โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวเบตาอิสราเอล

ดัชนี ชาวเบตาอิสราเอล

วเบตาอิสราเอล (ภาษาฮีบรู: בֵּיתֶא יִשְׂרָאֵל‎‎ - Beyte (beyt) Israel, ภาษากีเอซ: ቤተ እስራኤል - Bēta 'Isrā'ēl, modern Bēte 'Isrā'ēl, EA: "Betä Əsraʾel", บ้านของอิสราเอล") หรือชาวยิวเอธิโอเปีย (ภาษาฮีบรู: יְהוּדֵי ‏אֶ‏תְיוֹ‏פְּ‏יָ‏ה‎‎: yehudei itiyopya, ภาษากีเอซ: "የኢትዮጵያ አይሁድዊ", ye-Ityoppya Ayhudi), เป็นชื่อของชุมชนชาวยิวที่อาศัย ในบริเวณของจักรวรรดิอัคซุมหรือจักรวรรดิเอธิโอเปีย (ฮาเบซหรืออบิสซิสเนีย) ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นเขตอัมฮาราและตึกรึญญา ชาวเบตาอิสราเอลอาศัยอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย มีหมู่บ้านอย่างน้อย 500 หมู่บ้าน กระจายในเขตปกครองของชาวคริสต์และมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณทะเลสาบทานา และทางเหนือของทะเลสาบในติเกร กอนเดอร์ และเวลโล มีส่วนน้อยอาศัยอยู่ในเมืองกอนเดอร์และแอดดิส อะบาบา เกือบทั้งหมดของชุมชนชาวเบตาอิสราเอลในเอธิโอเปียมากกว่า 120,000 คนอาศัยอยู่ในอิสราเอลภายใต้กฎหมายของการอพยพกลับซึ่งจะทำให้ชาวยิวและผู้ที่มีพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเป็นชาวยิวและคู่สมรสของพวกเขามีสิทธิที่จะตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลและได้รับสัญชาติ รัฐบาลอิสราเอลได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวเบตาอิสราเอลส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปฏิบัติการโมเสส(พ.ศ. 2527) และปฏิบัติการโซโลมอน (พ.ศ. 2534) การย้ายถิ่นของพวกเขาเกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองและความอดอยากคุกคามประชากรชาวยิวในประเทศเอธิโอเปีย การอพยพได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ชาวเบตาอิสราเอล 81,000 คน เกิดในเอธิโอเปียในขณะที่ 38,500 คนหรือ 32% เกิดในอิสราเอล.

12 ความสัมพันธ์: ภาษาฮีบรูภาษาของชาวยิวภาษาตึกรึญญาศาสนายูดาห์สำนวนภาษาปากจักรวรรดิเอธิโอเปียปฏิบัติการโซโลมอนประเทศอิสราเอลประเทศเอธิโอเปียไฮฟาเยรูซาเลมเทลอาวีฟ

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาของชาวยิว

งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากซ้ายไปขวา ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน ภาษาของชาวยิว (Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว..

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและภาษาของชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตึกรึญญา

ษาตึกรึญญา (ትግርኛ, tigriññā) หรือ ภาษาทิกรินยา หรือ ภาษาทิกรีนยา (Tigrinya) เป็นภาษาที่ชาวตึกรึญญาใช้ในประเทศเอริเทรี.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและภาษาตึกรึญญา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเอธิโอเปีย

ักรวรรดิเอธิโอเปีย หรือที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ในชื่อ อะบิสซิเนีย เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศเอธิโอเปียและเอริเทรียในปัจจุบัน ในช่วงที่รุ่งเรืองสูงสุดนั้นอาณาเขตของจักรวรรดิได้แผ่ขยายไปถึงอียิปต์ตอนใต้ ซูดานภาคตะวันออก เยเมน และซาอุดิอาระเบียภาคตะวันตก และดำรงอยู่ในหลายหลายลักษณะนับตั้งแต่การสถาปนาเมื่อราว 980 ปี ก่อน..

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและจักรวรรดิเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโซโลมอน

ปฏิบัติการโซโลมอน เป็นปฏิบัติการลับทางทหารของอิสราเอลเพื่อนำพาชาวเอธิโอเปียเชื้อสายยิวมายังอิสราเอลใน..

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและปฏิบัติการโซโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฮฟา

ทิวทัศน์เมืองไฮฟาเมื่อมองจากบาไฮการ์เด้น ไฮฟา (חֵיפָה; Haifa) เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของอิสราเอล มีประชากรกว่า 265,000 คน และอีก 300,000 คนที่อาศัยในเมืองติดกันรวมทั้งเมืองของ เกรยอต ตลอดจน ทีเรตคาร์เมล, ดาลียาต อัล-คาร์เมล และ เนชเชอร์ อยู่ร่วมกันในพื้นที่เหล่านี้ในรูปแบบบ้านที่อยู่ติดกัน มีผู้พักอาศัยเกือบ 600,000 คน ซึ่งอยู่ในแกนกลางของเขตไฮฟา เป็นเมืองแบบผสม โดยมีผู้คน 90% เป็นชาวยิว กว่าหนึ่งในสี่เป็นผู้อพยพมาจากอดีตสหภาพโซเวียต และมีสายเลือดผสมระหว่างชาวยิวกับกลุ่มชนสลาฟ ในขณะที่ 10% เป็นชาวอาหรับ โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของบาไฮเวิลด์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกโลกของยูเนสโกด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและไฮฟา · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เทลอาวีฟ

thumbtime.

ใหม่!!: ชาวเบตาอิสราเอลและเทลอาวีฟ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »