โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ดัชนี จุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ันส์ โฮลไบน์ ราว ค.ศ. 1540 จุลจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait miniature) คือภาพเหมือนขนาดจิ๋วที่มักจะเขียนด้วยสีน้ำทึบหรือสีน้ำหรือเป็นกระเบื้องเคลือบ จุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่เริ่มมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปและต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ต่อมา เป็นศิลปะอันมีค่าสำหรับการแนะนำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันได้ทำความรู้จักหรือเห็นหน้าเห็นตากัน ขุนนางที่เสนอการสมรสของบุตรีอาจจะส่งภาพเหมือนของบุตรีไปกับผู้เดินสาส์นไปให้ผู้หมายปองต่างๆ หรือ ทหารหรือกะลาสีก็อาจจะพกภาพเหมือนของบุคคลผู้เป็นที่รักติดตัวไปในระหว่างการเดินทาง หรือภรรยาอาจจะมีภาพเหมือนของสามีขณะที่สามีเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกล จุลจิตรกรรมภาพเหมือนในสมัยแรกเป็นภาพที่เขียนด้วยสีน้ำบนหนังลูกสัตว์ (vellum) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 การเขียนด้วยกระเบื้องเคลือบที่เหมือนแก้วบนทองแดงก็กลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำบนงาช้าง ความที่มีขนาดเล็กราว 40 × 30 มิลลิเมตรทำให้จุลจิตรกรรมภาพเหมือนใช้เป็นของที่ระลึกส่วนตัว หรือ เป็นเครื่องประดับ หรือใช้ในการประดับฝาปิดตลับตกแต่ง การวิวัฒนาการตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของดาแกโรไทป์และภาพถ่ายทำให้ความนิยมในการมีจุลจิตรกรรมภาพเหมือนลดน้อยลง.

27 ความสัมพันธ์: ฟรันซิสโก โกยาฟร็องซัว บูเชพ.ศ. 2083พระราชวังบักกิงแฮมพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกระบวนการดาแกโรไทป์ภาพถ่ายภาพเหมือนภาพเหมือนตนเองรอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ศิลปะตะวันตกสีน้ำมันหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)ฮอลแลนด์ฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)ฌ็อง ฟูแกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จิตรกรชั้นครูจิตรกรรมสีน้ำจุลจิตรกรรมทวีปยุโรปดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติปารีสนิโคลัส ฮิลเลียร์ดนีกอลา เดอ ลาร์ฌีลีแยร์เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

ฟรันซิสโก โกยา

ฟรันซิสโก โกยา ฟรันซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชื่อเต็ม ฟรันซิสโก โคเซ เด โกยา อี ลูเซียนเตส (Francisco José de Goya y Lucientes) 30 มีนาคม พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) - 16 เมษายน พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) จิตรกรและศิลปินภาพพิมพ์แนวศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ชาวสเปน ได้รับการยกย่องว่าทั้งเป็น "Old Master" คนสุดท้ายและเป็นศิลปินแนวสมัยใหม่คนแรก เขาวาดทิวทัศน์งดงามในสไตล์โรโคโคได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เหมือนจิตรกรชาวสเปนท่านอื่น ฟรันซิสโก โกยา เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังในแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionist) หรือ แนวเหนือจริง (Surrealist) ต่างได้รับแรงบันดาลใจจากฟรานซิสโก เด โกยาทั้งสิ้น เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรราชสำนักคนแรกของสเปน.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและฟรันซิสโก โกยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว บูเช

ฟร็องซัว บูเช (François Boucher; 29 กันยายน ค.ศ. 1703 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรสมัยโรโคโคคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีชื่อเสียงในงานเขียนที่เป็นอุดมคติและอวบอิ่ม (voluptuous) ของภาพประเภทคลาสสิก อุปมานิทัศน์ และท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นบูเชก็ยังเขียนภาพเหมือนหลายภาพของมาดาม เดอ ปงปาดูร.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและฟร็องซัว บูเช · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2083

ทธศักราช 2083 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและพ.ศ. 2083 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบักกิงแฮม

ระราชวังบักกิงแฮม (Buckingham Palace) เดิมชื่อ คฤหาสน์บักกิงแฮม เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ พระราชวังบักกิงแฮมแต่เดิมชื่อ “คฤหาสน์บักกิงแฮม” (Buckingham House) สิ่งก่อสร้างเดิมเป็นคฤหาสน์ที่สร้างสำหรับจอห์น เชฟฟิลด์ ดยุคแห่งบักกิงแฮมในปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและพระราชวังบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ

ลายเซ็นของพระองค์ พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (William III of England; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 — 8 มีนาคม ค.ศ. 1702) ทรงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า วิลเลียมที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ และ วิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ ทรงเป็นขุนนางดัทช์ชั้นสูง และทรงเป็นศาสนิกชนนิกายโปรแตสแตนต์ เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายวิลเลมแห่งออเรนจ์และเจ้าหญิงแมรี สจวตประสูติที่ The Hague ภายหลัง 8 วันจากที่พระองค์ประสูติ พระบิดาของพระองค์ก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ดังนั้นจึงทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงกลายเป็นเจ้าชายผู้ทรงอำนาจสูงสุดนับตั้งแต่ถือกำเนิดเลยทีเดียวก็ว่าได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2203 เมื่อพระเจ้าวิลเลียมมีพระชนมายุได้ราวสิบกว่าพรรษา พระราชมารดาก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษในระหว่างที่ทรงเยี่ยมพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเชษฐาของพระองค์ โดยก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ลงได้ทรงตัดสินใจให้พระเจ้าชาลส์เป็นผู้ปกครอง โดยพระเจ้าชาลส์นั้นได้ทรงมอบหน้าที่ให้เป็นของเจ้าหญิงอมาเลีย เนื่องจากทรงเข้าใจในพระราชประสงค์ของพระเจ้าชาลส์เป็นอย่างดี และพระองค์ก็มิได้ทรงละเลยในการเขียนจดหมายติดต่อถึงหลานชายแต่อย่างใด ในปี พ.ศ. 2217 พระองค์ได้มีความพยายามในการที่จะสมรสกับแมรีหลานสาวของพระองค์เอง ซึ่งแมรี่เป็นธิดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ การสมรสนี้แม้นว่าเป็นไปอย่างยาก ลำบากมากก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทรงได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2220 พระองค์ได้ทรงเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามที่ต่อต้านอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เหล่าสมาชิกนิกายโปรแตสแตนต์ถึงกับได้มอบเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลอื่น ในการประสบความสำเร็จของพระองค์จะเป็นในด้านการทหาร หรือกองเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2245 ด้วยโรคปอดอักเสบ อันเนื่องจากการที่พระองค์ทรงตกจากม้าของพระองค์เอง และเป็นที่เชื่อกันว่าม้าของพระองค์ นั้นได้ก้าวเท้าพลาดไปสะดุดกับรังของตัวตุ่นเข้า และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งของที่มา ในการดื่มอวยพร Make a toasted ซึ่งมักจะมีการนิยมกล่าวกันในระหว่างที่ดื่มอวยพรว่า "the little gentleman in the black velvet waistcoat." และในปีถัดมา ท่านเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ก็ได้เพิ่มเติมลงไปอีกว่า "opened the trapdoor to a host of lurking foes".

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการดาแกโรไทป์

หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (ค.ศ. 1787 - 1851) ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ถูกคิดค้นโดย หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (พ.ศ. 2330 - 2394) โดยดาแกร์ได้ทดลองเกี่ยวกับวัสดุไวแสง เพื่อใช้บันทึกภาพจากกล้องออบสคูร่าโดยตั้งชื่อว่ากระบวนการ ไดออรามา (Diorama) และในขณะเดียวกัน โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียฟ ก็ได้คิดค้นกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี (Heliograghy) อยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองเก็บเป็นความลับเรื่อยมาจนกระทั่งได้รู้จักกันโดยการชักนำของสองพี่น้องช่างทำแว่นตาและต่อมาทั้งสองได้ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อทำสัญญาได้เพียง 4 ปี เนียฟกลับถึงแก่กรรมไปเสียก่อน และดาแกร์ ได้นำกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี่ (Heliograghy) ของ เนียฟ และกระบวนการไดออรามาของ ดาแกร์ เองมารวมกันแล้วทดลองถ่ายภาพปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จเขาจึงตั้งชื่อกระบวนการใหม่นี้ว่า ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ภาพแรกที่ดาแกร์ทำสำเร็จจนทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการถ่ายภาพสมัยใหม่ มีชื่อว่าห้องภาพจิตรกร (The Artist’s studio) โดยเป็นการถ่ายภาพหุ่นนิ่งหรือภาพ(still Life) วัตถุที่ใช้เป็นแบบได้แก่ภาพวาด รูปแกะสลักที่เป็นฝีมือของเขาเอง เมื่อข่าวความสำเร็จแพร่ขยายออกไปทำให้ผู้คนสนใจเป็นอันมากโดยเฉพาะ ฟรังซัว อารากอล (Francois Aragol) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปารีส ได้มาขอศึกษาความรู้จาก ดาแกร์และนำไปเผยแพร่สาธิตต่อ และเขายังได้เสนอรัฐบาลฝรั่งเศสซื้อลิขสิทธิ์จากดาแกร์ เมื่อรัฐบาลเห็นชอบได้ซื้อลิขสิทธิ์และได้โอนให้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปรารีสพัฒนา และต่อมารัฐบาลฝรั่งเศส ก็ได้ประกาศให้กระบวนการ ดาแกร์โรไทพ์ (Daguerreotype) เป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะนำไปใช้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เมื่อดาแกร์เห็นว่ามีคนสนใจกระบวนการของเขาเป็นอันมากเขาจึงได้เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า (The History and Description of the Process Named the Daguerreotype) มีจำนวน 79 หน้าและได้พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสถึง 29 ครั้งและเป็นภาษาอื่นแพร่หลายไปทั่วซีกโลกตะวันตก แต่มีคนติว่าดาแกร์ใช้คำยากเกินไปและมีศัพท์วิทยาศาสตร์อยู่มาก ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ รัฐบาลจึงสั่งให้ดาแกร์สาธิตกระบวนการให้สาธารณชนได้ดู เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง และทุกครั้งที่มีการสาธิตเมื่อจบการสาธิตผู้คนต่างพากันแย่งซื้ออุปกรณ์ในการทำกระบวนการนี้เป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นของฝากจากกรุงปารีส จนทำให้เกิดร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมากทั่วกรุงปรารีส เพียง 1 ปีหลังจากคิดค้นได้สำเร็จกระบวนการนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในซีกโลกตะวันตก และเพียง 6 ปีจากนั้นดาแกร์โรไทพ์ก็ได้มาถึงประเทศไทยพร้อมเรือสินค้าของพวกฝรั่งในปี พ.ศ. 2388 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีก็ทรงได้ฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียร์ซ ของสหรัฐอเมริกาจากกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ด้วยและเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงขนาดมีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานกล้องและความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้แก่เจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วยกันทั้งยังเคยออกร้านถ่ายรูปและทรงเป็นช่างภาพเองในงานประจำปี วัดเบญจมบพิตรเพื่อนำเงินรายได้ไปบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดเบญจมบพิตรด้วย ภาพที่มีชื่อเสียงของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ ถ่ายโดยกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ในปี พ.ศ. 2391 ไม่นานก่อนเขาเสียชีวิต.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและกระบวนการดาแกโรไทป์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพถ่าย

รูปแมว ภาพถ่าย ได้แก่ ภาพซึ่งได้มาจากกรรมวิธีการถ่ายภาพ คือ การใช้กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสงสำหรับบันทึกภาพ และมีกระบวนการในการขยายภาพหรือการพิมพ์ภาพออกมา ภาพถ่ายจึงเกิดจากกระบวนการการถ่ายภาพ ภาพถ่ายที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้น สามารถสื่อเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ภาพถ่ายในงานวารสารศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาพข่าว ภาพสารคดี และภาพโฆษณ.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและภาพถ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือน

หมือนเด็กชายชาวโรมัน-อียิปต์เป็นภาพเหมือนที่ใช้ปิดหน้าศพของผู้ตาย “ภาพเหมือนตนเอง” โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ภาพถ่ายภาพเหมือนของทอมัส ดิลวาร์ด โดยแม็ทธิว เบรดี ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ หรือ ราชบัณฑิตยสถานศิลปะ (Royal Academy of Arts) เป็นสถาบันศิลปะ ตั้งอยู่ที่คฤหาสน์เบอร์ลิงตัน ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและรอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำมัน

ภาพเขียนสีน้ำมัน “ทิวทัศน์เมืองเดลฟท์” โดยโยฮันส์ เวร์เมร์ สีน้ำมัน (Oil paint) เป็นสีชนิดที่แห้งช้าที่ประกอบด้วยรงควัตถุที่ผสมกับน้ำมันระเหย (drying oil) ที่มักจะเป็นน้ำมันเมล็ดฝ้าย ความข้นของสีก็อาจจะปรับได้โดยการเติมสารละลายเช่นน้ำมันสน หรือ น้ำยาละลายสี (white spirit) และก็อาจจะมีการใส่ น้ำมันเคลือบ (varnish) เพื่อให้มีเงามากขึ้นเมื่อสีแห้ง การใช้สีน้ำมันใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ในอังกฤษสำหรับการตกแต่งอย่างง่าย ๆ Charles Eastlake, Materials for a History of Oil Painting, Longman, Longman, Brown, Green, and Longman, 1847.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)

หอศิลป์แห่งชาติ (National Gallery) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1824 เป็นที่แสดงและเก็บรักษาจิตรกรรมกว่า 2,300 ภาพจากตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงปี ค.ศ. 1900 หอศิลป์แห่งชาติเริ่มก่อตั้งเมื่อรัฐบาลซี้อภาพเขียน 36 ภาพจากนายธนาคาร จอห์น จูเลียส แองเกอร์สไตน์ (John Julius Angerstein) ในปี ค.ศ. 1824 หลังจากนั้นลักษณะการสะสมก็ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการของหอศิลป์ โดยเฉพาะชาลส์ ล็อก อีสต์เลค (Charles Lock Eastlake) และโดยการอุทิศเงินส่วนบุคคลซึ่งเป็นจำนวนประมาณสองในสามของภาพในหอศิลป์เจ็นทิลิ, ออกัสโต; บาร์แชม, วิลเลียม & ไวท์ลีย์, ลินดา (ค.ศ. 2000).

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลแลนด์

อลแลนด์สีเหลือง ฮอลแลนด์ (Holland) เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคทางตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นคำว่า "ฮอลแลนด์" ใช้ในการเรียกเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดด้วยแต่ตามทางการแล้วไม่ถือว่าถูกต้อง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึง 16 ฮอลแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนทางการเมืองในภูมิภาค เป็นรัฐเคานต์ที่ปกครองโดยเคานต์แห่งฮอลแลนด์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฮอลแลนด์ก็รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลที่รุ่งเรืองกว่าบรรดาจังหวัดอื่น ๆ ในสาธารณรัฐดัตช์ ในปัจจุบัน อดีตรัฐเคานต์แห่งฮอลแลนด์ประกอบด้วยสองจังหวัด คือ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ที่เป็นที่ตั้งของเมืองสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม เฮก และรอตเทอร์ดาม.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)

ันส์ ฮอลไบน์ ผู้ลูก (Hans Holbein the Younger; ค.ศ. 1497 - ระหว่างวันที่ 7 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1543) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือคนสำค้ญของประเทศเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพพิมพ์แบบเรอเนสซองซ์ตอนเหนือ ฮอลไบน์เป็นที่รู้จักจากภาพเหมือน และงานภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) ในชุด "Dance of Death" ฮันส์ ฮอลไบน์ถือกันว่าเป็นช่างเขียนภาพเหมือนคนสำคัญของยุคภาพเหมือนสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากภาพเหมือนแล้วฮอลไบน์ก็ยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับศาสนา งานเสียดสี และงานโฆษณาชวนเชื่อของการปฏิรูปศาสนา และมีบทบาทสำคัญในการประวัติศาสตร์ของการออกแบบหนังสือ สร้อย "ผู้ลูก" เพื่อให้ต่างจากบิดาผู้มีชื่อเดียวกัน --ฮันส์ ฮอลไบน์ ผู้พ่อ) ผู้เป็นจิตรกรมีชื่อของสมัยกอทิกตอนปลาย ฮอลไบน์เกิดที่เอาก์สบวร์ค ทำงานส่วนใหญ่ในบาเซิลเมื่อเริ่มเป็นศิลปิน ในระยะแรกก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังและศิลปะคริสต์ศาสนางานศาสนา และออกแบบหน้าต่าประดับกระจกสีและหนังสือสำหรับพิมพ์ บางครั้งก็จะเขียนภาพเหมือนและมีชื่อเสียงขึ้นเมื่อเขียนภาพเหมือนของนักมนุษยนิยมเดสิเดอริอัส อีราสมัสแห่งรอตเตอร์ดาม เมื่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ขยายไปถึงบาเซิล ฮอลไบน์ก็ทำงานให้ลูกค้าฝ่ายปฏิรูป ขณะที่ในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับลูกค้าที่ต้องการภาพทางศาสนาแบบดั้งเดิม งานของฮอลไบน์ของปลายสมัยกอทิกมีลักษณะที่เพิ่มคุณค่าของภาพที่มาจากแนวโน้มของศิลปะอิตาลี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ และจากลัทธิมนุษยนิยมยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ผลที่ออกมาคืองานที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์ของฮอลไบน์เอง ฮอลไบน์เดินทางไปยังอังกฤษในปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก) · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง ฟูแก

็อง ฟูแก (Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature).

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและฌ็อง ฟูแก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรชั้นครู

วีนัสหลับ” (ราว ค.ศ. 1510) โดย จอร์โจเนที่หอจิตรกรชั้นครูแห่งเดรสเดน จิตรกรรมที่เขียน ราว ค.ศ. 1440 ที่ไม่ทราบนามจิตรกรที่ได้รับการระบุว่าเป็นงาน “ไม่ทราบนามครูบา” จิตรกรชั้นครู (Old Master) เป็นคำที่ใช้เรียกภาพเขียนที่เป็นงานเขียนของจิตรกรที่ถือกันว่าเป็นจิตรกรชั้นครู ผู้มีงานเขียนก่อราวปี..

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและจิตรกรชั้นครู · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำ

ตรกรวาดภาพสีน้ำโดยใช้พู่กัน จิตรกรรมสีน้ำ (ภาษาอังกฤษ: Watercolor painting หรือ Watercolour painting; ภาษาฝรั่งเศส: Aquarelle) เป็นวิธีการเขียนภาพวิธีหนึ่งที่ใช้สีน้ำเป็นอุปกรณ์การเขียนหรือมีผลเหมือนภาพที่เขียนด้วยสีน้ำที่เขียนด้วยสีที่ทำด้วย สารสี (pigments) ที่ละลายในของเหลวในภาชนะ สิ่งที่ใช้เขียนส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษ แต่ก็อาจจะเป็นวัสดุอื่นเช่นกระดาษพาไพรัส, กระดาษที่ทำจากเปลือกไม้, พลาสติก, กระดาษหนังสัตว์ (Vellum) หรือ หนังสัตว์, ผ้า, ไม้ และผ้าใบ ในเอเชียตะวันออกจิตรกรรมสีน้ำเขียนด้วยหมึกที่เรียกว่าจิตรกรรมแปรง (Brush painting) หรือ จิตรกรรมม้วน (scroll painting) จิตรกรรมสีน้ำเป็นวิธีการเขียนจิตรกรรมที่นิยมกันมากที่สุดในจิตรกรรมจีน, จิตรกรรมเกาหลี หรือจิตรกรรมญี่ปุ่น ที่มักจะเป็นสีเดียวที่เป็นสีดำหรือน้ำตาล.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและจิตรกรรมสีน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรม

ลจิตรกรรม อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและจุลจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ

นเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ (ภาษาอังกฤษ: Dante Gabriel Rossetti) (12 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 - 9 เมษายน ค.ศ. 1882) เป็นจิตรกรรมสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รอสเซ็ตติเป็นผู้มีความสามารถในการเป็นกวี, จิตรกร, จิตรกรภาพประกอบ และนักแปล.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮิลเลียร์ด

นิโคลัส ฮิลลาร์ด (Nicholas Hilliard, พ.ศ. 2090 - พ.ศ. 2162) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษที่ถนัดด้านการวาดภาพเหมือน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1540 หมวดหมู่:จิตรกรชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากเอ็กซิเตอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลเดวอน.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและนิโคลัส ฮิลเลียร์ด · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา เดอ ลาร์ฌีลีแยร์

นีกอลา เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ (Nicolas de Largillière,; 10 ตุลาคม ค.ศ. 1656 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1746) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยโรโคโคของคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือน บิดาผู้เป็นพ่อค้านำตัวเดอ ลาร์ฌีลีแยร์ไปเมืองแอนต์เวิร์ปตั้งแต่อายุเพิ่งได้ 3 ขวบ ระหว่างที่เป็นเด็กเดอ ลาร์ฌีลีแยร์ก็ได้ใช้เวลาถึงเกือบสองปีในลอนดอน หลังจากที่กลับมายังแอนต์เวิร์ปและประสบความล้มเหลวในด้านธุรกิจแล้ว เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ก็หันไปหาห้องเขียนภาพของกูโบ (Goubeau) เมื่ออายุได้ 18 ปีก็เดินทางไปหาช่องทางทำมาหากินในอังกฤษ เมื่อไปได้ทำความรู้จักและได้รับการจ้างจากเซอร์ปีเตอร์ เลลีเป็นเวลาสี่ปีที่วินด์เซอร์ในบาร์กเชอร์ ความสามารถของเดอ ลาร์ฌีลีแยร์เป็นที่สนใจของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ที่มีพระราชประสงค์ที่จ้างไว้เป็นจิตรกรประจำราชสำนัก แต่การคบคิดไรย์เฮาส์ต่อผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกสร้างความหวาดหวั่นให้แก่เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ ผู้ที่ย้ายไปอยู่ปารีส และไปได้รับการชื่นชมจากเลอ เบริง และฟาน เดอร์ มอยเล็น ในที่สุด เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ก็เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น การใช้สีอันสดใสและการเขียนที่เป็นเชิงมีชีวิตชีวาเป็นที่ต้องใจของบุคคลสำคัญในยุคนั้นเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง ข้าราชการ และนักเทศน.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและนีกอลา เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: จุลจิตรกรรมภาพเหมือนและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MiniaturistPortrait miniaturePortrait miniatures

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »