โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูฬวรรค

ดัชนี จูฬวรรค

ัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค) แปลว่า หมวดเล็ก คือหมวดหมู่ที่สองในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ จูฬวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 6-7 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักโดยเบ็ดเตล็ดในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ รวมไปถึงส่วนสังฆกรรมประเภทนิคหกรรมของพระสงฆ์ด้วย โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์จูฬวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์จูฬวรรค แสดงถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบของคณะสงฆ์ (ญัตติกรรม) บางตอนมีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างหลักเสียงข้างมาก (Majority rule) กับหลักการในพระธรรมวินัย เช่นใน เยภุยยสิกา เป็นต้น จูฬวรรค มาคู่กับ มหาวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

8 ความสัมพันธ์: พระวินัยปิฎกพระสงฆ์การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์มหาวรรคสมาคมบาลีปกรณ์สุตตวิภังค์อาทิพรหมจาริยกาสิกขาขันธกะ

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: จูฬวรรคและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: จูฬวรรคและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ (majority rule) เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจซึ่งเลือกทางที่มีคะแนนเสียงข้างมาก คือ มีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจทวิภาคที่ใช้มากที่สุดในหน่วยงานวินิจฉัยสั่งการที่มีอิทธิพล รวมทั้งสภานิติบัญญัติของชาติประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน นักวิชาการบางส่วนแนะนำคัดค้านการใช้การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อย่างน้อยในบางพฤติการณ์ เพราะป็นการแลกโดยปริยายระหว่างประโยชน์ของการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์กับคุณค่าอื่นที่สำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย ข้อโต้แย้งที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อาจนำไปสู่ "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" ฉะนั้น จึงแนะนำให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (supermajority) และการจำกัดอำนาจรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญเพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ ล่าสุด นักทฤษฎีการออกเสียงลงคะแนนแย้งว่า การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุดในการคุ้มครองฝ่ายข้างน้อ.

ใหม่!!: จูฬวรรคและการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวรรค

ัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: จูฬวรรคและมหาวรรค · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมบาลีปกรณ์

มาคมบาลีปกรณ์ (The Pali Text Society) ก่อตั้งขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19.ดร.

ใหม่!!: จูฬวรรคและสมาคมบาลีปกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุตตวิภังค์

ัมภีร์สุตตวิภังค์ หรือ วิภังค์ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 ถึง 3 ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งเป็นอาทิพรหมจาริยกาสิกขา การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร คัมภีร์สุตตวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 1 - 2) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 1 - 3).

ใหม่!!: จูฬวรรคและสุตตวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพรหมจาริยกาสิกขา

อาทิพรหมจาริยกาสิกขา คือส่วนพระวินัยบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นเป็นสิกขาบทหลักเบื้องต้นในการปฏิบัติตนในการประพฤติพรหมจรรย์ อาทิพรหมจาริยกาสิกขา เช่น ปาราชิก สังฆาทิเสส นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นพระวินัยบัญญัติหลัก ๆ ของพระสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ สิกขาบทหลักในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทในพระปาติโมกข์ อาทิพรหมจาริยกาสิกาทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ อันเป็นส่วนแรกในพระวินัยปิฎก คู่กับอภิสมาจาริกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ใช่สิกขาบทหลัก คือเป็นเพียงสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ หรือเรียกว่า สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ จัดอยู่ในหมวดขันธกะ รวมเรียกว่าพระวินั.

ใหม่!!: จูฬวรรคและอาทิพรหมจาริยกาสิกขา · ดูเพิ่มเติม »

ขันธกะ

ัมภีร์ขันธกะ หรือ ขันธกะ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 ถึง 7 ว่าด้วยบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ รวมถึงขนบธรรมเนียม พิธีกรรม สังฆกรรม วัตรปฏิบัติ อาจาระ มารยาท และความประพฤติโดยทั่วไปของพระสงฆ์ เพื่อประโยชน์คือความงามในด้านอาจาระเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสงฆ์ ขันธกะ จัดเป็นพระวินัยฝ่าย อภิสมาจาริกาสิกขา ซึ่งไม่ได้เป็นสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร คัมภีร์ขันธกะ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 3) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 4).

ใหม่!!: จูฬวรรคและขันธกะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จุลวรรค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »