โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชนชั้นขุนนาง

ดัชนี ชนชั้นขุนนาง

นชั้นขุนนางในโปแลนด์ ช่วงค.ศ. 1697-1795 งานเลี้ยงของเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงในออสเตรีย ค.ศ. 1904 ชนชั้นขุนนาง (nobility) เป็นชนชั้นทางสังคมที่อยู่รองลงมาจากชนชั้นเจ้า ชนชั้นนี้ถือครองสิทธิ์หรือชื่อเสียงมากกว่าชนชั้นอื่นในสังคมเป็นส่วนใหญ่ มีการสืบทอดสิทธิ์ต่างๆเป็นรุ่นต่อรุ่น โดยที่สิทธิ์ของชนชั้นขุนนางอาจหมายถึง ความได้เปรียบเหนือกว่าชนชั้นอื่น หรืออาจเป็นเกียรติยศใหญ่โต ซึ่งมีบริบทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและในแต่ละยุค ในสมัยก่อน การเป็นชนชั้นขุนนางและมีอภิสิทธิ์ต่างๆ มักจะถูกกำหนดหรือประกาศขึ้นโดยชนชั้นปกครอง แต่ถึงกระนั้น บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากนี้ที่มีเงินทอง วิถีชีวิต หรือแวดวงคล้ายคลึงก็อาจจะเป็นเครื่องหมายเด่นที่จะถูกนับรวมเป็นชนชั้นขุนนาง แม้ว่าโดยหลักการแล้ว ชนชั้นขุนนางจะต้องมีปราสาทเป็นของตัวเองและคอยแสวงหาซึ่งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ กำลังทหาร หรือความเป็นที่โปรดปรานของราชวงศ์ และการที่สามัญชนจะเป็นชนชั้นขุนนางได้นั้น มักจะใช้วิธีเข้าหาราชวงศ์เพื่อเป็นที่โปรดปราน ในชนชั้นขุนนางเองก็จะมีการแบ่งออกเป็นอีกหลายระดับ ในประเทศที่ปกครองโดยกษัตริย์มักจะมีกฎหมายหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับชนชั้นขุนนาง แต่ในบางอดีตประเทศที่เป็นสาธารณรัฐก็มีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องเช่นเดียวกัน อาทิ สาธารณรัฐดัตช์ (ค.ศ. 1581–1795), สาธารณรัฐเจนัว (ค.ศ. 1005–1815), สาธารณรัฐเวนิส (ค.ศ. 697–1797) เป็นต้น ในปัจจุบันยังคงมีอีกหลายประเทศที่มีข้อบัญญัติทางชนชั้นอยู่ในลักษณะไม่สืบทอดสิทธิ์ อาทิ ประเทศซานมารีโน, นครรัฐวาติกันในยุโรป ขุนนางจีนสมัยราชวงศ์หมิง แม้ว่าระบบขุนนางในประเทศส่วนใหญ่เป็นระบบขุนนางสืบตระกูลก็ตาม แต่ก็มีบางประเทศ(เช่นจีนหรือสยาม) ที่ตำแหน่งขุนนางยึดติดอยู่เฉพาะบุคคล ไม่มีการส่งต่อตำแหน่งและสิทธิไปถึงรุ่นลูกหลาน หากลูกหลานอยากจะเป็นขุนนางก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถผ่านการสอบหรือใช้เส้นสายในการได้มาซึ่งบรรดาศัก.

14 ความสัมพันธ์: บรรดาศักดิ์อังกฤษบรรดาศักดิ์ไทยชนชั้นทางสังคมชนชั้นเจ้าการสอบขุนนางฐานันดรศักดิ์ยุโรปสาธารณรัฐดัตช์สาธารณรัฐเวนิสสาธารณรัฐเจนัวขุนนางกรุงศรีอยุธยาคะโซะกุประเทศซานมารีโนนครรัฐวาติกันเอกสิทธิ์

บรรดาศักดิ์อังกฤษ

รรดาศักดิ์อังกฤษ (Peerage of England) ประกอบด้วยบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานให้ในสมัยของราชอาณาจักรอังกฤษช่วงก่อนสมัยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งในปีนั้นเองบรรดาศักดิ์อังกฤษ และบรรดาศักดิ์สก็อตแลนด์ ได้ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันคือบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษประกอบไปด้วยบรรดาศักดิ์เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและบรรดาศักดิ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บรรดาศักดิ์ไทย

ในฐานันดรศักดิ์ไทย บรรดาศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของข้าราชการไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Title.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและบรรดาศักดิ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นทางสังคม

นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและชนชั้นทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นเจ้า

ักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้า เป็นชนชั้นที่สูงที่สุดในชนชั้นทางสังคม จัดอยู่ในชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยญาติวงศ์ของเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาจปกครองแคว้น, อาณาจักร, หรือจักรวรรดิ เจ้าอาจมีฐานันดรเป็น จักรพรรดิ, จักรพรรดินี, พระเจ้า, พระนางเจ้า, เจ้าชาย หรือ เจ้าหญิง ในบางจักรวรรดิเช่นออสเตรียและรัสเซียอาจมีฐานันดรนำหน้าเป็น อาร์ชดยุก หรือ อาร์ชดัชเชส โดยไม่ถือว่าเป็นขุนนาง บุคคลที่เกิดมาเป็นเจ้ามักคงสถานะความเป็นเจ้าไปจนสิ้นชีพ สถานะเจ้าจะส่งต่อไปยังทายาทผ่านทางบิดาเป็นหลัก สามัญชนอาจขึ้นเป็นเจ้าได้ผ่านการอภิเษกสมรส เจ้าอาจตำรงตำแหน่งเป็นขุนนางด้วย อาทิเจ้าที่มีตำแหน่งเป็นดยุกต่างๆ ในประวัติศาสตร์แม้ว่าชนชั้นนี้จะมีอำนาจมากที่สุดแต่ก็จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากชนชั้นขุนนางอย่างมาก ชนชั้นเจ้ามอบสิทธิตลอดจนรับประกันสิทธิต่างๆแก่ขุนนางเพื่อแลกกับความจงรักภักดี จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ระบอบเจ้าในหลายๆประเทศของยุโรปเริ่มอ่อนแอจากการเผชิญกับกระแสสังคมนิยมและความทุกข์ยากจากภัยสงคราม ในขณะที่ระบอบเจ้าในเอเชียและแอฟริกาก็เผชิญกับภัยลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งสองสาเหตุนี้เป็นเหตุให้ราชวงศ์มากกว่าร้อยแห่งถูกล้มล้างในช่วงศตวรรษที่ 20 ในยุคสมัยใหม่ บางประเทศยังคงไว้ซึ่งราชวงศ์แต่ไม่ให้อำนาจบริหาร ในปี 2013 ทั้งโลกมีราชวงศ์ที่นั่งบัลลังก์อยู่ทั้งสิ้น 26 ราชวงศ์ซึ่งปกครองอยู่ใน 43 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็น 7 ประเทศที่ยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและชนชั้นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

การสอบขุนนาง

การสอบขุนนาง (imperial examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ แปลว่า "บัณฑิตชั้นสูง" (advanced scholar) (ซึ่งอาจเทียบได้กับปริญญา ดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในระบบการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุด) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับวุฒิจิ้นซี่อในการสอบขุนนางนั้นจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับสูงแห่งราชสำนัก ตำแหน่งที่ได้รับจะเรียงตามลำดับผลคะแนนที่สอบได้ ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงกว่าจะได้รับตำแหน่งที่ดีกว่า นอกจากนั้นองค์จักรพรรดิหรือจักรพรรดินีจะทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนสูงสุด ด้วยพื้นฐานจากปรัชญาลัทธิขงจื้อ การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจในช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และรีวกีว (Ryūkyū) รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ได้รับการประสาทวุฒิจิ้นชื่อ จึงมักเป็นข้อมูลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในชีวประวัติบุคคลสำคัญสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา ในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและการสอบขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์ยุโรป

รรดาศักดิ์ยุโรป หมายถึงระบบชั้นและชั้นยศของขุนนางในทวีปยุโรป ปัจจุบันยังปรากฏมากอยู่ในสหราชอาณาจักรและยังปรากฏในประเทศอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิบไตยด้วย เช่นเดนมาร์ก และ สวีเดน เป็นต้น ระบบขุนนางในยุโรปนี้เป็นระบบขุนนางสืบตระกูล ทายาทที่อาวุโสที่สุดจะได้ขึ้นสืบบรรดาศักดิ์ มีสิทธิและเกียรติฐานะเทียบเท่ากับเจ้าบรรดาศักดิ์เดิม ซึ่งแตกต่างกับระบบขุนนางในประเทศในเอเชีย ที่บรรดาศักดิ์ขุนนางจะเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่มีการสืบทอดไปยังรุ่นลูกหลาน.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและฐานันดรศักดิ์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเวนิส

รณรัฐอันสงบสุขเป็นที่สุดแห่งเวนิส หรือ สาธารณรัฐเวนิส (Republic of Venice หรือ Venetian Republic, Serenissima Repubblica di Venezia) เป็นรัฐที่เริ่มขึ้นในเมืองเวนิสที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี สาธารณรัฐเวนิสรุ่งเรืองอยู่กว่าหนึ่งพันปีตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและสาธารณรัฐเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเจนัว

รณรัฐอันสงบสุขเป็นที่สุดแห่งเจนัว หรือ สาธารณรัฐเจนัว (The Most Serene Republic of Genoa หรือ Republic of Genoa, Repubblica di Genova, ลิกูเรียน: Repúbrica de Zêna) เป็นรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ที่ลิกูเรียทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของฝั่งทะเลอิตาลี ที่รุ่งเรืองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 มาจนถึง..

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและสาธารณรัฐเจนัว · ดูเพิ่มเติม »

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

นนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้ว ในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและขุนนางกรุงศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

คะโซะกุ

มสรขุนนาง กรุงโตเกียว ค.ศ. 1912 คะโซะกุ เป็นชนชั้นขุนนางของจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและคะโซะกุ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซานมารีโน

ซานมารีโน หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซานมารีโน และอีกชื่อหนึ่งคือ "'สาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งซานมารีโน"' เป็นประเทศในยุโรปใต้บนเทือกเขาแอเพนไนน์ ล้อมรอบโดยประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในจุลรัฐยุโรป.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและประเทศซานมารีโน · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกสิทธิ์

เอกสิทธ์ หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้มีความชอบธรรมในการอ้างสิทธิดังกล่าวเหนือบุคคลอื่น เช่น เอกสิทธิ์การทูต เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา เอกสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้แก่ เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 ได้กำหนดให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ ได้แก่ เอกสิทธิ์ในการแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือทางแพ่งต่อบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภา เอกสิทธิ์นี้ให้แก่สมาชิกรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกคนใดฟ้องร้อง การอภิปรายในการประชุมสภาที่สมาชิกสภาแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือมีความผิดฐานหมื่นประมาท ก็ไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หมวดหมู่:กฎหมาย.

ใหม่!!: ชนชั้นขุนนางและเอกสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขุนนาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »