โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ

ดัชนี ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ

ตราโอเพนซอร์ซ ของ Open Source Initiative (OSI) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (Open source software; ตัวย่อ: OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดแผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้ ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และสัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล ไฟร์ฟอกซ์ ลินุกซ์ อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2526ภาษาเพิร์ลมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์รหัสต้นฉบับลินุกซ์สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์เสรีเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสต้นฉบับ

ตัวอย่างรหัสต้นฉบับของ HTML ผสมกับ จาวาสคริปต์ รหัสต้นฉบับ หรือ รหัสต้นทาง หรือ ซอร์ซโค้ด (source code) หรืออาจจะเรียกว่า ซอร์ซ หรือ โค้ด คือข้อความที่เป็นชุดที่ถูกเขียนขึ้น และสามารถอ่านและเข้าใจได้ ใช้สำหรับภาษาโปรแกรม ในการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ รหัสต้นฉบับนิยมเก็บไว้ในไฟล์หลายไฟล์แยกจากกัน เพื่อให้ง่ายในการเรียกใช้ส่วนย่อยของคำสั่งนั้น ถึงแม้ว่ารหัสต้นฉบับถูกเขียนขึ้นในลักษณะที่ให้อ่านและแก้ไขได้ง่าย รหัสต้นฉบับจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์โดยคอมไพเลอร์สำหรับโปรแกรมนั้น หรือ คำนวณในทันทีโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์เข้ามาช่ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและรหัสต้นฉบับ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ

ัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ (open source license) เป็นรูปแบบสัญญาอนุญาตที่ใช้กับพวกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ตัวอย่างเช่น BSD licenses, MIT License, หรือ สัญญาอนุญาตสาธารณะของมอซิลลา สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซเป็นเงื่อนไขของการให้สิทธิแก่บุคคลที่นำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนโดยบุคคลหนึ่งทำการแจกจ่ายหรือเผยแพร่ในลักษณะที่เหมือนเป็นการจ่ายแจกได้อย่างอิสระ หากแต่มีการวางข้อกำหนดและเงื่อนไขของการแจกจ่ายและเผยแพร่ รวมทั้งข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของการดัดแปลง แก้ไข โปรแกรมคอมพิวตอร์ดังกล่าว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (Software Industry Promotion Agency (Public Organization)) อดีต องค์การมหาชนของไทย ในการกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่วางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเท.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์

อะพาเช่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache HTTP Server) คือซอฟต์แวร์สำหรับเปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์บนโพรโทคอล HTTP โดยสามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ ที่มาของชื่อ Apache มาจากกลุ่มคนที่ช่วยสร้างแพตช์ไฟล์สำหรับโครงการ NCSA httpd 1.3 ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของชื่อ A PAtCHy server และในอีกความหมายหนึ่งยังกล่าวถึงเผ่าอะแพชีหรืออาปาเช่ ซึ่งเป็นเผ่าอินเดียนแดงที่มีความสามารถในการรบสูง.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Open Source software

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »