โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส

ดัชนี ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส

็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส (Jean Jacques Régis de Cambacérès) เป็นขุนนาง รัฐบุรุษ และนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เขาเป็นหนึ่งในคณะผู้ร่างประมวลกฎหมายนโปเลียน ซึ่งกลายเป็นรากฐานของประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสตลอดจนกฎหมายแห่งในหลายประเทศ ก็องบาเซแร็สเกิดในเมืองมงเปอลีเยในตระกูลขุนนางยากจน ในปี 1744 เขาสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายและสืบทอดงานต่อจากบิดาในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักบัญชีและการเงินในเมืองตูลูซ เขาเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1789 ต่อมาในปี 1792 เขาได้เป็นผู้แทนในสภากงว็องซียงแห่งชาติ และต่อมาได้เข้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์ เมื่อนายพลนโปเลียนก่อรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ในปี 1799 เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "กงสุลโท" ในคณะกงสุลฝรั่งเศส ซึ่งตลอดช่วงที่เป็นกงสุลนี้ เขารับผิดชอบด้านการร่างประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ของฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่า "ประมวลกฎหมายนโปเลียน" อันเป็นกฎหมายที่ปรับปรุงมาจากกฎหมายโรมัน ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้รับการยอมรับนับถือเป็นประมวลกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกของฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้รับการประกาศใช้โดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี 1804 แม้ก็องบาเซแร็สไม่เคยเห็นด้วยกับการปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียน แต่เขาก็ยอมรับใช้จักรพรรดินโปเลียน เขาได้รับการอวยยศขึ้นเป็นเจ้าชาย และในปี 1808 ก็ได้เป็นดยุกแห่งปาร์มา โดยพื้นฐานแล้ว เขาถือเป็นข้าราชการพลเรือนผู้มีอำนาจเป็นอันดับสองของฝรั่งเศสในยุคจักรพรรดินโปเลียน ก็องบาเซแร็สเป็นบุคคลรักร่วมเพศ รสนิยมทางเพศของเขาเป็นที่รับรู้กันในคนหมู่มาก และเขาก็ไม่ได้มีความพยายามจะปิดบังเลย นโปเลียนมักจะนำประเด็นเรื่องนี้มีมาแซวเล่นกับเขาอยู่เสมอ เขามีสไตล์การใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยและหรูหรา มื้อค่ำในบ้านของเขาเป็นที่เลื่องลือว่าดีเลิศที่สุดในฝรั่งเศส เขามีทรัพย์สินราว 7.3 ล้านฟรังค์ (ราว 2,000 ล้านบาท ณ ปี 2015) ณ วันที่เขาถึงแก่อสัญกรรมในปี 1824.

13 ความสัมพันธ์: การปฏิวัติฝรั่งเศสมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มงเปอลีเยรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์สภากงว็องซียงแห่งชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1จักรพรรดินโปเลียนที่ 1คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมคณะกงสุลฝรั่งเศสตูลูซประมวลกฎหมายนโปเลียนปารีสแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มงเปอลีเย

มงเปอลีเย (Montpellier,; Montpelhièr) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเอโรในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ และเป็นเมืองที่มีอัตราการเจริญเติบโตอันรวดเร็วในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มงเปอลีเยเป็นที่ตั้งของมหาวิหารแซ็ง-ปีแยร์แห่งมงเปอลี.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและมงเปอลีเย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร 18 บรูว์แมร์

รัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ (Coup d'État du 18 brumaire) เป็นแผนรัฐประหารของนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต เริ่มขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ · ดูเพิ่มเติม »

สภากงว็องซียงแห่งชาติ

สภากงว็องซียงแห่งชาติ (Convention nationale) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 โดยทำหน้าที่บริหารประเทศและควบคุมอำนาจบริหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โดยสมาชิกที่มีชื่อเสียงจากสมัชชาแห่งนี้ได้แก่ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์, ฌ็อง-ปอล มารา, ฌอร์ฌ ด็องตง เป็นต้น โดยในภายหลังทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม หมวดหมู่:การปฏิวัติฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและสภากงว็องซียงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1

ณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (Première République) สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1792 โดยสภากงว็องซียงแห่งชาติ หลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ซึ่งในยุคนี้มีการเข่นฆ่าชีวิตผู้คนมากมายตามคำสั่งของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ประธานสภากงว็องซียงแห่งชาติ จึงทำให้ผู้คนเรียกยุคสมัยนั้นว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ก่อนที่รอแบ็สปีแยร์จะถูกประหารด้วยกิโยตีน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794 และในที่สุดสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ก็ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1804 จากการขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ กลายเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในฝรั่งเศสในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม (Comité de salut public) เป็นคณะผู้ตรวจสอบซึ่งสภากงว็องซียงแห่งชาติจัดตั้งในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม · ดูเพิ่มเติม »

คณะกงสุลฝรั่งเศส

ณะกงสุล (Consulat) คือชื่อเรียกรัฐบาลของฝรั่งเศสระหว่างปี..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและคณะกงสุลฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ตูลูซ

ตูลูซ (Toulouse) เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

ประมวลกฎหมายนโปเลียน

หน้าแรกของประมวลกฎหมายนโปเลียนฉบับ ค.ศ. 1804 ประมวลกฎหมายนโปเลียน (Code Napoléon หรือเดิม Code civil des Français) เป็นประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส จัดทำขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประมวลกฎหมายดังกล่าวห้ามเอกสิทธิ์ที่ถือมาแต่กำเนิด เปิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเจาะจงว่าหน้าที่ข้าราชการจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด ตัวประมวลกฎหมายถูกร่างขึ้นอย่างรวดเร็วโดยคณะกรรมการที่มีนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงสี่คนและมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 มีนาคม..

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและประมวลกฎหมายนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส

แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) เป็นหมอสอนศาสนาระดับล่างสังกัดโรมันคาทอลิกตลอดจนเป็นนักการเมืองในฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในผู้นำทฤษฎีการเมืองในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และมีส่วนในการปกครองประเทศในคณะกงสุลฝรั่งเศสและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ซึ่งนำนโปเลียนขึ้นสู่อำนาจ ซีเยแย็สเกิดเมื่อ 3 พฤษภาคม 1748 ในเมืองเฟรยูทางภาคใต้ของฝรั่งเศสVan Deusen, Glyndon G., p. 11 เป็นบุตรคนที่ห้าของนายออนอแร กับนางอันนาแบล บิดาของเขาเป็นนายภาษีท้องถิ่นที่มีฐานะยากจน แม้ครอบครัวซีเยแย็สจะมีสายเลือดขุนนางอยู่บ้างแต่พวกเขาก็เป็นได้แค่สามัญชน ซีเยแย็สเข้าศึกษากับคณะเยสุอิต เขาต้องการเข้ารับราชการทหารแต่เนื่องจากเป็นคนขี้โรคประกอบกับการมีครอบครัวเคร่งศาสนา ทำให้ซีเยแย็สต้องหันมาเอาดีทางด้านศาสนาแทน โดยเข้าศึกษากับโรงเรียนสอนศาสนาในกรุงปารีสเป็นเวลาสิบปี ซึ่ง ณ ที่นั่น เขาได้เรียนเทววิทยาและวิศวกรรมเพื่อเตรียมตัวเป็นพระ ซีเยแย็สได้รับการนับถืออย่างมากในโรงเรียนจากความถนัดในวิทยาศาสตร์ เขาหลงใหลหลักปรัชญาสมัยใหม่และไม่ชอบวิชาเทววิทยาที่คร่ำครึVan Deusen, Glyndon G., p. 12 ในปี 1788 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16ได้เสนอให้มีการประชุมสภาฐานันดรขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างสามชนชั้นในสังคมฝรั่งเศส ซึ่งซีเยแย็สได้ตีพิมพ์จุลสารโดยมีหัวเรื่องว่า "ฐานันดรที่สามคืออะไร?" (Qu'est-ce que le tiers-état?) จุลสารฉบับนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก ทำให้เขาได้รับการคัดเลือกเข้าไปเป็นผู้แทนฐานันดรที่สามจากปารีส และเขากลายเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนในการปฏิวัติฝรั่งเศส เขายังเป็นผู้ร่วมร่างประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง หลังรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ ซีเยแย็สก็ได้เป็นสมาชิกคณะกงสุลฝรั่งเศสและต่อมาเป็นสมาชิกสภาสูง ภายหลังแผนการลอบสังหารนโปเลียนที่ในเดือนธันวาคม 1800 ซีเยแย็สก็ได้ออกมาต่อต้านอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนโปเลียน ซึ่งทำให้เขาถูกนโปเลียนปลดจากตำแหน่งทั้งหมด ตัวเขาใช้ชีวิตอย่างเงียบๆในปารีส จนกระทั่งเมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ซีเยแย็สก็ถูกขับออกจากสถาบันศีลธรรมและศาสตร์การเมืองโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และตัวเขาย้ายไปบรัสเซลส์ จนกระทั่งภายหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี 1830 เขาก็ย้ายกลับมายังปารีส และเสียชีวิตที่นั่นในอีก 6 ปีต่อมาเมื่อมีอายุได้ 88 ปี.

ใหม่!!: ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สและแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »