โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จาง ซันเฟิง

ดัชนี จาง ซันเฟิง

รูปปั้นทองแดงของจาง ซันเฟิง บนเขาบู๊ตึ๊งในปัจจุบัน จาง ซันเฟิง (สำเนียงจีนกลาง) หรือ เตียซำฮง (สำเนียงแต้จิ๋ว) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มักกล่าวถึงในภาพยนตร์หรือนิยายกำลังภายใน ที่มีชื่อเสียง เช่น เรื่อง ดาบมังกรหยก ซึ่งเขียนโดยกิมย้ง หรือจินหยง ยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวจีนนั่นเอง เชื่อกันว่าจาง ซันเฟิง เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 ในสมัยปลายราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-ค.ศ. 1279) ที่มณฑลเหลียวหนิง มีชื่อเดิมว่า จาง เฉวียนอี หรือ จาง จวินอี้ว์ โดยที่ชื่อ ซันเฟิง นั้นเป็นฉายาที่เป็นนักบวชในลัทธิเต๋าแล้ว มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-ค.ศ. 1368) เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากการใช้กำลังภายใน การช่วยเหลือคนเจ็บไข้ แล้วมีอายุยืนยาวมาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-ค.ศ. 1654)และค่อย ๆ หายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีนหลังปี ค.ศ. 1459 ท่านใช้ชีวิตมากว่า 200 ปี และไม่มีประวัติการเสียชีวิต หลายคนเชื่อกันว่าหลังจากนั้นเชื่อว่าสำเร็จเป็นเซียนอมตะ มีประวัติของจาง ซันเฟิงในหน้าประวัติศาสตร์มากมาย แต่ที่มีชื่อเสียงคือ การก่อตั้งสำนักอู่ตัง หรือบู๊ตึ๊ง ในสำเนียงแต้จิ๋ว และการค้นคิดวิชามวย ไท่เก๊ก.

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1503พ.ศ. 1790พ.ศ. 1822พ.ศ. 1911พ.ศ. 2002พ.ศ. 2197กิมย้งภาพยนตร์จีนกำลังภายในภาษาจีนกลางภาษาแต้จิ๋วมณฑลเหลียวหนิงราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนราชวงศ์ซ่งลัทธิเต๋าสำนักบู๊ตึ๊งทิวเขาอู่ตังดาบมังกรหยกประวัติศาสตร์จีนไท่เก๊กเอเอสทีวีผู้จัดการเซียน9 เมษายน

พ.ศ. 1503

ทธศักราช 1503 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 1503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1790

ทธศักราช 1790 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 1790 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1822

ทธศักราช 1822 ตรงกับคริสต์ศักราช 1279 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 1822 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1911

ทธศักราช 1911 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 1911 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2002

ทธศักราช 2002 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 2002 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2197

ทธศักราช 2197 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและพ.ศ. 2197 · ดูเพิ่มเติม »

กิมย้ง

thumb กิมย้ง หรือชื่อจริง จา เลี้ยงย้ง (Louis Cha Leung-yung) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่ กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อ หมิงเป้า (明報) ปัจจุบัน กิมย้ง ยังมีชีวิตอยู่ และดูแลกิจการหนังสือพิม.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและกิมย้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์จีนกำลังภายใน

กภาพยนตร์เรื่อง "พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก" ภาพยนตร์จีนกำลังภายใน เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 60 เช่น หงส์ทองคะนองศึก, The Magnificent Trio, One-Armed Swordsman ฯลฯ ผลิตในฮ่องกงและไต้หวัน ภาพยนตร์จีนกำลังภายในมักแฝงปรัชญาตะวันออกเอาไว้ บางเรื่องแฝงการหลุดพ้นจากลาภยศ กิเลส ตัณหา ราคะทั้งปวง หรือเน้นการเสียสละตนเองเพื่อผดุงคุณธรรมตามความเชื่อแห่งตน ในช่วงทศวรรษที่ 60 - 70 ฉากต่อสู้ของหนังกำลังภายในเป็นความตื่นตาตื่นใจสูงสุดของโลกภาพยนตร์ตะวันออก การหกขเมนตีลังกา ลีลาประดาบที่รวดเร็ว กลายเป็นความบังเทิงที่ได้รับความนิยม ภาพยนตร์ประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้กำกับคิวบู๊คนสำคัญของชอว์บราเดอร์ที่ชื่อว่าหลิวเจียเหลียง ในปี 2000 ภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก กำกับโดยอั้งลี่ นับเป็นภาพยนตร์จีนกำลังภายในที่ออกฉายทั่วโลก และยังได้รับรางวัลออสการ์อีกด้ว.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและภาพยนตร์จีนกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและมณฑลเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

สำนักบู๊ตึ๊ง

ำนักบู๊ตึ๊ง เป็นสำนักวิชากำลังภายในที่มีชื่อเสียงในนิยายกำลังภายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้ง.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและสำนักบู๊ตึ๊ง · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาอู่ตัง

ทิวเขาอู่ตัง หรือ บู๊ตึ๊ง ในภาษาจีนฮกเกี้ยน เป็นทิวเขาที่ตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน มีความสำคัญของลัทธิเต๋า ที่เล่าสืบมาว่า ปรมาจารย์เจินอู่ หรือเทพเจ้าเสวียนอู่ (玄武) ได้บำเพ็ญตบะบนยอดเขาแห่งนี้ สถานที่ที่เสมือนเป็นแดนสุขาวดี ได้ใช้วิชาทั้งบุ๋นและบู๊ต่อกรกับภิกษุหลายรูปของฝ่ายพุทธจนได้รับชัยชนะ สามารถยึดเขาแห่งนี้เป็นที่พำนักสืบมา ทิวเขาอู่ตังเป็นสถานที่ที่รวมสิ่งก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีนหลายยุคหลายสมัยเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน เรื่อยมากระทั่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวมกันนับได้กว่าพันปี.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและทิวเขาอู่ตัง · ดูเพิ่มเติม »

ดาบมังกรหยก

มังกรหยก (หรือ มังกรหยกภาค 3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร) เป็นนิยายกำลังภายในภาคต่อของ มังกรหยก แต่งโดยกิมย้ง (ชื่อในภาษาจีน อักษรจีนตัวเต็ม: 倚天屠龍記; อักษรจีนตัวย่อ: 倚天屠龙记; พินอิน: yǐ tiān tú lóng jì) และชื่อในภาษาอังกฤษ คือ The Heavenly Sword and the Dragon Saber หรือ The Heaven Sword and Dragon Saber).

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและดาบมังกรหยก · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ไท่เก๊ก

การฝึกฝนไท่เก๊ก ในประเทศจีน วิชามวยไท่เก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง เรียกชื่อภาษาจีนแต้จิ๋วตามชาวไทยเชื้อสายจีน อ่านแบบจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน เขียนเป็นภาษาอังกฤษคือ Taijiquan หรือ Tai'chi Chuan แต่ในประเทศไทยเรียกกันหลายสำเนียงทั้ง ไท่เก๊ก ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไท่จี๋ ไท้จี๋ ไทชิ ไทกิ๊บ วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12-14 แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไท่เก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ..

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและไท่เก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เซียน

แปดเซียน ในลัทธิเต๋า เซียน (仙) หมายถึงนักสิทธิ์ ผู้บรรลุถึงอมตภาพทางร่างกายและวิญญาณจนกลายเป็นเทพเจ้าต่าง.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและเซียน · ดูเพิ่มเติม »

9 เมษายน

วันที่ 9 เมษายน เป็นวันที่ 99 ของปี (วันที่ 100 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 266 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จาง ซันเฟิงและ9 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Zhang Sanfengจาง ซานฟงจางซานฟงเตียซำฮงเตียป้อกุน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »