โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิม ทอมป์สัน

ดัชนี จิม ทอมป์สัน

ม ทอมป์สัน หรือชื่อเต็ม เจมส์ แฮร์ริสัน วิลสัน ทอมป์สัน (James Harrison Wilson Thompson; 21 มีนาคม ค.ศ. 1906 — ค.ศ. 1967) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงจากการทำธุรกิจผ้าไหมในประเทศไทย และก่อตั้งบริษัทซึ่งมีชื่อเดียวกับเขาเองขึ้น เพื่อรองรับกิจการค้าผ้าไหมดังกล่าว เขาหายตัวไปจากโรงแรม บนแคเมอรอนไฮแลนด์ รัฐอิโปห์ ประเทศมาเลเซีย โดยไม่มีใครทราบเหตุการณ์ที่แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นกั.

20 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพิพิธภัณฑสถานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันการบังคับให้บุคคลสูญหายมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสหรัฐสถาปัตยกรรมสงครามโลกครั้งที่สองผ้าไหมไทยที่สูงแคเมอรอนคลองแสนแสบปมไหมประเทศมาเลเซียประเทศซีเรียปราบดา หยุ่นไอทีวีเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป

ชาวอเมริกัน

วอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐอเมริกา (People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและชาวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า "มิวเซียม" หรือ "พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

ัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน (Jim Thompson House) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ ตั้งอยู่ที่บ้านเรือนไทยของจิม ทอมป์สัน ริมคลองแสนแสบ ฝั่งตรงข้ามคลองกับชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม เป็นชุมชนทอผ้าแห่งหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในพระนคร จิม ทอมป์สันย้ายมาอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน · ดูเพิ่มเติม »

การบังคับให้บุคคลสูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือภาษาปากเรียก การอุ้มหาย (forced disappearance หรือ enforced disappearance) เป็นคำในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับอนุญาต การสนับสนุน หรือการรับรู้จากรัฐหรือองค์การการเมือง ลักพาตัวไป และรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นดังกล่าว บอกปัดไม่รับรู้ชะตากรรมหรือถิ่นที่อยู่ของผู้หายตัวไป โดยจงใจจะให้ผู้นั้นอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2002 เมื่อการบังคับให้บุคคลสูญหายนั้นกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างหรือเป็นระบบ ก็จะถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและไม่อยู่ในอายุความ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2006 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติยังได้ตกลงรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) โดยปรกติแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจะถูกฆ่าทิ้ง เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายในกรณีเช่นนั้นถูกลักพา หน่วงเหนี่ยวไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทรมานระหว่างการรีดเอาข้อมูล ฆ่าปิดปาก แล้วเอาศพไปซ่อน อนึ่ง แน่นอนว่า การฆ่าดังกล่าวย่อมกระทำโดยซ่อนเร้น ส่วนศพก็มักถูกกำจัดเพื่อมิให้ถูกพบ พยานหลักฐานสำหรับพิสูจน์เกี่ยวกับความตายจึงมักได้มายากเย็น ผู้กระทำจึงสามารถบอกปัดได้ และผู้เสียหายจึงสาบสูญไปในที่สุด กรณีเช่นนี้ ภาษาปากเรียก การอุ้ม.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและการบังคับให้บุคคลสูญหาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

ฟัลด์ฮอลล์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของประเทศ โดยเมื่อก่อตั้งใช้ชื่อว่า วิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน" ในปี..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ผ้าไหมไทย

ตรานกยุงสีทองพระราชทาน ผ้าไหมไทย เป็นผ้าไหมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากผ้าไหมทั่วไป กล่าวคือ มีแสงแวววาวเป็นมันเลื่อม เนื้อผ้าฟูไม่เรียบ อ่อนนุ่ม มีน้ำหนัก บางชนิดเป็นปุ่มปมอันเนื่องมาจากระดับคุณภาพซึ่งเกิดในกระบวนการผลิตแต่ก็ทำให้ได้รับความนิยมของคนบางกลุ่มเพราะดูแล้วมีความแปลกต.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและผ้าไหมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ที่สูงแคเมอรอน

ที่สูงแคเมอรอน (Tanah Tinggi Cameron, ตานะฮ์ติงกีกาเมรน) เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนเขาที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย โดยมีขนาดพื้นที่เท่ากับประเทศสิงคโปร์ ครอบคลุมพื้นที่ว่า 712 ตารางกิโลเมตร(275 ตารางไมล์) มีพื้นที่ทางตอนเหนือติดกับรัฐกลันตัน และทางตะวันตกมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเมืองปีรัก ที่สูงแคเมอรอน อยู่บริเวณทางปลายสุดฝังตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปาหัง "คาเมรอน" มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร(56 ไมล์) ถ้ามาจากทางเมืองอิโป หรือประมาณ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) ถ้ามาจากทางกัวลาลัมเปอร์ ถือว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เล็กที่สุดในปาหัง ผู้ค้นพบที่สูงแคเมอรอน คือ เซอร์ วิลเลียม คาเมรอนในปี 1885 ที่สูงแคเมอรอน ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ริงเลต (5,165 เฮคเตอร์), ทานะ ราตะ(2,081เฮคเตอร์) และอุรู เทลอม (63,981 เฮคเตอร์) ซึ่งแบ่งเป็นตำบลย่อย ๆ อีก 8 ตำบล คือ ริงเลต, ทานะ ราตะ (ศูนย์กลางบริหารของเมือง), บรินชาง, หุบเขาเบอแทม, ฟาร์มเกีย, ทริงแกป, กัวลา เทอรา และ กัมปุง ราจา พื้นที่เหล่านี้มีความต่างของสูงของแต่ละพื้นที่โดยจัดความสูงอยู่ในช่วงจาก 1100 เมตร ถึง 1600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่เหมาะแก่การพักผ่อนประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) ในระหว่างวันอุณหภูมิจะไม่สูงเกินกว่า 25 องศาเซลเซียส(77 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนในช่วงกลางคืนอุณหภูมิไม่ต่ำไปกว่า 9 องศาเซลเซียส (48 องศาฟาเรนไฮต์) วัดที่พื้นที่ระดับสูง มีสถานพักตากอากาศไว้สำหรับประชาชนที่หลากหลายเชื้อชาติ สามารถรองรับได้มากกว่า 38,000 คน ซึ่งประกอบด้วยชาวมลายูที่เป็นมุสลิมและมีถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน (ชาวมลายู(7,321), อื่นๆ(5,668)), ชาวจีน(13,099), ชาวอินเดีย (6,988), กลุ่มที่ไม่ใช่พลเมืองมลายู และชนชาติอื่นๆ(202) ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ, พนักงานอุตสาหกรรมบริการ, คนงานฟาร์ม, คนเกษียณ หรือข้าราชการ ภาษาที่ใช้พูด มีภาษามลายู, ภาษาจีนกลาง, ภาษาทามิล และภาษาอังกฤษ ศาสนาอิสลาม, ศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาฮินดู, ศาสนาคริสต์ และศาสนาซิกห์ เป็นศานาหลักที่นับถือ ที่สูงแคเมอรอน ได้ถูกพัฒนาในปี 1930 เทเบิ้ลแลนด์ เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกจากอุตสาหกรรมชาแล้วที่ราบสูงแห่งนี้ถูกบันทึกว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศเย็นด้วยสถานที่นี้เอง มีทั้งสวนผลไม้, สถานที่เพาะชำพันธุ์ไม้, แหล่งเพาะปลูก, น้ำตก, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, สัตว์ป่า, ป่าที่ปกคลุมด้วยหญ้ามอส, สนามกอล์ฟ, โรงแรม, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, บังกะโล, แลนด์ โรเวอร์, พิพิธภัณฑ์ และชนพื้นเมืองเดิม(โอแรง แอสลี่) ทางถนนที่เดินทางมาที่สูงแคเมอรอน คือ ทาพาธ, ซิมปัง พูราย, กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน ทาพาธ และ ซิมปัง พูราย เป็นสองทางจากเมืองปีรัก กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน เป็นทางเข้าที่มาจากรัฐกลันตัน และรัฐปาหัง ตามลำดั.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและที่สูงแคเมอรอน · ดูเพิ่มเติม »

คลองแสนแสบ

รือด่วนในคลองแสนแสบ คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน คือ อานามสยามยุทธ คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันนั้นมีปัญหามลภาวะทางน้ำ ส่งกลิ่นเหม็นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยการทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ทำให้คลองแสนแสบนั้นมีสภาพที่สกปรกไม่น่ามอง.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและคลองแสนแสบ · ดูเพิ่มเติม »

ปมไหม

ปมไหม (Silk Knot) เป็นละครโทรทัศน์ในลักษณะภาพยนตร์กึ่งสารคดี นำเสนอเรื่องราวของจิม ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกา ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมไทย เข้ามาตั้งรกราก เปิดกิจการผ้าขายไหมไทยอยู่ที่เมืองไทย เขาหายสาบสูญไประหว่างการท่องเที่ยวกับเพื่อนและภรรยาที่ประเทศมาเลเซีย ภาพยนตร์ปมไหม นำแสดงโดยพิเศก อินทรครรชิต, อรรถพร ธีมากร, นภคปภา นาคประสิทธิ์, อภิชาติ ชูสกุล กำกับโดยสุรพงษ์ พินิจค้า เขียนบทโดยปรามินทร์ เครือทอง, บุญทวี สิริเวชมาศ, ปราบดา หยุ่น และสุรพงศ์ พินิจค้า ออกฉายทางโทรทัศน์ไอทีวีในปี พ.ศ. 2544 ผลิตโดยเนชั่น เทเลวิชั่น ในเครือเนชั่น โดยใช้ฟิล์มภาพยนตร์ถ่ายทำ โดยถือว่าเป็นละครเรื่องแรกด้วยของทางไอทีวี.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและปมไหม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราบดา หยุ่น

ปราบดา หยุ่น (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักเขียน ได้รับรางวัลซีไรต์ จากเรื่องความน่าจะเป็น เมื่อ พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและปราบดา หยุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ไอทีวี

ริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสัมปทานสถานีโทรทัศน์ระบบ UHF จาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จำนวน 1 ช่องสถานี ส่งโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 26 (ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่อง 29) โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ปัจจุบันสถานีฯได้ถูกโอนกิจการให้แก่ทั้งสองหน่วยงานของรัฐ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ด้านล่าง) เดิมชื่อ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทอื่นๆ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทนี้.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและไอทีวี · ดูเพิ่มเติม »

เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป

ริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (Nation Multimedia Group Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อสารมวลชนครบวงจรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยเริ่มออกหนังสือพิมพ์เดอะวอยซ์ออฟเดอะเนชั่นเป็นฉบับแรก และมีบุคคลสำคัญประกอบด้วยหม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์, ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, และ ธนะชัย สันติชัยกูล.

ใหม่!!: จิม ทอมป์สันและเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »