โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูโดอีเฟดรีน

ดัชนี ซูโดอีเฟดรีน

ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine, ย่อว่า PSE) เป็นสารเอมีนชนิดซิมพาเทติก มักใช้เพื่อลดอาการคัดจมูก ในประเทศไทย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษควบคุมประเภท 2 ตาม.ร..วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่นเดียวกับยาเสพติดประเภทอื่น.

6 ความสัมพันธ์: ยาบ้าสารเสพติดคัดจมูกตับไตเอฟิดรีน

ยาบ้า

้า ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์ประกอบด้วยเมทแอมฟีตะมีนผสมกับกาเฟอีน มีชื่ออื่นๆเรียก เช่น ยาม้า เสพโดยกินหรือเอามาใส่ฟอยลนด้วยไฟแล้วสูบเอาควัน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและยาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

สารเสพติด

รเสพติด หรือ ยาเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใ.

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและสารเสพติด · ดูเพิ่มเติม »

คัดจมูก

ัดจมูก หรือ อาการจมูกคั่ง (Nasal congestion) เป็นอาการอุดกั้นของช่องจมูก เนื่องมาจากเยื่อบุจมูกบวมจากการอักเสบของหลอดเลือด อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดอาการหลากหลายตั้งแต่สร้างความรำคาญจนถึงทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ในทารกแรกเกิดซึ่งสามารถหายใจได้เฉพาะทางจมูกเท่านั้น หากเกิดอาการคัดจมูกในอายุ 2-3 เดือนแรกจะรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำให้เกิดการหายใจอึดอัดเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กโตและวัยรุ่นมักเพียงสร้างความรำคาญ อาการคัดจมูกอาจรบกวนการเจริญของหู การได้ยินและการพูด อาการคัดจมูกอย่างมากอาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้กรน และเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการคัดจมูกในเด็กทำให้ทอนซิลคอหอยโต ก่อให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับเรื้อรังร่วมกับภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งการรักษาคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและทอนซิลคอหอยออก อาการจมูกคัดอาจทำให้ปวดศีรษะและใบหน้าเล็กน้อยได้ ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว.

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและคัดจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและไต · ดูเพิ่มเติม »

เอฟิดรีน

อฟิดรีน (ephedrine) เป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก โครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ซึ่งในธรรมชาติจัดเป็นสารแอลคาลอยด์ที่สกัดจากพืชหลายชนิดในสกุล Ephedra โดยสารที่จัดว่าเป็นแอลคาลอยด์จะต้องเป็นสารเอมีนธรรมชาติ (naturally-occurring amine) ที่ได้จากพืช สัตว์ เชื้อรา หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในธรรมชาติเท่านั้น.

ใหม่!!: ซูโดอีเฟดรีนและเอฟิดรีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PSEPseudoephedrineสูโดเอฟรีดีนอีเฟรดรีนเทียมซิวโดอีเฟรดรีนซิวโดเอฟรีดีนซูโดอีเฟรดรีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »