โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซิสพลาติน

ดัชนี ซิสพลาติน

ซิสพลาติน (Cisplatin) หรือชื่อในอดีตคือ เกลือเปรอน (Peyrone's salt) เป็นยาเคมีบำบัด ออกฤทธิโดยไปยับยั้งการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ ใช้ในการรักษาโรงมะเร็งต่างๆ คือ มะเร็งอัณฑะ, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งศีรษะและคอ, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งปอด, มีโซธีลิโอมา, มะเร็งหลอดอาหาร, เนื้องอกที่สมอง และ นิวโรบลาสโตมา สามารถรับยานี้ได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อาการข้างเคียงจากการใช้ยาซิสพลาตินได้แก่ เกิดการกดไขกระดูก, ได้ยินไม่ชัด, ปัญหาเกี่ยวกับไต และ อาเจียน อาหารข้างเคียงระดับรุนแรงได้แก่ อาการชา, เดินลำบาก, ภูมิแพ้ และเป็นโรคระบบหัวใจหลอดเลือด สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ซิสพลาตินถูกค้นพบในปี..

14 ความสัมพันธ์: การถ่ายแบบดีเอ็นเอการฉีดเข้าหลอดเลือดดำภูมิแพ้มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมะเร็งรังไข่มะเร็งหลอดอาหารมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมอาเจียนองค์การอนามัยโลกนิวโรบลาสโตมาโรคระบบหัวใจหลอดเลือดเคมีบำบัด

การถ่ายแบบดีเอ็นเอ

กลียวคู่ของดีเอ็นเอคลายตัวและเป็นแม่แบบขแงสายใหม่ การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพัน.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและการถ่ายแบบดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิแพ้

ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะคือเนื้องอกร้าย (การเจริญและแบ่งตัวของเซลล์โดยไม่มีการควบคุม) ชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดที่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ เรียกว่าทรานซิชันแนลเซลล์คาร์ซิโนมา (transitional cell carcinoma, มะเร็งเยื่อบุจากเซลล์แบบเปลี่ยนผ่าน) หรือยูโรทีเลียลเซลล์คาร์ซิโนมา (urothelial cell carcinoma, มะเร็งเยื่อบุชนิดเซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ) หมวดหมู่:เนื้องอกของทางเดินปัสสาวะ.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่ แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มีชนิดย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอะดีโนคาร์ซิโนมา (ประมาณ 50-80% ของมะเร็งหลอดอาหาร) และมะเร็งเซลล์สความัส มะเร็งเซลล์สความัสเกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร ส่วนอะดีโนคาร์ซิโนมาเกิดขึ้นมาจากเซลล์แกลนดูลาร์ที่อยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหารมักทำให้มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) อาการเจ็บ และอาการอื่นๆ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เนื้องอกที่มีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะที่อาจรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด เนื้องอกขนาดใหญ่มักไม่สามารถผ่าตัดได้ซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาประทัง ซึ่งสามารถชะลอการโตของเนื้องอกได้ด้วยการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือรักษาร่วมกัน ในบางกรณีการใช้เคบีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงจนสามารถผ่าตัดได้ก็ได้ พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับว่าโรคกระจายไปมากแค่ไหนและมีปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ หรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดที่ปากมดลูก เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติและมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือส่วนอื่นของร่างกาย ในระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแล้วอาการที่พบบ่อยคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็อาจไม่มีอาการใดๆ จนลุกลามไปมากแล้วก็ได้ การรักษาส่วนใหญ่อาศัยการผ่าตัดในระยะแรกๆ และการใช้เคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาในระยะที่เป็นมาก การตรวจคัดกรองโดยการใช้การทดสอบแปปสามารถตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์และเนื้อเยื่อปากมดลูกได้.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งปากมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ซิสพลาตินและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรบลาสโตมา

นิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งอย่างหนึ่งที่เจริญจากเซลล์ของนิวรัลเครสท์ในระบบประสาทซิมพาเทติก ถือเป็นเนื้องอกของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อมักพบเกิดขึ้นในต่อมหมวกไต แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อประสาทในคอ อก ท้อง และอุ้งเชิงกราน ถือเป็นมะเร็งชนิดก้อนนอกกะโหลกศีรษะที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในวัยทารก หมวดหมู่:เนื้องอกของต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:เนื้องอกของสมอง หมวดหมู่:การเจริญในผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง หมวดหมู่:มะเร็งที่พบน้อย หมวดหมู่:เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและนิวโรบลาสโตมา · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ซิสพลาตินและเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cisplatin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »