โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชานชาลาเกาะกลาง

ดัชนี ชานชาลาเกาะกลาง

นชาลาเกาะกลางของสถานีปูฮัง ในเส้นทางรถไฟใต้ดินเปียงยาง ชานชาลาเกาะกลาง (Island platform) เป็นรูปแบบชานชลาสถานีรถไฟซึ่งมีชานชาลาเดียว ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีรางรถไฟขนาบอยู่สองข้าง การก่อสร้างชานชาลาลักษณะนี้ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องใช้รางรถไฟคู่เบี่ยงออกจากกัน แต่มีประสิทธิภาพสูง เพราะสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง.

27 ความสัมพันธ์: ชานชาลาด้านข้างรถไฟฟ้าบีทีเอสรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลรถไฟฟ้าสายสีชมพูรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกสถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)สถานีรถไฟสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระสถานีรถไฟพิษณุโลกสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานีสถานีรถไฟสุไหงโก-ลกสถานีรถไฟนครราชสีมาสถานีลุมพินีสถานีสยามสถานีสามย่านสถานีสำโรงสถานีสีลมสถานีห้าแยกลาดพร้าวสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสถานีคลองเตยทางรถไฟประเทศไทย

ชานชาลาด้านข้าง

แผนผังชานชลาด้านข้างและสะพานลอย ชานชาลาด้านข้าง เป็นรูปแบบชานชลาสถานีรถไฟซึ่งมี 2 ชานชลา ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีรางรถไฟเป็นตัวแบ่ง ส่วนใหญ่มักใช้แบ่งเป็นชานชลารถเที่ยวขึ้น-ล่อง การก่อสร้างชานชลาลักษณะนี้ไม่ยุ่งยาก แต่มีประสิทธิภาพน้อย เพราะไม่สะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและชานชาลาด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าบีทีเอส

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (Elevated Train in Commemoration of HM the King's 6th Cycle Birthday) หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร และสัญญาว่าด้วยความเข้าใจกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้าบีทีเอส · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร, จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (Metropolitan Rapid Transit Chalong Ratchadham Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (MRT Purple Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

| open.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก เป็นโครงการรถไฟฟ้าโครงการหนึ่งตามแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายต้นทางจากปากเกร็ดมายังแคราย เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ทำให้เส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่มีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟฟ้าสายสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก

วรรณภูมิ รถไฟฟ้า City Line รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กรุงเทพมหานคร-ระยอง-ตราด) (Eastern High Speed Train) หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เดิมคือ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ รถไฟความเร็วสูง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

สถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)

นีบางซื่อ (รหัส BAN) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟ

นีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสารเป็นภารกิจหลัก และรับส่งสินค้าบ้างเป็นครั้งคราว.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ

'''สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ''' อาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้-สายตะวันตก) ปัจจุบันอาคารผู้โดยสาร 2 ใช้สำหรับ'''ร'''ถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือและสายใต้ (มองไปทางอาคารผู้โดยสาร1 ปัจจุบันได้มีการรื้อถอนแล้ว) สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ (Bang Sue Junction) เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีชุมทางรถไฟหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงยังเป็น 1 ใน 2 สถานีชุมทางรถไฟที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คือ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน และเป็น 1 ใน 15 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไท.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

นีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็นสองสาย คือ.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ

นีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 266 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร.0-4424-2363 เป็นชุมทางรถไฟแยกไปหนองคาย และอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟพิษณุโลก

นีรถไฟพิษณุโลก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 และเป็นสถานีสุดท้ายในเส้นทางสายเหนือที่ใช้ประแจกลไฟฟ้าชนิดตู้ควบคุมพร้อมเครื่องทางสะดวก (รีเลย์).

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

นีรถไฟสุราษฎร์ธานี สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี หรือเดิมชื่อ สถานีรถไฟพุนพิน เปิดเมื่อปี 2458 แต่ได้เปลี่ยนชื่อในราวๆ ปี 25xx เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อจังหวัด เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตาปี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ อาคารสถานีสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2458 ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นใช้อาคารสถานีเป็นที่ทำการหน่วยทหาร อาคารสถานีถูกระเบิดทำลายทั้งหมด โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 พร้อมกับสะพานจุลจอมเกล้า ที่ข้ามแม่น้ำตาปี กรมรถไฟหลวง (ปัจจุบันคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย) ได้สร้างสถานีชั่วคราวขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตาปี ตรงกันข้ามกับสถานีเดิม ใช้ชื่อว่า สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี 2 เมื่อมีการก่อสร้างอาคารสถานีหลังใหม่ บนพื้นที่เดิม จึงได้รื้อถอนสถานีรถไฟชั่วคราวลง.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก

นีรถไฟสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชีย 18 เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้และสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายใต้ โดยสุดเขตแดนเมืองรันตูปันยัง ประเทศมาเลเซีย และมีระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพมากที่สุด ถึง 1,142 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟนครราชสีมา

นีรถไฟนครราชสีมา (ชื่อสามัญ หัวรถไฟ หรือ หัวรถฯ) สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เดิมชื่อสถานีโคราช เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บนถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีรถไฟนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีลุมพินี

นีลุมพินี (รหัส LUM) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกวิทยุ เยื้องกับสวนลุมพินี ในอนาคต จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ที่สถานีลุมพินี.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีลุมพินี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีสยาม

นีสยาม เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทาง รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่างสายสุขุมวิทและสายสีลม ยกระดับเหนือ ถนนพระรามที่ 1 กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านการค้า สยามสแควร.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สถานีสามย่าน

นีสามย่าน (รหัส SAM) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกสามย่าน มีทำเลอยู่ใจกลางเมือง ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และย่านธุรกิจบริเวณสามย่าน สี่พระยา และสุรวง.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีสามย่าน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีสำโรง

นีสำโรง เป็นสถานีรถไฟฟ้าในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีสำโรง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีสีลม

นีสีลม (รหัส SIL) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกศาลาแดง มีทำเลอยู่ใจกลางเมืองในย่านธุรกิจถนนสีลม.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีสีลม · ดูเพิ่มเติม »

สถานีห้าแยกลาดพร้าว

นีห้าแยกลาดพร้าว (Ladphrao Intersection Station, รหัส N9) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน บริเวณสุดเขตสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกำลังก่อสร้าง และอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีห้าแยกลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสถานีรถไฟฟ้าของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางนา-สุวรรณภูมิ (โครงการในอนาคต).

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีคลองเตย

นีคลองเตย (รหัส KHO) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร ใกล้ซอยโรงงานยาสู.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและสถานีคลองเตย · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ชานชาลาเกาะกลางและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »