โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซัสเซกซ์

ดัชนี ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

16 ความสัมพันธ์: ชิชิสเตอร์ช่องแคบอังกฤษภาษาอังกฤษเก่าราชอาณาจักรซัสเซกซ์อีสต์ซัสเซกซ์ประเทศอังกฤษแฮมป์เชอร์ไบรตันและโฮฟเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรเวสต์ซัสเซกซ์เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเคนต์เซอร์รีย์เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ชิชิสเตอร์

อาสนวิหารชิชิสเตอร์ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงเมือง ชิชิสเตอร์ (Chichester) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในเวสต์ซัสเซกซ์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษในอังกฤษ ชิชิสเตอร์มีประวัติของการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในบริเตนสมัยโรมัน ต่อมาก็มาเป็นเมืองสำคัญในสมัยแองโกล-แซกซัน ชิชิสเตอร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อาสนวิหารชิชิสเตอร์ที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสต์ที่เก่าแก่มากที่สุดในสหราชอาณาจักรหลายแห่ง.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และชิชิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซัสเซกซ์

ราชอาณาจักรซัสเซกซ์ (Kingdom of Sussex; Sūþseaxna rīce) คำว่า "ซัสเซกซ์" มาจากคำภาษาอังกฤษเก่าว่า Sūþsēaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ ซัสเซกซ์เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซกซันเจ็ดอาณาจักรที่มีอาณาบริเวณคล้ายกับอาณาจักรเคลต์เดิมชื่ออาณาจักรเรกีนี (Regini) แต่ต่อมาเทศมณฑลซัสเซกซ์ แต่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองโบราณครอบคลุมบริเวณป่าที่เรียกว่าป่าอันเดรด (Forest of Andred) ราชอาณาจักรซัสเซกซ์ปกครองโดยระบบราชาธิปไต.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และราชอาณาจักรซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสต์ซัสเซกซ์

ที่ตั้งของเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ อีสต์ซัสเซกซ์ (East Sussex) เป็นเทศมณฑล (county) แห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเซาท์อีสต์อิงแลนด์ (ภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) อีสต์ซัสเซกซ์มีเขตแดนติดกับเทศมณฑลเคนต์, เทศมณฑลเซอร์รีย์, เทศมณฑลไบรตันและโฮฟ และเทศมณฑลเวสต์ซัสเซกซ์ และทางตอนใต้เป็นช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และอีสต์ซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไบรตันและโฮฟ

รตันและโฮฟ (อังกฤษ:Brighton and Hove, เสียงอ่าน /ˈbraɪtən ən ˈhoʊv/) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร อยู่ภายในเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศอังกฤษ โดยถูกยกให้เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอังกฤษในด้านแหล่งท่องเที่ยวริมฝั่งชายทะเล.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และไบรตันและโฮฟ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร

มหาวิหารเช่นนครยอร์คที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารยอร์ค เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้ การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองในไอร์แลนด์และในเวลส์มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นไอร์แลนด์เหนือมีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนในสกอตแลนด์ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การมอบฐานะการเป็นนครในอังกฤษและเวลส์ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองที่มีมหาวิหารและสิทธิที่มอบให้ตั้งแต่นั้นมาก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหลายอย่างเช่นตามจำนวนประชากรในเมืองที่ได้รับฐานะเป็นต้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์ซัสเซกซ์

วสต์ซัสเซกซ์ (West Sussex) เป็นเทศมณฑล (county) แห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร มีฐานะเป็นทั้งเทศมณฑลทางพิธีการและเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร เวสต์ซัสเซกซ์ตั้งอยู่ในเซาท์อีสต์อิงแลนด์ (ภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) มีเขตแดนติดกับเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ (กับเทศมณฑลไบรตันและโฮฟ), เทศมณฑลแฮมป์เชอร์ และเทศมณฑลเซอร์รีย์ เทศมณฑลซัสเซกซ์ถูกแยกเป็นอีสต์ซัสเซกซ์และเวสต์ซัสเซกซ์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 และอยู่ภายใต้การบริหารของสภาเทศมณฑลแยกต่างหากจากกันตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเวสต์ซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South East England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 และรับเป็นส่วนหนึ่งของสถิติใน ปี ค.ศ. 1999 ภาคตะวันออกเฉียงใต้รวมมลฑลบาร์คเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, อีสต์ซัสเซ็กซ์, แฮมป์เชอร์, ไอล์ออฟไวท์, เค้นท์, อ๊อกซฟอร์ดเชอร์, เซอร์รีย์ และเวสต์ซัสเซ็กซ์ คำที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกบริเวณนี้คือ “ตะวันออกเฉียงใต้” แต่ความหมายต่างกันออกไปมาก ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 19,096 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: ซัสเซกซ์และเซาท์อีสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sussexมณฑลซัสเซ็กซ์ซัสเซ็กซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »