โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช่องแคบฮอร์มุซ

ดัชนี ช่องแคบฮอร์มุซ

แผนที่ประวัติศาสตร์ของบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ (ค.ศ. 1892) ช่องแคบฮอร์มุซ (مضيق هرمز, Madīq Hurmuz; تنگه هرمز, Tangeh-ye Hormoz; Strait of Hormuz) เป็นช่องแคบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้กับอ่าวเปอร์เซียทางตะวันตกเฉียงใต้ ฝั่งทางตอนเหนือเป็นประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้เป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และแหลมมุซันดัม (Musandam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโอมาน ช่องแคบส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 54 กิโลเมตร ช่องแคบฮอร์มุซเป็นทางออกทางมหาสมุทรทางเดียวของบริเวณส่วนใหญ่ของประเทศที่ส่งปิโตรเลียมออกในอ่าวเปอร์เซีย จากข้อมูลขององค์การว่าด้วยข้อมูลด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่าโดยถัวเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีเรือบรรทุกน้ำมัน 15 ลำที่บรรทุกน้ำมันราว 16.5 ถึง 17 ล้านบาร์เรลที่เดินทางออกจากช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในโลก การขนส่งน้ำมันจากช่องแคบเป็นจำนวน 40% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด และ 20% ของการขนส่งน้ำมันทั่วโลก.

7 ความสัมพันธ์: บาร์เรลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อ่าวโอมานอ่าวเปอร์เซียประเทศอิหร่านประเทศโอมานปิโตรเลียม

บาร์เรล

ังไม้ ที่มาของหน่วยบาร์เรล บาร์เรล (barrel ย่อว่า bbl) เป็นหน่วยวัดปริมาตรอย่างหนึ่ง เทียบเท่ากับประมาณ 100-200 ลิตร (30-50 แกลลอนอเมริกา) ขึ้นอยู่กับระบบและสิ่งที่นำมาวัด มีที่มาจากถังไม้ที่บรรจุเบียร์และไวน.

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและบาร์เรล · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

หรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates; الإمارات العربيّة المتّحدة) เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ริมอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กลุ่มรัฐดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รัฐสงบศึก (Trucial States) หรือ ทรูเชียลโอมาน (Trucial Oman) โดยอ้างอิงตามสัญญาสงบศึกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างอังกฤษกับเชคอาหรับบางพระองค์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีพรมแดนติดกับโอมาน ซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน.

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวโอมาน

อ่าวโอมาน "ทะเลเปอร์เซีย" เป็นอีกชื่อหนึ่งของอ่าวโอมาน ดังแสดงในแผนที่ยุคศตวรรษที่ 18 โดยเอมานูเอล โบเวน อ่าวโอมาน (Gulf of Oman; خليج عُمان, Ḫalīdj ʾUmān), อ่าวมากราน (خليج مکران, Ḫalīdj Makrān), ทะเลอิหร่าน (دریای ایران, Daryā-e Īrān) หรือ ทะเลเปอร์เซีย (دریای فارس, Daryā-e Fārs) เป็นช่องแคบ (และไม่ใช่อ่าวอย่างแท้จริง) เชื่อมต่อทะเลอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ อ่าวโอมานถือเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวเปอร์เซีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทะเลอาหรับ ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่าน (เปอร์เซีย) ปากีสถาน โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยชายฝั่งทางตอนเหนือติดกับปากีสถานและอิหร่าน ชายฝั่งทางใต้ติดกับโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อโอมาน หมวดหมู่:อ่าวเปอร์เซีย.

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและอ่าวโอมาน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโอมาน

อมาน (Oman; عُمان) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman; سلطنة عُمان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้ว.

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและประเทศโอมาน · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: ช่องแคบฮอร์มุซและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Strait of HormuzStraits of Hormuz

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »