยนตร์ฮ่องกง ภาพยนตร์ไต้หวัน และ ภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ สำหรับในประเทศไทยภาพยนตร์จีนมักหมายถึงภาพยนตร์ฮ่องกง ภาษาจีนในภาพยนตร์จีน ส่วนใหญ่เป็น ภาษาจีนแมนดารินและภาษาจีนกวางตุ้ง สิ่งที่ทำให้หนังทั้งสองภาษาแตกต่างกันมากที่สุด ก็คือจุดประสงค์ในการสร้าง ขณะที่หนังแมนดารินนั้น มีเป้าหมายส่วนหนึ่งในการทำเพื่อฉายวงกว้าง ทั้งตลาดทั่วทั้งเอเซีย และอาจจะไปไกลได้มากกว่านั้นอีก เพราะศักยภาพของภาษาแมนดาริน ที่เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลายในทั่วโลก ตรงกันข้ามหนังกวางตุ้งนั้นมีคนดูที่จำกัดเฉพาะอยู่ในกลุ่มผู้พูดภาษากวางตุ้ง หรือ อาจจะพูดได้ว่าเป็นหนัง ของคนฮ่องกงที่ทำเองดูเอง ก็ว่าได้ เมื่อจุดประสงค์ในการสร้างต่างกัน เงินทุน และความทะเยอทยาน ในหนังทั้งสองแบบก็ต่างกันตามไปด้ว.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและภาพยนตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลปาล์มทองคำ

รางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) เป็นรางวัลสูงสุดในการประกวดภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและรางวัลปาล์มทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเลียน ลี

ลิเลียน ลี (李碧華, Lilian Lee) เป็นนามปากกาของนักเขียนหญิงชาวฮ่องกง มีผลงานเขียนนวนิยายและบทกวีภาษาจีนมากกว่า 90 ชิ้น โดยเรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เธอ ได้แก่เรื่อง 霸王別姬 (Farewell My Concubine) ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม กำกับโดย เฉิน ข่ายเกอ ลิเลียน ลี มีชื่อจริงว่า Lee Bak (李白) เกิดที่ตำบลไทชาน กว่างโจว จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรี True Light Middle School ในฮ่องกง ทำงานเป็นครูโรงเรียนประถม นักข่าว นักเขียนบทความ และเขียนบทภาพยนตร์โทรทัศน์ งานเขียนของเธอถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายเรื่อง ได้แก.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและลิเลียน ลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ฌ้อปาอ๋อง

หน้ากากอุปรากรฌ้อปาอ๋อง ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง (Xīchǔ Bàwáng, 楚霸王) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王) ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention, 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ ฮั่นสิน (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรืออ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี..

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและฌ้อปาอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จาง เฟิงอี้

ง เฟิงอี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน..

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและจาง เฟิงอี้ · ดูเพิ่มเติม »

งิ้ว

นักแสดงงิ้ว งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยปัจจุบันถือเป็นตัวแทนงิ้วประจำชาติจีน ในบรรดางิ้วจีนกว่า300ประเภท "งิ้วคุนฉวี่"昆曲 "งิ้วกวางตุ้ง"粤剧/粵劇 และ"งื้วปักกิ่ง"京剧/京劇 ได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และได้ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ ในปี 2001,2009และ2010 ตามลำดั.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและงิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและนาที · ดูเพิ่มเติม »

เลสลี จาง

ลสลี จาง (อังกฤษ: Leslie Cheung) อดีตนักแสดงและนักร้องฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เลสลี จาง เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1956 ที่เกาลูน มีชื่อเป็นภาษาจีนว่า จาง กั๊วหยง (อักษรจีนตัวเต็ม: 張國榮, อักษรจีนตัวย่อ: 张国荣, พินอิน: Zhāng Guóróng) โดยมีชื่อแรกเกิดว่า จาง ฟะฉุง (張發宗; Chong Koet-yùng; Chong Fat-chûng) เลสลี จาง เป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยที่พี่คนที่ 9 นั้นอายุห่างกันมากถึง 8 ปี บิดานั้นมีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อรายใหญ่ที่เคยตัดเสื้อให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงมาแล้ว เช่น วิลเลียม โฮลเดน หรือ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในวัยเด็กนั้นเลสลี จาง เคยเผยว่าตัวเองรู้สึกเหงามากที่ต้องถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวกับบรรดาตุ๊กตาของเล่นต่าง ๆ และพ่อก็ไม่เคยควบคุมอารมณ์ตนเองได้เลย ซึ่งชีวิตในครอบครัวนั้นเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้งและการใช้อารมณ์ ดังนั้นจึงโตมาด้วยการที่ยายเป็นผู้เลี้ยงดู เลสลี จาง เข้าศึกษาด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ เพื่อสืบทอดกิจการของครอบครัว แต่ต้องกลับมาก่อนเรียนจบ เพราะบิดาป่วยหนัก เริ่มต้นอาชีพในวงการบันเทิงด้วยการเป็นนักร้องในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 มีผลงานเพลงมากมาย ซึ่งในส่วนของการโปรโมตผลงานเพลงนี้ เลสลี จาง เคยมาโปรโมตในประเทศไทยด้วยในปี พ.ศ. 2525 ที่โรงแรมมณเฑียร ส่วนผลงานทางด้านการแสดง เลสลี จาง เริ่มต้นด้วยภาพลักษณ์ในแบบ "เด็กเสเพล" หรือ "แบดบอย" ในวงการ มีผลงานในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง เช่น A Better Tomorrow ใน 2 ภาคแรก จากการกำกับของจอห์น วู ในปี ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 1987 ที่แสดงคู่กับนักแสดงรุ่นพี่อย่าง โจว เหวินฟะ และตี้หลุง หรือในภาพยนตร์ชุด โปเยโปโลเย ที่แสดงอยู่กับ หวัง จู่เสียน รวมทั้งรับบทนำในภาพยนตร์ของหว่อง คาไว ในเรื่อง Days of Being Wild ในปี ค.ศ. 1991, Ashes of Time ในปี ค.ศ. 1994 และ Happy Together ในปี ค.ศ. 1997 แต่บทบาทการแสดงที่ทำให้ เลสลี จาง ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก คือ การรับบทเป็น เตี่ยอี๋ นักแสดงอุปรากรจีนที่เป็นรักร่วมเพศ จากภาพยนตร๋ในการกำกับของ เฉิน ข่ายเกอ เรื่อง Farewell My Concubine ในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งเลสลี จาง สามารถตีบทแตก และทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเข้าฉายทั่วโลก รวมถึงได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกด้วย จากนั้นในปี ค.ศ. 2000 เลสลี จาง เปิดเผยว่าตนเองเป็นเกย์ รวมทั้งแต่งตัวเป็นผู้หญิงในการร้องเพลงบนเวทีอีกด้วย แม้เมื่อวัย 22 จะเคยขอ เหมา ซุ่นหวิน อดีตแฟนสาวแต่งงานด้วยก็ตาม จากผู้จัดการออนไลน์ เลสลี จาง เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากการทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 24 ของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล ใจกลางฮ่องกง เมื่อเวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 โดยเชื่อว่ามีสาเหตุจากความรักที่ไม่สมหวังกับผู้จัดการส่วนตัว โดยทิ้งจดหมายซึ่งเขียนว่าตัวเองได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้า Stephen Kelly,, 8 May 2003 ในปัจจุบัน เมื่อถึงวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ที่ฮ่องกงจะมีการจัดงานรำลึกถึงการจากไปของเลสลี จาง เสมอที่หน้าโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและเลสลี จาง · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์กาน

ทศกาลภาพยนตร์กาน (Cannes Film Festival; Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลรวมทั้งชื่อเสียงมากที่สุดเทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและเทศกาลภาพยนตร์กาน · ดูเพิ่มเติม »

เฉิน ข่ายเกอ

ฉิน ข่ายเกอ (12 สิงหาคม พ.ศ. 2495 -) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เฉิน ข่ายเกอ เกิดที่ปักกิ่ง ในวัยรุ่น ขณะประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาร่วมเป็นหนึ่งในกองทัพพิทักษ์แดง (เรดการ์ด - Red Guard) หลังสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม เขาเข้าศึกษาต่อที่สถาบันภาพยนตร์แห่งปักกิ่ง ในปี..

ใหม่!!: หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมและเฉิน ข่ายเกอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Farewell My ConcubineFarewell My Concubine (film)หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจก็ไม่ลืมหลายแผ่นดิน ไม่สิ้นใจก็ไม่ลืมฌ้อปาอ๋องลาสนมฉู่ปาอ๋องลาสนม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »