โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช้าง

ดัชนี ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

78 ความสัมพันธ์: ชาวอังกฤษชนิดย่อยช้างบอร์เนียวช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างป่าแอฟริกาช้างแมมมอธช้างแอฟริกาช้างในประเทศไทยช้างเอเชียช้างเอเชีย (สกุล)พื้นที่คุ้มครองกลีบขมับการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตกมันการประหารชีวิตด้วยช้างมวยปล้ำยุทธหัตถียุครณรัฐยุคน้ำแข็งยีราฟ (สกุล)รัฐฌารขัณฑ์ราชวงศ์ทอเลมีลอนดอนวรรณกรรมเด็กวงศ์เอลิฟานติดีสกุล (ชีววิทยา)สมองน้อยสมองใหญ่สมัยไพลสโตซีนสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสะวันนาสัตววิทยาสัตว์บกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสิงโตสปีชีส์อันดับวาฬและโลมาอันดับวานรอารยธรรมเฮลเลนิสต์อาริสโตเติลองศาเซลเซียสอนุทวีปอินเดียอเล็กซานเดอร์มหาราชฮันนิบาลฮิปโปโปเตมัสจักรวรรดิขแมร์จักรวรรดิเปอร์เชียจุดประสานประสาทดัมโบ้...คชศาสตร์ครีตคาร์เธจต่อมเหงื่อซากดึกดำบรรพ์ประเทศชาดประเทศพม่าประเทศลาวประเทศศรีลังกาประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศแอฟริกาใต้ประเทศแองโกลาประเทศไทยนครนิวยอร์กแรดแอฟริกาตะวันตกแขวงไชยบุรีโลมาไนโตรเจนเกาะสุมาตราเส้นศูนย์สูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฮิรตซ์เทือกเขาแอลป์เดซิเบลเนเจอร์ (วารสาร)Pachydermata ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ช้างและชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: ช้างและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างบอร์เนียว

้างบอร์เนียว หรือ ช้างแคระบอร์เนียว (Borneo elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชียชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus borneensis พบได้เฉพาะบนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น ถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" เพราะมีขนาดลำตัวที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดเล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ อย่างมาก โดยมีความสูงประมาณ 8 ฟุต เท่านั้นเอง ตัวผู้มีงาสั้น ๆ หรือไม่มีเลย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีใบหูใหญ่ มีลำตัวอ้วนกลมกว่า และมีนิสัยไม่ดุร้าย มีลักษณะความแตกต่างทางพันธุกรรมจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ พอสมควร สุลต่านแห่งซูลูได้นำเอาช้างที่ถูกจับเข้ามาบนเกาะบอร์เนียวในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนจะถูกปล่อยเข้าป่าไปCranbrook, E., Payne, J., Leh, C.M.U. (2008).

ใหม่!!: ช้างและช้างบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: ช้างและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างป่าแอฟริกา

้างป่าแอฟริกา (African forest elephant) เป็นช้างชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (L. africana) โดยใช้ชื่อว่า L. africana cyclotis จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ช้างและช้างป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแมมมอธ

้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว ในปลายเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ช้างและช้างแมมมอธ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ช้างและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างในประเทศไทย

ในปัจจุบัน ช้างเอเชีย นอกจากจะเป็นสัตว์ประจำชาติไทยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อประเทศไทย ดังนี้.

ใหม่!!: ช้างและช้างในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

ใหม่!!: ช้างและช้างเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย (สกุล)

้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae.

ใหม่!!: ช้างและช้างเอเชีย (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่คุ้มครอง

การเดินป่าที่ป่าสงวน Jaldapara Wildlife Sanctuary ในเบ็งกอลตะวันตกในอินเดีย Arribes del Duero Natural Park ในสเปน อุทยานแห่งชาติสวิสในบริเวณภูเขาแอลป์ส่วนที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ พื้นที่คุ้มครอง (Protected area) คือภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์เพราะความมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพราะความมีคุณค่าทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อวัฒนธรรม ตัวอย่างของภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการคุ้มครองก็ได้แก่อุทยาน, เขตสงวนธรรมชาติ (nature reserves) และ เขตอาศัย/อนุรักษ์สัตว์ (wildlife sanctuaries) แต่ไม่รวมภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ เช่นสิ่งก่อสร้างที่มิได้คำนึงถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่รวม “ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม” (cultural landscapes) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติและธรรมชาติ พื้นที่คุ้มครองรวม พื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area) ที่หมายถึงภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ที่มีดินแดนที่รวมเนื้อที่ในทะเล พื้นที่คุ้มครองมีเป็นจำนวนมากและระดับของการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ก็ต่างกันออกไปตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศ หรือตามกฎขององค์การระหว่างประเทศ ในปัจจุบันพื้นที่คุ้มครองทั่วโลกมีจำนวนด้วยกันทั้งหมดราว 108,000 แห่ง และมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 30,430,000 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 12% ของเนื้อที่ที่เป็นพื้นดินทั้งหมดทั่วโลก หรือกว้างใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาทั้งทวีป ตรงกันข้ามกับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2009 มีจำนวน 5,000 แห่ง และมีเนื้อที่เพียง 0.8 ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร.

ใหม่!!: ช้างและพื้นที่คุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ช้างและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ช้างและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตกมัน

ทมพอริน (temporin) ที่หลั่งออกมาในช่วงตกมัน การตกมัน (musth หรือ must) เป็นสภาวะชั่วครั้งชั่วคราวในช้างพลาย อันมีลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างสูง และการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์มากผิดปกติ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในช้างที่กำลังตกมันสามารถสูงถึง 60 เท่ากว่าช้างในเวลาปกติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าการเพิ่มขึ้นผิดปกติของฮอร์โมนสืบพันธุ์ของช้างนั้นเป็นสาเหตุเดียวของการตกมัน หรือเป็นเพียงปัจจัยประกอบเท่านั้น การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการตกมันยังเป็นปัญหา เพราะช้างที่กำลังตกมัน แม้แสดงท่าทางสงบนิ่ง ก็อาจพยายามฆ่ามนุษย์ได้.

ใหม่!!: ช้างและการตกมัน · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตด้วยช้าง

นักโทษถูกแยกแขนขาด้วยช้างในซีลอน ภาพวาด ค.ศ. 1861 การประหารชีวิตด้วยช้าง เป็นวิธีการทั่วไปในการประหารชีวิตในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย เป็นเวลานานนับหลายพันปีมาแล้ว ช้างเอเชียถูกใช้ในการเหยียบ ตัดแขนขา หรือทรมานนักโทษในการประหารชีวิตต่อสาธารณะ ช้างที่จะถูกใช้ในการประหารชีวิตถูกฝึกและสามารถใช้งานได้หลายอย่าง ทั้งสามารถสังหารนักโทษได้ในทันทีหรือทรมานอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ช้างถูกใช้โดยพระมหากษัตริย์ จึงถูกใช้เป็นเครื่องแสดงของทั้งอำนาจสมบูรณ์ของผู้ปกครองของพระปรีชาสามารถที่ควบคุมสัตว์ป่าได้ ภาพของการประหารชีวิตนักโทษด้วยช้างดึงดูดความสนใจของนักเดินทางชาวยุโรปซึ่งมักรู้สึกหวาดกลัว และได้บันทึกไว้ในบันทึกประจำวันและเรื่องราวชีวิตในเอเชียร่วมสมัย การปฏิบัติดังกล่าวถูกยับยั้งในภายหลังโดยจักรวรรดิยุโรปที่ยึดดินแดนในภูมิภาคเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วการปฏิบัตินี้จะมีในเอเชีย แต่บางครั้งอำนาจตะวันตกก็ได้นำไปปรับใช้บ้าง เช่น โรมและคาร์เธจ โดยเฉพาะกับทหารที่เป็นกบฏ.

ใหม่!!: ช้างและการประหารชีวิตด้วยช้าง · ดูเพิ่มเติม »

มวยปล้ำ

มวยปล้ำ มวยปล้ำเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมเสมอมาตั้งแต่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ จุดกำเนิดของกีฬามวยปล้ำเกิดขึ้นเมื่อ 15,000 ปีในบริเวณที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศส โดยมีหลักฐานเป็นรูปภาพเกี่ยวกับมวยปล้ำในถ้ำแห่งหนึ่ง ชาวบาบิโลนและชาวอียิปต์ได้เผยแพร่การแสดงของนักมวยปล้ำโดยการปล้ำและการเข้าล็อกซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน ในยุคกรีกโบราณมวยปล้ำมีหลักฐานอย่างเด่นชัดผ่านทางตำนานและเรื่องเล่าต่าง ๆ เช่น การแข่งขันมวยปล้ำ และแง่มุมต่าง ๆ ในรูปแบบที่โหดร้าย ปัจจุบันมวยปล้ำถูกบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก.

ใหม่!!: ช้างและมวยปล้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธหัตถี

วาดในจินตนาการการใช้ช้างศึกออกสงครามของพระเจ้าเปารยะ สู้กับ กองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราช ยุทธหัตถี หรือ การชนช้าง (Elephant duel) คือการทำสงครามบนหลังช้างตามประเพณีโบราณของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นการทำสงครามซึ่งถือว่ามีเกียรติยศ เพราะช้างถือเป็นสัตว์ใหญ่ และเป็นการปะทะกันซึ่ง ๆ หน้า ผู้แพ้อาจถึงแก่ชีวิตได้.

ใหม่!!: ช้างและยุทธหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ยุครณรัฐ

รณรัฐ (Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 475 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์โจว.

ใหม่!!: ช้างและยุครณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคน้ำแข็ง

แผ่นน้ำแข็งที่ขยายระหว่างยุคน้ำแข็ง ภาพนี้เป็นแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย (Ice Age)เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น เมื่อพื้นผิวมหาสมุทรถูกปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้ใต้ท้องมหาสมุทรไม่ได้รับแสงอาทิตย์ หรือได้รับน้อยมาก และหลังจากนั้นได้มีการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ขึ้น และพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก ทำให้โลกเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน(Green House Effect)แล้วน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมทั่วโลกนั้นได้ละลายกลายเป็นน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ ทำให้น้ำที่ละลายไปนั้นไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่พื้นดินดังเดิม.

ใหม่!!: ช้างและยุคน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟ (สกุล)

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี.

ใหม่!!: ช้างและยีราฟ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฌารขัณฑ์

รัฐฌารขัณฑ์ คือรัฐหนึ่งของประเทศอินเดียที่แยกตัวออกมาจากรัฐพิหาร เมื่อพ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ตอนกลางเยื้องไปทางตะวันออกของประเทศ ฌารขัณฑ์ หมวดหมู่:รัฐฌาร์ขัณฑ์ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: ช้างและรัฐฌารขัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ทอเลมี

ทอเลมีที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทอเลมี ราชวงศ์ทอเลมี (Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี.

ใหม่!!: ช้างและราชวงศ์ทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ช้างและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมเด็ก

็กๆ สี่คนกำลังอ่าน ''How the Grinch Stole Christmas!'' ของ Dr. Seuss วรรณกรรมสำหรับเด็ก คืองานเขียนที่โครงเรื่องเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มีตัวละครเป็นเด็ก มีความคิดและทัศนะคติแบบเด็ก อาจหมายรวมถึงนิทานภาพสำหรับเด็กของเด็กวัยเตาะแตะจนกระทั่งวรรณกรรมเยาวชนสำหรับผู้อ่านในเด็กที่โตแล้วจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อย่างไรก็ดีถึงแม้จะเป็นวรรณกรรมที่เขียนให้เด็กอ่าน แต่วรรณกรรมสำหรับเด็กบางเล่มหรือบางประเภทก็สามารถนำมาวิเคราะห์ ตีความ วิจารณ์ในแง่คุณค่าได้ นอกจากนี้วรรณกรรมสำหรับเด็กยังครอบคลุมถึง สื่อ ของเล่น และการแสดงต่าง ๆ ที่ทำขึ้นสำหรับเด็กด้วย ปัจจุบันหลายประเทศได้มีการเปิดสอนหลักสูตรวรรณกรรมสำหรับเด็ก ในระดับต่าง ๆ เช่น ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ส่วนในประเทศไทยมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒแห่งเดียวเท่านั้น.

ใหม่!!: ช้างและวรรณกรรมเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: ช้างและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ช้างและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมองน้อย

ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition), เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่น.

ใหม่!!: ช้างและสมองน้อย · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: ช้างและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: ช้างและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ช้างและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สะวันนา

วันนาเขตร้อนตรงแบบในประเทศออสเตรเลียตอนเหนือแสดงความหนาแน่นของไม้ต้นสูงและการเว้นช่องสม่ำเสมออันเป็นลักษณะของสะวันนาหลายแห่ง สะวันนา (savanna หรือ savannah) เป็นระบบนิเวศทุ่งหญ้าที่มีลักษณะไม้ต้นมีที่ว่างกว้างจนร่มไม้ไม่ปิด ร่มไม้เปิดทำให้แสงถึงพื้นเพียงพอเพื่อสนับสนุนชั้นไม้ล้มลุกซึ่งประกอบด้วยหญ้าเป็นหลัก.

ใหม่!!: ช้างและสะวันนา · ดูเพิ่มเติม »

สัตววิทยา

ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.

ใหม่!!: ช้างและสัตววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์บก

สัตว์บก เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน มีทั้ง 2ขาและ 4ขาหรือมากกว่านั้น ไม่นับคน จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนบก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ ๆ คือ พวกที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ไก่ พวกออกลูกเป็นตัวเช่น แมว สุนัข ช้าง พวกที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่น จิงโจ้ และพวกที่มีรก โดยส่วนใหญ่สัตว์ตัวเมียมีนมให้ลูกกิน หมวดหมู่:สัตว์บก.

ใหม่!!: ช้างและสัตว์บก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ช้างและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ช้างและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: ช้างและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ช้างและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: ช้างและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ใหม่!!: ช้างและอันดับวานร · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมเฮลเลนิสต์

อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (Hellenistic civilization) เป็นจุดสูงสุดของความมีอิทธิพลของอารยธรรมกรีกในโลกยุคโบราณตั้งแต่ราวปี 323 จนถึงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษ (หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษก็เป็นได้) เป็นสมัยที่ตามมาจากสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) และตามมาทันทีด้วยการปกครองของโรมในบริเวณที่เคยปกครองโดยหรือมีอิทธิพลจากกรีซ – แม้ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดีของกรีซจะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมของโรมัน ที่ชนชั้นสูงจะพูดและอ่านภาษากรีกได้ดีพอ ๆ กับภาษาละติน หลังจากชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนกรีกแล้ว ราชอาณาจักรมาซิโดเนียต่าง ๆ ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นทั่วบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกใกล้ และ ตะวันออกกลาง) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา (ส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณ) ซึ่งเป็นผลให้วัฒนธรรมและภาษากรีกเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น และในทางกลับกันอาณาจักรใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่างก็รับวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ตามแต่จะสะดวกและมีประโยชน์ ฉะนั้นอารยธรรมเฮลเลนิสต์จึงเป็นอารยธรรมที่ผสานระหว่างอารยธรรมกรีกกับอารธรรมของตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแยกตัวจากทัศนคติเดิมของกรีกต่ออารธรรมอื่นที่เคยถือว่าอารยธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมกรีกเป็นอารธรรมของ "อนารยชน" แต่การผสานระหว่างอารยธรรมกรีกและอารยธรรมที่ไม่ใช่กรีกจะมากน้อยเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่แนวโน้มของความเห็นที่ตรงกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการปรับรับวัฒนธรรมใหม่เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นส่วนประชากรโดยทั่วไปก็คงอาจจะดำรงชีวิตเช่นที่เคยทำกันม.

ใหม่!!: ช้างและอารยธรรมเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: ช้างและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ช้างและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ช้างและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ช้างและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนิบาล

ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่สอง ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่สอง เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเล.

ใหม่!!: ช้างและฮันนิบาล · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปโปเตมัส

ปโปโปเตมัส หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโป (Hippopotamus; Hippo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) โดยเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกชนิดนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัสแคระ (Choeropsis liberiensis) ที่พบในป่าดิบชื้นของแอฟริกาตะวันตก) ชื่อ "ฮิปโปโปเตมัส" มาจากภาษากรีกคำว่า ἵππος (hippos) หมายถึง "ม้า" และ ποταμός (potamos) หมายถึง "แม่น้ำ" รวมแล้วหมายถึง "ม้าแม่น้ำ" หรือ "ม้าน้ำ" (ἱπποπόταμος) เนื่องจากมีส่วนหัวคล้ายม้ามาก โดยเฉพาะยามเมื่ออยู่ในน้ำ.

ใหม่!!: ช้างและฮิปโปโปเตมัส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: ช้างและจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ช้างและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ช้างและจุดประสานประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ดัมโบ้

ัมโบ (Dumbo) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องที่สี่ของวอลต์ ดิสนีย์ ออกฉายวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1941 กำกับโดย Ben Sharpsteen เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันต้นทุนต่ำที่สร้างขึ้นมาในขณะที่ดิสนีย์กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากความล่าช้าและงบประมาณบานปลายในการสร้างภาพยนตร์ แฟนตาเซีย และภาพยนตร์สองเรื่องก่อนหน้า คือ หุ่นไม้พินอคคิโอ และ แฟนตาเซีย ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และทำให้วอลต์ ดิสนีย์ รอดพ้นจากภาวะการขาดทุนได้ และนอกจากนี้ ดับโบ้ยังชนะเลิศรางวัลออสการ์ 1 สาขา คือ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อีกด้วย ดัมโบสร้างจากเรื่องราวในหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก เขียนโดยเฮเลน อเบอร์สัน วาดภาพประกอบโดยแฮโรลด์ เพิร์ล เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับลูกช้างเกิดใหม่จากแม่ช้างในคณะละครสัตว์ชื่อ จัมโบ มันมีหูใหญ่ผิดธรรมชาติจึงได้ชื่อว่า ดัมโบ ถูกพรากออกจากแม่ และไม่ได้รับความสนใจจากช้างอื่นในฝูง มีเพื่อนที่คอยปลอบโยนเพียงตัวเดียวเป็นหนูชื่อ ทิโมที คิว.

ใหม่!!: ช้างและดัมโบ้ · ดูเพิ่มเติม »

คชศาสตร์

ตร์ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับช้าง แบ่งออกเป็น 2 ตำรา คือ.

ใหม่!!: ช้างและคชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: ช้างและครีต · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เธจ

ร์เธจ (Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซี.

ใหม่!!: ช้างและคาร์เธจ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมเหงื่อ

ต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต่อมมีท่อซึ่งพบได้ตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ (sweat) ทำงานภายใต้ระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะซิติลโคลีน (Acetylcholene) ออกมาควบคุม.

ใหม่!!: ช้างและต่อมเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: ช้างและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชาด

(Tchad; تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเฟรนช์อิเควทอเรียลแอฟริกา (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad).

ใหม่!!: ช้างและประเทศชาด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ช้างและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ช้างและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ช้างและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ช้างและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ช้างและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: ช้างและประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแองโกลา

แองโกลา (Angola,, อังกอลา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแองโกลา (República de Angola) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจดกับประเทศนามิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศแซมเบีย และมีชายฝั่งทางตะวันตกบนมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนจังหวัดกาบิงดาแยกจากส่วนที่เหลือของประเทศและมีพรมแดนจดสาธารณรัฐคองโก (คองโก-บราซาวีล) แองโกลาเป็นอดีตอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควร ที่สำคัญคือน้ำมันและเพชร แองโกลาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ช้างและประเทศแองโกลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ช้างและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: ช้างและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แรด

แรด เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน.

ใหม่!!: ช้างและแรด · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันตก

นแดนแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 15 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ช้างและแอฟริกาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

แขวงไชยบุรี

ตราประจำจังหวัดลานช้างเมื่ออยู่ใต้การปกครองของไทย (พ.ศ. 2484 - 2489) ไชยบุรี (ໄຊຍະບູລີ, ไซยะบูลี) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ มีพื้นที่ติดกับประเทศไทยทางด้านจังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดน่าน, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย เคยเป็นส่วนหนึ่งของสยามก่อนการเสียดินแดนเมื่อปี พ.ศ. 2447 ซึ่งมีผลให้แขวงนี้ไปขึ้นกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ไทยได้กลับคืนมาชั่วคราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อได้กลับคืนมาจึงตั้งเป็นจังหวัดลานช้าง แต่ต้องคืนกลับไปเหมือนเดิมหลังสงคราม เมื่อแขวงไชยบุรีกลับคืนไปเป็นของลาวอีกครั้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า ไชยบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งชัยชนะ ชัยชนะที่แขวงได้กลับคืนเป็นของลาวอีกครั้ง (แต่ก่อนไชยบุรีเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหลวงพระบาง).

ใหม่!!: ช้างและแขวงไชยบุรี · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: ช้างและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: ช้างและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ช้างและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: ช้างและเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ช้างและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ใหม่!!: ช้างและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: ช้างและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เดซิเบล

ซิเบล (decibel, dB) เป็นหน่วยวัดเทียบอัตราส่วนระหว่างปริมาณเสียงสองปริมาณ ใช้สำหรับวัดความดังของเสียง คิดค้นโดย Alexander Graham Bell นิยมใช้กันมากในทางอคูสติก ฟิสิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ เดซิเบลเป็นหน่วยวัดที่ไม่มีหน่วยเหมือนค่าเปอร์เซ็นต์ หน่วยเดซิเบลเป็นหน่วยที่สามารถแสดงค่าสูงและค่าต่ำเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากคำนวณจากการหาลอการิทึม ระดับเดซิเบลที่ถึงขั้นอันตรายของคนหูปกติคือ 85 เดซิเบลขึ้นไป (หลังจากรับฟังหลายชั่วโมง).

ใหม่!!: ช้างและเดซิเบล · ดูเพิ่มเติม »

เนเจอร์ (วารสาร)

วารสาร''เนเจอร์''ฉบับแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 เนเจอร์ เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ช้างและเนเจอร์ (วารสาร) · ดูเพิ่มเติม »

Pachydermata

Pachydermata (มาจากภาษากรีกสองคำ คือ "παχύς" (หนา) และ "δερμα" (หนัง) รวมจึงหมายถึง "หนังหนา") เป็นอันดับหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว อธิบายโดย กอตต์ลีบ สตอร์, จอร์จส์ คูวิเยร์ และอื่น ๆ ซึ่งเคยได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอดีต แต่เนื่องจากอันดับดังกล่าวเป็นการรวบรวมสัตว์จากหลายสายพันธุ์ จึงไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป แต่มันยังถือว่ามีความสำคัญในประวัติศาสตร์การจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิตอยู่ สัตว์ในอันดับนี้ประกอบด้วยช้าง ฮิปโปโปเตมัส แรด สมเสร็จ ม้า และหมูป่า Pachydermata ของคูเวียร์นั้นประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามวงศ์ ซึ่งเขาเรียกว่า Proboscidiana, Pachydermata Ordinaria และ Solipedes ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์กินพืช ปัจจุบัน วงศ์เหล่านี้ถูกจำแนกออกเป็น Proboscidea ซึ่งประกอบด้วยช้างที่ยังไม่สูญพันธุ์อยู่สามสปีชีส์เท่านั้น, Perissodactyla หรือสัตว์มีกีบเท้านิ้วแปลก รวมไปถึงม้า สมเสร็จ และแรด, Suina ประกอบด้วยสุกรและเพคคารี และ Hyracoidea หรือไฮแรกซ์ คูเวียร์เองเคยนิยาม Pachydermata ไว้ว่า "สัตว์ที่มีกีบเท้า แต่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง" ขณะที่สตอร์อธิบายว่า "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีกีบเท้าและมีนิ้วมากกว่าสองนิ้ว" คูเวียร์ได้เพิ่มม้าเข้าไปในอันดับนี้ด้วย ถึงแม้ว่าอดีตอันดับ Pachydermata มักจะถูกอธิบายว่าเป็นการจัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ไม่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน แต่นักสัตววิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคนยอมรับการจัดอันดับนี้ รวมทั้งชาร์ลส์ ดาร์วิน โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีกีบเท้าโดยไม่นับรวมสัตว์มีกีบเท้าอื่น ๆ และลักษณะทางกายวิภาคได้สนับสนุนความใกล้เคียงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม "Pachyderm" กับสัตว์ประเภทเดียวกัน และสัตว์มีกีบเท้าอื่น.

ใหม่!!: ช้างและPachydermata · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

🐘

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »