โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์

ดัชนี จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์

ลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ หรือเรียกอย่างเต็มว่า จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ (Coronet of Frederick, Prince of Wales) คือจุลมงกุฎที่จัดสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1728 สำหรับเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารซึ่งในขณะนั้นทรงเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ ทำจากทองคำทั้งเรือน ประกอบด้วยโค้งจำนวน 1 โค้งตามประเพณี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างโดยช่างทองแห่งราชสำนัก ซามูเอล ชาเลส ในราคา £140 5/- (หนึ่งร้อยสี่สิบปอนด์กับห้าชิลลิง) หรือในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ £12,000 จุลมงกุฎองค์นี้ ในเอกสารบางครั้งก็เรียกว่าเป็น "มงกุฎ" (Crown).

29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2220พ.ศ. 2257พ.ศ. 2270พ.ศ. 2271พ.ศ. 2272พ.ศ. 2445พระมหากษัตริย์พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรกางเขนรัฐบาลสหราชอาณาจักรลูกโลกสภาขุนนางสัญลักษณ์ดอกลิลลีจุลมงกุฎทองคำทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงคริสต์ศตวรรษที่ 18ไข่มุกเพชรเออร์มินเจ้าชายแห่งเวลส์เจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2220

ทธศักราช 2220 ใกล้เคียงกับ คริสต์ศักราช 1677.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2220 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2257

ทธศักราช 2257 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2257 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2270

ทธศักราช 2270 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2270 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2271

ทธศักราช 2271 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2271 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2272

ทธศักราช 2272 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2272 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2445

ทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพ.ศ. 2445 · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (George I of Great Britain, George I von Großbritannien) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II of Great Britain) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV of the United Kingdom หรือ George Augustus Frederick) (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (George V of the United Kingdom) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479 พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดฝันของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งแคลเรนซ์และแอวันเดล พระเชษฐา ทำให้ทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นของพระเชษฐาคือเจ้าหญิงแมรีแห่งเทก ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะเสด็จประพาสจักรวรรดิอังกฤษเป็นบางโอกาส แต่พระเจ้าจอร์จที่ 5 โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพร้อมกับการสะสมดวงตราไปรษณียากร และทรงมีชีวิตที่ต่อมานักชีวประวัติเห็นว่าไม่น่าสนใจเนื่องจากความเป็นธรรมดาและเรียบง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นบันทึกสถิติที่เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบันไล่ตามมาอย่างรวดเร็ว รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2451 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2449 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2457.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลสหราชอาณาจักร

รัฐบาลในสมเด็จฯ (Her Majesty's Government, ย่อ: HMG) มักเรียก รัฐบาลบริติช เป็นรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และรัฐบาลสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ลูกโลก

ลูกโลก ลูกโลก (Globe) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ โดยจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้าโดยอาจทำมาจากกระดาษ, พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายแผนที่แต่ต่างจากแผนที่ตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริงแต่จะเป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมอย่างสภาพภูมิประเทศ ขนาดประเทศและลักษณะทางกายภาพได้เหมือนจริงมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันคือลูกโลกจะไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดของโลกในเวลาเดี่ยวกันได้อีกทั้งยังพกพาได้ลำบากด้วยนั้นเอง ลูกโลกมีสองแบบคือลูกโลกธรรมดาหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า terrestrial globe แปลตรงตัวว่าโลกบกกับอีกแบบคือทรงกลมฟ้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า celestial globeแปลตรงตัวว่าโลกท้องฟ้าซึ่งปกติแล้วจะแสดงกลุ่มดาวบนท้องฟ้าหรือแสดงดวงดาวบนท้องฟ้าและตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ คำว่า globe มาจากภาษาละตินคำว่า globus ซึ่งมีความหมายว่าทรงกลม ลูกโลกนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน บุคคลที่กล่าวถึงลูกโลกเป็นครั้งแรกคือสตราโบซึ่งได้อธิบายไวใน The Globe of Crates เมื่อ 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช มาร์ติน เบไฮม์เป็นคนผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่าเออดาเฟล (Erdapfel) เมื่อ..

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และลูกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สภาขุนนาง

นนาง (House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง สภาขุนนางจะแยกเป็นอิสระจากสภาสามัญชน โดยมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้นๆอย่างรอบคอบ สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่นๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน สภาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และสภาขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ดอกลิลลี

ตราเฟลอร์เดอลีส์ หรือตราดอกลิลลี สัญลักษณ์ดอกลิลลี หรือ เฟลอร์เดอลี (Fleur-de-lis) เป็นสัญลักษณ์ที่แปลงมาจากดอกลิลลีหรือดอกไอริสที่ใช้ในการตกแต่งและการเป็นสัญลักษณ์ หรืออาจจะเป็นได้ทั้งสัญลักษณ์ทางการเมือง, ทางการสืบเชื้อสาย, ทางศิลปะ, ทางการเป็นตรา และการเป็นสัญลักษณ์ในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะในการใช้เป็นตราประจำตระกูล ขณะที่สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นที่ใช้กันโดยทั่วไปในยุโรปในตราอาร์มและธงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่สัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นการใช้สัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในตราของพระมหากษัตริย์สเปน และในตราของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซ็มเบิร์ก และของสมาชิกในราชวงศ์บูร์บอง สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นตราที่ใช้กันตลอดมาของสัญลักษณ์ของความเป็นฝรั่งเศสและปรากฏบนแสตมป์ แต่ก็ไม่ได้รับให้ใช้เป็นสัญลักษณ์โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในทวีปอเมริกาเหนือสัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะใช้กับบริเวณที่เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโดยชาวฝรั่งเศสเช่นในรัฐควิเบกในแคนาดา และรัฐลุยเซียนาในสหรัฐอเมริกา และในจังหวัดที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแคนาดา สัญลักษณ์ดอกลิลลีใช้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองฟลอเรนซ์และในชลีเร็นในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหราชอาณาจักรสัญลักษณ์ดอกลิลลีปรากฏในตราอาร์มอย่างเป็นทางการของนอร์รอยและอัลสเตอร์เป็นเวลาหลายร้อยปี.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และสัญลักษณ์ดอกลิลลี · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎ

ลมงกุฎของเอิร์ลแห่งสหราชอาณาจักร จุลมงกุฎ (Coronet) คือมงกุฎสำหรับผู้มีตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ที่มีเครื่องตกแต่งบนวงแหวนโลหะ จุลมงกุฎต่างจากมงกุฎตรงที่ส่วนใหญ่จะไม่มีโค้งเหนือมงกุฎเช่นที่เห็นในมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด คำว่า “Coronet” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า “Coronete” ที่มาจาก “Co(u)ronne” (Crown) จากคำว่า “Corona” ในภาษาละตินที่แปลว่าพวงหรีด จุลมงกุฎมิได้หมายความว่าเป็นมงกุฎขนาดเล็กเช่นมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรียซึ่งเป็นมงกุฎขนาดจิ๋ว แต่คำว่า “จุลมงกุฎ” เป็นมงกุฎที่แสดงตำแหน่งของผู้เป็นเจ้าของว่ารองจากพระมหากษัตริย์ ตามธรรมเนียมแล้วเช่นในภาษาเยอรมันของคำว่า “Adelskrone” (มงกุฎของขุนนาง) ใช้สำหรับขุนนางและเจ้าชายหรือเจ้าหญิงในตราอาร์ม แทนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะใช้คำว่า “มงกุฎ” (Crown) ซึ่งเป็นคำที่ตามปกติจะใช้กับพระมหากษัตริย์ นอกจากจะเป็นมงกุฎเล็กแล้วก็ยังบอกฐานะหรือตำแหน่งของผู้สวมด้วย ฉะนั้นในภาษาเยอรมันจึงมีคำว่า “Rangkrone” (มงกุฎประจำตำแหน่ง) การเรียก “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นการบ่งฐานะอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปบางครั้งคำว่า “มงกุฎ” ก็จะใช้เรียกรวมๆ ระหว่างทั้ง “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” ในสหราชอาณาจักรขุนนางสืบตระกูลจะสวมจุลมงกุฎในโอกาสวันที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งเป็นโอกาสเดียวเท่านั้นขุนนางจะสวมมงกุฎได้.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และจุลมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

ไข่มุก

มุก เป็นอัญมณี มีสีขาว เงินยวง ชมพูและสีทอง โดยนำมาจากสัตว์จำพวกหอยนางรม อาจจะนับได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดมาจากสัตว์ ไข่มุกสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำมาบดในการใช้เป็นเครื่องสำอาง ความเชื่อของไข่มุก เป็นอัญมณีแห่งสายน้ำ เสริมสง่าราศีให้กับเพศหญิงก่อให้เกิดความนุ่มนวล อ่อนหวาน แก้ปัญหาทางด้านอารมณ์ ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของการส่งไข่มุกออกสู่ตลาดโลก ไข่มุกที่คุณภาพดีนั้น ควรมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 8 เดือน ถึง 2 ปี ยิ่งเลี้ยงไว้ได้นาน ความสวยงามแวววาวยิ่งมีมากขึ้น แต่ส่วนมากที่พบในตลาดไข่มุกนั้น จะมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 2-5 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เช่น มลภาวะทางน้ำ อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของทะเล.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และไข่มุก · ดูเพิ่มเติม »

เพชร

รดิบ เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และเพชร · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales; Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ พระเจ้าละเวลินมหาราช (Llywelyn the Great) ผู้ดำรงพระอิสริยยศนี้ในปัจจุบันคือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวล.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และเจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายเฟรเดอริก หลุยส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (Frederick Louis, Prince of Wales) ประสูติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1707 เป็นสมาชิกแห่งพระราชวงศ์แฮโนเวอร์ และต่อมาพระราชวงศ์อังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระอัยกาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งหลังจากการผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษในปีค.ศ. 1701 เจ้าชายเฟรเดริกได้กลายเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทันที พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่อังกฤษเป็นการถาวรภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชบิดา และต่อมาได้ทรงเฉลิมพระอิสริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งเวลส์" พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนจะเสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา อย่างไรก็ตามพระโอรสของพระองค์ (เจ้าชายจอร์จ ซึ่งต่อมาเฉลิมพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์) ได้รับการสืบทอดราชสมบัติหลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ซึ่งครองราชย์ยาวนานตั้งแต่ค.ศ. 1760 จนถึงปีค.ศ. 1820.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

ัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร (Crown Jewels of the United Kingdom) หมายถึงกกุธภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและพิธีที่เป็นทางการใหญ่ๆ อื่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรหมายถึงสิ่งต่อไปนี้: มงกุฎ, คทาที่มีกางเขนหรือนกพิราบ, ลูกโลกประดับกางเขน (Orb หรือ globus cruciger), ดาบ, แหวน, เดือย, ฉลองพระองค์โคโลเบียมซินโดนิสทูนิค (Colobium sindonis), ฉลองพระองค์ดาลเมติคทูนิค (dalmatic), กำไลอาร์มิลล์ (armill) และเสื้อคลุม และกกุธภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในพิธี.

ใหม่!!: จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์และเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเวลส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »