โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจดีย์ชเวดากอง

ดัชนี เจดีย์ชเวดากอง

ีย์ชเวดากอง (ရွှေတိဂုံစေတီတော်, เฉว่ดะโก่งเส่ดี่ด่อ) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า "ชเว" (ရွှေ) หมายถึง ทอง, "ดากอง" (ဒဂုံ แผลงเป็น တိဂုံ) คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดของพระเจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำข้างประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆและเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง.

23 ความสัมพันธ์: ชาวมอญพม่าตอนล่างพระกกุสันธพุทธเจ้าพระกัสสปพุทธเจ้าพระยาอู่พระนางเชงสอบูพระโกนาคมนพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้ามินดงพระเจ้าธรรมเจดีย์กัปภิกษุย่างกุ้งศาสนาพุทธศาสนาพุทธในประเทศพม่าสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐคริสต์ศตวรรษที่ 10คริสต์ศตวรรษที่ 6ประวัติศาสนาพุทธประเทศพม่าเส้นผมเถรวาทเขตย่างกุ้ง

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและชาวมอญ · ดูเพิ่มเติม »

พม่าตอนล่าง

ม่าตอนล่างแสดงด้วยสีชมพู พม่าตอนบนแสดงด้วยสีส้ม พม่าตอนล่าง (Lower Burma; အောက်မြန်မာပြည်) บางครั้งเรียก พม่านอก (Outer Myanmar) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของพม่าอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี (เขตอิรวดี, เขตพะโค และเขตย่างกุ้ง) และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งของประเทศ (รัฐยะไข่, รัฐมอญ และเขตตะนาวศรี) ในภาษาพม่า ประชาชนที่มาจากพม่าตอนบนมักเรียกว่า อะ-เทต-ตา สำหรับผู้ชาย และ อะ-เทียต-ลฮู สำหรับผู้หญิง ในขณะที่ประชาชนที่มาจากพม่าตอนล่างจะเรียกว่า เอาะตา สำหรับผู้ชาย และ เอาะธู สำหรับผู้หญิง ส่วน อะ-ญา-ตา หมายถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ส่วนในของประเทศ ในทางประวัติศาสตร์ พม่าตอนล่างหมายถึงดินแดนของพม่าที่ถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิบริติชหลังจากสิ้นสุดสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ใน..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพม่าตอนล่าง · ดูเพิ่มเติม »

พระกกุสันธพุทธเจ้า

ระกกุสันธพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 22 ในพุทธวงศ์ แต่เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปนี้.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระกกุสันธพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกัสสปพุทธเจ้า

ระกัสสปะพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้ ทรงจุติลงมาในโลกมนุษย์หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระโกนาคมพุทธเจ้าแล้ว โดยนับตั้งแต่อายุมนุษย์ลดลงจากสองหมื่นปีเหลือ 10 ปี แล้วเพิ่มขึ้นจนถึงสองหมื่นปีอีกครั้ง พระองค์จึงเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระกัสสปพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอู่

ระยาอู่ (ဗညာဥူ; ဗညားဦး,; เป็นที่รู้จักกันในพระนาม พระเจ้าเชงพยูเชง (พระเจ้าช้างเผือก) 1323 – 1384) หรือ บญาอู กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระยาอู่ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเชงสอบู

ระนางเชงสอบู (ရှင်စောပု,; သေဝ်စါဝ်ပေါအ်; อักษรโรมัน: Shin Sawbu; ในราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถอดเสียงเป็น แสจาโป) หรือ พระนางพระยาท้าว, ตละเจ้าปุ, พระนางพญาท้าว, ตละเจ้าท้าว และ นางพระยาตละเจ้าท้าว (ဗညားထောဝ်; อักษรโรมัน: Binnya Thau) เป็นกษัตริย์หญิงแห่งอาณาจักรมอญเพียงพระองค์เดียวที่ปกครองชาวมอญเป็นเวลา 17 ปี (พ.ศ. 1996 - 2013) และถือเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฟ้ารั่วองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรมอญ พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราช หลังจากพระเจ้าราชาธิราชเสด็จสวรรคต ได้มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนสิ้นรัชทายาทที่เป็นบุรุษ จึงได้ยกพระนางขึ้นปกครองแทน.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระนางเชงสอบู · ดูเพิ่มเติม »

พระโกนาคมนพุทธเจ้า

ระโกนาคมนพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 23 ในพุทธวงศ์ และเป็นพระองค์ที่ 2 ในภัททกัปนี้ ที่พระองค์มีพระนามเช่นนี้เนื่องจากขณะที่พระองค์ประสูติฝนทองได้ตกลงมาทั่วทั้งชมพูทวีป พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิยโยสราชกุมารและอุดรราชกุมาร พร้อมด้วยบริวาร พระกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 30,000 พรรษาจึงเสด็จปรินิพพาน.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระโกนาคมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ามินดง

ระเจ้ามินดง (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421) เป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา (ค.ศ. 1853 - 1878) พระองค์เป็นผู้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อมรปุระ และมัณฑะเลย์ พระองค์เป็นผู้ปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยขึ้น ตอนที่พระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงสถาปนาเจ้าหญิงเสกขรเทวี น้องร่วมพระชนนีกับพระเจ้าพุกาม ขึ้นเป็นอัครมเหสี และสถาปนาเจ้าหญิงราชธิดาพระเจ้าพาคยีดอ คือนางอเลนันดอ เป็นมเหสี ในสมัยของพระองค์ต้องประสบปัญหาความขัดแย้งกับอังกฤษ การสูญเสียดินแดนของพม่าตอนล่าง และปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในประเทศ ภาพของพระเจ้ามินดงในเอกสารชาวตะวันตก.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระเจ้ามินดง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธรรมเจดีย์

ระเจ้าธรรมเจดีย์ (ဓမ္မစေတီ,; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและพระเจ้าธรรมเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

กัป

กัป หรือ กัลป์ (กปฺป; कल्प กลฺป) หมายถึง ช่วงระยะเวลาอันยาวนานของโลก จนไม่สามารถกำหนดเป็นวัน เดือน หรือปีได้ พบในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและกัป · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศพม่า

ทธศาสนาในพม่าส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาทมีผู้นับถือโดยประมาณ 89% ของประชากรภายในประเทศ เป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในแง่ของสัดส่วนพระสงฆ์ต่อประชากรและสัดส่วนของรายได้ที่ใช้ในศาสนา พบการนับถือมากในหมู่ ชาวพม่า, ชาน, ยะไข่, มอญ, กะเหรี่ยง, และชาวจีนในพม่า พระภิกษุสงฆ์เป็นที่เคารพบูชาทั่วไปของสังคมพม่า ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศพม่า ได้แก่ ชาวพม่า และ ชาน พุทธศาสนาเถรวาทมักเกี่ยวข้องกับการนับถือนัตและสามารถเข้าแทรกแซงกิจการทางโลกได้ พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและศาสนาพุทธในประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ไฟล์:Bscript Naingngandaw-Ayecha.png, State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือสล็อร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่ การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 10

ริสต์ศตวรรษที่ 10 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 901 ถึง ค.ศ. 1000.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและคริสต์ศตวรรษที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 6

ริสต์ศตวรรษที่ 6 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 501 ถึง ค.ศ. 600.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและคริสต์ศตวรรษที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาพุทธ

นาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและประวัติศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นผม

ตัดขวางของเส้นผม ผม หรือ เส้นผม คือเซลล์ที่ตายแล้ว โดยปกติแล้วผมยาวประมาณเดือนละ 1 ซม.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและเส้นผม · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เขตย่างกุ้ง

ตย่างกุ้ง (ရန်ကုန်တိုင်းဒေသကြီး) เป็นเขตการปกครองแห่งหนึ่งของประเทศพม่า ตั้งอยู่ใจกลางบริเวณพม่าตอนล่าง มีเมืองหลวงคือย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและอดีตเมืองหลวงของประเทศ เมืองที่สำคัญอื่น ๆ เช่น สิเรียมและตวูนเต เขตนี้เป็นพื้นที่มีการพัฒนามากที่สุดของประเทศและเป็นประตูสู่นานาชาติ เขตย่างกุ้งมีเนื้อที่ 10,276.7 ตารางกิโลเมตร (3,967.9 ตารางไมล์).

ใหม่!!: เจดีย์ชเวดากองและเขตย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Shwe DagonShwe dagonShwedagonShwedagon PagodaShwedagon pagodaชะเวดากองชเวดากองชเวตะกองชเวตะโกงชเวตะโก้งชเวตากองพระมหาธาตุชเวดากองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากองพระธาตุชะเวดากองพระเจดีย์ชเวดากองพระเจดีย์เกศธาตุฉ่วยตะโกงฉ่วยตะโก้งฉ่วยตากอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »